ปัญหาเกี่ยวกับขยะมีอะไรบ้าง

บ้านทางเกวียนเป็นหมู่บ้านที่มีลักษณะเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ ลักษณะการตั้งถิ่นบ้านเรือนของครัวเรือน ตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นกลุ่ม ๆ ใกล้เคียงกันมีครัวเรือนตั้งอยู่ใกล้ๆกันตามข้างริมถนนตลอดทั้งหมู่บ้าน ซึ่งบ้านทางเกวียนเป็นหมู่บ้านที่มีประชากรปานกลาง ในตำบลโคกม่ว4.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

บ้านทางเกวียนเป็นหมู่บ้านที่มีลักษณะเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ ลักษณะการตั้งถิ่นบ้านเรือนของครัวเรือน ตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นกลุ่ม ๆ ใกล้เคียงกันมีครัวเรือนตั้งอยู่ใกล้ๆกันตามข้างริมถนนตลอดทั้งหมู่บ้าน ซึ่งบ้านทางเกวียนเป็นหมู่บ้านที่มีประชากรปานกลาง ในตำบลโคกม่วงอีกด้วยมีประชากร 302 ครัวเรือน สภาพภูมิอากาศลักษณะภูมิประเทศ เป็นเชิงควนและเป็นที่ราบลุ่มซึ่งเหมาะแก่การทำการเกษตรเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ การประกอบอาชีพเกษตร 275 ครัวเรือน มีการทำสวนยางพาราเป็นหลัก จำนวน 1,537ไร่ ปลูกผลไม้ ปลูกผัก ภูมิอากาศลักษณะเป็นร้อนชื้น ไม่ร้อนจัด ไม่หนาว ฤดูกาลมี 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-เดือนพฤษภาคม และฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน – เดือนมกราคม ซึ่งถ้าฝนตกมากๆจะมีน้ำขังที่ราบลุ่มแต่จะขังไม่นาน น้ำก็ไหลลงลำคลองสาธารณะไหลลงทะเลต่อไป ประชาชนในหมู่บ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม ทำสวนยาง ทำนา เลี้ยงสัตว์ รับจ้างทั่วไป

สภาพปัญหาโดยรวมของชุมชน ชุมชนมีปัญหาต่าง ๆ ดังนี้คือ ปัญหาด้านสุขภาพ สุขภาพชาวบ้านเป็นโรคเรื้อรัง โรคความดันถึง 71 คน โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง และโรคอื่นๆ ส่งผลให้เกิดภาวะความเครียดตามมา ค่าใช้จ่ายในการรักษาตัวเองก็เพิ่มขึ้น เช่น ค่าใช้จ่ายในการไปหาหมอ ต้องซื้อยามาพบว่าคนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ถูกต้อง ชอบรับประทานอาหารรสเปรี้ยว หวาน มัน เค็ม ไม่ได้มีการออกกำลังกาย

ปัญหาไม่ปลูกผักกินเอง หรือปลูกน้อยไม่เพียงพอ ทำให้ในแต่ละครัวเรือนมีรายจ่ายซื้อผัก ไม่ทำอาหารกินเองซื้อแกงถุง กินผักปนเปื้อนสารเคมี นอกจากนี้เห็นได้ว่าจากการใช้สารพิษในการทำการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นการฉีดหญ้าบริเวณข้างบ้าน บริเวณในสวนยาง ทำให้เกิดมลพิษ ดินเสื่อม แหล่งน้ำมีสารพิษเจือปน เมื่อปลูกพืช ผัก ก่อให้เกิดสารพิษสะสมต่อพืช ผัก ที่ปลูกไว้ จากนั้นส่งผลต่อผู้บริโภค กลายเป็นการสะสมสารพิษในร่างกายโดยอัตโนมัติ ทำให้โรคภัยไข้เจ็บตามมา จึงทำให้สถิติการเกิดโรคเพิ่มขึ้นเรื่อยมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ทำให้มีต้นทุนในการทำการเกษตรมีรายจ่ายในครัวเรือนเพิ่มขึ้น มีการใช้สารเคมีคิดเป็นร้อยละ 20% มีการใช้ปุ๋ยเคมีร้อยละ 60%

ปัญหาด้านสภาพแวดล้อม การบริหารจัดการของหมู่บ้านไม่มีประสิทธิภาค กลไกคณะทำงานทำเฉพาะแกนนำบางคน และดำเนินงานไม่ต่อเนื่อง ขาดมาตรการชุมชนและนโยบายหมู่บ้านที่แก้ปัญหา ทำตามนโยบายของอำเภอและจังหวัดที่ลุงมา

ปัญหาขยะในชุมชน ครัวเรือนมีการจัดการขยะที่ผิดวิธีขยะในชุมชน อย่างน้อยร้อยละ70 ของครัวเรือนในชุมชน ระดับปัญหาค่อนข้างน้อยถึงปานกลาง มีขยะครัวเรือนและขยะที่มีการทิ้งริมถนน ทำให้ชุมชนไม่สะอาดมีความตระหนักถึงปัญหา เพราะสังคมสมัยใหม่เข้ามาทำให้มีการใช้วัสดุที่เป็นขยะมากขึ้น และไม่มีกระบวรการจัดเก็บขยะที่ถูกต้อง ขยะมูลฝอย เกิดจากการไม่รู้จักการกำจัดขยะที่ถูกวิธี ขาดวินัยของคนในหมู่บ้าน ทิ้งขยะไม่เป็นที่ ขาดการบริหารจัดการที่ดี การแก้ปัญหาจะไม่ยาก หากคนในชุมชนมีกระบวนการเรียนรู้ถึงวิธีคัดแยกขยะ และการใช้ประโยชน์จากขยะอย่างถูกวิธี

จากการวิเคราะห์ปัญหาของชุมชนของการประชุมหมู่บ้าน ประชาชนให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาขยะและการจัดการขยะโดยชุมชน จึงได้เลือกปัญหาการจัดการขยะในครัวเรือนและในชุมชน สถานการณ์ขยะของชุมชนบ้านทางเกวียน จากข้อมูลขยะในครัวเรือน พบว่า ชุมชนมีปริมาณขยะปีละ 330,690 กิโลกรัม โดยในครัวเรือนสร้างขยะวันละ 3 กิโลกรัม ชุมชุนมีครัวเรือนอยู่ 306 ครัวเรือน ในแต่ละวันชุมชนสร้างขยะ 306 กิโลกรัม แยกตามประเภทของขยะ ขยะทั่วไปร้อยละ 16 ขยะอินทรีย์ร้อยละ 61 ขยะรีไซเคิลร้อยละ 20 ขยะอันตรายร้อยละ 3

สาเหตุของปัญหาขยะในชุมชนเกิดจาก 1.สาเหตุด้านพฤติกรรมของประชาชน คือประชาชนทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทาง ความเคยชินทิ้งขยะ กำจัดขยะไม่ถูกวิธีมีการเผาถุงพลาสติก ขาดความรู้การกำจัดและจัดการขยะที่ถูกวิธี มีการกำจัดและจัดการขยะผิดวิธีร้อยละ 70 ขาดความรับผิดชอบ ไม่มีการใช้ประโยชน์จากขยะ เช่น ใช้ซ้ำ 2. สาเหตุจากสภาพแวดล้อม ไม่มีกลไกการจัดการขยะของชุมชน ขาดกติกาข้อตกลงร่วมในการจัดการขยะ ไม่มีการรวมกลุ่มการแก้ปัญหาขยะ หมู่บ้านเป็นเส้นทางหลักในการเดินทางคนที่ใช้เส้นทางจากภายนอกทิ้งขยะข้างทาง มีตลาดนัดหลายแห่งคนที่มาซื้อของในตลาดทิ้งขยะ 3.สาเหตุปัญหาขยะด้านระบบภายนอก คือ ไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบขยะอันตรายอย่างต่อเนื่อง การจัดการของเทศบาลยังไม่ครอบคลุม

ผลกระทบของปัญหาขยะ คือ ส่งผลให้สิ่งแวดล้อมในชุมชนนั้นมีขยะสองริมทาง มีจุดคนทิ้งขยะ ทำให้ทัศนียภาพไม่สวยงาม เกิดกองขยะในชุมชน ซึ่งกลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคและเป็นที่อยู่อาศัยของพาหะนำโรคต่าง ส่งกลิ่นรมกวนให้กับประชาชนที่อยู่ใกล้ เมื่อมีฝนตกมีการชะล้างลงคลองน้ำเสียจากกองขยะไหลลงคลอง เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้น้ำในคลองทำให้บางจุดน้ำไม่สามารถใช้ในการบริโภค น้ำในคลองลงอาบแล้วทำให้เป็นผื่นคัน เผาขยะไม่ถูกหลักและการนำขยะเช่น ถุงพลาสติก โฟม ทำให้เกิดมีสารพิษปนเปื้อนในอากาศ จากผลกระทบเกิดขึ้นนำไปสู่การเกิดความขัดแย้งในชุมชน มีข้อร้องเรียนเรื่องขยะ ทำให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาสุขภาพ และค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะเพิ่มขึ้น เทศบาลมีค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะเพิ่มมากขึ้น

สภาผู้นำชุมชนและชุมชนบ้านทางเกวียนเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาขยะในชุมชน จากระบวนการจัดทำแผนชุมชนพึ่งตนเอง ชุมชนต้องลุกขึ้นมาจัดการขยะโดยชุมชนเอง เพราะถ้าไม่มีการปรับเปลี่ยนจากสถานการณ์ปัญหามีแนวโน้มมีขยะเพิ่มขึ้น และส่งผลกระทบกับชุมชนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ สุขภาวะของชุมชน ชุมชุนได้มีแนวทางในการขับเคลื่อนของชุมชนมีกลไกขับเคลื่อนชุมชนจัดการขยะโดยชุมชน คนมีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาและการจัดการขยะโดยชุมชน มีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการขยะในครอบครัวแยกขยะและใช้ประโยชน์จากขยะ เพื่อให้ขยะในชุมชนลดลงอย่างน้องร้อยละ 50