สุราประเภทที่ 1 และ 2 มีอะไรบ้าง

สงกรานต์นี้หลายคนอาจได้ถือโอกาสละเว้นแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะเมื่อหลายจังหวัดสั่งห้ามขาย ‘สุรา’ ในช่วงเวลานี้ทั้งประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 เพื่อลดการระบาดของโควิด-19 ในโอกาสนี้เราจึงอยากชวนไปดูว่า ตามข้อกฎหมาย สุราแต่ละประเภทถูกแบ่งออกอย่างไรบ้าง

สุราประเภทที่ 1 และ 2 มีอะไรบ้าง

ตามข้อกฎหมายระบุว่า

ประเภทที่ 1 สุราแช่ ได้แก่ 1) สุราที่ไม่ได้กลั่น  เช่น น้ำตาลเมา น้ำขาว อุ เบียร์ เป็นต้น และ 2) สุราแช่ที่ได้ผสมกับสุรากลั่นแล้ว แต่ยังมีแรงแอลกอฮอล์ไม่เกินสิบห้าดีกรีด้วย เช่น เบียร์ ไวน์ สปาร์กลิ้งไวน์ และสุราแช่พื้นเมือง เป็นต้น

ประเภทที่ 2 สุรากลั่น ได้แก่ 1) สุราที่ได้กลั่นแล้ว เช่น สุราขาว สุราสามทับ (แอลกอฮอล์) สุราแม่โขง สุราแสงโสม เป็นต้น หรือ 2) สุรากลั่นที่ได้ผสมกับสุราแช่แล้ว แต่ยังมีแรงแอลกอฮอล์เกินสิบห้าดีกรีด้วย เช่น สุราสามทับ สุราขาว สุราผสม สุราปรุงพิเศษ และสุราพิเศษ เป็นต้น

กฎกระทรวง แบ่งประเภทสุรากลั่นไว้ทั้งหมด 5 ประเภท คือ 

  1. สุราสามทับ คือ สุรากลั่นที่มีแรงแอลกอฮอล์ตั้งแต่แปดสิบดีกรีข้ึนไป 
  2. สุราขาว คือ สุรากลั่น ที่ปราศจากเครื่องย้อมหรือสิ่งปรุงแต่ง มีแรงแอลกอฮอล์ต่ำกว่าแปดสิบดีกรี 
  3. สุราผสม คือ สุรากลั่นที่ใช้สุราขาว หรือสุราสามทับมาปรุงแต่ง มีแรงแอลกอฮอล์ต่ำกว่าแปดสิบดีกรี 
  4. สุราปรุงพิเศษ คือ คือสุรากลั่น ที่ใช้สุราสามทับมาปรุงแต่ง มีแรงแอลกอฮอล์ต่ำกว่าแปดสิบดีกรี
  5. สุราพิเศษ คือ สุรากลั่นที่ทำข้ึนโดยใช้กรรมวิธีพิเศษ มีแรงแอลกอฮอล์ ต่ำกว่าแปดสิบดีกรีแบ่งย่อยได้อีก 2 ประเภท คือ 

5.1  ประเภท วิสกี้ บรั่นดี รัม ยิน หรือสุราแบบต่างประเทศอย่างอื่น
5.2  ประเภทเกาเหลียง เชี่ยงชุน บุ้งกุ่ยโล่ว หรือสุราจีนอย่างอื่น

อ้างอิง:

https://www.excise.go.th/cs/groups/public/documents/document/mjaw/mdyx/~edisp/webportal16200061747.pdf?fbclid=IwAR3ilrt2vS5KwWJAZwAw-fRMpDjWVFGIVLPt7kNHg0i4G1nobX1jvcscVF8

เอกสารที่ใช้ในการขอใบอนุญาตประเภท 2 กับกรมสรรพสามิตเพื่อจำหน่ายเหล้าเบียร์ในร้านอาหารผับบาร์และร้านขายปลีก

1. ทะเบียนบ้านที่ตั้งร้าน
2. สัญญาเช่า
3. บัตรประชาชนเจ้าของบ้านตามทะเบียนบ้านที่ตั้งร้าน
4. แผนที่ตั้งร้าน
5. หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ กรณีไม่คิดค่าเช่าต้องเซ็นโดยเจ้าของบ้านที่ให้เช่า (ขอได้ที่กรมสรรพสามิต)
6. แบบยื่นขอใบอนุญาตขายสุรา ภส 08-05 (ขอได้ที่กรมสรรพสามิต)
7. แบบบันทึกความเข้าใจและการไห้คำมั่นของผู้ขอใบอนุญาต (ขอได้ที่กรมสรรพสามิต)

เอกสารผู้เช่า
1. บัตรประชาชน 
2. สำเนาทะเบียนบริษัท (ถ้าขอในนามบริษัท)

กรณีมอบอำนาจ
1. หนังสือยินยอมมอบอำนาจ+ ติดอากรแสตมป์ 30 บาท
2. บัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ *** เอกสารทุกใบต้องลงลายมือชื่อรับรอง***

ค่าใช้จ่าย
1. ร้านอาหารหรือร้านขายปลีกที่ไม่ได้จดทะเบียน VAT เสียค่าธรรมเนียมปีละ 330 บาท
2. ร้านอาหารหรือร้านขายปลีกที่จดทะเบียน VAT เสียค่าธรรมเนียมปีละ 2,200 บาท

สถานที่ในการขอใบอนุญาต

ไปที่ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ ที่ตั้งร้านอยู่ 

การขอใบอนุญาตประเภท 2 เพื่อจำหน่ายสุราเหล้าเบียร์ไม่ยากอย่างที่คิด หากมีข้อสงสัยกรุณาสอบถามโดยตรงกับกรมสรรพสามิต

สุราประเภทที่ 2 คืออะไร

ประเภทที่ 2 สุรากลั่น ได้แก่ 1) สุราที่ได้กลั่นแล้ว เช่น สุราขาว สุราสามทับ (แอลกอฮอล์) สุราแม่โขง สุราแสงโสม เป็นต้น หรือ 2) สุรากลั่นที่ได้ผสมกับสุราแช่แล้ว แต่ยังมีแรงแอลกอฮอล์เกินสิบห้าดีกรีด้วย เช่น สุราสามทับ สุราขาว สุราผสม สุราปรุงพิเศษ และสุราพิเศษ เป็นต้น กฎกระทรวง แบ่งประเภทสุรากลั่นไว้ทั้งหมด 5 ประเภท คือ

ใบอนุญาตขายสุราประเภทที่ 2 มีอะไรบ้าง

ใบอนุญาตขายสุราประเภทที่ 2 คืออะไร ใบอนุญาตขายสุราประเภทที่ 2 คือ อนุญาตให้ขาย เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เป็นจำนวน ต่ำกว่า 10 ลิตร และ สามารถขาย สุราที่ผลิตในประเทศ และ ต่างประเทศได้ ร้านขายปลีกโดยทั่วไป ที่ไม่ได้มีการขายส่งก็ใช้ ใบอนุญาตขายสุราประเภท 2 ก็เพียงพอแล้ว

ใบอนุญาตขายสุราประเภทที่ 3 คืออะไร

ประเภทที่ 3 – สำหรับการขายสุราทุกชนิด ครั้งหนึ่งเป็นจำนวนต่ำกว่า 10 ลิตร พูดง่ายๆคือ ร้านอาหารทั่วๆไปมีเหล้านอกขายด้วย หรือร้านเซเว่น-อีเลเว่น ประเภทที่ 4 – สำหรับการขายสุราที่ทำในราชอาณาจักร ครั้งหนึ่งเป็นจำนวนตั้งแต่ 10 ลิตร ขึ้นไปพูดง่ายๆคือ ร้านอาหารทั่วๆไปที่มีแต่เหล้าไทยขาย

สุรากลั่น มี กี่ ประเภท อะไร บ้าง

สุรากลั่น ได้แก่ 1. ชนิดสุราขาว 2. ชนิดสุราผสม 3. ชนิดสุราปรุงพิเศษ 4. ชนิดสุราพิเศษ (ประเภทบรั่นดี วิสกี้และสุราแบบ ต่างประเทศอย่างอื่น) 5. สุราสามทับ