สิ่งที่นักวิเคราะห์ระบบจำเป็นต้องรู้และเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจและองค์กร มีอะไรบ้าง

           เพราะปี 2022 นี้จะเป็นปีทองของโลกดิจิทัล ทำให้สายงานที่มีความเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะสายงานด้านไอที เนื้อหอมเป็นพิเศษ แทบจะทุกสายงานด้านไอทีเลยก็ว่าได้ที่ตลาดแรงงานต้องการตัว ทั้งสายงาน IT Management สายงาน Network หรือ System สายงานโปรแกมเมอร์ Developer สายงาน Database, SAP ไปจนถึงไอที Support และหนึ่งในนั้นคือ ตำแหน่ง System Analyst (SA) ไปทำความรู้จักกับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มัดรวมทักษะสำคัญไว้ในคนคนเดียว

สิ่งที่นักวิเคราะห์ระบบจำเป็นต้องรู้และเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจและองค์กร มีอะไรบ้าง

ตำแหน่งงาน System Analyst หรือ นักวิเคราะห์ระบบ คืออะไร

          นักวิเคราะห์ระบบ ทำหน้าที่ศึกษาปัญหา และความต้องการขององค์กรในการกำหนดบุคคล ข้อมูล การประมวลผล การสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ว่าจะจัดการกับข้อมูลที่มีอย่างไร หรือจะทำการปรับปรุงให้ดีขึ้นได้อย่างไรจากข้อมูลที่มี เพื่อสามารถพัฒนาระบบของธุรกิจ ไปสู่ความสำเร็จได้

           อธิบายอีกอย่างได้ว่า เป็นผู้วิเคราะห์ปัญหา แล้วนำมาปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม โดยทั้งหมดนี้ทำผ่านระบบคอมพิวเตอร์ โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมมาได้ว่า ควรปรับปรุงระบบเดิมที่มี หรือเขียนรายละเอียดใหม่ พร้อมทั้งเลือกใช้ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมกับการปรับปรุง และคุ้มค่ากับการลงทุนเพื่อปรับปรุงข้อมูลนั้น หรืออาจต้องเปลี่ยนระบบใหม่ ทั้งหมดต้องอยู่ภายใต้ผลประโยชน์ต่อองค์กร

           ขณะเดียวกัน นักวิเคราะห์ระบบ (SA) ต้องพิจารณาในการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ ตลอดจนอุปกรณ์ (Hardware) โปรแกรมควบคุมระบบ โปรแกรมต่าง ๆ (Software) ระบบเครือข่าย (Network) และบุคลากร (People) มาใช้งานให้ได้อย่างเหมาะสม

นักวิเคราะห์ระบบ ทำงานอะไรบ้าง

           บทบาทหน้าที่ของนักวิเคราะห์ระบบ จะเป็นเหมือนกับที่ปรึกษาทางด้านระบบ ช่วยสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ ฉะนั้นความรู้ที่ นักวิเคราะห์ระบบควรมีคือ Hardware, software, network และจะมองเห็นข้อดีข้อเสียของระบบ ทำหน้าที่ศึกษาปัญหาและความต้องการขององค์กร ในการกำหนดบุคคล ข้อมูล การประมวลผล การสื่อสาร และด้าน IT ว่าจะจัดการหรือปรับปรุงอย่างไร เพื่อพัฒนาระบบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้ ดังนี้

  • ทำการเก็บ Business Requirement
  • ทำการวิเคราะห์ Business Requirement เพื่อทำเป็น Technical Requirement และประเมินผลระบบ
  • ทำการวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจาก Technical Requirement
  • ทำการวิเคราะห์ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบบธุรกิจที่เป็นอยู่
  • ทำเอกสาร Technical Requirement ให้กับคนในทีม
  • Support การทำงานของคนในทีมและลูกค้า
  • จัดทำเอกสารสำหรับส่งมอบงานให้ลูกค้า
  • ทำการแจกแจงถึงสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องพัฒนาขึ้นเพื่อใช้หรือทดแทนระบบเดิม
  • กำหนดทางเลือกต่าง ๆ ที่เป็นไปได้ ในการแก้ปัญหา
  • เลือกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ตามความเหมาะสม
  • ออกแบบและวางระบบงานให้สอดคล้อง เพื่อแก้ปัญหาของธุรกิจ
  • ให้คำแนะนำต่าง ๆ เมื่อระบบงานถูกนำมาใช้จริง

           System Analyst (SA) สายงานไอทีที่มัดรวมทักษะการคิด วิเคราะห์ ภาษา และการออกแบบไว้ในคนคนเดียว เป็นหนึ่งในสายงานไอทีที่ตลาดแรงงานต้องการตัว เข้าไปค้นหางานด้านไอทีจากองค์กรชั้นนำแค่โหลดแอปพลิเคชัน JobsDB

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

สิ่งที่นักวิเคราะห์ระบบจำเป็นต้องรู้และเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจและองค์กร มีอะไรบ้าง

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​
เรซูเม่สมัครงาน สายไอที ควรมีอะไรบ้าง
5 เทคนิคเปลี่ยนสายงานไปสายไอที
นักวิเคราะห์ธุรกิจด้านไอที กับเส้นทางด้านอาชีพที่คุณควรรู้
Metaverse คืออะไร เช็คลิสต์เรื่องสำคัญที่คนไอทีควรต้องรู้

ระบบ

     ระบบ คือกลุ่มขององค์ประกอบต่างๆ ที่ทำงานร่วมกันเพื่อจุดประสงค์อันเดียวกัน ระบบอาจจะประกอบด้วย บุคคลากร เครื่องมือ เครื่องใช้ พัสดุ วิธีการ ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องมีระบบจัดการอันหนึ่ง เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์อันเดียวกัน เช่น ระบบการเรียนการสอน มีจุดประสงค์เพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน

     การวิเคราะห์ระบบและการออกแบบ System Analysis and Design (ซิสเต็ม อนาชิส แอน ดีไช) คือ วิธีการที่ใช้ในการสร้างระบบสารสนเทศขึ้นมาใหม่ในธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งหรือระบบย่อยของธุรกิจ นอกจากการสร้างระบบสารสนเทศใหม่แล้ว การวิเคราะห์ระบบ ช่วยในการแก้ไขระบบสารสนเทศเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นด้วยก็ได้
        - การวิเคราะห์ระบบ คือ การหาความต้องการ Requirements (รีคิสเม้น) ของระบบสารสนเทศว่าคืออะไร หรือต้องการเพิ่มเติมอะไรเข้ามาในระบบ
        - การออกแบบ คือ การนำเอาความต้องการของระบบมาเป็นแบบแผน หรือเรียกว่าพิมพ์เขียวในการสร้างระบบสารสนเทศนั้นให้ใช้งานได้จริง ตัวอย่างระบบสารสนเทศ  เช่น ระบบการขาย ความต้องการของระบบก็คือ สามารถติดตามยอดขายได้เป็นระยะ เพื่อฝ่ายบริหารสามารถปรับปรุงการขายได้ทันท่วงที

     นักวิเคราะห์ระบบ SA : System Analyst (ชิสเต็ม อนาชิส) คือ บุคคลที่มีหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบ ซึ่งปกติแล้วนักวิเคราะห์ระบบควรจะอยู่ในทีมระบบสารสนเทศขององค์กรหรือธุรกิจนั้น ๆ การที่มีนักวิเคราะห์ระบบในองค์กรนั้นเป็นการได้เปรียบ เพราะจะรู้โดยละเอียดว่า การทำงานในระบบนั้น ๆ เป็นอย่างไร และอะไร คือความต้องการของระบบ

การวิเคราะห์

    การวิเคราะห์ระบบในวงจรการพัฒนาระบบนั้น เริ่มต้นจากการศึกษาระบบเดิม แล้วนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาหาความต้องการ Requirements (รีครีเม้นต์) หรือสิ่งที่จะต้องปรับปรุงในระบบ หรืออีกอย่างหนึ่งคือวิธีแก้ปัญหาของระบบ การวิเคราะห์จะเริ่มหลังจากที่ทราบปัญหา และผ่านขั้นตอนการศึกษาความเป็นไปได้แล้ว
รวบรวมข้อมูล การศึกษาระบบเดิมนั้น นักวิเคราะห์ระบบ เริ่มต้นจากการศึกษาเอกสารต่างๆ เช่น คู่มือต่างๆ หลังจากนั้นเป็นการรวบรวมแบบฟอร์มและรายงานต่างๆ เช่น ในระบบบัญชีเจ้าหนี้จะมีแบบฟอร์มใบบรรจุผลิตภัณฑ์ ใบทวงหนี้ รายงานเพื่อเตรียมเงินสดเป็นต้น นอกจากนั้นจะต้องคอยสังเกตดูการทำงานของผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบที่ศึกษา ท้ายที่สุดอาจจะต้องมีการสัมภาษณ์ผู้ที่มีหน้าที่ รับผิดชอบงานที่เกี่ยวข้องในระบบ หรือบางกรณีอาจจะต้องใช้แบบสอบถามมาช่วยเก็บข้อมูลด้วยก็ได้ วิธีการทั้งหมดเรียกว่า เทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูล (Fact Gathering Techniques)
     คำอธิบายข้อมูล Data Description (ดาต้า ดิคิปชัน) เมื่อนักวิเคราะห์ระบบศึกษาระบบมากเข้าจะพบว่า มีข้อมูลมากมายที่ต้องจัดให้เป็นหมวดหมู่ เช่น ข้อมูลของลูกค้าคนหนึ่งจะรวมข้อมูลรายละเอียดอื่นๆ เช่น เลขที่ลูกค้า ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ การจ่ายเงิน การซื้อสินค้า เป็นต้น
คำอธิบายวิธีการ Procedure Description (พรีโคดัก ดิคริบชัน) กรรมวิธีที่ติดตามการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลจะต้องรู้ว่า ข้อมูลผ่านการประมวลผลอย่างไรบ้าง

การจัดการข้อมูล

     วงจรการพัฒนาระบบ System Development Lift Cycle - SDLC (ชิสเต็ม เดวาดอบเม้น ลีส ไชเคิล เอสดีแอลชี) ระบบสารสนเทศทั้งหลายมีวงจรชีวิตที่เหมือนกัน ตั้งแต่เกิดจนตาย วงจรนี้จะเป็นขั้นตอนที่เป็นลำดับตั้งแต่ต้นจนเสร็จเรียบร้อยเป็นระบบที่ใช้งานได้ ซึ่งนักวิเคราะห์ระบบ ต้องทำความเข้าใจให้ดีว่าในแต่ละขั้นตอนจะต้องทำอะไร และทำอย่างไร

 ขั้นตอนการพัฒนาระบบมีอยู่ด้วยกัน 7 ขั้นตอน คือ
     1. เข้าใจปัญหา Problem Recognition (พรอแพรม รีโค้ดนิชัน)
     2. ศึกษาความเป็นไปได้ Feasibility Study (เฟสชิบิลิตี้ สตูดี้)
     3. วิเคราะห์ Analysis (อนาชิส)
     4. ออกแบบ Design (ดีไช)
     5. สร้าง หรือพัฒนาระบบ Construction (คอนตักชัน)
     6. การปรับเปลี่ยน Conversion (คอนเวิลชัน)
     7. บำรุงรักษา Maintenance (แมททีน)

การวิเคราะห์ระบบ เป็นส่วนหนึงของวรจรการพัฒนาระบบ ศึกษาภาพรวมการพัฒนาระบบได้ที่ วงจรการพัฒนาระบบงาน (SYSTEM DEVELOPMENT LIFE CYCLE : SDLC)

อ้างอิง
irrigation.rid.go.th