วันรัฐธรรมนูญมีความหมายอะไร

วันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปีเป็น วันรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ และเป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475
รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฎหมายลำดับศักดิ์สูงสุดแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองของประเทศ ซึ่งตั้งแต่ปีพ.ศ. 2475 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแล้วทั้งสิ้น 18 ฉบับ อันแสดงให้เห็นถึงความขาดเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
ต่อมาเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นั้น ถือได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์ไทยเชิงการเมืองการปกครอง เมื่อคณะราษฎร ซึ่งประกอบด้วย ข้าราชการสายทหารบก ทหารเรือ และสายพลเรือน จำนวน 99 คน โดยมีพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้า ได้ร่วมกันทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศจากพระมหากษัตริย์ เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด และมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้ รัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญ ฉบับแรกของไทย มีชื่อว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475" จากนั้น ราชอาณาจักรไทย ก็ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาตามลำดับ ดังนี้
1. พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 (27 มิถุยายน - 10 ธันวาคม 2475)
2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม (ไทย) พุทธศักราช 2475 (10 ธันวาคม 2475 - 9 พฤษภาคม 2489) ถูกยกเลิกเพราะล้าสมัย
3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 (9 พฤษภาคม 2489 - 8 พฤศจิกายน 2490) ถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร
4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 รัฐธรรมนูญตุ่มแดง หรือ รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม (9 พฤศจิกายน 2490 - 23 มีนาคม 2492)
5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 (23 มีนาคม 2492 - 29 พฤศิกายน 2494) ถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร
6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 (8 มีนาคม 2495 - 20 ตุลาคม 2501) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิวัติ
7. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 (28 มกราคม 2502 - 20 มิถุนายน 2511)
8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 (20 มิถุนายน 2511 - 17 พฤศจิกายน 2514) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิวัติ
9. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 (25 ธันวาคม 2515 - 7 ตุลาคม 2517)
10. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 (7 ตุลาคม 2517 - 6 ตุลาคม 2519) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
11. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 (22 ตุลาคม 2519 - 20 ตุลาคม 2520)
12. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 (9 พฤศจิกายน 2520 - 22 ธันวาคม 2521)
13. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 (22 ธันวาคม 2521 - 23 กุมภาพันธ์ 2534) ถูกยกเลิกโดยคณะ รสช.
14. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 (1 มีนาคม - 9 ตุลาคม 2534)
15. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 (9 ธันวาคม 2534 - 11 ตุลาคม 2540) ถูกยกเลิกหลังตรารัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
16. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ฉบับประชาชน (11 ตุลาคม 2540 - 19 กันยายน 2549) ถูกยกเลิกโดยคณะ คปค.
17. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 (1 ตุลาคม 2549 - 24 สิงหาคม 2550)
18. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (24 สิงหาคม 2550 - 22 กรกฎาคม 2557)
19. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 (22 กรกฎาคม 2557-6 เมษายน 2560)
20.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (ุ6 เมษายน 2560 - ปัจจุบัน)

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
นับเป็นรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ร่างขึ้นโดยคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญในระหว่าง พ.ศ. 2557-2560 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงลงพระปรมาภิไธย ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต กรุงเทพมหานคร และมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระราชโองการ

สำหรับกิจกรรมในวันรัฐธรรมนูญ
มีการจัดพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลฉลอง ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ทุกปีสืบมา งานนี้เป็นงานพระราชพิธีและรัฐพิธีร่วมกัน และมีพิธีการวางพวงมาลาถวายสักการะ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และมีการประดับธงชาติบริเวณอาคารบ้านเรือน

ข้อมูลจาก
สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
รัฐสภาไทย

10 ธันวาคมของทุกปี เพื่อเป็นการรำลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก ฉบับถาวร ถือเป็นกฏหมายสูงสุดของประเทศไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ณ วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475

ประวัติความเป็นมา

ในปี พ.ศ. 2475 เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ที่ใช้กันมาอย่างยาวนาน ไปสู่ระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งใช้กฏหมาย “รัฐธรรมนูญ” เป็นกฏหมายสูงสุดในการปกครอง

รายละเอียดเพิ่มเติม: http://campus.sanook.com/944520/

วันรัฐธรรมนูญมีความหมายอะไร

ความสำคัญของวันรัฐธรรมนูญ

วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ที่ถือเป็นฉบับถาวร เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองแบบรัฐสภา ผ่านการเลือกตั้งจากประชาชน โดยพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ซึ่งตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นหลายฉบับ มีการแก้ไขร่างกฏหมายหลายรอบ เพื่อให้เหมาะสมกับโลกที่เปลี่ยนไป ดังนั้นในวันรัฐธรรมนูญจึงเป็นวันหยุดราชการ ที่กำหนดขึ้นเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ที่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก ให้แก่ประเทศไทย

รัฐธรรมนูญคืออะไร

รัฐธรรมนูญ ภาษาอังกฤษคือ Constitution หมายถึง กฏหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ/รัฐ และต้องมีลักษณะเป็นลายลักษณ์อักษร หลายๆประเทศของโลกที่ปกครองด้วยประบอบประชาธิปไตย มักมีการใฃ้รัฐธรรมนูญเป็นกฏหมายสูงสุด เพื่อเป็นหลักและแนวทางในการบริหารประเทศ

วันรัฐธรรมนูญมีความหมายอะไร

รัฐธรรมนูญฉบับแรกของโลก เกิดขึ้นในวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1215 เป็นสัญญาระหว่างพระมหากษัตริย์กับขุนนางและพระสงฆ์ มีชื่อว่า “มหากฏบัตร” โดยมีเนื้อหาสำคัญคือการจัดการองค์กร และการบริหารอำนาจ

คำว่า Constitution ในภาษาอังกฤษนั้น แปลตรงตัวว่า “การสถาปนา”

รัฐธรรมนูญไทยฉบับแรก

ก่อนหน้าจะมีรัฐธรรมนูญฉบับจริงในปัจจุบัน หลังจากระบบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สิ้นสุดลง ประเทศไทยได้ใช้พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว 2475 ซึ่งร่างโดยคณะราษฎร บังคับใช้เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ก่อนจะมีการลงพระปรมาภิไธยโดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วจึงเปลี่ยนจากฉบับชั่วคราว เป็นฉบับถาวร ในปัจจุบัน

อ่านรายละเอียด รัฐธรรมนูญของไทย

กิจกรรมวันรัฐธรรมนูญ

วันรัฐธรรมนูญมีความหมายอะไร

มีพิธีการวางพวงมาลาถวายสักการะโดยพร้อมเพรียงกัน ณ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหลายๆ จุดสำคัญมีการประดับธงชาติ ซึ่งโดยปกติจะเป็นการประดับธงชาติ ต่อจากวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคมของทุกปี