อุตสาหกรรมในไทยมี อะไรบ้าง

คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 พ.ย. ที่ผ่านมา ได้มีมติเห็นชอบในหลักการสำหรับข้อเสนอของกระทรวงอุตสาหกรรมในเรื่อง “10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย: กลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต” เพื่อเป็นมาตรการระยะยาวที่จะกำหนดทิศทาง “การปรับโครงสร้างด้านการผลิต ทั้งเกษตร-อุตสาหกรรม-บริการ” ของประเทศให้มีประสิทธิภาพ มีความสามารถในการแข่งขัน มีการสร้างงานคุณภาพ และมีการสนับสนุนเศรษฐกิจภูมิภาคอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง และยั่งยืน

ข้อเสนอ “10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย: กลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต” ได้ผ่านการพิจารณาร่วมกันใน “คณะทำงานส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน” ที่จัดตั้งโดยกระทรวงการคลัง ซึ่งกรรมการประกอบด้วย กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานส่งเสริมการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และหน่วยงานอื่น รวม 15 หน่วยงาน ทั้งนี้ คณะทำงานฯ มีหน้าที่ที่จะวิเคราะห์สถานภาพและศักยภาพของกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่จะมีบทบาทต่อการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในอนาคต พร้อมทั้งจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับมาตรการส่งเสริมการลงทุนสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายเหล่านั้น

ข้อเสนอดังกล่าวได้เสนอผ่านความเห็นชอบของ รมว.กระทรวงการคลัง (คุณอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์) รมว.กระทรวงอุตสาหกรรม (คุณอรรชกา สีบุญเรือง) รองนายกรัฐมนตรี (คุณสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) และนายกรัฐมนตรี (พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา) และนำเข้าสู่การพิจารณาของ ครม. โดยได้มีมติเห็นชอบในหลักการ และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการต่อไป

สาเหตุ: เศรษฐกิจอ่อนแอเพราะการลงทุนน้อยมาก จึงต้องมีอุตสาหกรรมเป้าหมาย

เหตุผลสำคัญที่ต้องใช้อุตสาหกรรมเป้าหมายเป็นเครื่องมือในการกำหนดทิศทางการปรับโครงสร้างเพราะ

1) ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การแข่งขันในภูมิภาคเอเชียเพิ่มขึ้นมาก แต่ประเทศไทยปรับตัวช้า ทำให้เรามีการเจริญเติบโตเป็นไปในลักษณะถดถอย ขณะที่ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียได้มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ดังจะเห็นได้จาก

• อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยต่ำที่สุดในอาเซียนใน 2 ปีติดกัน (2556-57) และกำลังแย่งอันดับต่ำสุดกับสิงคโปร์ในปีนี้
• มูลค่าการส่งออกที่ขยายตัวลดลงจากร้อยละ 14 ต่อปี ในช่วงปี 2541-2550 เหลือเพียงร้อยละ 5 ต่อปีในช่วงปี 2551-2557 และคาดว่าจะหดตัวประมาณร้อยละ 5 ในปี 2558

2) ความถดถอยนี้มีสาเหตุสำคัญมาจาก ประเทศไทยขาดความมุ่งมั่นอย่างจริงจังและต่อเนื่องที่จะเร่งลงทุน ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตและความสามารถในการแข่งขันกลายเป็นปัญหาหลักในโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทย

• เมื่อก่อน ประเทศไทยขยายการลงทุนประมาณร้อยละ 9-10 ต่อปี ทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 5 หรือมากกว่า
• แต่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เราขยายการลงทุนเพียงร้อยละ 2 ต่อปี จึงไม่น่าแปลกใจว่าเศรษฐกิจขยายตัวได้เพียงร้อยละ 2 ในช่วงดังกล่าว เอกชนไทยขยายการลงทุนเพียงร้อยละ 3 จากร้อยละ 14 ต่อปีที่เคยทำมา

อุตสาหกรรมในไทยมี อะไรบ้าง

3) การลงทุนของไทย ในระยะหลังมีลักษณะต่างคนต่างทำ กระจัดกระจายทั่วไป ไม่ได้มีจัดเน้นให้เกิดพลังเหมือนสมัยทำเขตเศรษฐกิจพิเศษชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก เมื่อ 32 ปีที่แล้ว

เราต้องผลักดันการลงทุนให้เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ต่อปีเหมือนในอดีต จึงจะเพียงพอที่จะขยายตัวเต็มศักยภาพ และมีความสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้อีกครั้งหนึ่ง

10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย

อุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพที่จะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (New Growth Engine) ของประเทศ เสนอต่อกระทรวงอุตสาหกรรม และสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันจากที่เป็นอยู่ให้สูงขึ้น รวมทั้งมั่นใจว่า 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายเหล่านี้เป็นที่สนใจของนักลงทุนทั่วโลก

ทั้งนี้ 10 อุตสาหกรรม สามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มดังนี้

1. การต่อยอด 5 อุตสาหกรรมเดิม ประกอบด้วย

1) อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next-generation Automotive)
2) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics)
3) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Affluent, Medical and Wellness Tourism)
4) การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Biotechnology)
5) อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร (Food for the Future)

กลุ่มนี้ เราเข้าใจดีกันอยู่แล้วว่ามีฐานที่แข็งแรง แต่ต้องต่อยอดการลงทุนในผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ให้มีการวิจัยและพัฒนา เพื่อยกอุตสาหกรรมสู่ระดับนานาชาติ

อุตสาหกรรมในไทยมี อะไรบ้าง

2. การเติม 5 อุตสาหกรรมอนาคต ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมใหม่ที่ประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขัน และมีผู้สนใจลงทุน ประกอบด้วย

1) อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่อการอุตสาหกรรม (Robotics)
• เพราะโลกมีความต้องการสูง เชื่อว่าจะใหญ่กว่าอุตสาหกรรมรถยนต์ในอนาคต
• เรามีความต้องการใช้การเพิ่มประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆ
• รวมทั้งเรามีฐานอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและไฟฟ้าดีมาก ซึ่งนักลงทุนทั่วโลกเห็นว่า

2) อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics)
• จำนวนเครื่องบินที่มากขึ้นต้องการการซ่อมแซม และมีการขนส่งทางอากาศมากมากขึ้น
• เรามีสนามบินอู่ตะเภา และสนามบินอื่นๆ ที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในการสร้างอุตสาหกรรมการบินได้

3) อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels and Biochemicals)
• เพราะโลกกำลังต้องการความยั่งยืน และทั่วโลกกำลังกำหนดมาตรฐานด้านชีวภาพเข้ากับการค้า คือถ้าการผลิตไม่หันมาใช้เคมีชีวภาพ เช่น ไบโอพลาสติก ในการหีบห่อ ก็อาจจะส่งออกไม่ได้
• เรามีฐานการเกษตรใหญ่ที่สุดในอาเซียน ถ้าเราไม่ลงทุน ประเทศอื่นก็จะลงทุน

4) อุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital)
• ความต้องการสูงมาก และเป็นมาตรการฐานใหม่ในการดำรงชีพ โดยเฉพาะ อีคอมเมิร์ซ
• เอกชนไทยก็พร้อม ต่างชาติก็พร้อมจะมาลงทุนต่อยอดเทคโนโลยี

5) อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub)
• ในด้านการรักษาพยาบาล เรามีหมอ พยาบาล ที่เก่งมาก ทำได้ดีเป็นที่รู้จักทั่วโลก
• ต่อไปต้องเพิ่มการลงทุนในการผลิตยา อุปกรณ์การแพทย์ และระบบการรักษาพยาบาลระยะไกล เพราะมีผู้สูงอายุเยอะขึ้นทั่วเอเชีย คือต้องทำให้ครบวงจรการแพทย์

อุตสาหกรรมในไทยมี อะไรบ้าง

อุตสาหกรรมในไทยมี อะไรบ้าง

มาตรการสนับสนุนและเร่งรัดการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย

ที่ผ่านมา ครม. ได้อนุมัติมาตรการส่งเสริมการลงทุนคลัสเตอร์ 6 คลัสเตอร์ซึ่งตรงกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย อันนี้ใช้ได้ และ ครม. ได้สั่งให้สำนักงานส่งเสริมการลงทุนจัดทำมาตรการส่งเสริมการลงทุนให้ครบทั้ง 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายข้างต้นโดยเร็ว

อย่างไรก็ตาม จากผลการประมวลความเห็นของนักลงทุนและเจ้าของเทคโนโลยีรายสำคัญทั่วโลกกว่า 70 ราย ได้ข้อสรุปว่า

1. “การส่งเสริมการลงทุนของประเทศไทยไม่เพียงพอ” ที่จะดึงดูดการลงทุนรายสำคัญๆ ที่มีผลที่ประเทศสูง ดังนั้น ในทางปฏิบัติจำเป็นต้องมี “การเจรจาต่อรองเฉพาะรายที่สำคัญ” และเป็นที่ต้องการโดยเฉพาะผู้ลงทุนที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยี หรือเป็นบริษัทชั้นนำของโลกที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก

2. การเจรจาต้องสามารถ “ปรับ/เพิ่มสิทธิประโยชน์” ตามความสำคัญและผลประโยชน์ที่ได้จากโครงการลงทุนนั้นๆ

เช่น ถ้าสร้างฐานการผลิต สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศได้มาก หรือความสามารถในการสร้างความรู้ให้กับภาคเกษตรที่เรายังไม่มาก่อน ก็ควรจะได้สิทธิประโยชน์เพิ่มพิเศษ

ดังนั้น ในการผลักดันการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายข้างต้น จำเป็น “ต้องมีมาตรการเสริม” นอกเหนือจากการส่งเสริมการลงทุนโดยปรกติ ดังนี้

1. ต้องมีแผนกำหนดทิศทางอุตสาหกรรมเป้าหมายให้ชัดเจน

• ให้กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นแม่งาน ในการจัดทำแผนปฏิบัติการของของอุตสาหกรรมเป้าหมายแต่ละอุตสาหกรรมอย่างชัดเจน โดยเฉพาะการสร้างตลาดภายในประเทศ เช่น ต้องการส่งเสริมการใช้ไบโอพลาสติกในประเทศ การปรับใช้หุ่นยนต์ในสายการผลิตอุตสาหกรรม เป็นต้น เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนถึงความมุ่งมั่นของประเทศในการส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมายเหล่านั้น

2. ต้องมีมาตรการการเงินเสริม

• ให้จัดตั้ง “กองทุนพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรม” เพื่อทำหน้าที่ให้เงินสนับสนุน ให้เงินกู้ยืมหรือชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ หรือให้เป็นทุนสำหรับโครงการการลงทุนพิเศษที่เป็นที่ต้องการอย่างสูงที่สามารถทำให้อุตสาหกรรมเป้าหมายนั้นๆ ทั้งนี้ ให้กองทุนฯ จัดตั้งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงอุตสาหกรรม
• ในการใช้เงิน ให้มี “คณะอนุกรรมการเร่งรัดการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย” จัดตั้งขึ้นภายใต้ พ.ร.บ.เขตเศรษฐกิจพิเศษ ทำหน้าที่ “คัดเลือก-ชี้ชวน-เจรจา” ผู้ลงทุนรายสำคัญ บริษัทเจ้าของเทคโนโลยี ก่อนนำเข้าสู่คณะกรรมการเขตเศรษฐกิจพิเศษระดับชาติ (นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน) เพื่ออนุมัติ

3. ต้องมีมาตรการการคลังเสริม
กระทรวงการคลัง รับไปดำเนินการในหลายเรื่อง ที่สำคัญ ได้แก่
• เพิ่มสิทธิประโยชน์พิเศษยกเว้นอัตราภาษีนิติบุคคลเป็นเวลา 10-15 ปี สำหรับโครงการที่มีความสำคัญสูงในอุตสาหกรรมเป้าหมาย จากสูงสุด 8 ปี ตามการส่งเสริมการลงทุนทั่วไป
• เพิ่มสิทธิประโยชน์พิเศษยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
– สำหรับผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับไม่เกิน 15% อัตราภาษีรายได้บุคคลธรรมดาของผู้เชี่ยวชาญชั้นนำระดับนานาชาติ และ
– ไม่เกิน 15% สำหรับผู้เชี่ยวชาญระดับสูง และผู้บริหารระดับสูงที่จำเป็นในโครงการลงทุน และสามารถสร้างประโยชน์ให้ประเทศ
• ให้เร่งแก้ไขโครงสร้างอากรขาเข้าชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตหรือให้บริการในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ในกรณีอัตราอากรของชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์สูงกว่าผลิตภัณฑ์
• ให้ยกเว้นอากรขาเข้าของที่นำเข้ามาเพื่อทำการวิจัย พัฒนาหรือทดสอบ

4. มีมาตรการอำนวยความสะดวกเสริม

กระทรวงอุตสาหกรรมจะประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ เร่งรัดเรื่องการอำนวยความสะดวกด้านการลงทุนที่สำคัญ ได้แก่
• ให้สิทธิประโยชน์การเข้าออก และการทำงานของผู้เชี่ยวชาญและเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากต่างประเทศเทียบเท่าคนไทย ครั้งละ 5 ปี ตลอดช่วงอายุการส่งเสริมการลงทุน
• ให้มีการถือหุ้นสำหรับนักลงทุนต่างชาติ 100% ในระยะเริ่มต้น หรือกรณีที่เป็นการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา (R&D) ที่เกี่ยวข้องกับลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร ซึ่งนักลงทุนไทยไม่มีความเชี่ยวชาญ
• ให้สิทธิประโยชน์พิเศษให้ผู้ลงทุนต่างชาติการถือครองที่ดิน 99 ปี

อุตสาหกรรมในไทยมี อะไรบ้าง

เขตเศรษฐกิจพิเศษและอุตสาหกรรมเป้าหมาย

รัฐบาลต้องการให้ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งครอบคลุม เกษตร-อุตสาหกรรม-บริการ เป็นพลังในการผลักดันเศรษฐกิจสู่อนาคตที่ดีขึ้น เพื่อให้ประเทศมีรายได้สูงขึ้น ชาวบ้านมีรายได้สูงขึ้น มีงานที่มีคุณภาพรองรับเด็กจบใหม่ และที่สำคัญคือ ประเทศมีความสามารถในการแข่งขันขึ้น การขยายตัวของเศรษฐกิจสูงขึ้น โดยมีสมดุลทั้งเศรษฐกิจภายในประเทศและการส่งออก

อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จของการผลักดันอุตสาหกรรมเป้าหมาย อยู่ที่ความต่อเนื่องของนโยบายและการปฏิบัติ การให้ความสะดวกแก่นักลงทุน และมีการคุ้มครองการลงทุนที่ได้มาตรฐาน เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้ลงทุน ซึ่งโครงสร้างการกำกับดูแลและขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยในการผลักดันอุตสาหกรรมเป้าหมายนั้น ครม. เห็นชอบในหลักการดังนี้

1) คณะกรรมการเร่งรัดการลงทุนคลัสเตอร์เป้าหมาย
• ให้มี “คณะกรรมการเร่งรัดการลงทุนคลัสเตอร์เป้าหมาย” ทำหน้าที่กำหนดแผนอุตสาหกรรม เร่งรัดการแก้ไขอุปสรรคนอกเหนือจากสิทธิประโยชน์ทั่วไปภายใต้การส่งเสริมการลงทุนและสิทธิประโยชน์พิเศษนอกเหนือจากการส่งเสริมการลงทุนทั่วไป เพื่อให้เกิดการลงทุนตามเป้าหมาย

2) กองทุนพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
• ให้มี “กองทุนพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรม” เพื่อสนับสนุนโครงการลงทุนรายสำคัญที่จะทำให้อุตสาหกรรมเป้าหมายนั้นๆ ก้าวเข้าสู่ระดับนานาชาติ โดยมีเงินสนับสนุน (Grant) มีเงินกู้ยืม (Loan) หรือมีเงินชดเชยดอกเบี้ย หรือให้เป็นทุนสำหรับผู้ขอส่งเสริมการลงทุนที่เป็นที่ต้องการอย่างสูงและสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่กำหนด โดย

– ให้กองทุนนี้จัดตั้งขึ้นภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงอุตสาหกรรม
– ให้มี “คณะอนุกรรมการเร่งรัดการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย” (ภายใต้ พ.ร.บ.เขตเศรษฐกิจพิเศษ ที่จะมีการจัดตั้งขึ้น) ให้ทำหน้าที่ “คัดเลือก-เจรจา” โครงการลงทุนรายสำคัญของอุตสาหกรรมเป้าหมาย ตามเจตนารมณ์ของกองทุน และเสนอให้ คณะกรรมการเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งชาติ (นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน) พิจารณาอนุมัติ

3) คณะกรรมการเขตเศรษฐกิจพิเศษ
• ให้เร่งรัดการจัดตั้ง พ.ร.บ. “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” หรือ “เขตเศรษฐกิจการลงทุนพิเศษ” เพื่อให้มีการกำหนดพื้นที่ใดๆ ที่มีความได้เปรียบจากการลงทุนของหลายคลัสเตอร์ที่เชื่อมโยงกัน เพื่อให้มีเป้าหมายการพัฒนาในเชิงพื้นที่ โดยเฉพาะการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน (เช่น ท่าเรือ สนามบิน รถไฟ โรงเรียน มหาวิทยาลัย) ควบคู่กับการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ ควรมีกลไกการกำกับดูแลดังนี้
o คณะกรรมการระดับชาติ (นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน) ทำหน้าที่อนุมัติแผนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ อนุมัติงบประมาณ และประสานงานเชิงนโยบายภายในและระหว่างประเทศ
o คณะอนุกรรมการเร่งรัดการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ
– มีองค์ประกอบสำคัญคือ มีรองนายกรัฐมนตรี (เป็นประธาน) มีกรรมการประกอบด้วย รมว.กระทรวงอุตสาหกรรม รมว.กระทรวงการคลัง และเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการลงทุน และผู้แทนจากกระทรวงที่เกี่ยวข้อง
– มีหน้าที่ “คัดเลือก-เจรจา” ผู้ลงทุนรายสำคัญที่จะทำให้อุตสาหกรรมเป้าหมายเกิดขึ้นได้ และ ก้าวหน้าสู่ระดับนานาชาติได้ โดยใช้กลไกของ “กองทุนพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และสิทธิประโยชน์อื่นๆ ที่เพิ่มเติมขึ้นนอกเหนือสิทธิประโยชน์การลงทุนภายใต้ พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน
– มีหน้าที่เสนอผลการเจรจาให้กับคณะกรรมการระดับชาติ (นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน) เพื่อการพิจารณาอนุมัติต่อไป
– มีคณะอนุกรรมการอื่นๆ ตามความจำเป็น

• สำนักงานบริหารเขตเศรษฐกิจการลงทุนพิเศษ ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการให้บริการแบบครอบคลุมเบ็ดเสร็จ (End-to-End) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักลงทุน

สรุป

5+5 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้ถูกวางไว้เป็นกลไกหลัก ของการปรับโครงสร้าง ภาคการผลิต ทั้งเกษตร-อุตสาหกรรม-บริการให้ ก้าวไปข้างหน้า โดยทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมกิจกรรมเพื่อเพิ่มการลงทุนของประเทศ และสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะ 10 ปีข้างหน้า

การพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย เมื่อรวมกับการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ นอกจากจะเป็นกลไกในการสร้างการขยายตัวทางเศรษฐกิจแล้ว ยังจะมีส่วนในการกระจายความเจริญไปอยู่พื้นที่ที่เหมาะสมอย่างเป็นระบบ ภายหลังจากที่ประเทศไทยมีโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกมา 32 ปี ประเทศต่างๆ ได้นำแนวทางการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษไปปรับปรุงและขยายผลจนประสบความสำเร็จ ในขณะที่ประเทศไทยไม่มีโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษที่มีพลังเช่นนั้นอีกเลย การควบรวมคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมายเข้ากับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษจึงเป็นการย้อนอดีตให้สร้างความสำเร็จให้กับอนาคต

อุตสาหกรรมในประเทศไทยมีกี่ประเภทอะไรบ้าง

ประกอบด้วย 6 อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ อาหาร ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ยางและพลาสติก เคมีภัณฑ์ และปิโตรเลียม โดยลักษณะของสาขาอุตสาหกรรมของไทยที่สำคัญ ได้แก่ (1) สาขาอุตสาหกรรมเน้นผลิตเพื่อส่งออกเป็นหลัก โดยมี (Technology Deepening) และ (3) สัดส่วนมูลค่าเพิ่มของภาคอุตสาหกรรม ไทยเทียบกับโลก (World Impact)

อุตสาหกรรมอะไรใหญ่สุดในไทย

การเกษตรเป็นสาขาอุตสาหกรรมที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมมากที่สุดภายในประเทศไทยมีมูลค่าถึงร้อยละ 8.4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ นอกจากนี้ สัดส่วนแรงงานไทยที่ทำงานในภาคการเกษตรยังสูงถึงร้อยละ 40 ส่งผลให้การเกษตรเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญยิ่งต่อเศรษฐกิจของประเทศและความเป็นอยู่ของประชาชน อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันภาคเกษตรกรรมในไทย ...

อุตสาหกรรม ไทยเป็นอย่างไร

ประเทศไทยมีศักยภาพทางอุตสาหกรรมเป็นอันดับที่ 35 ของโลกจาก 64 ประเทศ (อันดับ 2 ของประเทศกลุ่มอาเซียน) โดยมีอุตสาหกรรมของไทยที่ติดอันดับ 1 ใน 15 ของโลกทั้งหมด 7 อุตสาหกรรม อาทิ อุตสาหกรรมผลิตถ่านโค้กและผลิตภัณฑ์จากการกลั่นปิโตรเลียม (9) อุตสาหกรรมยางและพลาสติก (9) อุตสาหกรรมการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม (11) ธุรกิจดูแล ...

10อุตสาหกรรมมีอะไรบ้าง

อุตสาหกรรม การแปรรูป อาหาร อุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิก ส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรม ยานยนต์ สมัยใหม่ อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว กลุ่มรายได้ดีและ การท่องเที่ยว เชิงสุขภาพ หุ่นยนต์เพื่อ อุตสาหกรรม เชื้อเพลิง ชีวภาพและ เคมีชีวภาพ อุตสาหกรรม การแพทย์ ครบวงจร อุตสาหกรรม การขนส่ง และการบิน