รามคำแหง มีความหมายว่าอย่างไร

ศิลาจารึกหลักที่ 1 หรือ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง มีข้อความหรือถ้อยคำจำนวนหนึ่งที่ปรากฏคำยืมจากภาษาเขมร แสดงให้เห็นว่าสุโขทัยรับอิทธิพลจากเขมรในระดับหนึ่ง ดังนีิ้

ด้านที่ 1 

ในศิลาจารึกหลักที่ 1 ด้านที่ 1 บรรทัดที่ 7 ว่า “น กูบ่หนี กูขี่ช้างเบกพล กูขับเข้าก่อนพ่อกู กูฏ่อ” คำว่า “เบก” เป็นคำในภาษาเขมรโบราณ ปรากฏในศิลาจารึกเขมรโบราณว่า “เปก” มีความหมายว่า “เปิด” เช่น ในศิลาจารึก K. 940 ว่า “เปฺร เปก อาย ตีรถคฺราม” แปลว่า “ใช้ให้เปิดที่หมู่บ้านตีรถะ” (ศิลาจารึกเขมรโบราณรูปเขียน บ. กับ ป. เขียนแบบเดียวกัน และโดยปกติไทยมักเขียนรูป บ. กับ ป. เสมอในคำยืมภาษาเขมร)

ดังนั้น คำว่า “เบกพล” น่าจะมีความหมายว่า “เปิดพล” คือกิริยาที่ขับช้างเปิดทางให้พลทหารออกไป

อ. ศานติ ภักดีคำ ตั้งข้อสังเกตว่า คำว่า “เบก” ต่อมาในภาษาเขมรสมัยกลางได้เปลี่ยนระบบการเขียนจากสระเอ มาเป็นสระเออ จึงเป็น “เบีก” หรือ “เบิก” ซึ่งตรงกับการใช้ของภาษาไทยในยุคหลัง หากรัชกาลที่ 4 ทรงสร้างศิลาจารึกหลักที่ 1 ขึ้นใหม่ ก็น่าจะทรงเขียนว่า “เบิก” มากกว่า “เบก”

ในศิลาจารึกหลักที่ 1 ด้านที่ 1 บรรทัดที่ 11 ว่า “อ ชั่วพ่อกู กูบำเรอแก่พ่อกู กูบำเรอแก่แม่กู กูได้ตัว” คำว่า “บำเรอ” เป็นคำในภาษาเขมรโบราณ ปรากฏในศิลาจารึกเขมรโบราณว่า “ปมฺเร” มีความหมายว่า “การรับใช้, ผู้รับใช้” เช่น ในศิลาจารึก K. 415 ว่า “อฺนก ต ปมฺเร กมฺนุง ต วฺระ ทฺวาร” แปลว่า “คนซึ่งรับใช้ในที่พระทวาร”

ในศิลาจารึกหลักที่ 1 ด้านที่ 1 บรรทัดที่ 14 ว่า “มีปลา ในนามีเข้า เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลูทางเพื่ (อน)” คำว่า “จกอบ” เป็นคำในภาษาเขมรโบราณ ปรากฏในศิลาจารึกเขมรโบราณว่า “โจฺกป” มีความหมายว่า “ภาษีที่เก็บบนเรือ” เช่น ในศิลาจารึก K. 44 ว่า “โจฺกป อุจิต สมฺวตฺสร”

อย่างไรก็ตาม ภาษาเขมรตั้งแต่สมัยกลางเป็นต้นมาถึงปัจจุบันไม่มีการเขียนด้วยรูปนี้ แต่เปลี่ยนไปเขียนเป็น โกบ หรือ จงฺโกบ ดังนั้น คำว่า “จกอบ” จึงน่าจะเป็นคำยืมจากภาษาเขมรโบราณอย่างแน่นอน

ด้านที่ 2

ในศิลาจารึกหลักที่ 1 ด้านที่ 2 บรรทัดที่ 6 ว่า “กลางเมืองสุกโขไทนี้ มีน้ำตระพังโพยสีใสกินดี” คำว่า “ตระพัง” เป็นคำในภาษาเขมรโบราณ ปรากฏในศิลาจารึกเขมรโบราณว่า “ตฺรวง” หรือ “ตฺรวาง” มีความหมายว่า “แหล่งน้ำของหมู่บ้าน” เช่น ในศิลาจารึก K. 56 ว่า “โลฺวะ ตฺรวง ถฺลา” แปลว่า “ถึงสระน้ำใส นอกจากนี้ ในศิลาจารึกวัดเขากบก็มีการใช้คำว่า “ตระพัง” เช่นเดียวกัน ว่า “(ปร) ดิสถาในรามอาวาสนนนขุดตรพงง”

สำหรับคำว่า “ตระพัง” ในภาษาเขมรปัจจุบันเขียนว่า “ตรฺพําง” แปลว่า “แอ่ง, หนอง, สระ”

ในศิลาจารึกหลักที่ 1 ด้านที่ 2 บรรทัดที่ 18 ว่า “ญิกพู้นเท้าหัวลาน ดํบงคํกลองด้วยเสียงพาดเสียงพี (น)” คำว่า “ดํ” นี้น่าจะมาจากคำว่า “ตํ” ในภาษาเขมรโบราณ มีความหมายว่า “ตี” ปรากฏในศิลาจารึกเขมรโบราณ เช่น ในศิลาจารึก K. 814 ว่า “ตํ สฺคร” แปลว่า “ตีกลอง”

อย่างไรก็ตาม ในภาษาเขมรปัจจุบันเขียนคำนี้ว่า “ฎํ” อ. ศานติ ภักดีคำ อธิบายว่า ในศิลาจารึกหลักที่ 1 ที่เขียนว่า “ดํ” นั้น น่าจะรับมาจากรูปเขียนในภาษาเขมรโบราณ ส่วนคำว่า “บงคํ” นั้น ภาษาเขมรโบราณแปลว่า “บังคม, การบูชา”

รามคำแหง มีความหมายว่าอย่างไร
ศิลาจากรึกพ่อขุนรามคำแหง (ศิลาจารึกหลักที่ 1) ด้านที่ 3 (ภาพจาก ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร)

ด้านที่ 3

ในศิลาจารึกหลักที่ 1 ด้านที่ 3 บรรทัดที่ 2 ว่า “สาน มีพระอจน มีปราสาท มีป่าหมากพร้าว ปาหมาก” คำว่า “ปราสาท” เป็นคำในภาษาเขมรโบราณ ปรากฏในศิลาจารึกเขมรโบราณว่า “ปฺราสาท” มีความหมายว่า “หอสูง, วัด, ปราสาท (ของกษัตริย์)” เช่น ในศิลาจารึก K. 878 ว่า “สมรจ วฺระ ปฺราสาท“ แปลว่า “สำเร็จพระปราสาท” คำนี้ใช้ในความหมายรวม ๆ มาตั้งแต่ในศิลาจารึกเขมรโบราณ

ในศิลาจารึกหลักที่ 1 ด้านที่ 3 บรรทัดที่ 6 ว่า “มีน้ำโคก มีพระขพุง ผีเทพดาในเขาอันนั้น” คำว่า “ขพุง” เป็นคำในภาษาเขมรโบราณ เขียนว่า “กฺวุง” หรือ “ขฺวุง” (ว. ต่อมาในจารึกสมัยหลังพระนครใช้ พ.) มีความหมายว่า “สิ่งที่นูน, นูน, โป่งขึ้น. ยอดสุดของภูเขา, วาสนา, ความโลภ” คำนี้ใช้เป็นชื่อทาส และใช้ขยายความสูงของภูเขา ปรากฏในศิลาจารึกเขมรโบราณ เช่น ในศิลาจารึก K. 855 ว่า “ต ขฺวุง วฺนํ” แปลว่า “อันยอดสูงสุดของภูเขา”

ดังนั้น “พระขพุง” จึงหมายถึง “ภูเขาสูง” นั่นเอง การที่สุโขทัยยึดเอาภูเขาสูงเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์นั้น อาจมาจากคติเขาพระสุเมรุหรือเขาไกรลาส ที่สืบทอดมาตั้งแต่เขมรโบราณสมัยพระนคร

อ. ศานติ ภักดีคำ กล่าสรุปเกี่ยวกับคำยืมจากภาษาเขมรที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่า “คำยืมภาษาเขมรที่ปรากฏการใช้ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงส่วนใหญ่เป็นคำเขมรโบราณ ซึ่งภาษาเขมรปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงรูปเขียนและความหมายไปแล้ว แต่ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงยังปรากฏการใช้ในบริบทความหมายที่ร่วมกับศิลาจารึกเขมรโบราณหลักอื่นอยู่”

อ่านเพิ่มเติม :

  • “เขมร” ไม่เรียกตัวเองว่า “ขอม” ไม่มีคำว่าขอมในภาษาเขมร คำว่า “ขอม” มาจากไหน?
  • ถกหลักฐาน “เลขไทย” ได้แบบจากเลขเขมร หรือว่ามีต้นเค้าจาก “เลขอินเดียใต้”?
  • “จำวัด-จำพรรษา-จำศีล” ทำไมต้องจำ “จำ” คำเขมรที่ยืมมาใช้ในภาษาไทย

รามคำแหง มีความหมายว่าอย่างไร

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!!

คำว่า ราม ตามความหมายที่ปรากฏในราชบัณฑิตยสถาน มีความหมายทั้งหมดสามความหมาย อันได้แก่ ๑) ความหมายว่า งาม สวย เช่น นงราม คือ หญิงงาม ๒) ความหมายว่า กลาง ปานกลาง พอดี (อ้างอิงจากศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่๑ “มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันราม มีพิหารอันใหญ่ มีพิหารอันราม”) และ ๓) ความหมายว่า พระราม ซึ่งเป็นชื่อของตัวละครเอกในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ของไทยหรือรามายณะของอินเดีย

 

คำว่ารามในสมัยสุโขทัย

คำว่า ราม ในภาษาไทยปรากฏให้เห็นครั้งแรกในศิลาจารึกหลักที่ ๑ โดยมีความหมายว่า กลาง, พอดี  นอกจากนี้ยังปรากฏอยู่ในพระนามของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชและปรากฎเป็นชื่อสถานที่คือถ้ำพระรามหรือถ้ำเจ้าราม ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

 

ถ้ำพระรามหรือถ้ำเจ้ารามปรากฏที่มาในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ด้านที่ ๓ ว่า “จารึกอันณื่ง มีในถ้ำชื่อถ้ำพระราม อยู่ฝั่งน้ำสำพาย” สันนิษฐานว่าเป็นสถานที่พักผ่อนของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชและเป็นสถานที่ที่ใช้ในการหลบซ่อนจากศัตรูข้าศึก โดยภาษาที่ใช้ในศิลาจารึกด้านที่ ๓ ผู้บันทึกไม่ใช่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชอย่างด้านที่ ๑ เนื่องจากสรรพนามที่ใช้มิได้แทนด้วยคำว่า “กู” เหมือนในด้านที่ ๑ และมีการกล่าวถึงพ่อขุนรามคำแหงมหาราชในลักษณะสรรพนามบุรุษที่ ๓ ความว่า “ท่านแต่งช้างเผือกกระพัดลยาง เทียรย่อมทองงาขวา ชื่อรูจาครี พ่อขุนรามคำแหง ขึ้นขี่ไปนบพระอรัญญิกแล้วเข้ามา”

 

ชื่อถ้ำพระรามนี้มีความเป็นไปได้ว่าอาจตั้งมาจากชื่อของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เพราะในอดีตพระองค์ทรงใช้ถ้ำนี้เป็นที่พักผ่อน จนอาจทำให้ถ้ำแห่งนี้ได้ชื่อว่าถ้ำพระราม แต่ก็อาจจะเป็นไปได้อีกว่าทั้งพระนามของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชและชื่อถ้ำพระราม เป็น ราม ที่มาจากชื่อตัวละครเอกในเรื่องรามายณะของอินเดีย ซึ่งคือ “พระราม” โดยที่วรรณคดีเรื่องนี้เป็นวรรณคดีที่เข้ามาพร้อมกับศาสนาพราหมณ์ ซึ่งเป็นศาสนาที่สุโขทัยรับมาจากขอมอีกทอดหนึ่ง หรือเป็นศาสนาที่ได้รับมาจากอินเดียและมีการนับถืออย่างแพร่หลายในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สุวรรณภูมิ)

 

จึงอาจสรุปได้ว่าความหมายของคำว่า ราม ที่ปรากฏในสมัยสุโขทัย เมื่อเทียบกับความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน มีความหมายเพียงแค่กลาง พอดีหรือพระรามเท่านั้น แต่ไม่ปรากฏคำว่ารามที่มีความหมายว่างามในสมัยสุโขทัย

 

 

 

 

 

หากมีคำว่ากลาง เหตุใดจึงมีคำว่าราม

คำว่า กลาง ปรากฏอยู่ในพระนามของพ่อขุนบางกลางหาวหรือพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ คำว่ากลางหาวมีความหมายว่า กลางท้องฟ้าหรือกลางแจ้ง เพราะคำว่า หาว แปลว่า ที่แจ้ง, ท้องฟ้า (อ้างอิงจากพจนานุกรมออนไลน์ราชบัณฑิตยสถาน) เมื่อนำมาเทียบกับคำว่าราม ที่มีความหมายในสมัยสุโขทัยแปลว่ากลางเช่นกัน ทำให้เกิดข้อสังเกตข้อหนึ่งคือ เมื่อมีคำว่ากลางแล้ว เหตุใดจึงมีคำว่ารามที่แปลว่ากลางอีกหนึ่งคำ ทั้งที่คำว่ากลางปรากฏก่อนคำว่าราม โดยสังเกตจากพระนามเดิมของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ผู้เป็นพระราชบิดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

 

แต่เมื่อสังเกตการใช้แล้ว พบว่าคำว่ากลางและรามในสมัยสุโขทัยมีลักษณะการใช้ที่แตกต่างกัน แม้ว่าจะมีความหมายว่ากลางเหมือนกันก็ตาม แต่คำว่ากลางจะใช้ในลักษณะของคำบุพบท คือใช้ระบุตำแหน่งที่อยู่ เช่น กลางหาว แปลว่า อยู่กลางท้องฟ้าหรืออยู่กลางแจ้ง ในขณะที่คำว่ารามใช้ในลักษณะของคำวิเศษณ์ที่ระบุขนาด เช่น พิหารอันราม คือวิหารขนาดกลาง จึงสามารถสรุปได้ว่าในสมัยสุโขทัยนั้น มีการใช้คำว่ากลางและคำว่ารามโดยแยกความหมายกัน ต่างจากปัจจุบันที่คำว่ากลางสามารถใช้ได้ทั้งสองลักษณะ คือใช้ระบุตำแหน่งที่อยู่และใช้ระบุขนาด

 

 

 

 

 

 

คำว่ารามในสมัยอยุธยา

ในสมัยอยุธยา อิทธิพลจากอารยธรรมอินเดียได้แผ่ขยายมากขึ้น จนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากเดิมในสมัยสุโขทัยที่เป็นแบบพ่อปกครองลูก เป็นการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เปรียบพระมหากษัตริย์เป็นสมมติเทพ กล่าวคือ การปกครองในลักษณะนี้จะถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นอวตารหนึ่งของเทพที่ลงมาปกครองบ้านเมือง จึงถือว่าอำนาจของพระมหากษัตริย์เป็นอำนาจเด็ดขาดและมีสิทธิ์สูงสุดในการตัดสินใจ โดยระบอบการปกครองนี้เป็นระบอบการปกครองที่มีต้นกำเนิดมาจากอินเดีย

 

สิ่งหนึ่งนอกจากวัฒนธรรมและประเพณีที่อยุธยาได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียคือวรรณคดี ซึ่งวรรณคดีในสมัยอยุธยามีวรรณคดีที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดียหลายเรื่อง เช่น นันโทปนันทสูตรคำหลวงของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศไชยเชษฐ์สุริยวงศ์หรือเจ้าฟ้ากุ้ง อนิรุทธคำฉันท์ของศรีปราชญ์ และวรรณคดีที่เกี่ยวข้องกับรามายณะหรือรามเกียรติ์ ซึ่งเป็นวรรณคดีที่ไม่ปรากฏหลักฐานการรับเข้ามาอย่างชัดเจน แต่สามารถสันนิษฐานได้ว่าอาจเข้ามาพร้อมกับศาสนาพราหมณ์ อันเป็นช่วงก่อนที่สุโขทัยจะได้รับการสถาปนาเป็นราชธานี

 

วรรณคดีที่เกี่ยวข้องกับวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ในสมัยอยุธยานี้ มิได้ปรากฏเป็นวรรณคดีเรื่องยาวที่แต่งตั้งแต่ต้นจนจบอย่างบทละครเรื่องรามเกียรติ์ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชรัชกาลที่ ๑ ในสมัยรัตนโกสินทร์ แต่เป็นการแต่งขึ้นใหม่ด้วยเนื้อเรื่องที่ไม่มีปรากฏในรามายณะของอินเดีย (ตามฉบับของฤๅษีวาลมิกิ) เพียงแต่อ้างอิงชื่อตัวละครจากเรื่องรามายณะ โดยวรรณคดีที่มีความเกี่ยวข้องกับวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ในสมัยอยุธยา ได้แก่ โคลงทศรถสอนพระรามและโคลงพาลีสอนน้อง

 

จากหลักฐานทางวรรณคดีพบว่า คำว่ารามในสมัยอยุธยายังคงมีความหมายเช่นเดียวกับสมัยสุโขทัยคือความหมายที่แปลว่ากลาง พอดี และความหมายว่าพระรามจากเรื่องรามเกียรติ์ อย่างไรก็ตาม คำว่ารามที่ปรากฏในวรรณคดีสมัยอยุธยานั้นไม่ได้มีความหมายเพียงแค่ความหมายสองความหมายข้างต้น แต่พบว่ามีความหมายว่า “งาม” เพิ่มเติมขึ้นมาด้วย โดยตัวอย่างวรรณคดีในสมัยอยุธยาที่ปรากฏการใช้ความหมายของคำว่ารามที่แปลว่า กลาง พอดี และความหมายว่า พระราม คือวรรณคดีเรื่องสมุทรโฆษคำฉันท์ และตัวอย่างวรรณคดีที่ปรากฏความหมายของคำว่ารามที่แปลว่า งาม คือวรรณคดีเรื่องมหาชาติคำหลวง กัณฑ์กุมาร ซึ่งสามารถแปลความหมายของคำว่ารามได้ โดยอาศัยการสังเกตการใช้คำในตัวบทดังต่อไปนี้

 

          ๑) ราม แปลว่า กลาง

 

                                       ๏ มีกระดี่แลกระตรับตับตาม        ตัวเติบตัวราม

                             ก็เต้นในแปลงแปลนหลัง

สมุทรโฆษคำฉันท์

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

 

คำว่า ราม ในตัวบทนี้แปลว่ากลาง เพราะเมื่อสังเกตการใช้แล้ว รามในที่นี้เป็นการใช้เพื่อระบุขนาด กอปรกับใช้คู่กับคำว่าเติบ ซึ่งมีความหมายว่าใหญ่ มักปรากฏเป็นคำซ้อนร่วมกับคำอื่นที่มีความหมายคล้ายคลึงกัน เช่น เติบใหญ่ เติบโต เมื่อปรากฏในตัวบทว่า “มีกระดี่แลกระตรับตับตาม ตัวเติบตัวราม” ตัวเติบจึงหมายถึง ปลากระดี่และปลากระตรับ (ปลาหมอช้างเหยียบ) ตัวใหญ่ และตัวรามจึงหมายถึง ปลากระดี่และปลากระตรับตัวขนาดกลาง

         

          ๒) ราม แปลว่า พระราม

 

                                       ๏ พระบาทกรุงไท้ธรณี    รามาธิบดี

                             ประเสริฐเดโชไชย

สมุทรโฆษคำฉันท์

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

 

คำว่า ราม ในตัวบทนี้เป็นอีกพระนามหนึ่งของสมเด็จพระนารายณ์คือ สมเด็จพระรามาธิบดี (ที่ ๓) ตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏ แต่ที่มาของพระนามว่า รามาธิบดี ที่ปรากฏในพระนามของพระมหากษัตริย์ในสมัยอยุธยาตั้งแต่สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ (พระนามเดิมคือพระเชษฐา) จนถึงสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มาจากคำในภาษาบาลีสันสกฤต อันเกิดจากการสมาสแบบสนธิสระของคำว่า ราม (rama) และคำว่า อธิปติ (adhi+pati=adhipati) แปลว่า ผู้เป็นใหญ่ เมื่อเกิดการสมาสโดยสนธิสระแล้ว ทำให้สระอะ /a/ ในพยางค์สุดท้ายของคำว่า ราม (rama) รวมกับสระอะ /a/ ในพยางค์สุดท้ายกลายเป็นสระอา /aa/ จึงได้คำว่ารามาธิปติหรือรามาธิบดีในภาษาไทย และคำว่ารามที่สามารถสมาสกับคำบาลีสันสกฤตได้นั้นต้องเป็นรามที่มาจากความหมายของคำว่าพระราม มิใช่ความหมายว่า กลาง ดังในความหมายตามข้อที่ ๑)

 

๓) ราม แปลว่า งาม

 

                   ร่าย …ผลพฤกษารามรวศ สองรากจต้องเจ็บปวดรามรยว แลนาเจ้า…

มหาชาติคำหลวง

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

 

คำว่า ราม ในตัวบทนี้แปลว่างาม ตามการอ้างอิงความหมายจากพจนานุกรมศัพท์วรรณคดีไทย สมัยอยุธยา เรื่องมหาชาติคำหลวง โดยราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของคำว่าราม ทั้งรามรวศและรามรยวว่า รามรวศ (ว.) รามรวด งามพร้อม งามเสมอเท่ากันหมด และรามรยว (ว.) รามเรียว ความงามเสื่อมถอย จากการสังเกตตัวบทที่ข้างต้นอันเป็นฉากที่สองกุมารกัณหาและชาลีถูกชูชกใช้เชือกมัดและลากดึงไปกับตน จึงเปรียบว่าผลไม้มีความงามเท่ากันทั้งหมดทุกผล แต่ความงามของกุมารทั้งสองกลับเสื่อมถอยลง (เรียว แปลว่า เสื่อมลง)

เมื่อพิจารณาความหมายที่ปรากฏในวรรณคดีในสมัยอยุธยาแล้ว สามารถสรุปได้ว่าในสมัยอยุธยา คำว่าราม มีปรากฏครบทั้งสามความหมาย คือความหมายว่า กลาง พอดี ความหมายว่าพระราม และความหมายว่างาม โดยความหมายของคำว่ารามที่แปลว่า “งาม” เป็นความหมายที่เพิ่มเติมขึ้นมาจากความหมายในสมัยสุโขทัย จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงด้านความหมายในลักษณะกว้างออกแบบเพิ่มความหมาย

 

 

 

 

 

 

คำว่ารามในสมัยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

          แม้ว่าในสมัยธนบุรีจะพบวรรณคดีที่แต่งในสมัยนี้ไม่มากนัก แต่วรรณคดีที่มีปรากฏอยู่ภายในยุคสมัยนี้ก็ยังคงมีหลักฐานให้สังเกตและศึกษาคำว่า ราม ว่ามีความหมายเหมือนในสมัยอยุธยาหรือเปลี่ยนแปลงอย่างไร เช่นในวรรณคดีเรื่องลิลิตเพชรมงกุฎและเรื่องอิเหนาคำฉันท์ ของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ที่ปรากฏคำว่าราม อันแปลว่างาม ดังตัวบทต่อไปนี้

 

                ร่าย ยายจรไปบัดดล ขึ้นสู่มนเทียรรัตน์ โอนเศียรดัดกรไหว้ ถวายดอกไม้พวงงาม พระนงรามยิ้มรับ จับมาลัยแลเห็น เป็นรูปท้าวสังวาส ยิ่งพิศวาสพิศวง ยกบุษบงบรรทับ กับอุระตระลึง นางคำนึงนิวรณ์

ลิลิตเพชรมงกุฎ

                                      แม้เจ้าจะนิ่งนิวรณโศก     บมิพร้องคะดีงาม

                             เรียมฤๅจะพาอรนงราม              จรกรุงอย่าสงกา

อิเหนาคำฉันท์

 

ตัวบททั้งสองตัวบทวรรณคดีทั้งสองเรื่องปรากฏความหมายของคำว่ารามเพียงแค่ความหมายว่า “งาม” โดยมักใช้คำว่านงราม อันหมายถึงหญิงงาม คำว่ารามในสมัยธนบุรี จึงมีความหมายว่างามและความหมายว่าพระราม เนื่องจากในสมัยธนบุรีมีปรากฏว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ที่ใช้สำหรับการแสดงมรสพ แต่ทรงพระราชนิพนธ์เพียงแค่ ๔ ตอนเท่านั้น ได้แก่ ตอนหนุมานเกี้ยวนางวานริน ตอนท้าวมาลีวราชว่าความ ตอนทศกัณฐ์ตั้งพิธีทรายกรด และตอนพระมงกุฎ

ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระกรุณาโปรดเกล้าให้ทำนุบำรุงวรรณคดีเก่าจากสมัยอยุธยาที่ต้นฉบับสูญหายไปเมื่ออยุธยาเสียกรุงครั้งที่ ๒ โดยเฉพาะวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ โดยอ้างอิงจากความหนึ่งในพระนิพนธ์เรื่อง “ตำนานอิเหนา” ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงเดชานุภาพว่า

          “การมหรสพต่าง ๆ ซึ่งเสื่อมทรามแต่ครั้งเสียกรุงเก่ามากลับมีบริบูรณ์ขึ้น เมื่อในรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ เพราะพระบาทสมเด็จฯ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพยายามก่อกู้การทั้งปวงโดยมีพระราชประสงค์จะให้กรุงเทพมหานคร รุ่งเรืองเหมือนเมื่อครั้งบ้านเมืองดีอยู่แต่ก่อน แม้เครื่องมหรสพเป็นต้นว่าโขนหุ่นของหลวงก็โปรดให้หัดขึ้นทั้งฝ่ายวังหลวงและวังหน้า แต่ละครผู้หญิงนั้นมีแต่ในพระราชวังหลวงแห่งเดียวตามแบบกรุงเก่า บทละครในที่ขาดหายไปแต่ก่อน ก็โปรดให้ขอแรงพระราชวงศานุวงศ์ และข้าราชการที่เป็นกวีสันทัดทางบทกลอน ช่วยกันแต่งถวาย ทรงตรวจแก้ไข แล้วตราเป็นบทพระราชนิพนธ์ไว้เป็นต้นฉบับสำหรับพระนครครบทุกเรื่อง มีเรื่องรามเกียรติ์ ๑๑๖ เล่มสมุดไทย เรื่องอุนรุท ๑๘ เล่มสมุดไทย เรื่องดาหลัง ๓๒ เล่มสมุดไทย เรื่องอิเหนา ๓๒ เล่มสมุดไทย”

ซึ่งบทละครเรื่องรามเกียรติ์ฉบับสมบูรณ์ที่แต่งขึ้นในรัชกาลที่ ๑ ยังคงมีการตีพิมพ์และใช้ในการศึกษามาจนถึงปัจจุบัน

คำว่ารามในสมัยธนบุรี-รัตนโกสินทร์ยังคงความหมายว่าพระราม ซึ่งเป็นความหมายหนึ่งที่ปรากฏในสมัยสุโขทัย หากแต่มีการเพิ่มความหมายว่างาม ซึ่งเป็นความหมายที่ไม่ปรากฏในสมัยสุโขทัย และความหมายว่ากลางหรือพอดี ที่พบในสมัยสุโขทัยและอยุธยา กลับไม่พบในสมัยธนบุรี-รัตนโกสินทร์จากการสังเกตวรรณคดีที่แต่งในสมัยธนบุรีเรื่องลิลิตเพชรมงกุฎ และเรื่องอิเหนาคำฉันท์

และเนื่องจากในสมัยรัตนโกสินทร์มีวรรณคดีที่แต่งเพิ่มขึ้นหลายเรื่อง การสังเกตการใช้คำว่ารามในความหมายต่าง ๆ ให้ครบทุกเรื่องนั้นจึงเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลามาก ผู้เขียนจึงคัดเลือกวรรณคดีในสมัยรัตนโกสินทร์มาศึกษาเพียงบางเรื่องเท่านั้น โดยวรรณคดีที่คัดเลือกเพื่อนำมาศึกษานั้นมีทั้งหมด ๗ เรื่องด้วยกัน ได้แก่ วรรณคดีของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ได้แก่ กากีคำกลอนและลิลิตพยุหยาตราเพชรพวง วรรณคดีของพระสุนทรโวหาร (สุนทรภู่) ได้แก่ โคลงนิราศพระบาทและนิทานคำกลอนลักษณวงศ์ ตอนลักษณวงศ์พานางทิพเกสรกลับเมือง และวรรณคดีของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้แก่ มัทนะพาธา ลิลิตนารายณ์สิบปาง และพระนลคำหลวง

โดยวรรณคดีที่นำมาศึกษาและปรากฏคำว่ารามในความหมายว่า พระราม ได้แก่

๑) โคลงนิราศสุพรรณ กล่าวถึง รามเกียรติ์และท้าวลัสเตียน ตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์

๏ ปลาดหลากฝากบุตรไว้           ให้เรียน

                                      กลอนกล่าวท่านลัศเตียน            แต่ต้น

                                      ลูกวานอ่านรามเกียร                เกิดยุก สนุกแฮ

                                      ช้างไล่ได้พาพ้น                      พูดอ้อนวอนวาน ฯ

๒) ลิลิตนารายณ์สิบปาง กล่าวถึง รามจันทราวตาร เป็นการอวตารเป็นพระรามในอวตาร                  ปางที่ ๗ ของพระนารายณ์

ร่ายจักขานใขตำนาน ในอวตารปางเจ็ด แห่งสมเด็จพิษณู  ผู้เป็นเจ้าจอม                    สวรรค์ เรียกรามจันทราวตาร ตำนานแถลงไว้ ในรามายณะ

                    ๓) นิราศพระบาท กล่าวถึง ตัวละครในรามเกียรติ์ ทั้งพระราม ทศกัณฐ์ และนางสีดา จาก                  การถามถึงชื่อเขาจากชาวบ้าน

ถึงเขาขาดพี่ถามถึงนามเขา         ผู้ใหญ่เล่ามาให้ฟังที่กังขา

                             ว่าเดิมรถทศกรรฐ์เจ้าลงกา          ลักษีดาโฉมฉายมาท้ายรถ

                             หนีพระรามกลัวจะตามมารุกรบ              กงกระทบเขากระจายทลายหมด

                             ศิลาแตกแหลกลงด้วยกงรถ                   จึงปรากฎตั้งนามมาตามกัน

 

และวรรณคดีที่นำมาศึกษาและปรากฏความหมายว่า งาม ได้แก่

๑) กากีคำกลอน กล่าวถึง นงราม อันแปลว่า หญิงงาม ซึ่งมักนำมาใช้เรียกแทนหญิงสาวในวรรณคดี ในที่นี้คือนางกากี

                                      ๏ คนธรรพ์อภิวันท์ถวิลหวาด       เชิงฉลาดชำนาญชาญสนาม

                                      ทูลสนองให้ต้องสำเนาความ         ซึ่งนงรามนิราศแรมนรินทร์

 

๒) ลิลิตพยุหยาตราเพชรพวง กล่าวถึง การชมขบวนม้าพยุหยาตรา โดยใช้คู่กับคำว่าเรืองที่มีความหมายไปในทิศทางเดียวกัน คือแสงสว่างน้อย ๆ ที่ทำให้เกิดความงาม

                                      ๏ ม้าเครื่องเนืองเนกชั้น   หลังหลาม

                                      องค์อิศรเรืองราม      รุ่งเร้า

                                      ตามศักดิ์พนักงานงาม      เพราเพริศ

                                      โดยขนัดจัดเคียงเข้า       คู่ด้วยงานกัน ฯ

 

๓) นิทานคำกลอนลักษณวงศ์ ตอนวิชาธรลักนางทิพเกสร กล่าวถึง   นงราม ที่แปลว่าหญิงงาม ซึ่งมักนำมาใช้เรียกแทนหญิงสาวในวรรณคดี ในที่นี้คือนางทิพเกสร

                                      ชลนัยน์ไหลหลั่งลงลามเนตร        น่าสังเวชนงรามพราหมณ์เกสร

                             แล้ววันทาพฤกษไพรครรไลจร                เข้าดงดอนเดินดั้นสันโดษเดียว

 

๔) มัทนะพาธา กล่าวถึง นงราม ที่แปลว่า หญิงงาม ซึ่งมักนำมาใช้เรียกแทนหญิงสาวในวรรณคดี ในที่นี้คือเหล่านางฟ้าบนสวรรค์

                   [ฉบงง ๑๖] สุเทษณ์.           ปวงรูปเจ้าวาดมานี้ เปนรูปนารี ที่ล้วนประเสริฐเลิดงาม;

                                                แต่กูดูทุกนงราม ก็ยังเห็นทราม กว่านารีรัตน์มัทนา.

                                                ฉนั้นแม้ไม่อาจหา เทียมเท่ามัทนา ฤๅกูจะกล่าวชมเชย?

                                                เปนกรรมกูแล้วเจ้าเอย, จำต้องชวดเชย ที่รักสมัคจริงใจ.

 

๕) พระนลคำหลวง สรรคที่ ๑๒ กล่าวถึง ราม ที่แปลว่างาม โดยใช้ชมหญิงสาว ในที่นี้คือนางทมยันตี

                             ๏ แต่ว่าดูรานาง ผู้สำอางค์เอี่ยมองค์ราม คือใครเราใคร่ถาม จงเล่าความปราถนา

 

เมื่อพิจารณาความหมายจากการสังเกตวรรณคดีในสมัยธนบุรี-รัตนโกสินทร์แล้ว สามารถสรุปได้ว่า คำว่ารามในสมัยธนบุรี-และรัตนโกสินทร์ ยังคงความหมายว่าพระรามและความหมายว่างาม ดังที่ปรากฏในสมัยอยุธยา แต่กลับไม่พบความหมายว่ากลางหรือพอดี ซึ่งเป็นความหมายที่ปรากฏในสมัยสุโขทัยและอยุธยา จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงความหมายในลักษณะแคบเข้า คือความหมายลดไปจากเดิม และนอกจากนี้ยังไม่พบการใช้คำว่ารามที่แปลว่ากลางหรือพอดี เพื่อใช้ระบุขนาดในภาษาพูดและภาษาเขียนในปัจจุบัน แต่กลับใช้คำว่า “กลาง” ที่ใช้ระบุตำแหน่งในสมัยสุโขทัย มาใช้ระบุขนาดในปัจจุบัน เช่น แก้วขนาดกลาง เตียงขนาดกลาง บางครั้งใช้การซ้ำคำเพื่อบอกขนาด เช่น โต๊ะตัวกลาง ๆ แต่ยังคงความหมายของคำว่ากลางที่ใช้ระบุตำแหน่งไว้ เช่น กลางทาง กลางแจ้ง กลางอากาศ

 

 

 

 

 

 

 

ราม แปลว่า งาม มาจากไหน

ความหมายว่า งาม ของคำว่ารามถือว่าเป็นความหมายใหม่นอกเหนือจากความหมายว่ากลาง และความหมายว่าพระราม และเป็นความหมายที่พบในสมัยอยุธยาจากการสังเกตวรรณคดีในสมัยอยุธยาจากเรื่องมหาชาติคำหลวง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดข้อสงสัยว่าความหมายว่ารามที่แปลว่างามนี้มีที่มาจากไหน และเหตุใดความหมายนี้จึงปรากฏขึ้นเพิ่มขึ้นมาในคำว่าราม

 

จากการสืบค้นจากพจนานุกรมไทย-เขมร ที่รวบรวมโดยอาจารย์กาญจนา นาคสกุล และรายงานการวิจัยเรื่องศัพท์หมวดภาษาบาลี-ล้านนาและศัพท์ขอมในภาษาล้านนา โดยอาจารย์บำเพ็ญ ระวิน ไม่ปรากฏคำว่ารามในภาษาเขมรหรือภาษาขอมแถบล้านนา แม้ว่าล้านนาจะเป็นพื้นที่ที่ใกล้เคียงและมีความสัมพันธ์ทางการเมืองที่แน่นแฟ้นกับอาณาจักรสุโขทัยในอดีต แต่ในสมัยสุโขทัยกลับไม่พบหลักฐานว่ามีการใช้คำว่ารามในความหมายว่างามแต่อย่างใด

 

อย่างไรก็ตาม เมื่อทำการสืบค้นต่อไปในภาษาบาลีสันสกฤตแล้วพบคำว่า “ราม (raama)” ที่มีความหมายและเสียงใกล้เคียงกับคำว่า ราม (ra:m) ซึ่งแปลว่างามที่พบในภาษาไทย โดยคำว่า ราม ในภาษาสันสกฤต มีหน้าที่ทางไวยกรณ์คือเป็นคำคุณศัพท์ แปลว่า น่าพึงใจ เป็นที่รัก น่ายินดี และงาม (อ้างอิงจากพจนานุกรมออนไลน์ http://spokensanskrit.org)

 

จึงมีความเป็นไปได้ว่าความหมายว่า งาม ของคำว่าราม อาจมีที่มาจากคำว่า ราม (raama) ภาษาสันสกฤต (ธาตุ รมฺ ที่แปลว่า ยินดี เพลิน งาม มีปรากฏในภาษาบาลีเช่นกัน) โดยอาจอิงมาจากคำว่า ราม (raama) และสันนิษฐานว่า การที่คำว่ารามที่แปลว่างามไม่ปรากฏในสมัยสุโขทัย แม้ว่าจะรับคำยืมจากภาษาบาลีสันสกฤตมาแล้วก็ตาม อาจเป็นเพราะในสมัยสุโขทัยยังไม่มีการแต่งวรรณคดีหรือนิทานต่าง ๆ เป็นบทร้อยกรอง ชาวสุโขทัยจึงไม่ยืมคำว่ารามที่แปลว่างามจากภาษาบาลีสันสกฤต เพราะมีคำว่า “งาม” หรือ “เยีย” ที่แปลว่า สวย งาม ใช้อยู่แล้ว แต่เมื่อมาถึงสมัยอยุธยาที่เริ่มมีการแต่งวรรณคดี ซึ่งจะต้องอาศัยการสรรคำและคำไวพจน์เพื่อเพิ่มความไพเราะของบทกวี ทำให้พบคำว่ารามที่แปลว่างามในสมัยอยุธยา

 

อย่างไรก็ตาม ยังมีความเป็นไปได้ว่าคำว่ารามที่แปลว่างามนี้ อาจไม่ได้มาจากคำว่าราม (raama) ที่แปลว่างามในภาษาบาลีสันสกฤต แต่มาจากการย้ายความหมายของคำว่ารามที่แปลว่ากลางหรือพอดี เชื่อมโยงกับลักษณะขนาดที่พอเหมาะพอดี ไม่เล็ก หรือไม่ใหญ่จนเกินไป ทำให้สิ่ง ๆ นั้นเกิดความงาม และคำว่านงรามที่มักปรากฏในวรรณคดีเรื่องต่าง ๆ สำหรับใช้เรียกหญิงสาว ก็อาจหมายถึงหญิงสาวที่มีรูปร่างพอเหมาะพอดีและสมส่วน ไม่อ้วนหรือผอมจนเกินไป ทำให้ความหมายของคำว่ารามแต่เดิมที่แปลว่ากลางหรือพอดี กลายเป็นความหมายว่างาม จนทำให้ความหมายเดิมเลือนและหายไปจากภาษาไทยในปัจจุบัน

 

 

 

รามที่แปลว่างาม เป็นที่มาของชื่อพระรามในรามายณะหรือไม่

เมื่อพบคำว่า ราม (raama) ที่แปลว่า งาม ในภาษาสันสกฤตแล้ว ทำให้เกิดอีกข้อสังเกตอีกหนึ่งข้อสังเกตคือ คำว่ารามนี้มีความเกี่ยวข้องกับชื่อของ “พระราม” ในรามายณะอันเป็นมหากาพย์ที่สำคัญเรื่องหนึ่งของศาสนาพราหมณ์หรือไม่

 

คำว่ารามายณะเกิดจากการสมาสของคำสองคำคือคำว่า ราม (raama) และคำว่าอายณ (अय) เป็น รามายณะ (raama+ayana=raamaayana) แต่คำว่า อายณ (ayana, เทวนาครี: अय) ไม่มีความหมายในภาษาสันสกฤต จึงสันนิษฐานว่าคำว่า อายณ อาจเป็นการแผลงเสียงและรูปเขียนมาจากคำว่าอายน (ayana, เทวนาครี: अय) ที่แปลว่า การท่องไป ในทำนองเดียวกับคำว่า นารายณ (naaraayana) จากคัมภีร์มารกัณเฑยปุราณะ ได้กล่าวถึงพระนามของพระนารายณ์ว่ามีความหมายว่า ผู้ท่องไปในน้ำ โดยเกิดจากการรวมคำของคำว่า นาร (naara, เทวนาครี: नार) แปลว่า น้ำ และคำว่า อายน (ayana, เทวนาครี: अय) ซึ่งแผลงเป็น อายณ (ayan8a, เทวนาครี: अय)  แปลว่า การท่องไป เมื่อเกิดการสมาสกันทำให้มีความหมายว่าผู้ท่องไปในน้ำ สอดคล้องกับเทวะตำนานของพระนารายณ์ที่มีที่ประทับอยู่ในน้ำนั่นเอง

 

และคำว่า ราม (raama) ที่แปลว่า งาม ในภาษาสันสกฤตนี้เป็นที่มาของชื่อพระรามด้วยหรือไม่ จากการแปลความหมายเมื่อนำคำว่า ราม (raama) และคำว่าอายณ (ayana) มาสมาสกันเป็นคำว่า รามายณะ แล้วไม่สามารถแปลความหมายได้ เพราะคำว่า ราม ที่แปลว่า งาม ในภาษาสันสกฤตนั้นมีหน้าที่ทางไวยากรณ์เป็นคำคุณศัพท์ การแปลว่า การท่องไปในความงาม จึงไม่ถูกต้อง เพราะหากแปลว่าความงาม คำว่ารามในภาษาสันสกฤตจะต้องทำหน้าที่ทางไวยากรณ์เป็นคำนามด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้น คำว่า ราม ที่เป็นชื่อพระราม ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับคำว่า ราม ที่แปลว่า งาม ในภาษาสันสกฤตแต่อย่างใด และรามายณะนั้นก็แปลว่าการท่องไปของพระรามหรือการเดินทางของพระราม

 

 

ส่วนที่มาของคำว่ารามที่เป็นชื่อของพระรามนั้น ตามเทวะตำนานในศาสนาฮินดูกล่าวว่า เกิดจากการนำอักษร ร จากบทสวดของพระนารายณ์ว่า โอม นะโม นารายณ และ ม จากบทสวดของพระศิวะว่า โอม นมัสศิวาย มารวมกัน เนื่องจากหนุมานในคัมภีร์ศิวปุราณะเป็นร่างอวตารหนึ่งของพระศิวะ คำว่า ราม ในชื่อของพระรามจึงมีความเกี่ยวข้องกับพระนารายณ์และพระศิวะนั่นเอง

 

 

 

 

 

 

 

สรุปที่มาของคำว่า ราม ทั้งสามความหมาย

ความหมายของคำว่า ราม ตามการให้ความหมายของราชบัณฑิตยสถาน มีทั้งหมดสามความหมาย คือความหมายว่า กลาง พอดี ความหมายว่า งาม และความหมายว่า ตัวเอกในเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งคือพระราม ในความหมายแรกที่แปลว่ากลางหรือพอดีนั้น คำว่ารามในความหมายนี้เป็นคำไทยแท้ เพราะไม่ปรากฏการยืมคำว่ารามในความหมายนี้ ในภาษาเขมรและภาษาบาลีสันสกฤต ซึ่งเป็นสองภาษาภาษาที่มีอิทธิพลด้านคำยืมในภาษาไทยมากที่สุด โดยคำว่ารามนั้นเป็นการใช้ระบุขนาดของสิ่งต่าง ๆ เช่น วิหารอันราม คือ วิหารขนาดกลาง

 

คำว่ารามที่มีความหมายระบุขนาดว่ากลางหรือพอดีในอดีต ใช้แยกกับคำว่า กลาง ที่ใช้ระบุตำแหน่งที่อยู่ เช่น กลางแจ้ง กลางอากาศ กลางทาง แต่ในปัจจุบัน คำว่ารามในความหมายว่ากลางหรือพอดีที่ใช้ระบุขนาดนั้นไม่ปรากฏใช้ในภาษาไทยแล้ว และคำว่า กลาง กลับมีความหมายกว้างออก เพราะนอกจากจะใช้ระบุตำแหน่งที่อยู่แล้วยังสามารถใช้ระบุขนาดได้ เช่น แก้วขนาดกลาง โต๊ะตัวกลาง ๆ จึงสันนิษฐานได้ว่าคำว่ารามที่มีความหมายว่ากลางหรือพอดีนั้นเป็นคำไทยแท้ แต่กลับไปพ้องกับคำว่า ราม (raama) ซึ่งมีความหมายว่าพระรามหรืองามในภาษาบาลีสันสกฤต

 

ด้วยเหตุจากการเปลี่ยนแปลงด้านเสียงของคำภาษาบาลีสันสกฤตในภาษาไทยที่มักตัดสระในพยางค์สุดท้ายของคำออก เพื่อให้พยัญชนะที่ประสมสระก่อนหน้านั้นไปเป็นตัวสะกดของพยางค์หน้า (raama> raama >ra:m) ทำให้เกิดการพ้องเสียงกับคำว่ารามที่เป็นคำไทยแท้โดยบังเอิญ เพราะฉะนั้นคำว่ารามที่แปลว่ากลางหรือพอดี จึงไม่ใช่คำที่มีที่มาจากภาษาเดียวกันกับคำว่ารามที่แปลว่างามหรือคำว่ารามที่แปลว่าพระราม

 

ส่วนคำว่า ราม ที่แปลว่า งาม สามารถสันนิษฐานได้ ๒ อย่างคือ

 

๑) การยืมคำจากภาษาสันสกฤต มาจากคำว่า ราม (raama) เพราะมีลักษณะการออกเสียงและความหมายคล้ายคลึงกันมากที่สุด และคำว่า ราม ที่แปลว่า พระราม ก็มีที่มาจากมหากาพย์เรื่องรามายณะอันเป็นมหากาพย์ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาพราหม์-ฮินดู ซึ่งในฉบับของไทยนำมาแต่งเป็นรามเกียรติ์ โดยที่คำว่าราม ที่แปลว่า งาม ในภาษาบาลีสันสกฤต ไม่ใช่คำเดียวกับชื่อของพระรามในรามายณะแต่อย่างใด

 

๒) การกลายความหมาย เป็นการกลายความหมายในลักษณะย้ายที่ กล่าวคือ คำว่ารามในความหมายเดิมในภาษาไทยใช้ระบุขนาดกลาง หรือขนาดพอเหมาพอดี เมื่อเชื่อมโยงกับลักษณะแล้ว อาจอธิบายได้ว่าสิ่งที่มีขนาดพอเหมาะพอดี ไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไป มักเป็นสิ่งที่มีความงาม เช่น คำว่า นงราม อันเป็นคำที่ปรากฏในวรรณคดีเรื่องต่าง ๆ คำนี้อาจมาจากการบรรยายลักษณะรูปร่างของหญิงสาวที่มีความพอเหมาะพอดี ไม่อ้วนหรือผอมมากเกินไป จนเกิดความงามจากความสมส่วน

 

อย่างไรก็ตาม ความหมายของคำว่ารามที่แปลว่างามนั้น ในปัจจุบันไม่พบการใช้ในภาษาพูดหรือภาษาเขียนเพื่อการสื่อสารแล้ว แต่ยังพบได้ในคำประพันธ์ต่าง ๆ และมักปรากฏคู่กับคำว่านง เป็นนงรามที่แปลว่าหญิงสาว หรือคำว่าเรือง โรจน์ ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้ในปัจจุบันคำว่ารามที่มีความหมายชัดเจนมากที่สุดเหลือเพียงความหมายว่าพระรามเท่านั้น

ชื่อ “พระรามคำแหง” มีที่มาอย่างไร *

เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีพระชนมายุ 19 พรรษา ได้ทรงทำยุทธหัตถีมีชัยต่อขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด (อยู่ในบริเวณแม่สอดใกล้จังหวัดตาก แต่อาจจะอยู่ในเขตประเทศพม่าในปัจจุบัน) พระบรมชนกนาถจึงทรงขนานพระนามว่า "พระรามคำแหง" ซึ่งแปลว่า "พระรามผู้กล้าหาญ" ภายหลังเมื่อพระบรมชนกนาถได้เสด็จสวรรคต และพ่อขุนบานเมือง พระเชษฐาธิราช ได้เสวย ...

พ่อขุนรามคำแหงเป็นคนไทยไหม

- เป็นราชธานีแห่งแรกของไทยและมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลที่สุด - เป็นดินแดนของพระมหากษัตริย์มหาราชพระองค์แรกของชาวไทย คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

ได้ปั่วได้นาง” มีความหมายว่าอย่างไร

ได้ปั่ว ได้นาง หมายถึง ได้บริวารชายหญิง (ปั่ว แปลว่า ชาย) ต่อช้าง หมายถึง ชนช้าง ตัวเนื้อตัวปลา

พ่อขุนรามคำแหงเป็นลูกชายคนที่เท่าไร

พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นพระราชโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ปฐมกษัตริย์ แห่งกรุงสุโขทัย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ มีพระมเหสีคือพระนางเสือง มีพระราชโอรสสามพระองค์ พระราชธิดาสองพระองค์ พระราชโอรส องค์ใหญ่สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังเยาว์ องค์กลางมี พระนามว่า บานเมือง และพระราชโอรสองค์ที่สาม คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อพระชันษาได้ ๑๙ ...