ช่างยนต์ต้องเรียนสายอะไรบ้าง

‘ช่างยนต์’ คือ ผู้มีความรู้ความชำนาญมีทักษะในเรื่องของเครื่องยนต์กลไกต่างๆ จัดเป็นอีกหนึ่งสาขาวิชาที่ชายหนุ่มหลายคนต้องการจะเข้าไปศึกษาต่อ อันเนื่องมาจากนิสัยโดยพื้นฐานของเด็กผู้ชายส่วนมาก มักจะชอบการสร้าง , การดัดแปลง โดยเฉพาะในเรื่องของเครื่องยนต์กลไกอยู่แล้วก็ตาม บวกกับ ความหลงใหลในเรื่องของรถยนต์รุ่นเท่ๆ รวมทั้งมีตลาดแรงงานรองรับค่อนข้างสูง จึงทำให้‘ช่างยนต์’ เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นๆ

การศึกษาของการเป็นช่างยนต์

เส้นทางของการเป็นช่างยนต์นั้น ก็เหมือนกับเส้นทางในทุกสาขาอาชีพ คือ ทุกอย่างต้องมีการฝ่าฟันอุปสรรคด้วยกันทั้งนั้น สำหรับเด็กหนุ่มที่สนใจเรื่องนี้ ถ้าจบการศึกษาขั้นพื้นฐานมัธยมศึกษาปีที่ 3 แล้ว ก็ไปเรียนต่อได้ที่สายอาชีพด้านเครื่องยนต์กลไก ในระดับ ปวช. และ ปวส. อย่างต่อเนื่องได้เลย หลังจากนั้นถ้าต้องการทำงานหาเงินและเก็บเกี่ยวประสบการณ์ ก็ออกไปทำงานได้เลย แต่ถ้าต้องการเพิ่มพูนความรู้ในระดับที่สูงขึ้นมากไปอีก ก็สามารถไปศึกษาต่อทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ทั้งแบบปริญญาตรีปกติและแบบภาคต่อเนื่องก็ได้

อาชีพและความก้าวหน้าของช่างยนต์

สำหรับอาชีพช่างยนต์ จัดว่าเป็นสายอาชีพที่สามารถทำงานได้อย่างหลากหลาย เช่น ถ้าชอบในสายข้าราชการ ก็สามารถเข้าสังกัด กรม , กอง ทางด้านซ่อมบำรุงได้เลย หรือถ้าต้องการทำงานด้านเอกชนก็สมัครงานเข้าอู่ได้เลย โดยมีตั้งแต่อู่ระดับชุมชนทั่วไป จวบจนถึงอู่หรือโรงงานระดับประเทศ แต่ถ้าใครอยากอยากทำธุรกิจด้วยตัวเอง ก็มาเปิดอู่เองทำเองได้ ถ้ามีทุนพอ บวกกับการศึกษาความรู้ด้านธุรกิจก็ทำได้เช่นเดียวกัน

ถ้าคุณร่ำเรียนจนมีความรู้ความสามารถ ทั้งทางด้านทฤษฎี และการปฏิบัติ ก็นำทักษะเหล่านี้ไปพัฒนา พร้อมประยุกต์ต่ออุตสากรรมยานยนต์ หรืออุตสาหกรรมอื่นๆได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังนำไปประกอบ อาชีพส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยียานยนต์ด้านต่างๆได้อีกด้วย ลักษณะการประกอบวิชาชีพ ก็มีหลากหลายรูปแบบ ทั้งในสายงานตรงตามวิชาชีพคือตามบริษัทผลิตยานยนต์ หรือผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ต่างๆ โดยในประเทศไทยมีบริษัทเอกชนรองรับมากกว่า 1,500 บริษัท

การพาตัวเองไปสู่จุดสูงสุดของอาชีพ

ถึงแม้ว่าช่างยนต์จะมีเส้นทางอาชีพที่ค่อนข้างกว้าง คือเป็นได้ทั้งลูกจ้าง หรือ จะออกมาทำธุรกิจส่วนตัวก็ทำได้ แต่การที่จะผลักดันตัวเองไปจนถึงจุดสูงสุดของความก้าวหน้าในวิชาชีพนี้ ไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะโลกของเรามีการพัฒนาขึ้นทุกวันแน่นอนว่าองค์ความรู้ทางด้านเครื่องยนต์ก็มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ทำให้ช่างเองต้องหมั่นเรียนรู้ความรู้ใหม่ๆ เหล่านี้จากข่าวสารต่างประเทศ ตำราใหม่ๆ รวมถึงการออกไปเก็บเกี่ยวประสบการณ์เพื่อเพิ่มศักยภาพของตัวเองให้เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

About The Author

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์

เรียนเกี่ยวกับ

     ศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางวิศวกรรมในสาขาวิศวกรรมยานยนต์ และกลไกการทำงานของชิ้นส่วนยานยนต์  การนำเชื้อเพลิงและพลังงานมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต่อการผลิตทางอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพชีวิตของมนุษย์ โดยหน้าที่หลักของวิศวกรยานยนต์ เกี่ยวข้องกับ การคำนวณออกแบบ ควบคุมการผลิต  ค้นคว้า  วิเคราะห์  ทดสอบ  ดัดแปลง  เกี่ยวกับยานพาหนะ อีกทั้งสามารถอำนวยการใช้ระบบและอุปกรณ์เกี่ยวกับ เครื่องยนต์ต้นกำลัง อุปกรณ์ถ่ายเทความร้อน  ภาชนะใส่ก๊าซภายใต้ความดัน ระบบเครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในยานยนต์

คุณสมบัติ

1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 หรือหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หรือ ประกาศนียบัตรอื่นๆที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่า สำหรับผู้สมัครที่จบหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญ ต้องมีคุณสมบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการดำเนินงานการศึกษานอก เขตโรงเรียนสายสามัญศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544
2. ต้องไม่เป็นผู้กำลังศึกษาเกินกว่าชั้นปีที่ 1 ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่ร่วมในการคัดเลือกนี้ เว้นแต่ได้ลาออกจากสถาบันอุดมศึกษานั้นเสียก่อน
3. ผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สายวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน

#มหาวิทยาลัยคณะ/สาขาระดับชั้นที่เปิดรับปวช.ปวส.ป.ตรีป.โทป.เอก
ปวช.ปวส.ป.ตรีป.โทป.เอก
1 มหาวิทยาลัยศรีปทุม คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมยานยนต์ 
ช่างยนต์ต้องเรียนสายอะไรบ้าง
 
       
2 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมยานยนต์          
3 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาเทคโนโลยีวิศวกรรมยานยนต์          
4 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนยรังสิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมยานยนต์          
5 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาลัยนานาชาติ สาขาวิศวกรรมยานยนต์          
6 มหาวิทยาลัยรังสิต คณะวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมยานยนต์          
7 มหาวิทยาลัยสยาม คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมยานยนต์          
8 สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมยานยนต์          

แนวทางการประกอบอาชีพ

1. วิศวกรยานยนต์ประจำโรงงาน วิศวกรอำนวยการผลิต วิศวกรควบคุมคุณภาพสินค้า วิศวกรควบคุมหรือซ่อมบำรุงเครื่องจักรกลภายในโรงงานทางด้านอุตสากรรมยานยนต์
2. วิศวกรออกแบบ ทดสอบ งานทางด้านยานยนต์
3. วิศวกรควบคุมการติดตั้งระบบงานทางด้านยานยนต์
4. วิศวกรการขายหรืองานบริการทางด้านเทคนิคในอุตสาหกรรมยานยนต์ วิศวกรประจำทีมการแข่งขัน หรือฝ่ายจัดการแข่งขันทางด้านยานยนต์
5. อาจารย์ / นักวิชาการและนักวิจัยทางด้านวิศวกรรมยานยนต์
6. ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมบริการทางด้านยานยนต์
งานอื่นที่เกี่ยวข้องกับทางวิศวกรรมยานยนต์และเครื่องกล เช่น วิศวกรประเมินราคา

ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ

โอกาสหางานง่าย

8/10

ความยากง่ายในการเรียน

8/10

ตรงกับเทรนด์อนาคต

อาเซียน

ที่มาข้อมูล

http://203.158.7.56/b5670314/project_pr/?page_id=677
http://www.spu.ac.th/engineer/courses/bachelors/automotive
http://www.motortrivia.com/section-bizzes-news-10/1941-chevrolet-sales-report-2012-mid-year/chevrolet-sales-report-2012-mid-year.html

SHARED

เรียนช่างยนต์ต้องเรียนสายไหน

สาขาวิชาช่างยนต์ คือ สาขาวิชาที่เรียนเกี่ยวกับการบำรุงรักษารถยนต์ เช่น การบำรุงรักษาระบบเครื่องยนต์ ระบบเครื่องล่างรถยนต์ ระบบส่งกำลังรถยนต์ ระบบไฟฟ้าและระบบปรับอากาศรถยนต์ เป็นต้น รวมไปถึงรถจักรยานยนต์และเครื่องยนต์ต่างๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวันหรือใช้ในการเกษตร การเรียนในสาขาวิชาช่างยนต์นั้นจะเน้นการฝึกปฏิบัติและทฤษฎี ...

ช่างกลต้องเรียนสายไหน

อยากเป็นช่างกล ก็ต่อ ปวช. ปวส. ช่างกล ครับ แต่ถ้าจะให้แนะนำ ควรเรียน ม.ปลาย สายวิทย์-คณิต​ แล้วต่อ ป.ตรี วิศวกรรม​เครื่อง​กล ข้อดีข้อเสีย สายสามัญ สายอาชีพ (ไปจนถึง ปวส. และ ป.ตรี) - สายสามัญ ดีกว่า ตรงที่สามารถต่อ ป.ตรี ได้ ทุกมหาวิทยาลัย ทุกคณะ ทุกสาขา (และถ้าเรียน สายสามัญ ก็ควรจะต้องต่อ ป.ตรี)

เรียนช่างยนต์ต้องทำอะไรบ้าง

เรียนรู้และฝึกฝนทักษะด้านงานยานยนต์ การอ่านแบบ เขียนแบบยานยนต์ การบริการตรวจซ่อมเครื่องยนต์ ซ่อมบำรุงรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ระบบส่งกำลังรถยนต์ เปลี่ยนอุปกรณ์ภายในรถหรือเครื่องยนต์ เครื่องล่างรถยนต์และไฟฟ้ารถยนต์ เชื้อเพลิงและวัสดุหล่อลื่น ระบบปรับอากาศรถยนต์ นิวเมติกส์ไฮดรอลิกเบื้องต้น เคาะพ่นสี แก้ไขปัญหาต่างๆ ที่ ...

เรียนช่างดียังไง

แล้วเรียน สายช่าง มันดีอย่างไร ?.
ฝีมืออยู่กับตัว ไม่ต้องกลัวตกงาน.
เรียนไปด้วย ทำงานไปด้วย.
เก่งรอบด้าน เป็นเจ้าของกิจการสบาย.
ฝีมือดี โกอินเตอร์ ได้เลย.
รายได้ดี เพียงมีฝีมือขั้นเทพ.
ไม่ต้องท่องจำ เรียนรู้การปฏิบัติจริง.
หลักสูตรมีมากมายให้เลือกเรียน.
พื้นฐานดี สามารเรียนต่อระดับปริญญา ตรี โท และเอก.