หลักการของจาคส์ เบอร์ติน มีกี่ข้อ

วิทยาการคำนวณ ม.5 - บทที่ 4 การทำข้อมูลให้เป็นภาพ และการสื่อสารด้วยข้อมูล from Coco Tan

1. แผนภูมิรูปวงกลม (pie chart) แผนภูมิรูปวงกลม สร้างโดยการเขียนวงกลมและแบ่งวงกลมออกเป็นสัดส่วนตามจำนวนข้อมูล ซึ่งควรเป็นข้อมูลที่มีจำนวนกลุ่มไม่มากนัก แผนภูมิรูปวงกลมสามารถแสดงความสัมพันธ์เชิงปริมาณแบบสัดส่วนร้อยละได้เป็นอย่างดี

2. แผนภูมิแท่ง (bar chart) แผนภูมิแท่งแสดงความแตกต่างในเชิงปริมาณได้ชัดเจน จึงใช้เพื่อแสดงปริมาณข้อมูลแต่ละส่วน แผนภูมิแท่งจะเรียงข้อมูลจากซ้ายไปขวา ทำให้เห็นการเรียงตัวในเชิงลำดับ โดยปกตินิยมเรียงตามแนวนอน

3. กราฟเส้น (line graph) กราฟเส้นแสดงมิติของการเปลี่ยนแปลงได้ดี ใช้พื้นที่ในการแสดงข้อมูลแต่ละรายการน้อยกว่าแผนภูมิแท่งมาก ทำให้นำเสนอจำนวนรายการข้อมูลได้มากกว่า

4. แผนภาพการกระจาย (scatter plot) แผนภาพการกระจาย นอกจากจะแสดงการกระจายของข้อมูลแล้ว ยังสามารถการเปรียบเทียบได้ดี

สรุปการเลือกใช้แผนภาพ

การเลือกใช้แผนภาพใดไม่ว่าจะเป็น แผนภูมิรูปวงกลม แผนภูมิแท่ง กราฟเส้น และแผนภาพการกระจาย ขึ้นอยู่กับข้อมูลและจุดประสงค์ของการนำเสนอ ซึ่งสามารถสรุปวิธีการใช้งานที่เหมาะสมสำหรับแผนภาพแต่ละชนิดได้ ดังนี้