อินเทอร์เน็ตมีความหมายว่าอย่างไร

     อินเทอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นจำนวนมาก ครอบคลุมไปทั่วโลก แตกต่างกับ Intranet ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ไม่ครอบคลุมทั่วโลก อินเทอร์เน็ตนั้นอาศัย โครงสร้างระบบสื่อสารโทรคมนาคม เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล มีการประยุกต์ใช้งานหลากหลายรูปแบบ อินเทอร์เน็ตเป็นทั้งเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายของเครือข่าย เพราะอินเทอร์เน็ต ประกอบด้วยเครือข่ายย่อย เป็นจำนวนมากต่อเชื่อมเข้าด้วยกันภายใต้มาตรฐานเดียวกันจนเป็น เครือข่ายขนาดใหญ่

อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ ทำให้การเข้าสู่เครือข่ายเป็นไปได้อย่างเสรี อินเตอร์เน็ต ถือเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สากลที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ภายใต้มาตรฐานการสื่อสารเดียวกัน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารและสืบค้นสารสนเทศจากเครือข่ายต่างๆ ทั่วโลก ดังนั้น อินเตอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งรวมสารสนเทศจากทุกมุมโลก ทุกสาขาวิชา ทุกด้าน ทั้งบันเทิงและวิชาการ ตลอดจนการประกอบธุรกิจต่างๆ ประโยชน์ของ อินเตอร์เน็ตสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากๆ ได้ในเวลาอันรวดเร็วไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของระยะทาง ไม่จำกัดรูปแบบของข้อมูล ซึ่งมีได้ทั้งข้อมูลที่เป็นข้อความอย่างเดียว หรืออาจมีภาพประกอบ รวมไปถึงข้อมูลชนิดมัลติมีเดีย และใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ

ปัจจุบัน Internet มีเวลาเร็วในการโอนย้ายไฟล์ และ ข้อมูลต่างๆ เพิ่มมาขึ้น ทำให้มีเราสามารถใช้โปรแกรมออนไลน์ได้ละดวก ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมคำนวณต่างๆ การแต่งรูปย่อรูป การแปลงไฟล์ VDO ก็สามารถทำบนระบบเครื่อข่าย Internet ได้แล้ว
ตัวอย่างโปรแกรมใช้งานออนไลน์ จากเว็บ เรา

ข้อมูลอ้างอิง
http://www.mindphp.com
http://school.obec.go.th
http://www.thaiall.com

ความหมายและลักษณะของอินเทอร์เน็ต

วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ (ง31241)  เวลา 2 คาบ ครูผู้สอน นายประทิน  ทับไทร

ความหมายของอินเตอร์เน็ต

             อินเทอร์เน็ต(Internet : Interconnection Network)  คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นจำนวนมากครอบคลุมไปทั่วโลก  โดยอาศัยโครงสร้างระบบสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล  มีการประยุกต์ใช้งานหลากหลายรูปแบบ  อินเทอร์เน็ตเป็นทั้งเครือข่ายของคอมพิวเตอร์  และเครือข่ายของเครือข่าย  เพราะอินเทอร์เน็ตประกอบด้วยเครือข่ายย่อยเป็นจำนวนมากต่อเชื่อมเข้าด้วยกันภายใต้มาตรฐานเดียวกันจนเป็นสังคมเครือข่ายขนาดใหญ่  อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ  ทำให้การเข้าสู่เครือข่ายเป็นไปได้อย่างเสรีภายใต้กฎเกณฑ์บางประการที่กำหนดขึ้น  เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและวุ่นวายจากการเชื่อมต่อจากเครือข่ายทั่วโลก

อินเตอร์เน็ต  มีจุดเริ่มต้นมาจากเหตุผลทางการทหาร  เนื่องจากในยุคสงครามเย็น เมื่อประมาณ  พ.ศ.2510 ระหว่างฝ่ายคอมมิวนิสต์  และฝ่ายเสรีประชาธิปไตย  ซึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกา โดยต่างฝ่ายต่างก็กลัวขีปนาวุธของอีกฝ่ายหนึ่ง  โดยผู้นำสหรัฐอเมริกาวิตกว่า  ถ้าหากทางฝ่ายรัฐเซียยิงขีปนาวุธนิวเคลียร์เข้ามาถล่มจุดยุทธศาสตร์บางจุดของตนเองขึ้นมา  อาจจะทำให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเสียหายได้  จึงได้สั่งให้มีการวิจัยเพื่อสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ชนิดใหม่ขึ้นมา  เพื่อป้องกันความเสียหายโดยมีจุประสงค์ว่า  ถ้าคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งถูกทำลาย  แต่เครื่องอื่นก็จะต้องใช้งานต่อไปได้  หน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลระบบเครือข่าย  ในขณะนั้นมีชื่อว่า ARPA (Advanced Research Projects Agency)  ดังนั้นชื่อเครือข่ายในขณะนั้น  จึงถูกเรียกว่า ARPANET  ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 เครือข่ายขยายใหญ่โตเพิ่มมากขึ้น  จากการระดมนักวิจัยเพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ขึ้นมาเพื่อความเหมาะสม  จึงได้มาตรฐาน TCP/IP  และนอกจากประโยชน์ด้านงานวิจัย และทางทหารแล้ว ยังได้นำมาใช้ประโยชน์ทางด้านธุรกิจและการพาณิชย์อีกด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2532 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และนำมาใช้ประโยชน์ ในการติดต่อข้อมูลข่าวสารมากมาย

สำหรับในประเทศไทยได้มีการเริ่มต้นติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่  เพื่อใช้ในการศึกษาของมหาวิทยาลัย  โดยติดต่อกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย  โดยเชื่อมต่อเครื่องมินิคอมพิวเตอร์  เพื่อรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ในปี พ.ศ. 2530  ต่อมากระทวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและพลังงาน ได้มอบหมายให้ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ให้ทุนสนับสนุน แก่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  เพื่อศึกษา ถึงการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ ของมหาวิทยาลัยด้านวิทยาศาสตร์ 12 แห่งเข้าเป็นเครือข่ายเดียวกันเมื่อ พ.ศ. 2531 หลังจากนั้นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ได้เป็นเกตเวย์อินเทอร์เน็ต ในประเทศไทยและเริ่มให้บริการทางอินเทอร์เน็ตเต็มรูปแบบในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2535  และต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2537การสื่อสารแห่งประเทศไทยร่วมลงทุนกับหน่วยงานของรัฐ และเอกชน เปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ 2 รายคือบริษัทอินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด และบริษัท อินเทอร์เน็ต คอมเมอร์เชียล แอนด์โนว์เลจเซอร์วิส จำกัด ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น KSC คอมเมอร์เชียลอินเทอร์เน็ต จำกัด

ลักษณะของอินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เชื่อมต่อกันอย่างไร

              ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตหลายคน  อาจเข้าสู่อินเทอร์เน็ตโดยผ่านทางระบบเครือข่ายของสำนักงาน บริษัท หรือ สถานศึกษาของตน  ซึ่งตามปกติแล้วหากเป็นหน่วยงาน หรือสำนักงานใหญ่ๆ จะต่อคอมพิวเตอร์เป็นระบบภายในองค์กร (LAN) ซึ่งมักจะเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการ (ISP) ผ่านสายนำสัญญาณความเร็วสูง (High-Speed Leased Line) แทนที่จะเชื่อมต่อ ผ่านโมเด็ม (Modem) แต่ถ้าหากว่าคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ในวง LAN ที่ไม่โตมากนักก็อาจใช้เชื่อมต่อผ่านโมเด็มก็ได้ เพราะ จะทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อระบบ แต่อาจจะมีปัญหาในเรื่องของความเร็วในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ตบ้างเล็กน้อย

ความหมายของ ISP

              ISP มาจากคำว่า Internet Service Provider  ตามหนังสือศัพท์คอมพิวเตอร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ 4  ได้ระบุความหมายว่าหมายถึง "ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต"  ISP เป็นหน่วยงานที่บริการให้เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล  หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัท  เข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลก ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ หน่วยงานราชการหรือสถาบันการศึกษา กับบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ทั่วไป  ISP  ที่เป็นหน่วยงานราชการ หรือสถาบันการศึกษา มักจะเป็นการให้บริการฟรีสำหรับสมาชิกขององค์การเท่านั้น  แต่สำหรับ ISP ประเภทที่ให้บริการในเชิงพาณิชย์  ผู้ใช้ที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตจะต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิกของ  ISP  รายนั้นๆ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการใช้งานอินเทอร์เน็ต  ซึ่งอัตราค่าบริการจะขึ้นอยู่กับ ISP แต่ละราย  ข้อดีสำหรับผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ก็คือ การให้บริการที่มีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งรองรับกับความต้องการของผู้ใช้ที่แตกต่างกัน  มีทั้งรูปแบบส่วนบุคคลซึ่งจะให้บริการกับประชาชนทั่วไปที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ต  และบริการในรูปแบบขององค์กร หรือบริษัท  ซึ่งให้บริการกับบริษัทห้างร้าน  หรือองค์กรต่างๆ ที่ต้องการให้พนักงานในองค์กรได้ใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ISP จะเป็นเสมือนตัวแทนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ถ้าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต้องการข้อมูลอะไรก็สามารถติดต่อผ่าน ISP ได้ทุกเวลา

มาตรฐานการสื่อสารด้านอินเทอร์เน็ต

โปรโตคอล (Protocol) คือตัวกลาง หรือภาษากลาง ที่ใช้เป็นมาตรฐานสำหรับการสื่อสาร ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารเชื่อมโยงกัน ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ นับร้อยล้านเครื่องซึ่งแต่ละเครื่องมีความแตกต่างกัน ทั้งรุ่นและขนาดของคอมพิวเตอร์ ถ้าขาดโปรโตคอลก็จะไม่สามารถที่จะติดต่อสื่อสาร ให้เข้าใจกันได้ เพราะฉะนั้นโปรโตคอล ก็เปรียบเหมือนเป็นล่ามที่ใช้แปลภาษา ของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

มาตรฐานทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : Transmission Control Protocal/Internet Protocal) เป็นโพรโตคอลมาตรฐานสำหรับรับ-ส่งข้อมูลของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  การทำงานของ TCP/IP จะแบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็นส่วนย่อย ๆ เรียกว่า แพ็คเก็ต (Packet) แล้วส่งไปตามเส้นทางต่าง ๆ ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยจะกระจายแพ็คเก็ตออกไปหลายเส้นทาง แพ็คเก็ตเหล่านี้ จะไปรวมกันที่ปลายทาง และถูกนำมาประกอบรวมกัน เป็นข้อมูลที่สมบูรณ์อีกครั้ง

มาตรฐานเฮชทีทีพี (HTTP : Hypertext transfer protocol) เป็นมาตรฐานสำหรับการสืบค้นข้อมูลชนิดไฮเปอร์เท็กซ์ (HTML) กำหนดและควบคุมวิธีการสื่อสาร ผ่านโปรแกรมสำหรับติดต่ออินเทอร์เน็ต หรือเบราว์เซอร์ (Browser) กับเครื่องแม่ข่ายหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server)

มาตรฐานเอฟทีพี (FTP : File Transfer Protocal ) เป็นมาตรฐานที่ใช้ในการควบคุมและกำหนดวิธีการ โอนย้ายแฟ้มข้อมูล

ระบบไอพีแอดเดรส (IP Address)  เมื่อเราต้องการสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น เราจะต้องทราบที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น คอมพิวเตอร์ที่ใช้โปรโตคอล TCP/IP จะมีหมายเลขประจำเครื่องที่ไม่ซ้ำกับเครื่องอื่นในโลก มีชื่อเรียกว่า ไอพีแอดเดรส ไอพีแอดเดรสจะมีลักษณะเป็นตัวเลข 4 ชุดที่มีจุด ( . ) คั่น เช่น 193.167.15.1 เป็นต้น ตัวเลขแต่ละชุด จะมีค่าได้ตั้งแต่ 0-255 คอมพิวเตอร์ ที่มีไอพีแอดเดรสเป็นของ ตัวเองและใช้เป็นที่เก็บเว็บเพจ เราเรียกว่าเซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือโฮสต์ (Host) ส่วนองค์กรหรือผู้ควบคุมดูแลและจัดสรรหมายเลขไอพีแอดเดรส เราเรียกว่า อินเทอร์นิก (InterNIC)

โดเมนเนม (Domain Name) เป็นระบบที่นำตัวอักษร ที่จำได้ง่ายเข้ามาแทนไอพีแอดเดรส ที่เป็นตัวเลข แต่ละโดเมนจะมีชื่อไม่ซ้ำกัน และมักจะถูกตั้งให้คล้ายกับชื่อของบริษัทหน่วยงาน หรือองค์กรของผู้เป็นเจ้าของ เพื่อความสะดวกในการจดจำชื่อ

โดเมนเนมเซิร์ฟเวอร์ (Domain Name Server) ถึงแม้ระบบโดเมนเนม จะทำให้จดจำชื่อได้ง่าย แต่การทำงานจริง ของอินเทอร์เน็ต ก็จำเป็นต้องใช้ไอพีแอดเดรส อย่างเดิม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีระบบ ที่จะทำการแปลงโดเมนเนม ไปเป็นไอพีแอดเดรส โดยจะต้องจัดการให้คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ทำหน้าที่ในการแปลงโดเมนเนม ไปเป็นไอพีแอดเดรส เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่นี้ จะถูกเรียกว่าโดเมนเนมเซิร์ฟเวอร์ (Domain Name Server) หรือ ดีเอ็นเซิร์ฟเวอร์ (DNS Server)

ตำแหน่งอ้างอิงเว็บเพจ  เป็นตำแหน่งที่ใช้อ้างอิงเว็บเพจต่าง ๆ ในอินเทอร์เน็ตโดยพิมพ์ URL เข้าไปในช่อง Address ของเว็บเบราเซอร์โดย URL ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้คือ

                                www.hotmail.com/data.html

                              www                      คือ การแสดงว่าขณะนี้กำลังใช้บริการ www

                              hotmail                 คือ โดเมนเนมของเว็บไซต์ที่กำลังใช้งานอยู่

                              data.html              คือ ตำแหน่งของไฟล์ที่เก็บเว็บเพจหน้านั้นอยู่

ข้อมูลข่าวสารบนเว็บไซต์

1.  เว็บเพจ(Web Page)  คือ ข้อมูลที่แสดงบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นเอกสารที่สามารถเชื่อมโยงไปยังหน้า อื่น ๆ ได้

2.  เว็บไซต์ (Web Site) คือ เว็บเพจทั้งหลายที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต และบรรจุไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งๆ เช่น เว็บไซต์ www.google.com

3.  โฮมเพจ(Home Page) คือ เว็บเพจหลักของเว็บไซต์ ภายในโฮมเพจจะมีจะเชื่อมต่อเปิดเข้าไปชม เว็บเพจอื่น ๆ ที่อยู่ภายในเว็บไซต์นี้ได้

4.  โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ (Web Browser) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ ในการเปิดเว็บเพจ และสามารถรับส่ง ไฟล์ทางอินเทอร์เน็ต โดยการแปลงภาษา HTML แล้วแสดงผลคำสั่งให้ออกมาเป็นรูปภาพเสียง และข้อมูล ต่าง ๆ ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันได้แก่  Netscape Navigator, Internet Explorer ,Opera ,  Safari , Google Chrome , Mozilla Firefox

5.  ภาษา HTML (Hyper TextMarkup Language) เป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนเว็บเพจ โดยสามารถใส่จุดเชื่อมโยง (Link) ไปยังเอกสารหน้าอื่น ๆ ซึ่งการเชื่อมโยงนี้ถูกเรียกว่า Hypertextหรือเอกสาร HTML ซึ่งเว็บเพจจะใช้รหัส คำสั่ง สำหรับควบคุมการแสดงผลข้อความ หรือรูปภาพในลักษณะต่าง ๆกันได้ โดยใช้สิ่งที่เรียกว่า แท็ก (Tag) ซึ่งแท็กจะกำหนด ให้เบราเซอร์แปลความหมายของรหัสคำสั่งดังกล่าว เป็นข้อมูลของเว็บเพจและคุณสมบัติ

พื้นฐานต่าง ๆ ด้วยนอกจากนี้ยังได้มีการนำเอาโค้ดภาษาโปรแกรมที่เรียกว่าสคริปต์ (Script) มาช่วยเพิ่ม ความสามารถ และสีสันให้เว็บเพจมากขึ้น

6.  WYSIWYG(What-You-See-Is-What-You-Get) โปรแกรมแบบวิสสิวิกนี้ ใช้สร้างเว็บเพจโดยการนำรูปภาพหรือข้อความมาวางทับบนเว็บเพจ และเมื่อแสดงผลเว็บเพจ จะปรากฎหน้าเอกสารของเว็บเพจ เหมือนกับขณะที่ทำการสร้าง การใช้งานจะใช้งานได้ง่ายกว่า การเขียนด้วยภาษา HTMLมาก โปรแกรมที่สามารถตอบสนอง การสร้างเว็บเพจแบบ WYSIWYG มีอยู่หลายโปรแกรมให้เลือกใช้เช่น FrontPage, Dreamweaver เป็นต้น

บริการต่าง ๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต เป็นแหล่งที่ใช้ในการเก็บข้อมูลจำนวนมาก ที่เราสามารถค้นคว้า และรับส่งข้อมูลไปมา ระหว่างกันได้ อินเทอร์เน็ตจึงมีประโยชน์สำหรับยุคสังคมและข่าวสาร ในปัจจุบันอย่างมาก อินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่ เหมือนห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ ส่งข้อมูลที่เราต้องการมาให้ถึงบ้านหรือที่ทำงาน ภายในไม่กี่นาที จากแหล่งข้อมูลทั่วโลก โดยจัดเป็นบริการในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้

1.  เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW)  คือบริการค้นหาและแสดงข้อมูลแบบมัลติมีเดีย บนอินเทอร์เน็ตทุกประเภท ซึ่งข้อมูลและสารสนเทศอาจจัดอยู่ในรูปแบบของข้อความ รูปภาพ หรือ เสียงก็ได้ ข้อดีของบริการประเภทนี้คือ สามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจหน้าอื่น หรือเว็บไซด์อื่นได้ง่าย เพราะใช้วิธีการของไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) โดยมีการทำงานแบบไคลเอนท์/เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server) ซึ่งผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูล จากเครื่องที่ให้บริการซึ่งเรียกว่าเว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยอาศัยโปรแกรม ที่ใช้ดูข้อมูลเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) ซึ่งผลที่ได้จะมีการแสดงเป็นไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งในปัจจุบันมีการผนวกรูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และสามารถเชื่อมโยงไปยังเอกสารหรือข้อมูลอื่น ๆ ได้โดยตรงตัวอย่างเช่น www.yahoo.com สามารถค้นหาและเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเรื่องราวต่างๆ เช่น การศึกษาการท่องเที่ยว โรงแรมต่าง ๆ การรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ เป็นต้น

2.  จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า อีเมล์” (E-mail) เป็นรูปแบบการติดต่อสื่อสาร ระหว่างกัน และกันบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถส่งข้อความ ไปยังสมาชิกที่ติดต่อด้วย โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที และสามารถแนบไฟล์ข้อมูลไปพร้อมกับจดหมายได้อีกด้วย การส่งจดหมายในลักษณะนี้ จะต้องมีที่อยู่เหมือนกับการส่งจดหมายปกติ แต่ที่ของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เราเรียกว่า E-mail Address

3.  การโอนย้ายข้อมูล (FTP : File Transfer Protocol) เป็นรูปแบบการติดต่อสื่อสารข้อมูล บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อีกรูปแบบหนึ่ง ใช้สำหรับการโอนย้ายข้อมูลระหว่างผู้ใช้โปรแกรม FTP กับ FTP Server การโอนย้ายไฟล์จาก FTP Server มายังเครื่องของผู้ใช้ เรียกว่า ดาวน์โหลด (Download) และการโอนย้ายไฟล์ จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ไปยังไปยัง FTP Server เรียกว่า อัพโหลด

4.  การสืบค้นข้อมูล (Search Engine) คือ บริการที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต โดยพิมพ์ข้อความที่ต้องการสืบค้น เข้าไป โปรแกรมจะทำการค้นหาข้อมูลที่ต้องการ ให้ภายในเวลาไม่กี่นาที โปรแกรมประเภทนี้เราเรียกว่าSearch Engines เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่สามารถจำชื่อเว็บไซด์ บางเว็บได้ ก็สามารถใช้วิธีการสืบค้นข้อมูล ในลักษณะนี้ได้ เว็บไซด์ที่ทำหน้าที่เป็น Search Engines มีอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น google.com , yahoo.com , sanook.com ฯลฯ เป็นต้น

5.  การสนทนากับผู้อื่นบนอินเทอร์เน็ตจะคล้ายกับการใช้โทรศัพท์แต่แตกต่างกันที่ เป็นการสื่อสาร ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะใช้ไมโครโฟน และลำโพงที่ต่ออยู่กับคอมพิวเตอร์ในการสนทนา

6.  กระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (News Group or Use Net) เป็นบริการกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และแสดงความคิดเห็นลงไปบริเวณกระดานข่าวได้ มีการแบ่งกลุ่มผู้ใช้ออกเป็นกลุ่ม ๆ ซึ่งแต่ละกลุ่มจะสนใจเรื่องราวที่แตกต่างกันไป เช่นการศึกษา การท่องเที่ยว การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม การเกษตร และอุตสาหกรรม เป็นต้น

7.  การสื่อสารด้วยข้อความ IRC (Internet Relay Chat) เป็นการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น โดยการพิมพ์ข้อความโต้ตอบกัน ซึ่งจำนวนผู้ร่วมสนทนาอาจมีหลายคนในเวลาเดียวกัน ทุกคนจะเห็นข้อความ ที่แต่ละคนพิมพ์เหมือนกับว่ากำลังนั่งสนทนาอยู่ในห้องเดียวกัน โปรแกรมที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารได้แก่โปรแกรม mIRC โปรแกรม PIRCH และโปรแกรม Comic Chat นอกจากโปรแกรม IRC แล้ว ในปัจจุบันนี้ภายในเว็บไซต์ ยังเปิดให้บริการห้องสนทนาผ่านทางโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ได้อีกด้วย

ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต

ด้านการศึกษา

1. สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชา หรืออ่านหนังสือออนไลน์

2. ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จะทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดออนไลน์

3. นักศึกษาในมหาวิทยาลัย สามารถใช้อินเตอร์เน็ต ติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็น ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นต้น

4. สามารถทำการเรียนการสอนผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้

ด้านการพาณิชย์

1. ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ

2. สามารถซื้อขายสินค้า ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

3. ทำการตลาดการโฆษณาผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

4. ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ และสนับสนุนลูกค้าของตน ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ สอบถามปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware) หรือโปรแกรมแจกฟรี (Freeware) เป็นต้น

ด้านการบันเทิง

1. การพักผ่อนหย่อนใจ เช่น การค้นหาวารสารต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต อ่านหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่นๆ โดยมีภาพประกอบ

2. การเล่นเกมออนไลน์

3. สามารถฟังวิทยุหรือดูการถ่ายทอดสดผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้

4. สามารถดึงข้อมูล (Download) ภาพยนตร์ตัวอย่างทั้งภาพยนตร์ใหม่ และเก่า มาดูได้