ตากระตุกข้างซ้ายหมายถึงอะไร

ความเชื่อที่หลายคนเคยได้ยินได้ฟัง ว่าวันไหนตากระตุกขึ้นมา มักจะมีเรื่องต่างๆ ที่แปลกไปจากเดิมเกิดขึ้น เป็นทั้งเรื่องดี หรือไม่ดีก็ได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะคิดว่า เป็นลางร้ายมากกว่า ทั้งนี้ยังเป็นความเชื่อส่วนบุคคล ที่เล่าต่อกันมาตั้งแต่โบราณ อ่านแล้วรู้สึกอย่างไร กับ ความเชื่อเรื่องตากระตุก ตาเขม่น

ความเชื่อเรื่องตากระตุก ตาเขม่น

ขวาร้าย-ซ้ายดี จริงไหม ?

ตาเขม่นในตอนเช้า

นับจากตื่นนอนใกล้รุ่ง

– ถ้าเขม่นในตาขวา : จักมีญาติมิตรต่างแดนมาหา
– ถ้าเขม่นในตาซ้าย : จักมีปากเสียงทะเลาะวิวาท หรือมีเรื่องเดือดร้อนมาสู่

ตาเขม่นในตอนสาย

นับจากเวลา 9.00 – 12.00 หรือเที่ยงวัน

– ถ้าเขม่นนัยน์ตาขวา : ญาติมิตรต่างแดนหรือต่างจังหวัดจะนำลาภมาให้
– ถ้าเขม่นนัยต์ตาซ้าย : จะเกิดเรื่องไม่ดีงามภายในครอบครัว

ตาเขม่น ในตอนบ่าย

พ้นจากเที่ยงวัน – 16.00 น.

– ถ้าเขม่นนัยน์ตาขวา : การที่คิดไว้หรือกำลังทำอยู่จะประสบผลสำเร็จ
– ถ้าเขม่นนัยน์ตาซ้าย : จะมีเพศตรงข้ามกล่าวขวัญถึงหรืออาจมาหา

ตาเขม่น ในตอนเย็น

ตั้งแต่ 17.00 – 19.00 น.

– ถ้าเขม่นนัยน์ตาซ้าย : จะมีญาติหรือเพื่อนสนิทที่อยู่ห่างไกลมาเยี่ยม
– ถ้าเขม่นนัย์น์ตาขวา : จักได้พบญาติหรือมิตรสหายที่จากกันไปนานโดยไม่นึกไม่ฝัน (และไม่ต้องการหรือเปล่า?)

เขม่นในตอนกลางคืน  19.00 เป็นต้นไป

– ถ้าเขม่นนัยน์ตาซ้าย : จักมีข่าวดีมาถึงในตอนเช้าของวันรุ่งขึ้น หรือจักได้ลาภจากผลงานที่ทำไว้
– ถ้าเขม่นนัยน์ตาขวา : จักมีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกับคนในครอบครัว

อีกคำทำนาย เกี่ยวกับ เรื่องตากระตุก

หากเขม่นตาในช่วงเช้า – บ่าย

คนโบราณกล่าวไว้ว่า

– หากเป็นข้างขวา จะมีโชค ลาภ ได้รับข่าวดี เรียกว่า จะสมหวังในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่คอย
– หากเขม่นที่ตาซ้าย ท่านว่าจะมีเคราะห์ โชคร้ายผิดหวังเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างแน่นอน เช่น มีการทะเลาะกัน เกิดขึ้น หรือจะต้องสูญเสียของรักบางอย่างไป
– ถ้าเขม่นตาไม่ว่าจะเป็นข้างซ้ายหรือข้างขวาในช่วงเวลาเย็น ถือว่ามีโชคมีลาภ จะได้พบญาติสนิทมิตรรักเดินทางมาหา

ถ้าเป็นในช่วงกลางคืน

– การเขม่นตาขวา จะได้ดี จะมีเคราะห์มีเหตุร้ายเกิดขึ้น
– ถ้าหากเขม่นตาซ้าย จะมีโชคลาภจากเพื่อน จะสมหวังสิ่งที่รอคอย เรียกว่า ขวาร้าย-ซ้ายดี
การเขม่นตานี้เชื่อกันว่า เป็นลางบอกเหตุที่แม่นยำมาก ท่านให้ถือเวลาที่จะเกิดเหตุไม่ดีและร้ายภายใน 3 วันอย่างแน่นอน

ตากระตุกข้างซ้ายหมายถึงอะไร

  • ความเชื่อเกี่ยวกับ ตำแหน่งไฝบนในหน้า มีความหมายอย่างไรในแง่โหราศาสตร์
  • 12 ราศี กับ ตัวเลข ตัวอักษร และสิ่งของนำโชค

แพทย์บอกเล่า !

หลาย ๆ คนคงเคยตากระตุก  แต่สิ่งแรกที่จะนึกถึงก็คือ  “ขวาร้าย ซ้ายดี”  มันเป็นคำเชื่อตังแต่โบราณมาแล้ว   แต่แท้ที่จริงแล้วเมื่อไปพบแพทย์  แพทย์ได้บอกให้ฟังว่าอาการตากระตุก แบ่ง ได้เป็น 2 กรณี คือ เปลือกตากระตุก และลูกตากระตุก

เปลือกตากระตุก อาจเกิดจากนิสัยความเคยชินในวัยเด็ก

เด็กบางคนสามารถกระตุกเปลือกตาและใบหน้าเป็นครั้งคราวได้ และสามารถหยุดได้ทันทีเมื่อต้องการหยุด อาการจะหายไปได้เมื่อโตขึ้น นอกจากนั้นอาจเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ มักพบในคนสูงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป เกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย จะมีอาการเปลือกตา ค่อยๆ บีบตัวเกร็งทีละน้อยจนกลายเป็นหลับตาแน่นมากทั้งสองตา เกิดเป็นครั้งคราว ขณะหลับจะไม่มีอาการ หากทิ้งไว้นาน ความรุนแรงและความถี่จะมากขึ้นจน กลายเป็นตาปิดตลอด ทำให้สูญเสียการมองเห็นได้

กล้ามเนื้อตา

เปลือกตากระตุกอีกชนิด เกิดจากกล้ามเนื้อตาและกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้ากระตุก มักเกิดจากเส้นเลือดในสมองโป่งพอง หรือมีเนื้องอกกดเส้นประสาทที่มาเลี้ยงเปลือกตา จะมีอาการบีบเกร็งของกล้ามเนื้อเปลือกตาและกล้ามเนื้อใบหน้าครึ่งซีกอาการเกร็ง จะคงอยู่แม้ขณะหลับจะมีอันตรายต้องได้รับการผ่าตัด

อาการ

ตากระตุก เป็นอาการกระตุกของลูกตาเป็นจังหวะด้วยทิศทางและความแรงแตกต่างกันออก ไปเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น เกิดขึ้นภายใน 2-3 เดือนแรกหลังคลอดหากลูกตากระตุกเท่าๆ กันในตาทั้งสองข้างอาจร่วมกับการมีศีรษะสั่นด้วย ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น นอกจากนี้ยังพบได้จากการล้าของกล้ามเนื้อตา ทำให้ตากระตุก กลุ่มนี้ไม่มีปัญหา อะไรหายเองได้ แต่หากอาการตากระตุกเป็นอยู่นานๆ ควรต้องไปพบแพทย์ เพื่อตรวจสอบหาสาเหตุของโรคจะได้แก้ไขอย่างถูกต้องต่อไป

อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนอาจจะสบายใจได้แล้ว่า ต่อไปนี้ เมื่อตากระตุก  ไม่ใช่แค่ว่า  “ขวาร้าย ซ้ายดี” เท่านั้น  แต่บางทีอาจจะเป็นอะไรกับตาเราก็ได้

เป็นอาการขยับหรือกระตุกอย่างรวดเร็วของกล้ามเนื้อเปลือกตาโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ เกิดขึ้นได้ทั้งกับเปลือกตาบนและเปลือกตาล่าง แต่มักจะเกิดกับเปลือกตาบนและมักเกิดกับตาทีละข้าง

อาการตากระตุกสามารถเกิดขึ้นกับใครก็ได้ โดยผู้ที่มีอาการส่วนใหญ่จะพบว่าอาการไม่มีความรุนแรงใด ๆ แต่บางรายอาจพบว่ามีอาการกระตุกอย่างรุนแรงจนทำให้รู้สึกต้องการที่จะหลับตาลงหรือก่อความรำคาญ และบางรายอาจมีอาการเพียงเล็กน้อยจนไม่สามารถสังเกตได้

ตากระตุกข้างซ้ายหมายถึงอะไร

อาการตากระตุก

อาการตากระตุกมักจะเกิดขึ้นกับตาทีละข้างเกิดขึ้นได้กับเปลือกตาบนและเปลือกตาล่าง แต่โดยส่วนใหญ่จะเกิดกับเปลือกตาบน อาการตากระตุกจะมีตั้งแต่อาการที่สังเกตได้น้อยไปจนถึงกระตุกมากจนทำให้เกิดความรำคาญ และอัตราอุบัติการณ์ของอาการไม่สามารถคาดเดาได้ โดยอาจเกิดแล้วหายไปได้เองภายในเวลาอันสั้น แต่อาจกลับมาเกิดขึ้นอีกครั้งในอีกไม่กี่ชั่วโมงถัดไป หรืออาจนานเป็นวันหรือมากกว่านั้นแล้วกลับมาเกิดซ้ำ

อาการตากระตุกจะไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวดและมักไม่เป็นอันตราย แต่อาจจะสร้างความรำคาญให้ผู้ที่มีอาการได้ นอกจากนั้น อาการมักจะหายไปเองโดยไม่ต้องรักษา แต่มีบางกรณีซึ่งพบได้น้อยที่อาการตากระตุกอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคเรื้อรังหรือมีความรุนแรง โดยเฉพาะในรายที่มีอาการกระตุกของส่วนอื่น ๆ บนใบหน้าร่วมด้วย

สาเหตุของตากระตุก

สาเหตุของตากระตุกยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่แพทย์ได้สันนิษฐานว่ามีความสัมพันธ์กับการทำงานของสมองส่วนที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อผิดปกติ โดยอาการมักเกิดขึ้นจากความเครียด การอดนอน การบริโภคคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์มาก และอาจรวมไปถึงสาเหตุต่อไปนี้ เช่น

  • เกิดการระคายเคืองที่ตาหรือเปลือกตาด้านใน
  • ตาล้า
  • ตาแห้ง
  • เวียนศีรษะ
  • ออกกำลังกาย
  • แสงสว่าง ลม
  • สูบบุหรี่
  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด
หากมีอาการหนังตากระตุกเรื้อรัง หรือที่เรียกว่าโรคหนังตากระตุก (Benign Essential Blepharospasm) ซึ่งทำให้เกิดอาการตากระตุกทั้งสองข้างจากการเคลื่อนไหวผิดปกติ (Dystonia) ของกล้ามเนื้อรอบดวงตาซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่ปัจจัยต่อไปนี้อาจทำให้มีอาการแย่ลงได้
  • เปลือกตาอักเสบ
  • เยื่อตาอักเสบ
  • ตาแห้ง
  • เกิดการระคายเคืองจากปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม เช่น ลม แสงสว่าง แสงอาทิตย์ หรือมลภาวะ
  • มีอาการอ่อนล้า
  • มีความไวต่อแสงสว่าง
  • มีความเครียด
  • บริโภคแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีนมากเกินไป
  • สูบบุหรี่
อาการตากระตุกอาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติบางอย่างที่เกิดขึ้นกับสมองและระบบประสาท ได้แก่
  • โรคอัมพาตใบหน้า (Bell' Palsy)
  • ภาวะคอบิดเกร็ง (Cervical Dystonia)
  • โรคกล้ามเนื้อบิดเกร็ง (Dystonia)
  • โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis)
  • โรคกล้ามเนื้อช่องปากหรือขากรรไกรบิดเกร็ง (Oromandibular Dystonia)
  • โรคกล้ามเนื้อใบหน้าบิดเกร็ง (Facial Dystonia)
  • โรคทูเร็ตต์ (Tourette's Disorder)
เมื่อใดที่ควรพบแพทย์?

อาการตากระตุกมักจะหายไปได้เองภายในไม่กี่วันหรือสัปดาห์ แต่หากพบว่ามีอาการต่อไปนี้ ควรไปพบแพทย์

  • มีอาการตากระตุกต่อเนื่องไม่หายเป็นระยะเวลา 1-2 สัปดาห์
  • เปลือกตาลงมาปิดสนิทในขณะที่มีอาการกระตุก หรือลืมตาได้ลำบาก
  • มีอาการกระตุกที่สวนอื่นบนใบหน้าหรือส่วนอื่นของร่างกายร่วมด้วย
  • หนังตาตก
  • เปลือกตาบวม แดงหรือมีขี้ตา
  • เกิดการบาดเจ็บที่กระจกตา
การวินิจฉัยตากระตุก

หากมีอาการตากระตุกต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานเป็นสัปดาห์ หรืออาการแย่ลงและสร้างความรำคาญ ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย โดยแพทย์จะวินิจฉัยด้วยการตรวจตาอย่างละเอียดเพื่อจำแนกโรคตาอื่น ๆ และภาวะที่มีอาการใกล้เคียงกัน เช่น ตาแห้ง ตาไวต่อแสง หรืออาการกระตุกที่ลามลงมายังส่วนอื่น ๆ ของใบหน้าหรือหากเกี่ยวข้องกับกล้ามส่วนต่าง ๆ ของใบหน้า ควรจะต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม

นอกจากนั้น หากแพทย์สงสัยว่าอาการตากระตุกมีสาเหตุเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของสมองหรือระบบประสาท แพทย์จะตรวจสอบหาสัญญาณหรืออาการอื่น ๆ เพิ่มเติม รวมไปถึงอาจส่งตัวไปให้แพทย์ระบบประสาทหรือผู้เชี่ยวชาญด้านระบบประสาทโดยเฉพาะ

การรักษาตากระตุก

อาการตากระตุกมักจะหายไปได้เองภายในไม่กี่วันหรือสัปดาห์โดยที่ไม่ต้องรักษา แต่หากอาการไม่หายไป ผู้ป่วยควรพยายามหลีกเลี่ยงหรือลดสาเหตุเบื้องต้นเพื่อบรรเทาอาการตากระตุกด้วยตนเอง ได้แก่

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • บริโภคคาเฟอีนให้น้อยลง
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
  • พยายามลดหรือหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความเครียด
  • ในกรณีที่มีอาการตาแห้งใช้ ควรใช้น้ำตาเทียมหรือยาหยอดตาเพื่อหล่อลื่นดวงตาและเยื่อตา
  • ใช้วิธีประคบร้อนเมื่อเริ่มมีอาการ เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณดวงตา
การรักษาโดยแพทย์

สำหรับกรณีที่ไม่มีรุนแรง แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยา เช่น ยาโคลนาซีแพม (Clonazepam) ยาลอราซีแพม (Lorazepam) ยาไตรเฮกซีเฟนิดิล (Trihexyphenidyl) โดยยาเหล่านี้จะสามารถบรรเทาอาการหรือหยุดอาการตากระตุกได้ชั่วคราวเท่านั้น

สำหรับกรณีที่อาการตากระตุกมีความรุนแรง แพทย์อาจส่งตัวให้จักษุแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อรักษาด้วยการฉีดโบทอกซ์ (Botox)ซึ่งสามารถหยุดอาการตากระตุกได้ชั่วคราวเป็นระยะเวลาไม่กี่เดือน และเมื่อโบทอกซ์หมดฤทธิ์ก็อาจต้องฉีดซ้ำอีกครั้ง

นอกจากนั้นการศัลยกรรม เช่น การตัดกล้ามเนื้อ (Myectomy) เป็นการตัดกล้ามเนื้อหรือเส้นประสาทตาของเปลือกตาออก เป็นวิธีที่อาจช่วยบรรเทาอาการของโรคตากระตุกที่มีความรุนแรงได้

ภาวะแทรกซ้อนตากระตุก อาการตากระตุกอาจเป็นอาการที่มีความรุนแรงซึ่งเกิดจากความผิดปกติของสมองหรือระบบประสาท แต่อย่างไรก็ตาม อาการตากระตุกที่เกิดขึ้นเพราะความผิดปกติดังกล่าวมักจะเกิดพร้อมกับอาการอื่น ๆ เสมอ โดยโรคหรือความผิดปกติของสมองและประสาทที่อาจทำให้เกิดอาการตากระตุก ได้แก่

  • โรคอัมพาตใบหน้า (Bell' Palsy) เป็นภาวะที่ทำให้ใบ้หน้าเพียงซีกหนึ่งเกิดอาการอ่อนแอลงหรือเบี้ยว
  • ภาวะกล้ามเนื้อบิดเกร็ง (Dystonia) ทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อกระตุกและกล้ามเนื้อที่ได้รับผลกระทบจะมีการบิดเกร็ง
  • โรคคอบิดเกร็ง (Cervical dystonia) ทำให้คอเกิดอาการกระตุกและทำให้ศีรษะบิดเกร็งไปอยู่ในตำแหน่งที่ทำให้เกิดความไม่สะดวกสบาย
  • โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis: MS) เป็นโรคที่เกิดความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับกระบวนการรับรู้และการเคลื่อนไหว
  • โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) ทำให้เกิดอาการสั่นที่แขนและขา กล้ามเนื้อเกิดความอ่อนล้า มีปัญหาในการทรงตัว และทำให้พูดได้ลำบาก
การป้องกันตากระตุก

เนื่องจากแพทย์ได้สันนิษฐานว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการตากระตุก ได้แก่ ความเครียด การอดนอน การบริโภคคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์มาก หรือการสูบบุหรี่ ดั้งนั้นการป้องกันในเบื้องต้นจึงทำได้ด้วยวิธีต่อไปนี้

  • ลดความเครียดหรือพยายามไม่ให้เกิดความเครียด
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ โดยเข้านอนให้เร็วขึ้นกว่าปกติ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
  • ลดการบริโภคคาเฟอีนและแอลกอฮอล์
ที่สำคัญควรหมั่นจดบันทึกในช่วงเวลาที่เกิดอาการว่าตนเองมีการบริโภคคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ รวมไปถึงระดับความเครียดและนอนหลับเพียงพอหรือไม่ เพื่อที่จะได้หาทางแก้ไขได้อย่างตรงจุด

ตากระตุกข้างซ้ายบอกอะไร

คำทำนายอาการตากระตุก เขม่นเปลือกตาซ้าย : จะเกิดปากเสียงทะเลาะวิวาท หรือมีเรื่องเดือดร้อนเข้ามาถึงตัว เขม่นเปลือกตาขวา : จะมีญาติมิตรที่อาศัยอยู่ต่างแดนเดินทางมาหา

ข้างซ้ายกระตุกแปลว่าอะไร

เขม่นเปลือกตาซ้าย หรือ ตากระตุกข้างซ้าย : จะเกิดปากเสียงทะเลาะวิวาท หรือมีเรื่องเดือดร้อนเข้ามาถึงตัว

ทำไมตาชอบกระตุกข้างขวา

พักผ่อนไม่เพียงพอ มีความเครียดสะสม ดื่มคาเฟอีนมาเกินไป จ้องแสงจ้าเป็นเวลานาน