สารที่ใช้ในการทดสอบโปรตีนคือสารใดและให้ผลการทดสอบอย่างไร

        อาหารในชีวิตประจำวันมีสารอาหารหลากหลายชนิด วิธีการทดสอบอาหารเพื่อระบุสารอาหารที่ได้   รับจากการรับประทาน มีวิธีการทดสอบดังนี้ 


    วิธีทดสอบคาร์โบไฮเดรต 

        1

. คาร์โบไฮเดรตพวกที่มีรสหวาน ทดสอบโดยใช้สารละลายเบเนดิกส์ ซึ่งมีสีฟ้า ผลการทดสอบ   เป็นดังนี้ เมื่อนำน้ำตาลกลูโคส + สารละลายเบเนดิกส์ แล้วนำไปต้ม จะเปลี่ยนสีสารละลายเบเนดิกส์จากสีฟ้าเป็นตะกอนสีส้มแดง 

สารที่ใช้ในการทดสอบโปรตีนคือสารใดและให้ผลการทดสอบอย่างไร

ที่มารูป: https://goo.gl/wF3DaV


        2. คาร์โบไฮเดรตพวกที่มีรสไม่หวาน หรือ แป้ง ทดสอบโดยใช้สารละลายไอโอดีน ซึ่งมีสีน้ำตาลเหลือง ผลการทดสอบเป็นดังนี้  แป้ง + สารละลายไอโอดีน จะเปลี่ยนสีสารละลายไอโอดีนจากสีน้ำตาลเป็นสีน้ำเงิน หรือ ม่วงดำ 

สารที่ใช้ในการทดสอบโปรตีนคือสารใดและให้ผลการทดสอบอย่างไร

ที่มารูป: https://goo.gl/wF3DaV


    วิธีทดสอบโปรตีน

สารที่ใช้ในการทดสอบโปรตีนคือสารใดและให้ผลการทดสอบอย่างไร

ที่มารูป: https://goo.gl/tmujy9


        ทดสอบด้วยการ
นำอาหารมาทดสอบกับสารละลายคอปเปอร์ (II) ซัลเฟตซึ่งมีสีฟ้า และสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ 
หรือเรียกว่า การทดสอบไบยูเร็ต

 ผลการทดสอบเป็นดังนี้ 

    โปรตีน + (สารละลายคอปเปอร์(II) ซัลเฟต + สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ จะเปลี่ยนสีสารละลายดังกล่าวจากสีฟ้าเป็นสีม่วงแกมแดง

    วิธีทดสอบไขมัน
        ทดสอบด้วยการนำน้ำมันพืชหรืออาหารไปถูกับกระดาษประมาณ 3-4 ครั้ง ถ้ามีลักษณะ โปร่งแสง แสดงว่า เป็นไขมัน

สารที่ใช้ในการทดสอบโปรตีนคือสารใดและให้ผลการทดสอบอย่างไร

ที่มารูป: https://goo.gl/wF3DaV

 บรรณานุกรม

        มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา(สอวน.). (2556). ชีววิทยา1(มัธยมศึกษาตอนต้น). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

         ณัฐพงศ์ ก้องคุณวัฒน์. (2559). สรุปวิทยาศาสตร์ มัธยมศึกษาปีที่ 1-3 สำหรับเตรียมสอบเข้า. กรุงเทพฯ: กรีนไลฟ์ พริ้นติ้งเฮาส์.

         สำนักงานส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. 

                                                                    ตอนที่  1  เรื่อง   การทดสอบอาหาร

  อาหาร    คือ สิ่งที่เรารับประทานเข้าไปแล้ว  ทำให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย  ดังนี้

                     1.  ทำให้เกิดพลังงาน

                     2.  ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย

                     3.  ทำให้อวัยวะภายในร่างกายทำงานได้ตามปกติ

  สารอาหาร  หมายถึง  สารเคมี ที่ประกอบอยู่ในอาหาร    

 การทดสอบสารอาหาร      ทดสอบ  1. แป้ง    2.น้ำตาลกลูโคส   3. โปรตีน (ไข่ขาว,  น้ำนม)  4.ไขมัน

            การทดสอบคาร์โบไฮเดรต  แบ่งเป็น 2 อย่าง คือ     1. ทดสอบแป้ง     2. ทดสอบน้ำตาล

                1. การทดสอบแป้ง  ใช้ สารละลายไอโอดีน (สีน้ำตาล เหลือง)   หยดลงไปในหลอดทดลองที่มีน้ำแป้ง  ผสมอยู่ 2 - 3 หยด     
ถ้าเกิด สีน้ำเงิน   หรือน้ำเงินปนม่วง  แสดงว่า  อาหารนั้นเป็น แป้ง

                2. การทดสอบน้ำตาล  (เฉพาะน้ำตาล โมเลกุลเดี่ยว) เช่น  น้ำตาล  กลูโคส, ฟรักโทส, กาแลกโทส    
                  
- ใช้ สารละลาย เบเนดิกต์ (สีฟ้า) (หยดลงไป 5 หยด แล้วนำไป  ต้มในน้ำเดือด 

                   -  ถ้ามีน้ำตาลกลูโคส   จะเปลี่ยนเป็น    ตะกอนสีแดงอิฐ  (หรือ สีส้มแดง)  ของธาตุทองแดง Cu2O
(คิวปรัส ออกไซด์ – Cuprous  oxide)
                   -  สีของตะกอน  จะบอกถึงระดับน้ำตาล   เรียงจากน้อยที่สุด ไปมากที่สุด ดังนี้

                      (น้อย) .... สีฟ้าอมเขียว  < สีเหลือง  สีส้ม  สีแดง  <   สีแดงอิฐ .... (มาก)

             ถ้านำ น้ำตาลทราย (ซูโครส) (โมเลกุลคู่)  มาทดสอบ  จะไม่เปลี่ยนแปลง  เว้นแต่มีการต้มนานเกินไป 

                      หรือต้มกับ  กรดไฮโดรคลอริก (กรดเกลือเจือจาง) ก่อน  น้ำตาลทรายบางส่วน อาจเปลี่ยนเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว 
เกิดปฏิกิริยา เปลี่ยนสีเป็น ส้มแดง ได้เล็กน้อย
  หรือเป็น สีเขียวอมเหลือง ก็ได้   (สาร ม.4-6  วพ. น.138)

            การทดสอบโปรตีน  มี 2  วิธี  สารที่ใช้ทดสอบ   ได้แก่  1.ไบยูเร็ต     2. กรดไนตริกเข้มข้น (HNO3)

               ไบยูเร็ต  เป็นสารผสมกัน 2 อย่าง คือ 1. สารละลายคอปเปอร์ซัลเฟต(จุนสี)    2. สารละลาย โซเดียมไฮดรอกไซด์ (โซดาแผดเผา - NaOH)   เรียกการทดสอบ เช่นนี้ว่า   การทดสอบไบยูเร็ต

              - เมื่อหยดสารละลายคอปเปอร์ซัลเฟต 5 หยด แล้วค่อยๆ  หยดสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์    ประมาณ 10 หยด  ลงไปในอาหาร  (น้ำนม หรือ ไข่ขาว)   
             
  ถ้ามีโปรตีน   จะเปลี่ยนจาก  สารสีฟ้า    เป็น   สี ม่วง  

                ถ้าใช้ กรดไนตริกเข้มข้น (กรดดินประสิว) ทดสอบ   จะเปลี่ยนเป็น   สีเหลือง

             การทดสอบไขมัน  ทำได้โดย 

                1.  นำไขมัน มาถูกับกระดาษ  ปล่อยให้แห้งแล้วนำไปส่องกับแสงแดด

                   -  ถ้ามีไขมัน  กระดาษ จะเปลี่ยนจาก ทึบแสง     เป็น โปร่งแสง

              2.  ทดสอบโดย  นำไขมัน  ไป ต้มกับเบส  โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH)  จะได้   สบู่                         

พลังงานที่ได้จากอาหาร

หน่วยวัดพลังงานที่ได้จากอาหาร คือ แคลอรี   ( 1  แคลอรี่  เท่า 4.2 จูล)  

พลังงาน 1  แคลอรี  หมายถึง  ปริมาณความร้อน ที่ทำให้น้ำ 1  กรัม  มีอุณหภูมิสูงขึ้น 1  องศาเซลเซียส  หรือประมาณ  4.2  จูล

         สูตร  คำนวณ หาค่าพลังงานความร้อน     =   มวลของน้ำ  อุณหภูมิที่เปลี่ยนไป

         เมื่อเราหายใจเอาออกซิเจนเข้าไป   จะทำปฏิกิริยาเผาผลาญอาหาร(สันดาป)   ทำให้ได้พลังงานออกมา  ดังสมการ

สารอาหาร  +  ออกซิเจน   …จะได้……….  พลังงาน  +  น้ำ  + คาร์บอนไดออกไซด์

พลังงานที่ร่างกายต้องการ

คนเราต้องการพลังงานไม่เท่ากัน  ขึ้นอยู่กับ  เพศ   วัย  สภาพร่างกาย  และกิจกรรมที่ทำ 
               -  เด็กชายอายุ
  16 –19 ปี ต้องการพลังงานจากอาหารมากที่สุด ประมาณ 3,300 กิโลแคลอรีต่อวัน
              - ผู้ชายอายุ 60-69 ปี ต้องการพลังงาน 2,000 กิโลแคลอรี่ 
              -  เราต้องกินอาหารให้ครบหมู่  และได้ปริมาณที่พอเพียง   แต่ถ้ากินอาหารมากเกินไป  อาจทำให้เกิดโรคอ้วน  ความดันสูง  
โรคหัวใจ   เบาหวาน  ไขมันอุดตันในเส้นเลือด  เป็นต้น

ในการทดสอบโปรตีนมีชื่อเรียกว่าอะไรใช้สารใดในการทดสอบและเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

การทดสอบโปรตีนสามารถทดสอบไดดวยปฏิกิริยาไบยูเรต (Biuret reaction) โดยใหโปรตีนทําปฏิกิริยากับ สารละลาย CuSO4 ในสารละลายเบส NaOH หรือ KOH จะไดสารสีน้ําเงินมวง โดยปฏิกิริยา CuSO4 ในสารละลายเบส จะทําปฏิกิริยากับองคประกอบยอยของโปรตีนคือ กรดอะมิโน ไดสารสีน้ําเงินมวง ซึ่งเปนสารประกอบเชิงซอน ระหวาง Cu2+ กับไนโตรเจน ...

ทดสอบน้ําตาล ใช้สารอะไร

sugar เช่น กลูโคส ฟรักโทส) โดยใช้สารละลายเบเนดิกต์ จะสังเกตการเปลี่ยนแปลงสีของ สารละลาย ดังนี้ เมื่อต้มให้ความร้อน สารละลายจะเปลี่ยนจากสีฟ้าเกิดเป็นตะกอนสีส้ม หรือสีแดงอิฐ โดยสีของสารละลายอาจเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเหลือง หรือสีเหลืองได้หาก

การทดสอบอาหารประเภทไขมันจะใช้สารใด

กระดาษขาว ใช้ทดสอบ : ไขมัน วิธีการทดสอบ : หยดน้ำมันพืชลงบนกระดาษขาว ขนาด 2 ตารางเซนติเมตร แล้วใช้มือถูไปมา จากนั้นยกกระดาษขึ้นให้แสงผ่าน สังเกตว่าโปร่งแสงหรือไม่ ผลการทดสอบ : หากนำไปทดสอบสารใด ๆ แล้วกระดาษขาวโปร่งแสง แสดงว่าสารนั้นมีไขมัน

การทดสอบน้ำตาลในพืชทดสอบด้วยสารชนิดใด และผลลัพธ์เป็นอย่างไร

2. การทดสอบน้ำตาล (เฉพาะน้ำตาล โมเลกุลเดี่ยว) เช่น น้ำตาล กลูโคส, ฟรักโทส, กาแลกโทส - ใช้ สารละลาย เบเนดิกต์ (สีฟ้า) (หยดลงไป 5 หยด แล้วนำไป ต้มในน้ำเดือด - ถ้ามีน้ำตาลกลูโคส จะเปลี่ยนเป็น ตะกอนสีแดงอิฐ (หรือ สีส้มแดง) ของธาตุทองแดง Cu2O.