วัฒนธรรมการแต่งกายของชาติในภูมิภาคเอเชียที่คล้ายคลึงและแตกต่างกัน คืออะไร

สังคม-วัฒนธรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

คะแนนความนิยม

องค์กร : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

ศิลปวัฒนธรรมถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์สำคัญอย่างหนึ่งของประชาชาติในอาเซียน วัฒนธรรมดั้งเดิมของคนในภูมิภาคนี้ในขั้นเริ่มต้นมีพัฒนาการทางวัฒนธรรมที่ร่วมกัน แต่ในสมัยต่อมาได้มีการรับวัฒนธรรมทางศาสนาจากอินเดีย จากจีน และจากตะวันตกที่เกิดขึ้นในบางประเทศ ทำให้แต่ละประเทศในภูมิภาคนี้มีทั้งความเหมือนและความต่างทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะงานศิลปกรรมที่เป็นส่วนหนึ่งของการสะท้อนความคิดและความเชื่อทางศาสนาของแต่ละชนชาติ ที่ปรากฏขึ้นในงานศิลปกรรมที่แตกต่างกัน ดังนั้น วิธีการทางประวัติศาสตร์ศิลปะ จึงเข้ามาทำการวิเคราะห์อธิบาย และแสดงให้เห็นถึงหลักฐานทางด้านศิลปกรรมของแต่ละประเทศในภูมิภาคอาเซียนว่ามีลักษณะรูปแบบที่มาเป็นอย่างไรในแต่ละยุคสมัย รวมถึงมีแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์เฉพาะของศิลปกรรมของแต่ละประเทศ นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของผู้คนในประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ผ่านคติความเชื่อที่มีร่วมกัน ทว่ามีรูปแบบของงานศิลปกรรมที่แตกต่างกันไปแต่ละท้องถิ่นทางสังคม ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงการผสมผสานศรัทธากับการสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละดินแดนเช่นกัน

Data source cannot be displayed.

สังคม-วัฒนธรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Visualization

{{current_url}}?id={{cur_meta.id}}&is_fullscreen=1

ข้อมูลทรัพยากร : {{cur_meta.name}}

วันที่ปรับปรุงไฟล์/ลิงก์ข้อมูลใน catalog
วันที่สร้างไฟล์/ลิงก์ข้อมูลใน catalog
รูปแบบของไฟล์ชุดข้อมูล
รหัสทรัพยากรข้อมูล
รายละเอียด
เงื่อนไขในการเข้าถึงข้อมูล
หน่วยที่ย่อยที่สุดของการจัดเก็บข้อมูล
วันที่เริ่มต้นสร้าง
วันที่ปรับปรุงเนื้อหาข้อมูลล่าสุด

รหัสชุดข้อมูล e09773b0-a72e-4bbf-8580-53da8aa9ca3a
คำสำคัญ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม
ระดับในการเข้าถึงข้อมูล สาธารณะ
วันที่สร้าง metadata 29 เมษายน 2564
วันที่ปรับปรุง metadata 31 ตุลาคม 2564
ประเภทชุดข้อมูล ข้อมูลระเบียน
ชื่อผู้ติดต่อ ผู้ดูแลระบบ
อีเมลผู้ติดต่อ
วัตถุประสงค์ ไม่ทราบ
หน่วยความถี่ของการปรับปรุงข้อมูล ไม่มีการปรับปรุงหลังจากการจัดเก็บข้อมูล
ค่าความถี่ของการปรับปรุงข้อมูล (ความถี่น้อยที่สุด) 1
ขอบเขตเชิงภูมิศาสตร์หรือเชิงพื้นที่ ประเทศ
แหล่งที่มา ไม่ทราบ
รูปแบบการเก็บข้อมูล ไม่ทราบ
หมวดหมู่ข้อมูลตามธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ข้อมูลสาธารณะ
สัญญาอนุญาต Creative Commons Attributions
ภาษาที่ใช้ ไทย
ชุดข้อมูลที่มีคุณค่าสูง ไม่แสดง

ชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

จำนวนพุทธศาสนิกชนอายุ 13 ปีขึ้นไป

วันที่ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด : 12 ตุลาคม 2565  

วัฒนธรรมการแต่งกายของชาติในภูมิภาคเอเชียที่คล้ายคลึงและแตกต่างกัน คืออะไร
วัฒนธรรมการแต่งกายของชาติในภูมิภาคเอเชียที่คล้ายคลึงและแตกต่างกัน คืออะไร

จำนวนวัยรุ่นอายุ 15-24 ปี ตามการเคยมีเพศสัมพันธ์

วันที่ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด : 12 ตุลาคม 2565  

วัฒนธรรมการแต่งกายของชาติในภูมิภาคเอเชียที่คล้ายคลึงและแตกต่างกัน คืออะไร
วัฒนธรรมการแต่งกายของชาติในภูมิภาคเอเชียที่คล้ายคลึงและแตกต่างกัน คืออะไร

ร้อยละของวัยรุ่นอายุ 15-24 ปี ตามการเคยมีเพศสัมพันธ์

วันที่ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด : 12 ตุลาคม 2565  

วัฒนธรรมการแต่งกายของชาติในภูมิภาคเอเชียที่คล้ายคลึงและแตกต่างกัน คืออะไร
วัฒนธรรมการแต่งกายของชาติในภูมิภาคเอเชียที่คล้ายคลึงและแตกต่างกัน คืออะไร

อีเมล * :

วัตถุประสงค์ของการใช้งาน * :

รายละเอียดการใช้ข้อมูล * :

You can copy and paste the embed code into a CMS or blog software that supports raw HTML

ท่านผู้อ่านเคยทราบไหมว่า การเปลี่ยนแปลงการแต่งกายของคนไทยที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน มีความเป็นมาอย่างไร เช่น เสื้อผ้า หมวก รองเท้า เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับของคนไทยมีขนบธรรมเนียม ความเชื่ออย่างไร

ชนชั้นนำไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีรูปแบบของวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีแต่งกายคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยา ทั้งนี้เนื่องจากผู้คนส่วนใหญ่ยังเป็นคนที่มีชีวิตอยู่ในสมัยอยุธยา เมื่อสร้างบ้านเมืองใหม่จึงได้รับรูปแบบของวัฒนธรรมที่คุ้นเคยกันมาปฏิบัติ ในเรื่องระเบียบกฎเกณฑ์ทางสังคมในสมัยอยุธยา เคยมีระเบียบและข้อห้ามสำหรับสามัญชนที่จะใช้เครื่องแต่งกายเลียนแบบเจ้านายไม่ได้ และมีข้อกำหนดว่าควรแต่งและไม่ควรแต่งอย่างไร จึงจะถูกต้องตามธรรมเนียมที่กำหนดไว้

“ความเปลี่ยนแปลงของการแต่งกายของชนชั้นนำไทยตั้งแต่พ.ศ. 2399-2490” เป็นงานวิจัยของผู้เขียนโดยมีพื้นฐานมาจากการใช้กระบวนการศึกษาวิจัยทางประวัติศาสตร์ วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่ออธิบายเกี่ยวกับพัฒนาการของการแต่งกายของชนชั้นนำในสังคมไทย งานวิจัยนี้มีสมมติฐานว่า การเปลี่ยนแปลงของการแต่งกายของชนชั้นนำสยามเกิดขึ้นหลังจากทำสัญญาเบาว์ริง (Bowring) กับประเทศอังกฤษในพ.ศ. 2398 และชาติตะวันตกชาติอื่นๆ อีกหลายประเทศส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงมากขึ้นเป็นทวีคูณ “การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการแต่งกาย” เช่นโปรดเกล้าฯให้เจ้านายและข้าราชการสวมเสื้อเข้าเฝ้า และเลิกชายไว้ทรงผมมหาดไทย หญิงเลิกไว้ผมปีก ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 มีการติดต่อกับต่างประเทศมากขึ้นทั้งด้านความสัมพันธ์ทางการทูตและการขยายตัวของห้างร้านที่สั่งสินค้าจากตะวันตกมาจำหน่าย เช่น ห้างจอห์นแซมสันแอนด์ซัน จากประเทศอังกฤษ (อาคารอนุรักษ์ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ) ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงการแต่งกายของชนชั้นนำไทย เพราะถือว่าเป็น “ความศิวิไลซ์”อย่างหนึ่ง จึงรับเอาทัศนคติด้านการแต่งกาย “อย่างฝรั่ง” เข้ามา ในระยะแรกเป็นการดัดแปลงแบบตะวันตกผสมผสานกับการแต่งกายรูปแบบเดิม นับว่าราชสำนักเป็นผู้นำของการเปลี่ยนแปลง อีกทั้งพระมหากษัตริย์ทุกรัชกาลจากรัชกาลที่ 4 มาจนถึงรัชกาลที่ 7 ผู้ทรงปกครองมีพระราชประสงค์ที่จะปรับประเทศเข้าสู่ความเป็นสมัยใหม่แบบตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งของสตรีในราชสำนัก และเครื่องแบบข้าราชการ ทหารและพลเรือนนำความเป็นตะวันตกมาผสมผสานกับของไทยที่มีมาแต่เดิมมากขึ้นเป็นลำดับ

แต่มีข้อสังเกตว่าในสมัยรัชกาลที่ 7 มีการปรับรูปแบบเครื่องแต่งกายให้เรียบง่ายและประหยัดขึ้น ตามพระราชนิยม และสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ครั้นในสมัยรัฐบาลจอมพลป. พิบูลสงคราม ในพ.ศ.2484 ท่านผู้นำได้ออกรัฐนิยมฉบับที่ 10 เรื่องการแต่งกายในที่สาธารณะของราษฎรในเชิงบังคับ ซึ่งราษฎรได้ทำตามในที่สาธารณะ แต่เมื่อเลิกการบังคับใช้กฎหมาย ปรากฏว่าราษฎรได้เลิกสวมหมวก แต่ยังนิยมการนุ่งกางเกง กรณีของบุรุษ และการนุ่งกระโปรง กรณีของสตรี สรุปได้ว่า ผู้คนทั่วไปในสังคมไทยหันมาแต่งกายแบบตะวันตกชัดเจนขึ้น เมื่อมีการบังคับในเบื้องแรกบุรุษ และสตรีไทยยังมีการนุ่งโจงกันอยู่บ้าง ผ้าที่นิยมนุ่งคือ “ผ้าม่วง” [1] และ“ผ้าลาย” จนกระทั่งมีการตราพระราชบัญญัติการแต่งกายพลเรือน ในพ.ศ. 2478 ต่อด้วยยุค “มาลานำไทย” สมัยจอมพลป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ทำให้แนวโน้มการแต่งกายมีวิวัฒนาการเป็นการนุ่งกระโปรง สวมกางเกง และสวมหมวก แบบตะวันตกมาจนทุกวันนี้

[1] ผ้าม่วง เป็นผ้าแพรชนิดหนึ่งซึ่งทอจากเส้นไหม ที่เรียกว่าผ้าม่วงเป็นเพราะแต่เดิมคงจะมีแต่สีม่วงมาก่อน แม้ว่าในระยะหลังจะมีสีอื่นอีกมากมาย ก็ยังคงเรียกว่า ผ้าม่วง ที่ขึ้นชื่อคือ “ผ้าม่วงเซี่ยงไฮ้” เป็นผ้าม่วงที่ส่งมากจากเมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน