สังคมประชาธิปไตยมีลักษณะอย่างไร

แม้ในปัจจุบัน ยังไม่มีการนิยามคำว่า "ประชาธิปไตย" ที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วกันก็ตาม แต่มีสองหลักการสำคัญที่นิยามคำว่า "ประชาธิปไตย"

  • ประการแรก เห็นว่าบรรดาพลเมืองหรือสมาชิกในสังคมย่อมมีความเสมอภาคกันในการเข้าถึงอำนาจ
  • ประการที่สอง เห็นว่าพลเมืองย่อมมีสิทธิและเสรีภาพที่ได้รับการรับรองโดยเสมอกัน

หลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย คือ "การยอมรับนับถือความสำคัญและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคล ความเสมอภาคและเสรีภาพในการดำเนินชีวิต"  และจากหลักการพื้นฐานดังกล่าว จึงสามารถประมวลลักษณะสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้ดังนี้

  1. ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย จึงกล่าวได้ว่า ประชาชนเป็นผู้ที่มีอำนาจมากที่สุดในรัฐ
  2. ประชาชนทุกคนในรัฐมีความเท่าเทียมกันตามกฎหมาย ตลอดจนมีสิทธิเสรีภาพตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน
  3. การดำเนินการของรัฐจำเป็นต้องถือตามมติเสียงข้างมากเป็นตัวตัดสิน แต่เสียงส่วนน้อยในรัฐจะต้องได้รับการคุ้มครองความเป็นธรรมตามกฎหมายด้วยเช่นกัน
  4. การปกครองแบบประชาธิปไตย จำเป็นจะต้องได้รับความยินยอมพร้อมใจจากประชาชนส่วนใหญ่ในรัฐ

อย่างไรก็ตาม หากประชาธิปไตยมิได้รับการควบคุมอย่างรอบคอบโดยกฎหมายเพื่อขจัดความไม่เท่าเทียมกันในการกระจายอำนาจทางการเมืองด้วยการถ่วงดุลอำนาจ อย่างเช่น การแบ่งแยกอำนาจการปกครอง แล้ว อาจส่งผลให้ฝ่ายบริหารอำนาจสามารถสะสมอำนาจจนอาจเป็นอันตรายแก่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้ นอกจากนี้ ด้วยเหตุที่ลักษณะเด่นของการปกครองในระบอบนี้คือ "การถือเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์" แต่ถ้าหากรัฐบาลปราศจากความรับผิดชอบแล้ว เสียงข้างมากก็อาจไม่แยแสสิทธิของเสียงข้างน้อย ชนิดที่เรียกว่าเป็น "เผด็จการโดยเสียงข้างมาก" เลยทีเดียว ดังนั้น กระบวนการสำคัญของระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน จึงได้แก่การเลือกตั้ง ซึ่งควรเป็นไปโดยยุติธรรมทั้งในทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ ประกอบกับการคำนึงถึงเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และเสรีภาพของสื่อมวลชน อันจะยังให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและตัดสินใจใช้สิทธิ์ใช้เสียงเพื่อประโยชน์ของตนได้

แม้มโนทัศน์ในเรื่อง "อำนาจอธิปไตยของปวงชน" (popular sovereignty) จะสามารถพบได้ทั่วไปในประเทศที่นำหลักการประชาธิปไตยไปใช้ก็ตาม แต่แนวคิดดังกล่าวก็มิใช่หลักปรัชญาสำคัญระดับสากลอันส่งผลให้เกิดการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยในประเทศต่าง ๆ เพราะในบางประเทศมองว่าประชาธิปไตยมีพื้นฐานมาจากความเสมอภาคกันในการมีสิทธิ โดยคนจำนวนมากเห็นว่าประชาธิปไตยที่ดีได้แก่ "เสรีประชาธิปไตย" และอาจมีองค์ประกอบเพิ่มเติมอีกหลายประการ เช่น การพหุนิยมทางการเมือง หลักนิติธรรม (rule of law) และสิทธิในการฟ้องร้องรัฐ (right of petition) เพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนความเสียหาย ตลอดจนเรียกร้องให้เกิดมีวิถีทางที่ถูกต้องแห่งกฎหมาย (due process of law) เสรีภาพของพลเมือง สิทธิมนุษยชน และบทบาทของภาคประชาสังคม (civil society) เป็นอาทิ ขณะที่ในสหรัฐอเมริกาหมายเอาการแบ่งแย่งอำนาจการปกครองเป็นคุณลักษณะของประชาธิปไตย และในประเทศอื่น เช่น สหราชอาณาจักร นั้นหมายเอาการบริหารอำนาจอธิปไตยโดยกระบวนการของรัฐสภาและองค์กรตุลาการที่เป็นอิสระ นอกจากนี้ ในบางกรณียังมีการใช้คำ "ประชาธิปไตย" สื่อถึงประชาธิปไตยทางตรง ด้วย เหนืออื่นใด แม้คำว่า "ประชาธิปไตย" จะนิยมใช้ในบริบาทของรัฐทางการเมืองเป็นหลัก แต่ว่ามโนทัศน์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องก็ยังสามารถใช้แก่ภาคเอกชน และภาคส่วนอื่นเช่นกัน

นอกจากนี้ ยังมีการเสนอว่า คุณลักษณะพื้นฐานของประชาธิปไตย คือ ความสามารถของปัจเจกบุคคลในการมีส่วนร่วมอย่างเสรีและอย่างเต็มที่ในชีวิตสังคมของตน ด้วยการเน้นความเข้าใจของสัญญาประชาคมและเจตจำนงร่วมของประชาชน ประชาธิปไตยจึงอาจแสดงคุณลักษณะพิเศษเป็นคติรวมหมู่ทางการเมือง (political collectivism) แบบหนึ่ง เพราะคติรวมหมู่ทางการเมืองนิยามว่าเป็นระบอบการปกครองซึ่งพลเมืองผู้ใหญ่ทุกคนมีสิทธิในการพูดเท่าเทียมกันในการตัดสินใจซึ่งมีผลกระทบต่อชีวิตของตน

ในสังคมประชาธิปไตย ประชาชนจะปฏิบัติตอกัน ดังนี้

1. การเคารพในสิทธิแลเสรีภาพของบุคคล ตามขอบเขตที่บัญญัติไวในกฎหมาย

2. การใชหลักเหตุผลในการตัดสินปญหา ขอขัดแยง

3. การเคารพในกฎกติกาของสังคมเพื่อความสงบสุขและความเปนระเบียบเรียบรอยใน

4. การมีสวนรวมในกิจกรรมของสวนรวมและสังคม

5. การมีน้ําใจเปนประชาธิปไตยยอมรับฟงความคิดเห็นของผูอื่น และเห็นแกประโยชน

6. การยึดมั่นในหลักความยุติธรรม และการปฏิบัติตอกันอยางเสมอภาคเทาเทียมกันของ

1.4 คุณลักษณะที่สําคัญของสมาชิกในสังคมประชาธิปไตย

1. มีความยึดมั่นในอุดมการณประชาธิปไตย

2. มีการรูจักใชเหตุผลและรับฟงความคิดเห็นของผูอื่น ซึ่งมีเหตุผลและมีการ

ประนีประนอมกันในทางความคิด

3. เคารพในสิทธิและการตัดสินใจของผูอื่น

4. มีความเสียสระและเห็นแกประโยชนของสวนรวมมากกวาสวนตน

5. สามารถทํางานรวมกับผูอื่น

6. ใชเสียงขางมากโดยไมละเมิดสิทธิเสียงขางนอย

7. ยึดถือหลักความเสมอภาคและเทาเทียมกันของสมาชิก

8. ปฏิบัติตนตามกฎขอบังคับของสังคม

9. ปฏิบัติตนตามหลักศีลธรรม ยึดมั่นในวัฒนธรรม ประเพณี

10. รูจักแกปญหาโดยสันติวิธี

1.5 ความสําคัญของการปฏิบัติตนเปนพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย

1. ทําใหสังคมและประเทศชาติมีการพัฒนาไปอยางมั่นคง

2. เกิดความรักและความสามัคคีในหมูคณะ

3. สังคมมีความเปนระเบียบ สงบเรียบรอย36

4. สมาชิกทุกคนไดรับสิทธิ หนาที่ เสรีภาพ จากกฎหมายเทาเทียมกันเกิดความเปนธรรมใน

5. สมาชิกในสังคมมีความเอื้อเฟอเผื่อแผและมีน้ําใจตอกัน2. วิถีประชาธิปไตย

สังคมประชาธิปไตยที่สมบูรณเปนสังคมที่ปลูกผังความเปนประชาธิปไตยใหแกประชาชนทั้งใน

แงความคิด อุดมการณ และวิธีการดําเนินชีวิต ตั้งแตเด็กเปนตนไป

โดยในชีวิตประจําวันของบุคคลในครอบครัว ชุมชนและสังคม จะดําเนินไปอยางสงบสุขไดเมื่อ

ทุกคนที่เปนสมาชิกเขาใจและตระหนักถึงความสําคัญของการใชคุณลักษณะประชาธิปไตยเปนแนวทาง

2.1 ประชาธิปไตยในครอบครัว

ประชาธิปไตยในครอบครัวจะเริ่มไดก็ตอเมื่อพอแมคิดและประพฤติปฏิบัติตอกัน ตอลูก ๆ 

และตอบุคคลอื่นอยางเปนประชาธิปไตย ในการดําเนินชีวิตประจําวันทุก ๆ ดาน ไดแก

1. การแสดงความคิดเห็นอยางมีเหตุผล

2. การรับฟงความคิดเห็นของผูอื่น

3. การตัดสินใจโดยใชเหตุผลมากกวาอารมณ

4. การแกปญหาโดยใชเหตุผล

5. การลงมติโดยใชเสียงสวนใหญ

6. การเคารพกฎระเบียบของครอบครัว

7. การกลาแสดงความคิดเห็นตอสวนรวม

8. การยอมรับเมื่อผูอื่นมีเหตุผลที่ดีกวาตนเอง

2.2 ประชาธิปไตยในชุมชน ทองถิ่น

วิถีชีวิตประชาธิปไตยในการดําเนินกิจกรรมตาง ๆ ภายในชุมชนเปนการรวมกลุมของบุคคล

ภายในชุมชน สมาชิกในชุมชนตองมีคุณลักษณะประชาธิปไตยที่สําคัญ คือ

1. การเคารพในระเบียบ กฎหมายของทองถิ่นและกฎหมายบานเมือง

2. การมีสวนรวมในการพัฒนาชุมชนและทองถิ่น

3. การยอมรับฟงความคิดเห็นของผูอื่น

4. การตัดสินใจในสวนรวมโดยใชการลงมติเสียงสวนใหญ

5. การตัดสินใจโดยใชวิธีการลงมติเสียงสวนใหญ

6. การแสดงความคิดเห็นอยางมีเหตุผลตอชุมชน

7. การรวมกันวางแผนในการทํางานเปนกลุมหรือตัวแทนของกลุม37

ในการดําเนินชีวิตของกลุมคนในรูแบบตาง ๆ เชน สมาคมแมบานผูผลิตสมุนไพรบานหวยใต 

สหกรณออมทรัพยบานแตง สมาคมศิษยเกาโรงเรียน มูลนิธิตาง ๆ ในการดําเนินชีวิตในกลุมสมาชิกควร

มีคุณลักษณะของประชาธิปไตย ไดแก

1. เคารพในกฎระเบียบขอบังคับของกลุมหรือองคกร

2. มีบทบาทในการแสดงความคิดเห็นอยามีเหตุผล

3. ยอมรับฟงความคิดเห็นของทุกคนที่ดีกวา โดยไมใชอารมณอดทนตอความขัดแยงที่

4. ยอมรับในเหตุผลที่ดีกวา

5. การทํางานโดยใชวิธีการประชุมวางแผนและแกปญหารวมกัน

6. การลงมติของกลุมหรือองคกรโดยใชการลงมติเสียงขางมาก

พลเมืองที่ดีในระบอบประชาธิปไตยควรมีลักษณะอย่างไร

พื้นฐานความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย เคารพสิทธิ เสรีภาพ และกฏกติกาของสังคมที่เป็นธรรม โดยให้ความสำคัญต่อสิทธิเสรีภาพ การมีกฏกติกาที่วางอยู่บนความยุติธรรมและชอบธรรม มีหลักในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพไม่ให้ถูกละเมิด

การเป็นพลเมืองที่ดีมีลักษณะอย่างไร

ลักษณะของพลเมืองที่ดี คือ ต้องมีคุณสมบัติขั้นพื้นฐาน คือ ต้องมีความอดทน ขยัน ซื่อสัตย์ มีความรับผิดชอบ เห็นความสำคัญในประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าของตนเอง ต้องมีคุณสมบัติเฉพาะ คือ สามารถประพฤติ ปฏิบัติได้อย่างที่สังคมต้องการ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีเหตุผล

คนดีของสังคมเป็นอย่างไร

ค่านิยมพื้นฐานการเป็นพลเมืองดีในสังคมไทย มี ๕ ประการ คือ ๑. การพึ่งพาตนเอง ๒. ความขยันหมั่นเพียร ๓. มีความรับผิดชอบ ๔. ประหยัด และเก็บออม ๕. มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย มีคุณธรรม รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

การเป็นพลเมืองดีมีความสําคัญอย่างไร

ความสำคัญของการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีของสังคมมีความสำคัญต่อประเทศ เช่น 1. ทำให้สังคมและประเทศชาติมีการพัฒนาไปได้อย่างมั่นคง 2. ทำให้สังคมมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย 3. ทำให้เกิดความรักแบะความสามัคคีในหมู่คณะ