เปิดบริษัทใหม่ต้องเตรียมอะไรบ้าง

การจดทะเบียนบริษัท คือ บุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป มาร่วมลงทุนจัดตั้งขึ้นมาเป็นองค์กร วัตถุประสงค์หลักในการร่วมจัดตั้งกัน คือ การแสวงหาผลกำไรโดยบริษัทจำกัดจะแบ่งทุนที่ลงออกมาเป็นหุ้นๆ ทำให้ผู้ลงทุนในบริษัทจะถูกเรียกว่า ผู้ถือหุ้น โดยที่ผู้ถือหุ้นจะรับผิดไม่เกินจำนวนเงินที่ตนเองยังส่งใช้ไม่ครบของมูลค่าของหุ้นที่ตนเองถือแต่เมื่อจดทะเบียนบริษัทแล้ว จะมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฏหมาย

ประเภทของการจดทะเบียนบริษัท

การจดทะเบียนบริษัท แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก โดยอ้างอิงตามผู้ก่อตั้ง หรือเจ้าของกิจการที่ดำเนินการจัดตั้งบริษัทร่วมกัน โดยจะแบ่งเป็น การจดทะเบียนบริษัทแบบทะเบียนพาณิชย์ (บุคคลธรรมดา) และจดทะเบียนบริษัทแบบทะเบียนนิติบุคคล

  1. ประเภททะเบียนพาณิชย์ (บุคคลธรรมดา)

เป็นประเภทการจดบริษัทสำหรับผู้ที่ดำเนินกิจการเพียงคนเดียว จัดการงานต่างๆ ด้วยตัวเองทั้งหมด แน่นอนว่าเป็นเพียงผู้เดียวที่มีอำนาจสูงสุดในบริษัท และได้รับกำไรเพียงคนเดียว แต่หากบริษัทขาดทุน ก็จะต้องรับผิดชอบหนี้สินคนเดียวเช่นกัน

  1. ประเภททะเบียนนิติบุคคล

เป็นประเภทการจดทะเบียนบริษัทที่ได้รับความนิยม โดยเป็นการดำเนินธุรกิจสำหรับบริษัทที่มีผู้ร่วมก่อตั้ง 2 คนทั่วไป และจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทย่อย ดังนี้

2.1 ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามัญ

ผู้ร่วมลงทุนมีอำนาจเท่ากัน กำไรจะถูกคิดเป็นรายได้ของห้างหุ้นส่วน หากเกิดปัญหาขาดทุน หุ้นส่วนทั้งหมดจะต้องรับผิดชอบ

2.2 ห้างหุ้นส่วนจำกัด

เป็นลักษณะนิติบุคคล และแบ่งความรับผิดชอบของหุ้นส่วนออกเป็น 2 ประเภท คือ ผู้ที่รับผิดชอบหนี้สินแบบจำกัด ไม่มีอำนาจตัดสินใดๆ และผู้รับผิดชอบหนี้สินแบบไม่จำกัด มีอำนาจในการตัดสินใจและดำเนินงานต่างๆ

2.3 บริษัทจำกัด

จำเป็นต้องมีผู้ร่วมลงทุนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป แบ่งเงินลงทุนด้วยหุ้นที่มีมูลค่าเท่ากัน สำหรับการรับผิดชอบหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น จะรับผิดชอบไม่เกินจำนวนหุ้นที่ได้รับ

มาเริ่มอ่าน 11 ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัท

แม้ว่าการจัดตั้งบริษัท จะสามารถแบ่งได้เป็นหลายประเภท แต่ขั้นตอนการดำเนินการจดทะเบียนบริษัทไม่มีความแตกต่างกัน โดยเราได้ทำการรวบรวมข้อมูลและสรุปเป็น 11 ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัทแบบเข้าใจได้ง่ายๆ โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. ศึกษาข้อมูลการจดทะเบียนบริษัท

ขั้นตอนแรกสุดของการจดทะเบียนบริษัท แน่นอนว่าต้องหาข้อมูลก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดและลดความเสี่ยงความล่าช้าในการดำเนินการ เมื่อเราหาข้อมูลได้ครบถ้วน เราจะสามารถดำเนินการจดทะเบียนบริษัทได้อย่างรวดเร็วและไม่เสียเวลาในการดำเนินการเอกสารกับทางราชการ หากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น

  1. เตรียมเอกสารและเงินสำหรับใช้จ่ายให้ครบถ้วน

เมื่อศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดแล้ว เราจะทราบได้ทันทีว่าเราจำเป็นต้องเตรียมเอกสารอะไรสำหรับการจดทะเบียนบริษัทบ้าง และแน่นอนว่าการจดทะเบียนบริษัทให้ถูกต้องตามกฎหมาย จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม และค่าเอกสารต่างๆ

  1. ตั้งชื่อบริษัทสำหรับการจดทะเบียน

อีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญที่ไม่อาจละเลยได้คือการตั้งชื่อบริษัท ควรจะตั้งชื่อที่มีเอกลักษณ์ โดดเด่น เป็นที่จดจำสำหรับลูกค้า และก่อนจะตั้งชื่อบริษัท ควรค้นหาข้อมูลให้ชัดเจนก่อนว่า ชื่อบริษัทที่เรากำลังจะจดทะเบียนก่อตั้งอย่างถูกต้องนี้ มีความคล้ายคลึงหรือชื่อซ้ำกับบริษัทที่จดทะเบียนไว้ก่อนหน้านี้หรือไม่ เพราะถ้าหากมีความคล้ายกัน หรือซ้ำกัน อาจเกิดปัญหาไม่ได้จดทะเบียนบริษัท หรืออาจมีปัญหากับบริษัทที่มีชื่อคล้ายคลึงกันในภายหลังได้

  1. ขั้นตอนการจองชื่อบริษัท 

เพื่อให้ชื่อบริษัทที่เราคิดไว้ ไม่ซ้ำกับใครและจะต้องถูกนำไปใปใช้ให้ถูกต้องตามกฎหมาย เราต้องเข้าไปทำการ จองชื่อ-ตรวจคำขอจดทะเบียนนิติบุคคล (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า DBD) โดยจะต้องสมัครสมาชิกและจองผ่านระบบอินเตอร์เน็ตหรือยื่นจองด้วยตนเองต่อนายทะเบียนสำนักงานพาณิชย์ประจำจังหวัดในเขตที่พักอาศัยอยู่

  1. จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและยื่นต่อนายทะเบียน

หนังสือบริคณห์สนธิ คือ เอกสารที่แสดงถึงความต้องการในการจัดตั้งบริษัทหนึ่ง โดยต้องระบุขอบเขตของการจัดตั้งบริษัทและข้อมูลสำคัญต่างๆ โดยจะต้องยื่นไม่เกิน 30 วันจากวันที่นายทะเบียนรับรองชื่อเรียบร้อย โดยข้อมูลที่จำเป็นต้องรายงานในหนังสือบริคณห์สนธิมีดังนี้

4.1 ชื่อของบริษัทสำหรับการจดทะเบียนบริษัท

4.2 ตำแหน่งที่ตั้งของบริษัทจำกัด

4.3 วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งบริษัทจำกัด

4.4 ทุนจดทะเบียนบริษัทจำกัด

4.5 ข้อมูลผู้ก่อตั้งบริษัท โดยจำเป็นต้องมีอย่างน้อย 3 คนขึ้นไป

4.6 ข้อมูลผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัด

4.7 ข้อมูลของพยาน โดยต้องการอย่างน้อย 2 คน

4.8 รายละเอียดการประชุมสำหรับการจัดตั้งบริษัทจำกด เช่น กฎข้อบังคับของบริษัท, คณะกรรมการของบริษัท เป็นต้น

  1. เปิดให้มีการจองซื้อหุ้นของบริษัท และนัดประชุมผู้ถือหุ้นทั้งหมด

สำหรับผู้ถือหุ้น รวมถึงคนทั่วไปที่ไม่ใช่ผู้ก่อตั้งของบริษัท แต่เป็นผู้ที่มีจำนวนหุ้นของบริษัทในมือมากกว่า 1 หุ้นขึ้นไป โดยการจัดประชุมผู้ถือหุ้น จะจัดขึ้นเมื่อมีผู้ซื้อหุ้นครบแล้ว ควรกำหนดระยะเวลาอย่างน้อย 7 วัน นับจากวันออกหนังสือ

  1. จัดประชุมบุคลากรที่ได้รับคัดเลือกในบริษัท เพื่อให้เข้าใจข้อมูลตรงกัน

เพื่อเป็นการร่นระยะเวลาในการจัดตั้งบริษัท และเป็นการจัดระเบียบให้กับบริษัทตั้งแต่เริ่มต้น สำหรับการประชุมบุคลากรในบริษัทที่กำลังจะจัดตั้ง ควรกล่าวถึงกฎระเบียบของบริษัท, กำหนดค่าตอบแทนของผู้ก่อตั้งและผู้เริ่มกิจการ, คัดเลือกผู้สอบบัญชี เพื่อทำหน้าที่เกี่ยวกับการเงิน ฯลฯ 

  1. จัดตั้งคณะกรรมการบริษัท

โดยทำการจัดตั้งจากการเก็บเงินชำระค่าหุ้นอย่างน้อย 25% ของราคาหุ้นจริง เพื่อทำการขอจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท และยื่นคำขอจดทะเบียนบริษัทภายใน 3 เดือนนับจากวันประชุมจัดตั้งคณะกรรมการบริษัท หากยื่นคำขอภายหลังจากกำหนด จะต้องจัดประชุมใหม่อีกครั้ง เนื่องจากการประชุมครั้งก่อนจะถือว่าเป็นโมฆะ

  1. ชำระเงินค่าธรรมเนียมสำหรับการจดทะเบียนบริษัท

อีกขั้นตอนสำคัญที่ไม่อาจละเลยได้ หากส่งเอกสารและรายละเอียดได้อย่างครบถ้วน แต่ไม่มีการชำระเงินค่าธรรมเนียมต่างๆ สำหรับการจัดตั้งบริษัท ทางเจ้าพนักงานก็ไม่สามารถดำเนินการใดๆ ต่อได้ โดยค่าใช้จ่ายที่จำเป็นสำหรับการจดทะเบียนบริษัทมีดังนี้

8.1 ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ โดยจะคำนวณจากเงินทุนแสนละ 50 บาท ชำระขั้นต่ำ 500 บาท และสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท

8.2 ค่าธรรมเนียนสำหรับการจดทะเบียนบริษัท คำนวณจากทุนการจดทะเบียนแสนละ 500 บาท ชำระขั้นต่ำ 5,000 บาท และสูงสุดไม่เกิน 250,000 บาท

8.3 ค่าธรรมเนียมสำหรับการออกหนังสือรับรอง ฉบับละ 200 บาท

8.4 ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน ฉบับละ 100 บาท

8.5 ค่ารับรองสำเนาเอกสาร หน้าละ 50 บาท

  1. รับใบสำคัญและหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท

ขั้นตอนสุดท้ายที่สำคัญมาก เมื่อเราจดทะเบียนบริษัทได้อย่างถูกต้อง และเจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการได้จนเสร็จสิ้นทุกกระบวนการ เจ้าหน้าที่จะทำการส่งมอบหนังสือรับรองบริษัท เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่า บริษัทของเราได้ถูกจัดตั้งขึ้นอย่างถูกกฎหมายโดยสมบูรณ์แล้ว พร้อมที่จะดำเนินกิจการต่อไป

  1. เตรียมพร้อมสำหรับค่าใช้จ่ายอื่นเพิ่มเติม

เมื่อจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทได้อย่างสมบูรณ์แบบ นั่นหมายความว่าบริษัทของเราเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย โดยมีค่าใช้จ่ายจำเป็นมากมายที่กำลังรอเราอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการเสียภาษีสำหรับการจัดซื้อและจัดจำหน่าย, ค่าจ้างสำหรับบุคลากร, ค่าซ่อมแซมที่อาจเกิดขึ้น เป็นต้น ดังนั้น การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทหนึ่งขึ้นมา ควรจะเป็นการดำเนินการที่เกิดจากกระบวนการคิดที่รอบคอบ มีกำลังมากพอที่จะดำเนินกิจการต่อไปได้อย่างราบรื่น

ถ้าเลือกจ้างบริษัทรับจดทะเบียนนิติบุคคลดำเนินการ

บริษัทที่รับดำเนินเรื่องตรงจุดนี้ เราจะเรียกบริษัทที่รับจดทะเบียนบริษัทเหล่านี้ว่า “สำนักงานบัญชี” บริษัทเหล่านี้จะคลุกคลีและดำเนินการเอกสารกับทางราชการเป็นประจำ อาทิเช่น คัดหนังสือรับรองบริษัท ,ยื่นภาษี , เปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร ฯลฯ บริษัทเหล่านี้จะมีความชำนาญสูง แตกฉานในเนื้องานเอกสารที่ต้องนำยื่นต่อระบบราชการในประเทศไทย หากผู้ประกอบการที่เริ่มต้นธุรกิจ มิอยากจะเสียเวลา ค่าใช้ในการเดินทาง ซึ่งบางครั้งในการยื่นเอกสารต่อนายทะเบียน หากผิดพลาดก็ต้องกลับมาแก้ใหม่เพื่อให้ถูกต้องตามระบบที่ได้วางเอาไว้หรือผู้ประกอบการอาจสอบถามถึงค่าใช้จ่ายก็สามารถที่จะติดต่อได้ที่ 

»»〉 สำนักงานบัญชี : Station Account Co.,ltd.

บทสรุป

เมื่อเราได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทของบริษัท และขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัทแล้ว จะสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนทันที ว่าขั้นตอนสำหรับการจดทะเบียนบริษัทหนึ่งขึ้นมานั้น อาจจะมีความยุ่งยากซับซ้อนทางเอกสาร แต่หากผู้ประกอบการมีการเตรียมตัวที่ดี, ศึกษาข้อมูลต่างๆ และขั้นตอนในการดำเนินงานจดทะเบียนบริษัทอย่างถี่ถ้วน และมีเงินทุนมากพอสำหรับชำระค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นภายหลังจากขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัทเสร็จสิ้น ก็สามารถจัดตั้งบริษัทอย่างเป็นทางการได้อย่างไม่มีอุปสรรค หรือความยุ่งยากใดๆ เข้ามากวนใจให้วุ่นวาย