เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ไว้ทำอะไร

วัดปริมาณออกซิเจนในเลือดและทดสอบประสิทธิภาพปอด ด้วยตนเอง โดย แพทย์หญิงร่มเย็น ศักดิ์ทองจีน แพทย์ชำนาญการด้านโรคติดเชื้อ โรงพยาบาลสินแพทย์

สวัสดีค่ะ วันนี้หมอจะมาแนะนำการวัดระดับออกซิเจนในเลือด และการทดสอบประสิทธิภาพปอด ด้วยตนเองนะคะ

เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ไว้ทำอะไร

อันนี้คือ เครื่องวัดระดับออกซิเจนนะคะ วิธีการใช้คือ กดปุ่มเปิดเครื่อง และนำหนีบที่นิ้วมือนะคะ หายใจเข้าออกลึกๆ แล้วรอสักพักนะคะ

เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ไว้ทำอะไร

ค่าที่วัดได้นะคะ ตัวบน คือ ระดับออกซิเจนในเลือด มีหน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์ ตอนนี้อยู่ที่ 99% นะคะ ส่วนตัวล่าง คือ อัตราการเต้นของหัวใจค่ะ อยู่ที่ 91 ครั้งต่อนาทีค่ะ

หลังจากวัดออกซิเจนเสร็จ ให้เราจดค่าที่วัดได้ไว้นะคะ แล้วเราจะมาทดสอบประสิทธิภาพปอดของเราด้วยการออกกำลังกายเป็นเวลา 3 นาที นะคะ การออกกำลังกายที่แนะนำระหว่างกักตัว คือ การปั่นจักรยานอากาศค่ะ

เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ไว้ทำอะไร

เมื่อปั่นจักรยานครบ 3 นาที ให้ท่านวัดระดับออกซิเจนอีกครั้งนึงนะคะ ค่าที่วัดได้ส่วนใหญ่จะเท่ากับ หรือ มากกว่าค่าเดิมนะคะ ซึ่งค่าปกติระดับออกซิเจนจะอยู่ที่ 96-100% แต่หากค่าที่วัดได้ลดลง จากครั้งที่หนึ่งมากกว่า 3% นะคะ ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ทันทีค่ะ

หากพูดถึงสถานการณ์ของโรคระบาดไวรัสโควิด 19 ในประเทศไทยกล่าวได้ว่ายังเป็นเรื่องที่ควรวิตกกังวล เนื่องจากพบไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ จำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งมีรายงานว่าพบผู้ป่วยโควิดจำนวนหนึ่งที่ไม่แสดงอาการป่วย แทบจะไม่มีอาการเหนื่อยหรือมีอาการบ่งชี้เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ แต่พบว่าปอดมีความผิดปกติ เมื่อตรวจวัดระดับออกซิเจนในเลือดพบว่าระดับความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดต่ำแต่ร่างกายไม่ตอบสนองต่อความผิดปกตินี้ ส่งผลให้เมื่อผู้ป่วยมาพบแพทย์ อาการจึงรุนแรงกว่าที่คาดไว้ เราเรียกสภาวะนี้ว่า ภาวะพร่องออกซิเจนเรื้อรัง (Happyhypoxia) ดังนั้นเครื่องตรวจวัดระดับออกซิเจนในเลือด หรือ Pulse Oximeter จึงมีบทบาทสำคัญในการช่วยติดตามอาการของผู้ป่วยโควิด 19 ทั้งผู้ป่วยที่รักษาตัวที่โรงพยาบาลและที่บ้าน

เครื่องวัดออกซิเจนมีทั้งแบบตั้งพื้นและแบบพกพา

ในบทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะเครื่องวัดออกซิเจนพกพาแบบปลายนิ้ว หรือชื่อเต็มคือเครื่องตรวจวัดความอิ่มตัวออกซิเจนของฮีโมโกลบินจากชีพจร โดยจะบอกค่าโดยประมาณของระดับความอิ่มตัวออกซิเจนที่จับ
กับฮีโมโกลบินที่อยู่ภายในหลอดเลือดแดง ซึ่งหากค่าความอิ่มตัวออกซิเจนในเลือดสูง แสดงว่าอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายสามารถนำออกซิเจนในกระแสเลือดไปใช้ได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการ ในทางกลับกันหากค่าความอิ่มตัวออกซิเจนในเลือดต่ำแสดงว่าอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายจะได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ส่งผลต่อระบบการทำงานของร่างกาย อีกทั้งค่าความอิ่มตัวออกซิเจนในเลือดนี้ยังเป็นค่าสำคัญที่ใช้บอกประสิทธิภาพการทำงานของปอดด้วย

ความอิ่มตัวของออกซิเจน (SpO2 ) คืออะไร ?

ส่วนประกอบสำคัญที่อยู่ในเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีหน้าที่นำออกซิเจนไปยังเซลล์และอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายเรียกว่าฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) โดยทั่วไปแล้วฮีโมโกลบิน 1 โมเลกุล จะสามารถจับกับออกซิเจนได้ 4 โมเลกุล ในเม็ดเลือดแดงจะมีฮีโมโกลบินอยู่ 4 ชนิด ซึ่งเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วนี้จะตรวจวัดได้แค่ 2 ชนิด คือ ออกซีฮีโมโกลบิน (Oxyhemoglobin) เป็นฮีโมโกลบินที่จับกับออกซิเจน เพื่อนำออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย และดีออกซีฮีโมโกลบิน (Deoxyhemoglobin) เป็นฮีโมโกลบินที่ปลดปล่อยออกซิเจนออกไปแล้ว ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดจึงหมายถึงการวัดว่าเม็ดเลือดแดงของเราสามารถจับกับออกซิเจนได้มากน้อยเท่าไหร่ โดยแสดงผลออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ของออกซิเจนที่จับตัวกับเม็ดเลือดแดง นั่นคือถ้าฮีโมโกลบินจับกับออกซิเจนจนครบทุกหน่วย หมายความว่า ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดเป็น 100% โดยปกติความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดงอยู่ที่ประมาณ 95% – 100% แต่ถ้าระดับออกซิเจนในเลือดอยู่ต่ำกว่า 95% ร่างกายจะได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ จนทำให้เกิดภาวะพร่องออกซิเจน

หลักการทำงานเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว

เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วทำงานโดยใช้หลักการดูดกลืนแสง (Light Absorption) คือ สารต่างชนิดกันจะมีคุณสมบัติในการดูดซับแสงที่มีความยาวคลื่นแตกต่างกัน โดยออกซีฮีโมโกลบินดูดกลืนคลื่นแสงช่วงความยาวคลื่น 600 – 750 นาโนเมตร เป็นคลื่นแสงสีแดงมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และดีออกซีฮีโมโกลบินดูดกลืนคลื่นแสงที่มีความยาวคลื่น 850 – 1,000 นาโนเมตร เป็นคลื่นแสงอินฟราเรดที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วทำงานโดยแหล่งกำเนิดแสงจะยิงลำแสงที่ความยาวคลื่นต่างกัน 2 แบบนี้ผ่านนิ้วมือเพื่อทะลุไปยังด้านของตัวรับสัญญาณพร้อม ๆ กัน เพื่อวัดค่าประมาณของฮีโมโกลบินทั้งสองแบบแล้วคำนวณค่าความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดแสดงผลออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์

แต่ทั้งนี้หากบุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่ผู้ป่วยโควิด 19 ใช้เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วแล้วแสดงผลออกมาว่ามีค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดงต่ำกว่า 95% ไม่ได้หมายความว่าบุคคลนั้นเป็นโรคโควิด 19 แต่อย่างใด เนื่องจากเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วใช้บ่งบอกประสิทธิภาพของปอดเท่านั้น อีกทั้งภาวะพร่องออกซิเจนก็เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น โรคหอบหืด ปอดบวม ปอดแฟบ จมน้ำ หรือโรคโลหิตจางที่ร่างกายมีจำนวนเม็ดเลือดแดงลดลงทำให้ไม่สามารถจับกับออกซิเจนได้ตามปกติ เป็นต้น

หลักการทำงานของเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว

(Fingertip Pulse Oximeter)

เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ไว้ทำอะไร

เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ไว้ทำอะไร

(Hemoglobin)  ฮีโมโกลบินเป็นส่วนประกอบสำคัญที่อยู่ในเซลล์เม็ดเลือดแดง

มีหน้าที่นำออกซิเจนไปยังเซลล์และอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย 

แต่ละชนิดที่สามารถถูกตรวจวัดได้ด้วยเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ดังนี้
(Fingertip Pulse Oximeter)

1.Oxyhemoglobin (ออกซีฮีโมโกลบิน) คือฮีโมโกลบินที่จับอยู่กับออกซิเจนในเลือด

2.Deoxyhemoglobin หรือ Reduce Hemoglobin (ดีออกซีฮีโมโกลบิน) คือฮีโมโกลบินที่ปลดปล่อยออกซิเจนออกไปแล้ว โดยส่วนมากจะจับกับ Carbon Dioxide ซึ่งปลดปล่อยออกมาจากเซลล์

3.Carboxyhemoglobin (คาโบออกซีฮีโมโกลบิน) คือฮีโมโกลบินที่จับอยู่กับ Carbon Monoxide ปกติมีปริมาณน้อยมากจนแทบไม่มีเลย แต่ปริมาณสามารถเพิ่มมากขึ้นได้ในกรณีที่ได้รับสาร Carbon Monoxide

4.Methemoglobin(เมธฮีโมโกลบิน) เป็นฮีโมโกลบินที่ภายในโมเลกุลมีธาตุเหล็กที่มีประจุเป็น 3+ แทนที่จะเป็น 2+ ทำให้ไม่สามารถจับกับออกซิเจนได้

 

เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ไว้ทำอะไร

เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ไว้ทำอะไร

หลักการทำงานของเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว (Finger Pulse Oximeter)

เนื่องจากเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว (Fingertip Pulse Oximeter) นั้นเป็นเครื่องตรวจวัดร้อยละของฮีโมโกลบินที่จับอยู่กับออกซิเจนในเลือดแดง ดังนั้นเงื่อนไขการทำงานของเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว (Fingertip Pulse Oximeter) จึงต้องประกอบด้วยส่วนหลัก 2 ส่วนคือ

1.สามารถแยกระหว่างฮีโมโกลบินที่จับอยู่กับออกซิเจนและที่ไม่ได้จับอยู่กับออกซิเจนได้

2.สามารถแยกได้ว่าออกซีฮีโมโกลบินนั้นเป็นออกซีฮีโมโกลบินที่อยู่ในเลือดแดง (ไม่ใช่ในVenous Blood เพราะปกติใน Venous Blood ก็มีออกซีฮีโมโกลบินอยู่แล้ว) 

 

เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ไว้ทำอะไร

เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ไว้ทำอะไร

การวัดปริมาณออกซีฮีโมโกลบินแยกกับดีออกซีฮีโมโกลบิน (Reduce Hemoglobin)

       ในการวัดระดับออกซีฮีโมโกลบินกับดีออกซีฮีโมโกลบิน (Reduce Hemoglobin) นั้นอาศัยหลักการของ Light Absorption คือสารต่างชนิดกันจะมีคุณสมบัติในการดูดซับแสงที่มีความยาวคลื่นแตกต่างกัน หากใช้แสงชนิดที่มีความเจาะจงกับออกซีฮีโมโกลบินฉายผ่านบริเวณที่มี

ออกซีฮีโมโกลบินสารนี้ก็จะดูดซับแสงไป ส่วนที่เหลือก็จะทะลุผ่านไปยังฉากรับที่อยู่ด้านล่างซึ่งจะมีตัววัดปริมาณแสงที่เหลืออยู่นำไปคำนวณปริมาณแสงที่หายไป ก็จะรู้ได้ว่ามี

ออกซีฮีโมโกลบินอยู่เท่าใด ส่วนดีออกซีฮีโมโกลบิน (Reduce Hemoglobin) ซึ่งมีคุณสมบัติดูดซับแสงที่ค่าความยาวคลื่นอื่น ก็ใช้ค่าความยาวคลื่นอื่นแต่ใช้วิธีการเดียวกัน

จากการวิจัยพบว่าออกซีฮีโมโกลบินนั้นมีคุณสมบัติดูดซับแสงที่มีคลื่นความยาว 940 nm ซึ่งเป็นความยาวคลื่นระดับอินฟราเรด (ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า) แต่ดีออกซีฮีโมโกลบิน (Reduce Hemoglobin) สามารถดูดซับแสงได้ดีที่คลื่นความยาว 660 nm ซึ่งเป็นแสงสีแดง ดังนั้นแสงที่แสดงเวลาเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว (Fingertip Pulse Oximeter) ทำงานส่วนใหญ่จะเป็นแสงสีแดง
            เวลาเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว (Fingertip Pulse Oximeter) ทำงาน
เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว (Fingertip Pulse Oximeter) จะทำการยิงลำแสงที่ความยาวคลื่นต่างกัน 2 แบบนี้ผ่านลงไปจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่งพร้อมๆกันจากนั้นใช้หลักการวัดตามที่ดังกล่าวมาข้างต้น

เมื่อสามารถวัดค่าประมาณของฮีโมโกลบินทั้งสองแบบไว้ได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการคำนวณค่าความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด (Oxygen Saturation) สูตรการคำนวณคือ

O2 Saturation from Fingertip Pulse Oximeter (SpO2) = Oxyhemoglobin/(Oxyhemoglobin + Deoxyhemoglobin) x 100 

การวัดค่า Arterial Blood และ Venous Blood

จะรู้ได้อย่างไรว่าค่าที่วัดมาได้นั้นมาจากเลือดฝั่ง Arterial Blood เท่านั้นไม่รวมกับ Venous Blood วิธีการคือ ใช้หลักการวัดตามวิธีการข้างต้นแต่วัดเปรียบเทียบในช่วงเวลาที่ต่างกันคือ เวลาที่มีความแรงของชีพจรสูงสุด (มีทั้ง Arterial Blood และ Venous Blood) เทียบกับเวลาที่ความแรงชีพจรต่ำสุด (มีแต่ Venous Blood) โดยเครื่องจะอาศัยหลักการยิงลำแสงที่หลายร้อยครั้งต่อวินาทีเพื่อจับค่าความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด (Oxygen Saturation) ในเวลาที่ต่างกัน จากนั้นจะใช้ค่าที่ได้จากช่วงที่ความแรงชีพจรสูงสุดเทียบกับเวลาที่ความแรงชีพจรต่ำสุดแล้วเอามาคำนวณโดยการหักลบกัน *การวัด SpO2 ค่าสามารถคลาดเคลื่อนได้เฉลี่ย ±2%*

Remark

ค่าออกซิเ จนในเลือด (SpO2) : ต่ำกว่า 95% หมายถึง ค่าออกซิเจนในเลือดต่ำกว่ามาตรฐาน

ค่าชีพจร (Pulse Rate) : น้อยกว่า 60 ครั้ง/นาที หรือมากกว่า 100 ครั้ง/นาที หมายถึงค่าชีพจรผิดปกติ

 

เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ไว้ทำอะไร

สงวนลิขสิทธิ์ ทั้งบทความ โดยผู้เขียน ลิขสิทธิ์ภาพถ่าย ทั้งหมด เป็นของ Now Oxygen และผู้เขียน ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต เผยแพร่ครั้งแรกใน www.nowoxygen.com  1 กรกฎาคม 2563

Copyright (c) 2018 Text and Pictures. Use of such content either in part or in whole without permission is prohibited. First published in www.nowoxygen.com 1 July 2020

เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว จำเป็นไหม

เครื่องวัดระดับออกซิเจนปลายนิ้ว หรือเครื่องวัดระดับออกซิเจนในเลือด จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยติดตามอาการผู้ป่วยโควิด-19 และเฝ้าระวังอาการโควิด-19 ในผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อ เพื่อลดโอกาสที่โรคจะพัฒนาไปถึงขั้นที่รุนแรง รวมทั้งลดโอกาสการเสียชีวิตจากอาการ happy hypoxemia ได้นั่นเอง

ทำไมต้องวัด O2 sat

วัตถุประสงค์ (Objective) เพื่อ 1. ประเมินภาวะพร่องออกซิเจนในเลือด(hypoxemia) 2. ติดตามและเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงระดับออกซิเจนของร่างกาย 3. ช่วยในการวินิจฉัยภาวะแทรกซ้อนของระบบหายใจ 4. ใช้บอกอัตราและจังหวะของชีพจร อุปกรณ์ (Equipment)

เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว เรียกว่าอะไร

ที่เรียกว่า Pulse oximeter หรือเครื่องวัดออกซิเจนในเลือดจับที่นิ้วของผู้ป่วย ก็จะสามารถบอกได้ว่าออกซิเจนในร่างกายมีปริมาณเท่าใด ซึ่งจะช่วยการวินิจฉัย ภาวะร่างกายเบื้องต้นของผู้ป่วยได้ดี และแม่นยำมากเพิ่มขึ้นอีก เหมือนกับปัจจัย

ออกซิเจนในเลือดควรมีกี่เปอร์เซ็นต์

เมื่อปั่นจักรยานครบ 3 นาที ให้ท่านวัดระดับออกซิเจนอีกครั้งนึงนะคะ ค่าที่วัดได้ส่วนใหญ่จะเท่ากับ หรือ มากกว่าค่าเดิมนะคะ ซึ่งค่าปกติระดับออกซิเจนจะอยู่ที่ 96-100% แต่หากค่าที่วัดได้ลดลง จากครั้งที่หนึ่งมากกว่า 3% นะคะ ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ทันทีค่ะ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ประเมินอาการ และ ทดสอบประสิทธิภาพปอดของท่านอีกครั้งค่ะ