โครงสร้างแบบ iteration คือลักษณะใด

โครงสร้างควบคุม

Show

โครงสร้างแบบวนซ้ำ

การวนซ้ำ เป็นการกำหนดให้มีการประมวลผลคำสั่งซ้ำ ๆ กัน ตั้งแต่ 1 ครั้งขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในการทำงาน ซึ่งจะช่วยให้การเขียนโปรแกรมได้ง่าย สะดวก ไม่ต้องเขียนข้อความคำสั่งเดิมหลายครั้ง ทำให้โปรแกรมมีความกระชับ สามารถตรวจสอบความผิดพลาดได้ง่าย

โครงสร้างควบคุมแบบวนซ้ำ (repetition control structure) ประกอบด้วย

คำสั่ง for

คำสั่ง while

คำสั่ง do-while

โดยแต่ละโครงสร้างคำสั่ง มีรูปแบบและวิธีการใช้งานที่แตกต่างกัน นักเขียนโปรแกรมสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมกับลักษณะการใช้งานในโปรแกรม

คำสั่ง for

คำสั่ง for เป็นคำสั่งที่สั่งให้ประมวลผลคำสั่ง หรือชุดคำสั่ง วนซ้ำได้หลายรอบ โดยต้องกำหนดจำนวนรอบให้การวนซ้ำที่แน่นอน

รูปแบบของคำสั่ง for เป็นดังนี้

โครงสร้างแบบ iteration คือลักษณะใด

โครงสร้างแบบ iteration คือลักษณะใด

การกำหนดค่าเริ่มต้นของตัวนับ เงื่อนไขการวนซ้ำ และ การเปลี่ยนแปลงค่าตัวนับ เป็นนิพจน์ที่มีการทำงานร่วมกันในคำสั่ง for ดังนี้

- การกำหนดค่าเริ่มต้นของตัวนับ เป็นนิพจน์ที่ใช้สำหรับกำหนดค่าเริ่มต้น ให้กับตัวแปรที่ทำหน้าที่ควบคุมการวนซ้ำ และจะประมวลผลเพียงครั้งเดียว
- เงื่อนไขการวนซ้ำ เป็นนิพจน์ที่ใช้สำหรับประเมินค่า คำสั่ง จะถูกประมวลผลหรือไม่ นั่นคือถ้า เงื่อนไขการวนซ้ำ มีค่า จริง คำสั่ง จะถูกประมวลผล และถ้า เงื่อนไขการวนซ้ำ มีค่า เท็จ คำสั่ง for จะสิ้นสุดลง
- การเปลี่ยนแปลงค่าตัวนับ เป็นนิพจน์ที่จะถูกประมวลผลทุกครั้งหลังจาก คำสั่ง ถูกประมวลผล โดย การเปลี่ยนแปลงค่าตัวนับ เป็นนิพจน์ใด ๆ ที่สามารถประเมินค่าได้ เช่น นิพจน์เพิ่มค่า นิพจน์ลดค่า และนิพจน์กำหนดค่า เป็นต้น

คำสั่ง while

คำสั่งวนซ้ำที่ง่ายที่สุดคือคำสั่ง while loop โดยการทำงานของคำสั่ง while loop จะทำงานเมื่อเงื่อนไขเป็นจริง และจะสิ้นสุดการทำงานจนกว่าเงื่อนไขจะเป็นเท็จ

รูปแบบของคำสั่ง while เป็นดังนี้

โครงสร้างแบบ iteration คือลักษณะใด

โครงสร้างแบบ iteration คือลักษณะใด

เงื่อนไขการวนซ้ำ เป็นนิพจน์ใดๆ ที่สามารถประเมินค่าได้ โดยจะต้องเขียนไว้ระหว่างเครื่องหมาย ( และ ) เสมอเช่นเดียวกับคำสั่ง if และคำสั่ง if – else

เมื่อเริ่มต้นประมวลผลคำสั่ง while เงื่อนไขการวนซ้ำ จะถูกตรวจสอบค่า ถ้าพบว่า เงื่อนไขการวนซ้ำ มีค่าเป็น จริง คำสั่ง ภายใต้คำสั่ง while จะถูกตรวจสอบค่าเป็นรอบแรก แล้ว เงื่อนไขการวนซ้ำ จะถูกตรวจสอบค่าอีกครั้ง หากพบว่า เงื่อนไขการวนซ้ำ ยังมีค่าเป็น จริง คำสั่ง จะถูกตรวจสอบค่าอีกครั้ง จนกระทั่ง เงื่อนไขการวนซ้ำ มีค่าเป็น เท็จ คำสั่ง while จึงจะสิ้นสุดลง

การตรวจสอบค่า เงื่อนไขการวนซ้ำ ของคำสั่ง while ในครั้งแรก และพบว่ามีค่าเป็น เท็จ คำสั่ง จะไม่ประมวลผลเลย

คำสั่ง do-while

คำสั่ง do while นั้นคล้ายกับคำสั่ง while แต่สิ่งที่แตกต่างกันเล็กน้อยคือ คำสั่ง do while จะทำงานก่อนอย่างน้อยหนึ่งรอบ แล้วจะตรวจเงื่อนและถ้าเงื่อนไขไม่เป็นจริงจะสิ้นสุดการทำงาน

รูปแบบของคำสั่ง do-while เป็นดังนี้

โครงสร้างแบบ iteration คือลักษณะใด

โครงสร้างแบบ iteration คือลักษณะใด

คำสั่ง จะถูกประมวลผลโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ในรอบแรก จากนั้นเงื่อนไขการวนซ้ำ จะถูกตรวจสอบค่า และคำสั่ง จะถูกประมวลผลซ้ำอีกทุกครั้งที่ เงื่อนไขการวนซ้ำ มีค่าเป็น จริง และในครั้งแรกที่ เงื่อนไขการวนซ้ำ มีค่าเป็น เท็จ คำสั่ง do-while จึงจะสิ้นสุดลง

โครงสร้างแบบ iteration คือลักษณะใด

โครงสร้างของโปรแกรม

การเขียนโปรแกรมจะมีรูปแบบโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมมี 3 รูปแบบ ดังนี้

1. โครงสร้างแบบลำดับ ( Sequence structure ) เป็นโครงสร้างที่แสดงถึงขั้นตอนการทำงานที่เป็นลำดับขั้นตอน ก่อน-หลัง ทำงานจากบนลงล่าง หรือจากจุดเริ่มต้นถึงจุดสิ้นสุด

โครงสร้างแบบ iteration คือลักษณะใด

2. โครงสร้างแบบทางเลือก ( Selection Structure ) คือ โครงสร้างที่มีเงื่อนไขเพื่อตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่ง โดยต้องมีการตรวจสอบเงื่อนไขว่าเป็นจริงหรือเท็จ ถ้าตรวจสอบแล้วเป็นจริงให้ทำในคำสั่งสั่งชุดหนึ่ง และถ้าตรวจสอบแล้วเป็นเท็จให้ทำในคำสั่งอีกชุดหนึ่ง โดยโครงสร้างแบบมีทางเลือกสามารถแบ่งได้ 4 ประเภท ดังนี้

     2.1. เลือกทำเฉพาะเงื่อนไขที่เป็นจริง เป็นการตรวจสอบเงื่อนไขที่เป็นจริงเท่านั้น ดังผังงานต่อไปนี้

     2.2. เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างเงื่อนไขจริงและเท็จ เป็นการตรวจสอบเงื่อนไขโดยถ้าเงื่อนไขเป็นจริงให้ทำในคำสั่งหนึ่ง แต่ถ้าเป็นเท็จให้ทำอีกคำสั่งหนึ่ง ดังผังงานดังต่อไปนี้

     2.3. เลือกทำแบบซ้ำซ้อน เป็นการตรวจสอบเงื่อนไขที่มีลักษณะคล้ายๆกับเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างจริงและเท็จแต่มีข้อแตกต่างคือเมื่อเงื่อนไขเป็นจริงหรือเท็จจะมีเงื่อนไขเพื่อทำการตรวจสอบอีกรอบ เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ดังผังงานต่อไปนี้

     2.4. คำสั่งแบบหลายทางเลือก เมื่อมีทางเลือกมากกว่า 2 ทางเลือก เป็นการตรวจสอบเงื่อนไข และทำตามคำสั่งเมี่อเงื่อนไขตรงกับคำสั่งที่กำหนดไว้ ดังผังงานต่อไปนี้

โครงสร้างแบบ iteration คือลักษณะใด

3. โครงสร้างแบบทำงานซ้ำ (Iteration Structure) เป็นโครงสร้างการทำงานแบบวนซ้ำ โดยทำงานตามเงื่อนไขที่กำหนด เช่น การแสดงข้อมูลของนักเรียนจากฐานข้อมูลโดยกำหนดจำนวนการแสดง ดังตัวอย่าง

      เมื่อกำหนดจำนวนที่แสดงหรือกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับตัวแปรแล้ว เงื่อนไขจะทำการตรวจสอบว่าตัวแปรมีค่าเท่าไหร่ แล้วทำการค้นหาข้อมูลนักเรียนตามจำนวนที่กำหนดไว้ไปเรื่อยๆจนกว่าเงื่อนไขจะเป็นเท็จ จึงออกจาก การวนซ้ำ ( Loop ) เช่น ถ้ากำหนดค่าเริ่มต้นเป็น 10 ก็แสดงว่าต้องการแสดงข้อมูลของนักเรียน 10 คน และเมื่อครบ 10 คนจะทำตามเงื่อนไขถัดไปหรือออกจากการวนซ้ำ

โครงสร้างแบบ iteration คือลักษณะใด