การจัดการทรัพยากรมนุษย์เกี่ยวข้องกับเรื่องอะไรบ้าง

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้


คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน


คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

นอกจากเงินทุน วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ  และการบริหารจัดการด้านการดำเนินงานของบริษัท การบริหารทรัพยากรที่สำคัญมาก ๆ อีกอย่างหนึ่งของการทำธุรกิจ ก็คือ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ นั่นเอง บริษัทมีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จได้มากกว่า หากสามารถบริหารบุคลากรภายในบริษัทให้สามารถทำงานได้อย่างมีดี และมีประสิทธิภาพในการทำงานมากกว่า 

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ คือ กลยุทธ์ในการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดในองค์กร นั่นคือ มนุษย์ หรือบุคคลากรของบริษัทนั่นเอง วัตถุประสงค์ก็เพื่อให้เพื่อบรรลุเป้าหมายในการดำเนินงานต่าง ๆ ประกอบด้วย

  • การสรรหาและคัดเลือกบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงานในองค์การ (Recruitment and Selection)
  • เพื่อให้สามารถมอบหมายงานให้บุคลากรทำโดยให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการทำงาน (Utilization) 
  • เพื่อบำรุงรักษาพนักงานที่มีความสามารถให้อยู่กับองค์การนาน ๆ (Maintenance) 
  • เพื่อพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถของพนักงานเสมอ (Development) 

หน้าที่ในการบริหารจัดการบุคคลนี้ถือว่าเป็นภาระกิจสำคัญอย่างยิ่งเพราะบุคคลที่มีศักยภาพก็หมายถึงคนที่จะสามารถทำงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพและทำให้บริษัทพัฒนาได้อย่างมีศักยภาพด้วยเช่นกัน

แนวคิดการบริหารทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่

1.กลุ่มแนวความคิดแบบอ่อน (Soft)

เป็นแนวคิดของการที่เน้นความสำคัญไปที่ “คน” มากกว่า “การบริหารจัดการ” โดยเชื่อว่าบุคลากรทุกคนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและมีความสามารถของตัวเอง วิธีการบริหารทรัพยากรมนุษย์จึงเป็นวิธีการที่เน้นไปในเรื่องของความไว้เนื้อเชื่อใจกัน ใช้วิธีการสร้างพันธกิจผูกพันธ์ (Commitment) สร้างความร่วมมือ เกี่ยวข้อง (Involvement) และ การมีส่วนร่วม (Participation) ให้เกิดขึ้นกับพนักงานในองค์กร

2.กลุ่มแนวความคิดแบบแข็ง (Hard)

เป็นแนวคิดที่ตรงกันข้ามกับแนวคิดแบบอ่อน คือ จะให้ความสำคัญกับ “การบริหารจัดการ” มากกว่า “คน” โดยเชื่อว่าการบริหารจัดการเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญมากที่สุดในการบริหารจัดการในเรื่องของทรัพยากรมนุษย์ การบริหารจัดการที่ดีจะสามารถดึงศักยภาพสูงสุดของบุคลากรแต่ละคนออกมา ทำให้สามารถใช้คนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคุ้มค่าที่สุด แนวคิดนี้มุ่งเน้นการบริหารจัดการเป็นอันดับต้น ๆ และการจัดสรรทรัพยากรให้เหมาะสม

ขั้นตอนการบริหารทรัพยากรมนุษย์

1.การสรรหาทรัพยากรบุคคล

เริ่มด้วยการประเมินกำลังคนที่ต้องการจัดหา โดยคำนึงถึงความเหมาะสมของกำลังพลที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน ฝ่ายทรัพยากรบุคคลจะต้องสามารถคัดสรรพนักงานที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งงาน และต้องสามารถประเมินศักยภาพของพนักงานได้ดีเพื่อให้ได้บุคคลากรที่มีความเหมาะสม 

2.การอบรมและพัฒนาทักษะความรู้

เมื่อได้บุคลากรเข้ามาในบริษัทแล้ว ก็ต้องมีการอบรมและพัฒนาทักษะความรู้ตั้งแต่เริ่มต้น และควรมีการส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะของบุคคลากรอย่างต่อเนื่องเสมอ ๆ นอกจากจะช่วยเพิ่มความรู้ความสามารถของทรัพยากรมนุษย์แล้วยังช่วยให้องค์กรมีศักยภาพมากขึ้นตามไปด้วย

3.การบริหารจัดการเรื่องอัตราจ้างงาน

อีกหนึ่งเรื่องสำคัญ คือ การบริหารจัดการเรื่องค่าจ้าง เงินเดือนพนักงานให้มีความเหมาะสม รวมไปถึงการบริหารจัดการด้านการเงินต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพนักงาน เช่น ประกันสังคม, ประกันสุขภาพ, กองทุนต่างๆ, ภาษี, ค่าชดเชยในกรณีต่าง ๆ และอื่น ๆ

4.การดูแลประสิทธิภาพในการทำงานงาน

ต้องมีการควบคุมและประเมินผลการทำงาน เพื่อควบควมประสิทธิภาพของบุคคลากรในการปฎิบัติหน้าที่ โดยควรมีการตั้ง Key Performance Indicator หรือ KPI ซึ่งก็คือ “ดัชนีชี้วัดควาสำเร็จ” เป็นตัววัดคุณค่าที่ประเมินผลออกมาเป็นตัวเลข/จำนวน/ปริมาณได้ชัดเจนและแสดงให้เห็นว่าบริษัทหรือพนักงานนั้นมีศักยภาพเพียงไร หรือประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้หรือไม่

5.การลดความขัดแย้งและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีภายในองค์กร

นอกจากการดูแลและบริหารประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานแล้ว ความสัมพันธ์ของบุคลากรภายในองค์กรก็สำคัญไม่แพ้กัน โดยส่วนหนึ่งของการบริหารทรัพยากรมนุษย์คือความสามารถในการแก้ไขปัญหาด้านความขัดแย้งต่าง ๆ และทำให้คนในองค์กรมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีความสมานฉันท์ปรองดอง เมื่อมีปัญหาก็สามารถช่วยกันแก้ไขให้ผ่านไปได้ พนักงานอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ถือเป็นความสำเร็จอย่างหนึ่งขององค์กรอีกเช่นกัน 

การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นปัจจัยใหญ่ปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยให้องค์กรเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างไม่มีสะดุดนั่นเองค่ะ ยิ่งมีการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ได้ดีมากเท่าไหร่ ประสิทธิภาพขององค์กรก็มีโอกาสที่จะเติบโตมากขึ้นด้วยเช่นกันค่ะ

            7.ทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างคนทำงานด้วยกันและคนทำงานกับผู้บริหาร เนื่องจากการจัดการทรัพยากรมนุษย์จะให้ความสำคัญกับการพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนทำงานด้วยกัน และระหว่างคนทำงานกับผู้บริหารหรือแรงงานสัมพันธ์ เพื่อให้เกิดบรรยากาศที่ดีในการทำงาน และเป็นการลดความขัดแย้งและกรณีพิพาทต่าง ๆ ที่จะส่งผลลบต่อองค์การ

การ จัดการ ทรัพยากร บุคคล ประกอบด้วย อะไร

การจัดการทรัพยากรมนุษย์ คือ การใช้ทรัพยากรมนุษย์อันทรงคุณค่าขององค์การให้ปฏิบัติงานได้ สำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์การโดยมีภารกิจหลัก 7 ด้าน (Robert and David, 2001 : 4) คือ 1) การ วางแผนกำลังคน 2) การสรรหาและคัดเลือก 3) การฝึกอบรมและพัฒนา 4) การจ่ายค่าตอบแทนและ ผลประโยชน์เกื้อกูล 5) สุขภาพและความปลอดภัย 6) ...

การบริหารทรัพยากรมนุษย์มีความสัมพันธ์กับเรื่องใด

10.1.1 สรุปได้ว่าการบริหารทรัพยากรมนุษย์ มี ความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน 1) การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ด้านการสรร หาและคัดเลือก ด้านการพัฒนาและฝึกอบรมและด้าน ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์อื่นมีความสัมพันธ์กับ ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน (ด้านปริมาณงาน) อย่างมี นัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนด้านการประเมินผล ...

กิจกรรมใดที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรมนุษย์

การจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Management).
การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Planning) ... .
การจัดคนเข้าทำงาน (Staffing) ... .
การฝึกอบรมและการพัฒนา (Training and Development) ... .
การจ่ายค่าตอบแทน (Compensation) ... .
การรักษาความสัมพันธ์ (Relationship Maintenance).

ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์มีเพื่อวัตถุประสงค์ใด

วัตถุประสงค์ของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (HRM) 1. เพื่อสรรหาและคัดเลือกบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงานในองค์กร (Recruitment and Selection) 2. เพื่อใช้ศักยภาพของพนักงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Utilization) 3. เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรให้ก้าวหน้า (Development)