ขั้นตอนการส่งออกมีอะไรบ้าง

การนำสินค้าที่มีในประเทศหนึ่ง ส่งไปยังอีกประเทศหนึ่งที่ยังไม่มีสินค้าชนิดนี้ถือเป็นหลักการส่งออกโดยทั่วไปที่ทำให้ผู้ประกอบการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ “ประสบความสำเร็จ” มาหลายรายแล้ว แล้วถ้าเราจะเริ่มต้นส่งออกควรจะเริ่มต้นอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง SME ขนาดกลาง และเล็กที่อยากจะนำสินค้าของตนส่งออกไปยังต่างประเทศเหมือนรายใหญ่บ้างจะเริ่มต้นอย่างไรดี บทความนี้มีคำตอบให้ครับ

ขั้นตอนแรก

“หาความต้องการของสินค้าเราให้เจอ”

ขั้นตอนนี้สำคัญมากครับเพราะเป็นจุดเริ่มต้นของ SME ที่จะส่งออกสินค้าของเราให้ “ตรงจุด” และตรงกับกลุ่มลูกค้าที่เราจะนำสินค้าไปเสนอขาย เพราะหากเราเลือกกลุ่มลูกค้าไม่ถูกจุดตั้งแต่เริ่มต้นเราจะเสียเวลา เสียเงินเปล่าไปกับการโปรโมท ค่าใช้จ่ายของการเดินทาง สินค้าตัวอย่าง โดยที่ลูกค้าไม่ได้สนใจสินค้าของเราเลย ดังนั้น หากว่าเราสนใจการทำธุรกิจนำเข้าส่งออกจริง ๆ ให้ลองเข้าไปหากลุ่มลูกค้าของเราด้วยการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ที่มีฐานข้อมูลลูกค้าต่างประเทศอย่างกรมส่งเสริมการส่งออกก็ได้ครับ

"จุดเริ่มต้นของ SME ที่จะส่งออกสินค้าของเราให้ “ตรงจุด” และตรงกับกลุ่มลูกค้าที่เราจะนำสินค้าไปเสนอขาย"

ขั้นตอนที่สอง

“โปรโมทสินค้าผ่านช่องทางต่างๆ”

เมื่อเราได้กลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการแล้ว SME ที่ต้องการทำธุรกิจส่งออกไปต่างประเทศต้องเริ่มต้นโปรโมทสินค้าของตนเองผ่านช่องทางต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น ช่องทางอินเทอร์เน็ตอย่างเว็บ www.alibaba.com ที่เป็นเว็บขายส่งสินค้าระดับโลก ด้วยการโพสต์บอกสรรพคุณสินค้าของเรา นอกจากนั้นการติดตามกรมส่งเสริมการส่งออกไปออกงานแสดงสินค้าที่ต่างประเทศ หรือภายในประเทศเพื่อทำให้สินค้าของเราเป็นที่รับรู้ในวงกว้างที่สุด จนกว่าจะได้ “คำสั่งซื้อ” จากลูกค้าเพื่อเข้าสู่ขั้นตอนต่อไปครับ

ขั้นตอนที่สาม

“วางแผนการผลิต และจัดส่งสินค้า”

เมื่อเราได้กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ประเทศเป้าหมายในการทำธุรกิจส่งออกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อมาก็คือการวางแผนการส่งสินค้าเมื่อเราได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้ามาแล้ว การวางแผนส่งสินค้าประกอบด้วยการวางแผนการผลิตสินค้า การตรวจสอบคุณภาพสินค้า เราต้องเข้าใจว่าลูกค้าต้องการคุณภาพสินค้าระดับไหน ต้องมีใบรับรองอะไรบ้างเพื่อกันความผิดพลาด เพราะหากเราส่งสินค้าผิด Spec ไปยังต่างประเทศแล้วลูกค้าตีกลับ ค่าขนส่งกลับนั้นอาจแพงกว่าราคาสินค้า ทำให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก ที่สำคัญยังเป็นภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อธุรกิจส่งออกของเราอีกด้วย

ขั้นตอนที่ห้า

“การบริหารจัดการด้านการเงินสำหรับผู้ส่งออก”

สำหรับการบริหารจัดการด้านการเงินนั้นถือเป็นเครื่องมือที่ใช้ “หล่อเลี้ยง” ให้การทำธุรกิจส่งออกขับเคลื่อนไปข้างหน้า เปรียบเหมือนกับรถยนต์ที่ไม่มีน้ำมันเครื่องที่ดีก็จะกินน้ำมัน ต้นทุนสูง และไปไม่ได้ไกล สำหรับการขับเคลื่อนทางการเงินด้วยการขอสินเชื่อเพื่อธุรกิจ SME ผมขอแนะนำบริการสินเชื่อเพื่อการส่งออก (Packing Credit) ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นบริการที่สนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนให้กับผู้ส่งออกในการซื้อวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้า และช่วยให้ธุรกิจการค้าดำเนินไปได้อย่างคล่องตัว

สำหรับการบริการธนาคารให้บริการสินเชื่อเพื่อการส่งออกเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนระยะสั้นไม่เกิน 180 วันทั้งสกุลเงินบาทและสกุลเงินตราต่างประเทศ โดยสามารถนำสัญญาซื้อขาย, L/C หรือใบจำนำสินค้า มาเป็นหลักฐานเพื่อขอสินเชื่อ ผู้ส่งออกสามารถเบิกเงินล่วงหน้าเพื่อนำไปซื้อสินค้า หรือวัตถุดิบในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกและเมื่อได้รับชำระค่าสินค้าจากผู้นำเข้าในต่างประเทศแล้ว จึงนำเงินมาชำระคืนให้กับธนาคารในภายหลัง

"ธนาคารให้บริการสินเชื่อเพื่อการส่งออกเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนระยะสั้นไม่เกิน 180 วันทั้งสกุลเงินบาทและสกุลเงินตราต่างประเทศ โดยสามารถนำสัญญาซื้อขาย, L/C หรือใบจำนำสินค้า มาเป็นหลักฐานเพื่อขอสินเชื่อ"

ประโยชน์ที่เราจะได้รับ ได้แก่ เสริมสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ และได้รับอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าวงเงินสินเชื่อเบิกเกินบัญชี (OD) ทำให้สามารถเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ สามารถผลิตหรือจำหน่ายสินค้าได้อย่างคล่องตัวด้วยขั้นตอนที่สะดวก รวดเร็วในการพิจารณาวงเงินสินเชื่อของธนาคาร โดยกรณีที่ใช้บริการทางอินเทอร์เน็ตผ่านระบบ Krungsri Trade Link สามารถตรวจสอบภาระคงค้างและวงเงินคงเหลือสำหรับสินเชื่อ P/C ที่มีอยู่กับธนาคารได้ทางอินเทอร์เน็ตผ่านระบบ Krungsri Trade Link ครับ ส่วนรายละเอียดเพิ่มเติมติดตามที่นี่เลยครับ

อย่างไรก็ตามรายละเอียดการส่งออกจริง ๆ จะมีขั้นตอนที่มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งขั้นตอนการจัดทำเอกสารรับรองต่าง ๆ ผู้ส่งออกควรศึกษาให้รอบด้าน หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจะดีที่สุดครับ ขอให้ผู้ประกอบการ SME ทุกท่านประสบความสำเร็จส่งออกสินค้าไทยไปทั่วโลก เพื่อความภาคภูมิใจของเราชาวไทยด้วยกันนะครับ

ขั้นตอนในการนำเข้า ส่งออกสินค้าทางเรือ

ขั้นที่ 1) Exporter
จากโรงงานของผู้ผลิตสินค้า หรือสถานที่ของผู้ส่งออกสินค้า (Exporter) เมื่อทำการผลิตสินค้าและจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกสินค้าเรียบร้อย และพร้อมที่จะทำการส่งออกแล้ว จะทำการติดต่อบริษัทตัวแทนผู้ขนส่งสินค้า (Freight Forwarder Company) หรือสายการเดินเรือ (Shipping Line) โดยตรงเพื่อทำการจองระวางเรือ (Freight) จากเมืองท่าต้นทางไปยังท่าปลายทาง

ขั้นที่ 2) Trucking
เมื่อได้รับใบยืนยันการจองระวางเรือ (Booking Confirmation) จากตัวแทนผู้ขนส่งสินค้า หรือสายเรือเรียบร้อยแล้ว ผู้ส่งออกจะทำการขนส่งสินค้าจากสถานที่ของผู้ส่งออกไปยังท่าเรือต้นทาง ภายในเวลาที่กำหนดไว้ในใบยืนยันการจองระวางเรือ

ขั้นที่ 3) Customs Clearance
ในกรณีการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ ผู้ส่งออกมีหน้าที่ต้องดำเนินการผ่านพิธีทางกรมศุลกากรขาออก (Export) ทุกครั้ง โดยสามารถดำเนินการด้วยตนเอง หรือว่าจ้างบริษัทตัวแทนออกของ (Customs Broker) เพื่อให้ดำเนินการผ่านพิธีการแทน โดยบริษัทตัวแทนออกของจะเป็นผู้ติดต่อขอรับเอกสาร เพื่อดำเนินการในการยื่นใบขนสินค้าขาออก

เอกสารที่ผู้ส่งออกควรจัดเตรียมในการยื่นต่อกรมศุลกากร
1. ใบขนสินค้าขาออกแบบต้นฉบับ และสำเนา จำนวน 1 ฉบับ
2. บัญชีราคาสินค้า (Invoice) จำนวน 2 ฉบับ
3. แบบธุรกิจต่างประเทศ (Foreign Transaction Form) ได้แก่ ธต.1 จำนวน 2 ฉบับ ในกรณีสินค้าส่งออกมีราคา FOB เกิน 500,000 บาท
4. ใบอนุญาตส่งออกหรือเอกสารอื่นใด สำหรับสินค้าควบคุมการส่งออก
5. เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี)

หมายเหตุ: FOB (Free On Board) คือ เงื่อนไขการส่งมอบสินค้าที่ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบเมื่อสินค้าวางบนเรือที่ท่าเรือต้นทาง (on board the vessel) และผู้ขายต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายพิธีการส่งออกด้วย ส่วนผู้ซื้อจะเป็นผู้รับภาระในการทำสัญญาการขนส่งและจ่ายค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าจากท่าเรือต้นทางไปยังท่าเรือปลายทาง (ค่าระวางเรือ) รวมถึงรับความเสี่ยงต่อความเสียหายของสินค้าจากจุดส่งมอบ (ท่าเรือต้นทาง) ซึ่งผู้ซื้อควรทำประกันภัยในการขนส่ง

ขั้นที่ 4) Port of Loading
เมื่อสินค้ามาถึงที่ท่าเรือต้นทาง (Port of Loading) ทางสายการเดินเรือจะทำการยกตู้สินค้าขึ้นไปบนเรือ และออกเอกสารใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading / BL or BoL) ให้กับผู้ส่งออกเพื่อเป็นการยืนยันว่าได้รับสินค้านั้นไว้แล้ว พร้อมทั้งเรียกเก็บค่าบริการ (Freight & Local Charges) กับผู้ส่งออกที่ต้นทาง

ขั้นที่ 5) Port of Discharge
เมือเรือเดินทางไปถึงท่าเรือปลายทาง (Port of Discharge) ทางสายการเดินเรือจะทำการยกตู้สินค้าลงจากเรือ จากนั้นผู้นำเข้า (Importer) จะทำการติดต่อสายการเดินเรือเพื่อชำระค่าใช้จ่ายที่ปลายทาง (Local Charges) พร้อมทั้งนำใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading / BL or BoL) ที่ได้รับจาก Shipper เพื่อนำไปเปลี่ยนเป็นใบปล่อยสินค้า (Dilivery Order / DO) กับสายการเดินเรือที่ปลายทางเพื่อนำไปออกสินค้า

ขั้นที่ 6) Customs Clearance
ผู้นำเข้าจะต้องดำเนินการผ่านพิธีศุลกากรขาเข้า (Import) และชำระภาษีอากรขาเข้า พร้อมทั้งนำใบปล่อยสินค้า (Dilivery Order / DO) ไปออกสินค้าที่ทางเรือปลายทาง

ขั้นที่ 7) Trucking
เมื่อผ่านพิธีการศุลกากรขาเข้าเรียบร้อยแล้ว ผู้นำเข้าจะต้องจัดเตรียมรถ เพื่อมารับสินค้าที่ท่าเรือปลายทางไปยังสถานที่ของผู้นำเข้า (Importer)

ขั้นที่ 8) Importer
เมื่อสินค้าส่งถึงสถานที่ของผู้นำเข้าปลายทาง ผู้นำเข้าจะต้องทำการตรวจสอบสภาพสินค้าว่าครบถ้วยสมบูรณ์ และมีความเสียหายหรือไม่ก่อนเซ็นรับสินค้า

ที่มาของข้อมูล:
ขั้นตอนในการนำเข้าและส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ
FOB : FREE ON BOARD