โครงสร้างที่ใช้ในการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอก คืออะไร เปลี่ยนแปลงมาจากโครงสร้างใด

โครงสร้างของดอก

ดอกไม้ประกอบด้วยส่วนต่างๆ  ส่วน  โดยแต่ละส่วนจะเรียงตัวจากชั้นที่อยู่นอกสุดเข้าสู่ส่วนใน คือ  กลีบเลี้ยง  กลีบดอก  เกสรตัวผู้  และเกสรตัวเมียตามลำดับ  โดยส่วนประกอบทั้ง 4 นี้จะอยู่บนฐานรองดอก  ซึ่งอยู่ปลายสุดของก้านชูดอกอีกทีหนึ่ง

โครงสร้างที่ใช้ในการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอก คืออะไร เปลี่ยนแปลงมาจากโครงสร้างใด

ภาพที่ 1  โครงสร้างของดอก

1.  กลีบเลี้ยง (sepal)  เป็นส่วนของดอกที่อยู่นอกสุด  มีสีเขียว เหมือนใบ และทำหน้าที่สังเคราะห์ด้วยแสงได้  กลีบเลี้ยงทำหน้าที่ห่อหุ้ม และป้องกันอันตรายให้แก่ส่วนของดอกที่อยู่ภายใน  เมื่อดอกบานแล้วส่วนของกลีบเลี้ยงอาจหมดหน้าที่แล้วหลุดร่วงไป  วงของกลีบเลี้ยงเรียกว่า  แคลิกซ์  (calyx

กลีบเลี้ยงที่ไม่ใช่สีเขียวและทำหน้าที่ล่อแมลงให้มาผสมเกสรได้  เช่นเดียวกับกลีบดอก ใต้กลีบเลี้ยงมีกลีบสีเขียวขนาดเล็กเรียงตัวเป็นวงอยู่ด้วย  เรียกว่า  ริ้วประดับ (epicalyx) เช่น ในดอกชบา  และพู่ระหง

2.  กลีบดอก(petal) เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากกลีบเลี้ยงเข้ามากลีบดอกมักมีสีสันสวยงามเนื่องจากมีรงควัตถุ  เช่น แอนโทไซยานินละลายอยู่ในsap  vacuole ทำให้เกิดสีแดง สีน้ำเงิน ม่วง  นอกจากนี้ยังมีสารแอนโทแซนทิน ละลายอยู่ด้วยทำให้เกิดสีต่างๆ ได้หลายสี   ในดอกไม้สีขาว เนื่องจากในแซพแวคิวโอล ไม่มีรงควัตถุชนิดใดบรรจุอยู่ หรือมีแอนโทแซนทินก็ได้  สารสีเหลืองหรือสีแดงเกิดจากรงควัตถุชนิด  แคโรทีนอยด์  กลีบดอกบางชนิดสามารถเปลี่ยนสีได้ เช่นดอกพุดตาน  บางชนิดมีกลิ่นหอมเนื่องจากมีต่อมกลิ่นอยู่ด้วยและที่โคนกลีบดอกมักมีต่อมน้ำหวาน  ช่วยในการล่อแมลง  วงกลีบดอกเรียกว่า คอโรลา (corolla)  ถ้าหากกลีบเลี้ยงและกลีบดอกเหมือนกันจนแยกไม่ออกจะเรียกรวมกันว่า  วงกลีบรวม (perianth)  ได้แก่  จำปี  จำปา  บัวหลวง ทิวลิป  เป็นต้น

3.  เกสรตัวผู้(stamen)เป็นส่วนที่จำเป็นต่อการสืบพันธุ์  ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้  เกสรตัวผู้มักมีหลายอันและเรียงตัวเป็นวงเรียกว่า  แอนดรีเซียม (androecium)เกสรตัวผู้ส่วนใหญ่แยกกันเป็นอันๆ  แต่บางชนิดอาจติดกัน หรืออาจติดส่วนอื่นของดอก  เช่น  เกสรตัวผู้เชื่อมติดกับกลีบดอก  พบในดอกเข็ม  ดอกลำโพง  หรือเกสรตัวผู้ติดกับเกสรตัวเมีย พบในดอกรัก  ดอกเทียน

เกสรตัวผู้แต่ละอันประกอบด้วย   ส่วน

3.1  ก้านชูเกสรตัวผู้  (filament)  เป็นส่วนที่มีลักษณะเป็นเส้นอาจรวมกันเป็นกลุ่มหรือแยกกันอาจยาวหรือสั้นซึ่งก็แล้วแต่ชนิดของพืช  ทำหน้าที่ชูอักเกสรตัวผู้หรืออับเรณู

3.2   อับเกสรตัวผู้(anther) มีลักษณะเป็นแทงกลมยาวหรือค่อนข้างกลม พู  ภายในแบ่งเป็นถุงเล็กๆ   4  ถุง เรียกว่า ถุงเรณู(pollen  sac)  บรรจุละอองเรณู (pollen  grain)จำนวนมากมีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ  สีเหลืองๆ  ผิวของละอองเรณูแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน  ละอองเรณูทำหน้าที่  เป็นเซลล์สืบพันธุเพศผู้  เมื่อดอกเจริญเต็มที่แล้วถุงละอองเรณูจะแตกออก  ละอองเรณูก็จะปลิวออกมา  เกสรตัวผู้ในพืชแต่ละชนิดมีจำนวนมากน้อยไม่เท่ากัน  ในพืชโบราณหรือพืชชั้นต่ำเกสรตัวผู้มักมีจำนวนมาก  ส่วนพืชที่มีวิวัฒนาการสูงจำนวนเกสรตัวผู้จะลดน้อยลง  

4.  เกสรตัวเมีย(pistil)  เป็นชั้นที่อยู่ในสุดเปลี่ยนแปลงมาจากใบเพื่อทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย  จึงเป็นอวัยวะสำคัญต่อการสืบพันธุ์  ในหนึ่งดอกเกสรตัวเมียอาจมีอันเดียวหรือหลายอัน  เรียงตัวเป็นวงของเกสรตัวเมีย  เรียกว่า จิเนเซียม (gynaecium)

เกสรตัวเมียประกอบด้วย   3  ส่วนคือ

                               4.1  ยอดเกสรตัวเมีย (stigma) เป็นส่วนที่พองออกมีลักษณะเป็นตุ่มแผ่แบนเป็นแฉก  เป็นพูและมีน้ำเหนียวๆ หรือขนคอยจับละอองเรณูที่ลอยมาติด

                               4.2  ก้านชูเกสรตัวเมีย (style) เป็นส่วนที่มีลักษณะเป็นเส้นหรือก้านเล็กๆ  อาจยาวหรือสั้นเชื่อมต่อจากยอดเกสรตัวเมียลงสู่รังไข่  เป็นทางให้เสปิร์มนิวเคลียสเข้าผสมกับไข่

                                4.3  รังไข่  (ovary)  เป็นส่วนที่พองออกมาลักษณะเป็นกระเปาะยึดกับฐานรองดอกหรืออาจฝังอยู่ในฐานรองดอกภายในมีลักษณะเป็นห้องๆ  เรียกว่า โลคุล (locule) ซึ่งภายในมีออวุล(ovule)  บรรจุอยู่แต่ละหน่วยของเกสรตัวเมียที่มีโลคุลที่ห่อหุ้มไข่ไว้ภายในเรียกว่า คาร์เพล (carpel)  ใน โคคุล  อาจมี  คาร์เพล หรือหลายคาร์เพลก็ได้แล้วแต่ชนิดของดอกไม้  เมื่อเกิดการปฏิสนธิแล้วรังไข่จะเจริญเป็นผล  ส่วนออวุลเจริญเป็นเมล็ด

โครงสร้างที่ใช้ในการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอก คืออะไร เปลี่ยนแปลงมาจากโครงสร้างใด

ภาพที่ 2    แสดงเกสรตัวเมียชนิดต่างๆ

โครงสร้างของดอก

โครงสร้างที่ใช้ในการสืบพันธุ์ของพืชดอกคืออะไร

พืชต้องสร้างเซลล์สืบพันธุ์กล่าวคือ เมื่อพืชดอกเจริญเติบโตเต็มที่ก็จะเริ่มออกดอก ซึ่งภายในดอกก็จะสร้างเซลล์สืบพันธุ์ โดยเกสรเพศผู้สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ หรือละอองเรณูเก็บไว้ในอับละอองเรณู ส่วนเกสรเพศเมียจะมีรังไข่ ภายในรังไข่มีออวุล ทำหน้าที่เก็บไข่อ่อนเอาไว้

การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอกมีขั้นตอนอย่างไร

การสืบพันธุ์ของพืชแบบอาศัยเพศ เกิดจากการผสมกันระหว่างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ และเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย ซึ่งมีขั้นตอนการผสมพันธุ์ดังนี้ การถ่ายละอองเรณู การงอกของละอองเรณู และการปฏิสนธิ

โครงสร้างของพืชในข้อใดทำหน้าที่ในการสืบพันธุ์ของพืช

ดอกไม้ (Flower) คือ อวัยวะส่วนสำคัญที่ทำหน้าที่ในการสืบพันธุ์ของพืชดอก (Angiosperm) เป็นส่วนโครงสร้างของพืชที่พัฒนามาจากกิ่งและใบ ดอกไม้แต่ละดอกมักมีขนาด รูปร่าง และสีสันแตกต่างกันไปตามชนิดของพันธุ์พืช ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว เรามักเห็นดอกไม้มีสีสันสวยงามและส่งกลิ่นหอม หารู้ไม่ว่าลักษณะทางโครงสร้างที่โดดเด่นเหล่านี้ ช่วย ...

การปฏิสนธิของการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอกเกิดขึ้นเมื่อใด

2. การปฏิสนธิ (Fertilization) คือกระบวนการที่เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ (ละอองเรณู) ผสมกับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย (ไข่อ่อน) เมื่อเกิดการถ่ายละอองเรณู ละอองเรณูจะตกอยู่ที่บริเวณ stigma ซึ่งจะมีสารกึ่งเหลวคอยดักจับเรณูไว้ เมื่อมีสภาพที่เหมาะสม ละอองเรณูจะงอกและมีการเจริญของท่อเรณูเพื่อเข้าไปผสมกับเซลไข่ (egg cell) โดยภายในท่อ ...