จบรัฐศาสตร์ สอบท้องถิ่นอะไรได้บ้าง

1.เจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล

เด็กจบใหม่จำนวนหนึ่งเลยมักจะทำงานในสายของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล เรียกสั้นๆ ว่า HR (Human Resource) ในองค์กรใหญ่ๆ ที่มีพนักงานเยอะๆที่จะต้องบริหาร และคอยดูแลพนักงานเหล่านี้ให้ดี

ฝ่าย HR มีหน้าที่จัดหาพนักงานที่มีคุณภาพให้กับองค์กร รวมถึงดูแลเรื่องผลประโยชน์ขององค์กร และของพนักงาน เช่น เงินเดือน สวัสดิการ การฝึกอบรม การจัดกิจกรรมต่างๆ ดูแลกฎระเบียบต่างๆ มีเป้าหมายเพื่อสรรหาพนักงานที่ดีมีคุณภาพเข้ามาทำงานในองค์กร และดูแลพัฒนาพนักงานเดิมให้อยู่ต่อกับองค์กรไปนานๆ

หากเป็นองค์กรใหญ่ๆ ก็จะแยกหน้าที่อย่างชัดเจน เช่น HR Management คนนี้ดูแลเรื่องเงินเดือนและสวัสดิการ, HR Recruitment คนนี้ดูแลเรื่องสรรหาและสัมภาษณ์พนักงานใหม่ และ HR Development ที่คอยดูแลเรื่องกิจกรรม หรือสื่อสารภายในองค์กร ซึ่งตัวงานมีหลากหลายมาก จึงทำให้อาชีพนี้เป็นอาชีพที่เด็กรัฐศาสตร์นิยมทำงานกันมากที่สุดอาชีพหนึ่ง

2.นักการทูต

อาชีพนักการทูต แน่นอนว่าเป็นอาชีพในฝันของหลายคน ในการเป็นตัวแทนประเทศที่มีหน้าที่เจรจาต่อรอง เพื่อให้ประเทศของเราได้รับผลประโยชน์ เป็นภาพลักษณ์งานที่ดูดีและดูมีเกียรติ ได้เดินทางไปต่างประเทศ และได้ใช้ภาษาต่างประเทศแทบจะตลอดเวลา

โดยการจะเข้าเป็นนักการทูตนั้น ต้องเรียนจบปริญญาตรี หลังจากนั้นจะมีการเปิดสอบเป็นรอบๆในแต่ละปี ทั้งหมด 3 อย่างที่ต้องผ่าน ก็คือ การสอบ กพ. ภาค ก (ความรู้ทั่วไป), ภาค ข (ความรู้ประจำตำแหน่ง) และ ภาค ค (เข้าค่ายร่วมกิจกรรม)

หากผ่านทั้ง 3 อย่างแล้ว ก็จะได้เข้ารับราชการเป็น "นักการทูต" และเมื่อทำงานที่ไทย(กระทรวงการต่างประเทศ) ครบ 4 ปี ก็จะได้ออกโพสต์หรือออกไปประจำที่ต่างประเทศตามที่ได้รับมอบหมาย

3.ปลัดอำเภอ และข้าราชการตามกรม กอง และกระทรวงต่างๆ

เด็กรัฐศาสตร์หลายๆคนเลย หลังเรียนจบแล้ว จะอ่านหนังสือเพื่อมุ่งสอบเข้ารับราชการเป็น "ปลัดอำเภอ" อันอันดับแรก ถือเป็นข้าราชการสังกัดกรมการปกครอง โดยจะให้เฉพาะคนมีวุฒิรัฐศาสตรบัณฑิต และนิติศาสตรบัณฑิตสอบได้เท่านั้น มีจำนวนหนึ่งที่ตั้งใจสอบเข้าเรียนใน คณะรัฐศาสตร์ เพื่อที่จะจบไปเป็น ปลัดอำเภอ และกลับไปดูแลปกครองอำเภอในจังหวัดที่บ้านเกิด หลังเรียนจบก็เลยสมัครสอบเพื่อตามฝันอย่างที่ตั้งใจเอาไว้

หรือ จะเลือกเข้ารับราชการตามกรม กอง และกระทรวงต่างๆ นอกจาก นักการทูต และ ปลัดอำเภอ ที่เป็นงานราชการที่เด็กรัฐศาสตร์นิยมแล้ว งานราชการยังมีอีกมากมายตามกรม กอง กระทรวงต่างๆ หลายตำแหน่งก็เปิดรับให้เด็กรัฐศาสตร์เข้าไปทำงานได้ เช่น สำนักนายรัฐมนตรี กระทรวงยุติธรรม กรมศุลกากร กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และมีเปิดรับสมัครอีกมากมาย

4.พนักงานในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานธนาคาร และบริษัทเอกชน

คณะรัฐศาสตร์ นั้นเป็นการเรียนการสอนที่เน้น เนื้อหาวิชาการ อาจไม่ใช่วิชาชีพ ที่เห็นภาพชัดแบบแพทย์ หรือวิศวะ ที่รู้เลยว่าจบไปจะทำงานอะไร ดังนั้นเมื่อเด็กรัฐศาสตร์เรียนจบไปแล้ว สามารถนำความรู้ต่างๆที่ได้เรียนในห้องเรียน มาประยุกต์ใช้ หรือ นำไปใช้ในการทำงานในแบบที่ชอบได้ ในตำแหน่งต่างๆ ในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ บริษัทเอกชน หรือ ธนาคารแห่งประเทศไทย และธนาคารอื่นๆ อาทิเช่น พนักงานธนาคาร นักการตลาด การเงิน เลขานุการ นักวิจัย คอนเท้นท์ครีเอเตอร์ หรืองานด้าน PR ก็สามารถทำได้เช่นกัน

ถือว่าเป็นคณะที่มีความหลายหลายในการเลือกอาชีพเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพัฒนาตัวเองให้เหมาะกับงานนั้นๆ ในด้านต่างๆ ให้เพียงพอที่จะใช้ประกอบอาชีพที่ตนเองต้องการ

5.นักการเมือง

ใครที่อยากเรียนคณะรัฐศาสตร์ใน สาขาวิชาการเมืองการปกครอง ในปัจจุบันก็มีอีกหลายๆคนที่อยากให้ประเทศก้าวไปข้างหน้า จึงเลือกเรียนในสาขาวิชานี้ เพื่อที่จะไปพัฒนาในด้านต่างๆของประเทศ

ซึ่งเมื่อเรียนจบไปแล้วสามารถประกอบอาชีพได้หลากหลายระดับ ไม่ว่าจะเป็นระดับท้องถิ่น ได้แก่ นักการเมืองระดับท้องถิ่น เช่น นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนายกเทศมนตรี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด สมาชิกสภาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น ระดับประเทศ ได้แก่ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ข้าราชการการเมือง เป็นต้น

อาชีพนักการเมืองนี้ จะเป็นอาชีพที่ได้รับเลือกจากการเลือกตั้ง และจะเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องต่อนโยบายสาธารณะ ดูแลเรื่องผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก เพื่อให้ประชาชนอยู่อย่างสบาย สงบสุข และมีความเท่าเทียมกัน

           น้อง ๆ ที่เพิ่งเรียนจบใหม่หลายคนอาจจะกังวลใจอยู่ว่า “เรียน จบรัฐศาสตร์ ทำงาน หรือสมัครงานอะไรดี” หางานแต่ละทีก็ยากเหลือเกิน เพราะต้องแข่งขันกับคนหางานอีกจำนวนมาก ยิ่งเรียนจบมาในสายที่มีตำแหน่งงานรองรับด้วยแล้ว ยิ่งต้องคิดหนักอีกเป็นหลายเท่าตัว เพราะไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มต้นหางานจากตรงไหนก่อนดี

จบรัฐศาสตร์ สอบท้องถิ่นอะไรได้บ้าง

          เด็กจบใหม่ที่เรียนจบมาจากคณะรัฐศาสตร์ ก็คงจะคิดเช่นเดียวกัน อาจจะเป็นเพราะว่าสาขาวิชา ทำให้รู้สึกว่าการหางานที่เหมาะกับสิ่งที่ตัวเองเรียนมาเป็นเรื่องที่ยากเอาการ เพราะตำแหน่งงานที่เปิดรับสมัคร ก็ไม่ได้เป็นตำแหน่งงานที่เฉพาะเจาะจง ต้องคิดเอาเองว่า เราเรียนจบรัฐศาสตร์มาน่าจะสามารถทำงานอะไรได้บ้าง

         จบรัฐศาสตร์ ทำงาน อะไรในสายงานใดได้บ้าง?

          คณะรัฐศาสตร์แบ่งออกเป็น 3 สาขาหลัก ๆ คือ สาขาการเมืองการปกครอง สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ แต่ในบางมหาวิทยาลัย ก็จะมีบางสาขาวิชาเพิ่มขึ้นมาเช่น สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา และสาขางานยุติธรรมและความปลอดภัย

          โอกาสการได้งานทำก็จะแตกต่างกันออก ตามแต่สาขาวิชาที่เลือกเรียนมา การสมัครงานนั้น ก็ต้องเลือกดูเอาเองว่าด้วยความรู้ความสามารถที่เรามี สามารถนำไปสมัครงานอะไรได้บ้าง แต่โดยรวมแล้ว งานที่น้อง ๆ จบรัฐศาสตร์สามารถทำงานได้ แบ่งเป็น 3 สาขาดังนี้

  • งานราชการ 

งานราชการหรือบางคนจะเรียกว่า “รัฐกิจ” คือการบริหารงานให้กับกิจการของรัฐ งานที่สามารถสมัครได้ เช่น เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป  เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน เจ้าหน้าที่ประสานงาน เจ้าหน้าที่บริหารงานบุคคล เลขานุการบริหาร นักวิชาการศึกษา นายอำเภอ หรือเจ้าหน้าที่ด้านการปกครองอื่น ๆ หน่วยงานที่เปิดรับ คือ กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานรายชการต่าง ๆ

  • งานรัฐวิสาหกิจ 

รัฐวิสาหกิจเป็นหน่วยงานที่บริหารร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน ตำแหน่งงานที่เปิดรับ จึงไม่ต่างจากตำแหน่งงานของงานราชการ และบริษัทเอกชนมากนัก ขึ้นอยู่กับว่าเรากำลังมองหางานแบบไหน หรือต้องการทำงานกับหน่วยงานใด

  • งานบริษัทเอกชน 

สำหรับคนที่ต้องการ และกำลังมองหาตำแหน่งงานในบริษัทเอกชน ขึ้นอยู่กับว่าจะเอาความรู้ที่ได้เรียนมานั้น ไปปรับใช้กับการทำงานในตำแหน่งอะไร ตำแหน่งงานที่เปิดรับสมัครจึงค่อนข้างหลากหลาย เช่น เจ้าหน้าที่ HR นักวิเคราะห์โครงการ นักวิเคราะห์การลงทุน นักวิเคราะห์ระบบงาน นักบริหารองค์การระดับสูง เป็นต้น

          จะเห็นได้ว่าช่องทางในการหางานของคนที่เรียนจบมาทางรัฐศาสตร์นั้นมีความหลากหลาย ไม่แพ้สาขาวิชาอื่น ๆ เพียงแต่ต้องให้ความสำคัญกับสิ่งที่เราเรียนมาว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง และเราสามารถนำความรู้ที่เรียนมาไปปรับใช้อย่างไรได้บ้าง ไม่จำเป็นว่าเรียนจบรัฐศาสตร์มาแล้ว ต้องไปทำงานเป็นนักการเมือง เหมือนอย่างที่หลาย ๆ คนเคยเข้าใจมา

          นอกจากช่องทางในการสมัครงานแล้ว ตำแหน่งงานที่นักศึกษาที่จบจากคณะรัฐศาสตร์ มักจะให้ความสนใจ และสมัครงานกันเป็นส่วนใหญ่ ทั้งที่ตรงสาย และไม่ตรงสายที่เรียนมา เรามาดูกันว่ามีตำแหน่งงานอะไรกันบ้าง

  • เจ้าหน้าที่บริหารทรัพยากรบุคคล (HR)
  • นักการทูต
  • พนักงานธนาคาร
  • เลขานุการ
  • อาชีพอิสระ

          เห็นอย่างนี้แล้ว น้อง ๆ ที่จบรัฐศาสตร์ทั้งจบใหม่หรือรุ่นพี่ที่มาจากคณะรัฐศาสตร์หลาย ๆ คน น่าจะได้ไอเดียการสมัครงานหรือการทำงาน ไม่มากก็น้อย แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม การสมัครงานก็ต้องเลือกตามความสามารถ และมั่นใจว่าเราสามารถทำได้ เพราะคนที่ประสบความสำเร็จในการทำงานหลาย ๆ คน ก็ไม่ได้ทำงานตรงสายไปเสียทุกคน ขึ้นอยู่กับว่าได้นำความรู้ที่ได้เรียนมานั้นไปปรับใช้อย่างไร

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

จบรัฐศาสตร์ สอบท้องถิ่นอะไรได้บ้าง

คว้างานที่ใช่ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เรียนจบมานานแล้ว แต่ยังหางานไม่ได้ทำยังไงดี

ทำไมเด็กจบใหม่ Start เงินเดือนไม่เท่ากัน

จบรัฐศาสตร์ สอบอะไรได้บ้าง

1.เจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล ... .
2.นักการทูต ... .
3.ปลัดอำเภอ และข้าราชการตามกรม กอง และกระทรวงต่างๆ ... .
4.พนักงานในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานธนาคาร และบริษัทเอกชน ... .
5.นักการเมือง.

สอบท้องถิ่นใช้วุฒิอะไรได้บ้าง

6. วุฒิ ม.6 สอบได้ไหม? ตอบ ไม่ได้ การสอบของส่วนท้องถิ่นจะเปิดรับผู้ที่มีวุฒิ ปวช. ปวส. อนุปริญญา ปวท. ปริญญาตรี ขึ้นไป

จบรัฐประศาสนศาสตร์สอบข้าราชการอะไรได้บ้าง

1.นักปกครอง (ปลัดอำเภอ ปลัด อบต. อบจ. เทศบาล สำนักงานเขต/อำเภอ) 2.เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปในกระทรวง กรม หน่วยงาน สำนักงาน และกองต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชนและรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น 3.รับราชการทหาร และตำรวจ 4.เจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชน

สอบท้องถิ่นได้ทำงานอะไร

การสอบแข่งขันเพื่อเข้ารับราชการเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น ทำหน้าที่ปฏิบัติราชการในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศไทย ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)