ตลาดที่เป็นตลาดในอุดมคติ คือข้อใด

โครงสร้างตลาดที่หลากหลาย เป็นลักษณะทางเศรษฐกิจที่สำคัญ มันเป็นตัวบ่งถึงระดับของการแข่งขันในตลาด นอกจากนี้ก็ยังมีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น ลักษณะของสินค้าและผลิตภัณฑ์ จำนวนผู้ขาย จำนวนผู้บริโภค ฯลฯ วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างตลาดสี่ประเภทพื้นฐาน สิ่งหนึ่งที่ต้องจำเอาไว้คือ โครงสร้างตลาดเหล่านี้ไม่ได้มีอยู่จริง มันเป็นเพียงแนวคิดทางทฤษฎี แต่มันช่วยให้เราเข้าใจหลักการที่อยู่เบื้องหลังการจำแนกโครงสร้างของตลาดได้

ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (Perfect Competition)

ในโครงสร้างตลาดการแข่งขันที่สมบูรณ์แบบมีผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมาก ผู้ขายทั้งหมดของตลาดมักจะเป็นผู้ขายรายเล็ก ซึ่งจะมีการแข่งขันระหว่างกัน โดยที่จะไม่มีผู้ขายรายใหญ่รายใดที่มีอิทธิพลสำคัญต่อตลาดนี้ ดังนั้นบริษัททั้งหมดในตลาดจึงเป็นผู้กำหนดราคา โครงสร้างแบบนี้เป็นตลาดในอุดมคติ จะมีบริษัทใหม่เข้า-ออกอยู่ตลอดเวลา เมื่อพวกเขาไม่อาจทำผลกำไรได้ก็ออกได้โดยไม่เจ็บตัว

ด้วยคู่แข่งจำนวนมากอิทธิพลของ บริษัทหรือผู้ซื้อเพียงหนึ่งรายนั้นค่อนไม่มีผลกระทบต่อตลาดโดยรวม แม้ว่าจะเป็นรูปแบบการแข่งขันที่สมบูรณ์แบบ แต่ในความเป็นจริงนั้นค่อนข้างจะเกิดขึ้นได้ยาก มีเพียงไม่กี่ตลาดที่อาจเหมาะสมกับทฤษฎีแบบนี้ เช่น เกษตรกรรม และหัตถกรรม นอกจากนี้ก็ยังมีข้อเสียอีกหลายอย่าง อันดับแรกคือผู้บริโภคต้องทนทุกข์ทรมานเนื่องจากไม่มีทางเลือกสำหรับสินค้าอื่นที่คล้ายกัน

ตลาดการแข่งขันแบบผูกขาด (Monopolistic Competition)

นี่เป็นสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นจริงในตลาดโลกปัจจุบัน ในการแข่งขันแบบผูกขาดนั้น ยังมีผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมากเหมือนกัน แต่พวกเขาทั้งหมดไม่ได้ขายผลิตภัณฑ์ที่เป็นชนิดเดียวกัน ผลิตภัณฑ์มีความคล้ายคลึงกันมีความแตกต่างกันเล็กน้อย ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะพึงพอใจที่มีตัวเลือกมากกว่าหนึ่งอย่าง ซึ่งผู้ขายอาจตั้งราคาที่สูงขึ้นเล็กน้อย ดังนั้นผู้ขายจึงกลายเป็นผู้กำหนดราคาในระดับหนึ่ง

ตัวอย่างเช่นตลาดสำหรับธัญพืชคือการ “แข่งขันที่ผูกขาด” ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดคล้ายกัน แตกต่างกันแค่เล็กน้อยในแง่ของรสชาติ อีกตัวอย่างหนึ่งเช่นยาสีฟัน ตลาดแบบนี้มักจะขาดแรงจูงใจในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ แถมยังไม่ค่อยเกิดการแข่งขันมากนัก นอกจากนี้ยังมีโอกาสทำให้เกิดภาวะเงินเฝ้อได้อีกด้วย

ตลาดผูกขาด (Monopoly)

ในโครงสร้างตลาดแบบผูกขาดนั้น จะมีผู้ขายเพียงรายเดียวดังนั้น คือบริษัทเดียวจะควบคุมตลาดสินค้ากลุ่มเดียวกันทั้งหมด พวกเขาสามารถกำหนดราคาเท่าใดก็ได้ตามที่ต้องการ เนื่องจากมีอำนาจเหนือตลาด ผู้บริโภคจึงไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากต้องเลือกซื้อของตามราคาที่กำหนดไว้ อีกอย่างหนึ่งคือเรื่องคุณภาพของสินค้า  ด้วยเหตุผลเดียวกัน เมื่อไร้การแข่งขันก็ไม่จำเป็นจะต้องห่วงว่าเรื่องคุณภาพมากนัก

ลองคิดดูว่าถ้าหากเป็นมีร้านขายของชำแห่งเดียวในรัศมี 70 ไมล์ผู้ คนจะถูกบังคับให้ซื้อสินค้าที่นั่น เจ้าของร้านค้าตระหนักถึงสิ่งนี้ และไม่ต้องใช้เงินในการบำรุงรักษาหรือการควบคุมคุณภาพมากนัก เพราะพวกเขารู้ว่าลูกค้าไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากซื้อกับร้านของพวกเขา แม้ว่าการผูกขาดเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาอย่างยิ่ง มันทำให้ตลาดไม่เกิดการแข่งขัน ไม่มีการพัฒนา ไม่มีแรงจูงใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ อย่างไรก็ตามการผูกขาดแบบนี้ค่อนข้างเกิดขึ้นได้ยากมากในความเป็นจริง

ตลาดผู้ขายน้อยราย (Oligopoly)

ในตลาดผู้ขายน้อยรายจะมีเพียงไม่กี่บริษัทในตลาด ในขณะที่ไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับจำนวนของบริษัท แต่ส่วนใหญ่จะมีไม่ต่ำกว่า 3 – 5 แห่ง ดังนั้นในกรณีนี้อำนาจของผู้ขายจะมีมากกว่าผู้ซื้อ เพราะผู้บริโภคมีตัวเลือกไม่มากนัก บางครั้งอาจมีการร่วมมือกันระหว่างบริษัท เพื่อกำหนดราคาและเพิ่มผลกำไรให้สูงสุดให้แก่ตนเอง ในตลาดผู้ขายน้อยรายมีอุปสรรคมากมาย ทำให้บริษัทใหม่ๆ ไม่ค่อยเติบโตได้ในตลาดประเภทนี้

ความหมายและความสำคัญของตลาด

ตลาด หมายถึง สถานที่ที่เป็นชุมชนหรือเป็นที่ชุมนุมเพื่อซื้อและขายสินค้า ทั้งในรูปของวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปเป็นประจำ เป็นครั้งคราว หรือตามวันที่กำหนด โดยที่ตั้งของตลาดอาจมีเพียงที่เดียว หรือหลายที่ที่ตั้งอยู่ใกล้กันในบริเวณที่มีทำเลเหมาะสม เช่น เป็นศูนย์กลางของชุมชน และเหมาะจะเป็นที่นัดพบ หรือเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารต่างๆของคนในชุมชนนั้นๆ ด้วยเหตุนี้เมื่อมีชุมชนอยู่ ณ ที่ใด ก็มักจะมีตลาดอยู่ ณ ที่นั้น ตลาดจึงมีมาแต่ครั้งโบราณในทุกสังคม

ความหมายของตลาดทางเศรษฐศาตร์

ตลาดทางเศรษฐศาตร์ ที่ ๆ มีกิจกรรมการตกลงซื้อขายสินค้า บริการ รวมทั้งปัจจัยการผลิต เช่น แรงงาน ซึ่งจะกินความหมายกว้างกว่าตลาดที่เรารู้จักกันอยู่ทั่วไป โดยตลาดอาจมีได้หลายแบบ ตั้งแต่ตลาดภายในประเทศ ตลาดขายส่ง ตลาดขายปลีก ตลาดต่างประเทศ ตลาดผลผลิต ตลาดปัจจัยการผลิต ตลาดการเงิน ตลาดเงินตราต่างประเทศหรือตลาดอัตราแลกเปลี่ยนที่ได้ยินกันบ่อยๆ รวมไปถึงตลาดซื้อขายล่วงหน้า เช่น ตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า เป็นต้น ซึ่งการที่ตลาดมีอยู่หลายแบบ เพราะเป็นการกำหนดจากผู้เรียกว่าจะเรียกตลาดโดยแบ่งตามหลักเกณฑ์อะไร เช่น หลักเกณฑ์ตามขอบเขตทางภูมิศาสตร์ ตามชนิดของสินค้าที่ขายอยู่ในตลาด หรือตามสภาพของการซื้อขายที่เกิดขึ้น รวมทั้งหลักเกณฑ์อื่น ๆ จะเห็นได้ว่าตลาดในวิชาเศรษฐศาสตร์จะมีความหมายกว้างกว่าตลาดที่เราเห็นอยู่ทั่วๆ ไป เนื่องจากอาจจะไม่จำเป็นต้องมีตัวสถานที่ซื้อขายที่เป็นตลาดจริง ๆ ก็ได้ แต่ที่สำคัญคือ ตัวกิจกรรมในการซื้อขายมากกว่า

เมื่อสังคมเปลี่ยนแปลงไปตามวันเวลา ความสำคัญของการตลาดก็แปรเปลี่ยนไปตามสภาพสังคม และความต้องการทางภาวะเศรษฐกิจ เช่น ในอดีตการผลิตสินค้าให้ได้มากที่สุดอาศัยความสำคัญของการตลาด แต่ในยุคปัจจุบันความต้องการของการตลาดอยู่ที่การให้การบริการที่ประทับใจลูกค้า หากสินค้าและบริการต่าง ๆ ที่ผลิตขึ้นมานั้นไม่มีระบบการตลาดจัดการ สินค้าและบริการเหล่านั้นก็จะขายไม่ได้ ผลที่เกิดขึ้นก็คือ บริษัทขายสินค้าไม่ออกเกิดการปลดพนักงาน เกิดการเดินขบวน สไตรก์ เศรษฐกิจตกต่ำ เกิดโจรกรรมขึ้นมากมาย เพราะฉะนั้นการตลาดจึงมีความสำคัญต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. ทำให้เศรษฐกิจขยายตัว การตลาดทำให้ระบบการซื้อขายสะดวก รวดเร็ว ผู้ซื้อและผู้ขายติดต่อสัมพันธ์กันได้ทุกเวลา มีผลให้การผลิตขยายตัว ประชาชนมีงานทำ มีรายได้ มีการซื้อขายวัตถุดิบที่นำมาผลิตทำให้เกิดธุรกิจการขนส่งและธุรกิจอื่น ๆ เกิดขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจรวมของประเทศชาติดีขึ้น

2. ทำให้มีสินค้าและบริการใหม่ ๆ เกิดขึ้น เพราะการตลาดทำให้เกิดการแข่งขันกันระหว่างบริษัทกับบริษัทที่ขายสินค้าชนิดเดียวกัน ทำให้แต่ละบริษัทใช้กลยุทธ์ในการประดิษฐ์คิดค้นและพัฒนาสินค้า ทำให้ประชาชนได้ใช้สินค้าหลากหลายชนิด ในราคาที่ถูกลงและคุณภาพดีขึ้น

3. ทำให้เกิดอาชีพต่าง ๆ เพิ่มขึ้น กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบการตลาดจะขยายตัวตามการขยายตัวของธุรกิจอุตสาหกรรม คือ เมื่อเศรษฐกิจก้าวหน้า มีการขยายตัวด้านการลงทุนในการผลิตสินค้าและบริการต่าง ๆ เกิดการพึ่งพากันระหว่างบริษัทต่อบริษัทเช่น เมื่อผลิตสินค้าออกมาต้องอาศัยบริษัทอีกบริษัทในการผลิตหีบกล่อง บรรจุสินค้า หรือต้องอาศัยบริษัทอื่นในด้านเอกสารเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ เพื่อโฆษณาสินค้า เป็นต้น

4. ช่วยยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชากรในสังคมให้สูงขึ้น ทั้งทางด้านการผลิตและการบริโภค

5. ช่วยให้สามารถใช้ทรัพยากรการบริหารต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยใช้ข้อมูลทางการบริหารการจัดการ ด้านการวิจัย และหลักเศรษฐศาสตร์มาเกี่ยวข้อง

คนกลางและองค์ประกอบของตลาด

คนกลางของตลาด (Market Intermediaries) หมายถึง บุคคล กลุ่มบุคคลหรือองค์กร ทำหน้าที่ช่วยเหลือและสนับสนุนในกระบวนการย้ายสินค้าและสิทธิในตัวสินค้า จากผู้ผลิตมายังผู้บริโภค โดยตัวกลางประกอบด้วย