การตัดสินใจขยายอาชีพมีองค์ประกอบอะไรบ้าง

วิชา
ทักษะ
การขยาย
อาชีพ

(อช31002)

บทที่ 1 ทักษะในการขยาย
อาชีพ

เรื่องที่ 1 ความจำเป็นในการฝึก
ทักษะอาชีพ

ฐานข้อมูลอาชีพ

การดำเนินการทางธุรกิจ มีองค์ประกอบร่วม 4 องค์
ประกอบด้วยกัน คือ
(1) องค์ประกอบด้านทุน
(2) องค์ประกอบด้านผลิตภัณฑ์
(3) องค์ประกอบด้านลูกค้า
(4) องค์ประกอบด้านตนเอง

การสร้างแบบจำลองอาชีพ

ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาเบื้องต้นเพื่อสรุปข้อมูล สร้างแบบ
จำลองอาชีพ

ขั้นตอนที่ 2 การจัดทำแบบจำลอง

2. เอกสารขั้นตอนการทำงาน

ขั้นตอนนี้เป็ นการปฏิบัติการเริ่มต้นทดลองเต็มรูปแบบการทำ
ธุรกิจจริงด้านการวางแผน
ปฏิบัติการ(PLAN) ทำงานตามแผนปฏิบัติการ(DO) ติดตาม
ตรวจสอบหาข้อบกพร่อง (CHECK) ปฏิบัติการ
แก้ไขข้อบกพร่อง (ACTION) เป็นวงจร PDCA โดยในทุกขั้น
ตอนต้องมีการจดบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ
ปรากฏการณ์ ผลที่เกิดและผลกระทบอย่างเป็นระบบ เพื่อนำ
มาสรุปบทเรียนพัฒนาระบบธุรกิจให้มี
ประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องเข้าสู่ความมั่นคง

ใบความรู้ เรื่อง การต่อยอดภูมิปัญญายก
ระดับความรู้ให้สูงขึ้น

ใบความรู้ เรื่อง การสร้างความหลาก
หลายเพื่อความมั่นคงในอาชีพ

การสร้างความหลากหลาย

การสร้างความหลากหลายในอาชีพเป็นภูมิปัญญา เพื่อใช้สร้างภูมิคุ้มกันให้
กับการดำรงอาชีพตามหลักทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา
ภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชประสงค์ที่จะ ให้อาชีพเกษตรกรสู่ความเข้มแข็ง
มั่นคงยั่งยืน ด้วยการให้ปลูกข้าว ปลูกผัก ผลไม้ และเลี้ยงไก่ ไว้กินใน
ครอบครัวเหลือขาย เลี้ยงหมูไว้เป็นเงินเก็บ เงินออม ปลูกไม้ใช้งาน ใช้เป็น
เชื้อเพลิง ให้ร่มเงา จัดการบ้านเรือนให้สะอาด ชีวิตก็จะร่ำรวยความสุข (จาก
ความจำของผู้เขียน เมื่อครั้งเข้าเฝ้าถวายงานโครงการ เกษตรธรรมชาติ
ถาวรนิมิตอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนครนายก พ.ศ. 2537 โดยมี
พระมหาถาวรจิตตภาวโรวงศ์มาลัยเป็ นผู้อุปถัมภ์)

พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บ่งชี้ถึงการ
สร้างความหลากหลายทางชีวภาพ การหมุนเวียนเปลี่ยนรูปบนความหลากหลาย
ได้ผลผลิตพอเพียงกับการกินอยู่ และเหลือขายเป็นรายได้ใช้ดำรงชีวิต

ปั จจัยแห่งความสำเร็จ

ปั จจัยแห่งความสำเร็จของการสร้างความหลากหลายทางชีวภาพและกิจกรรมที่จะ
จัดการให้ความหลากหลายต่าง ๆ นั้นลงตัว คงไม่มีสูตรสำเร็จเป็นเรื่องที่ผู้เรียนจะ
ต้องเรียนรู้ค้นพบได้ด้วยตนเองจากวิธีการต่าง ๆ เช่น
1. การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ นำมาวิเคราะห์หาความลงตัวแล้วจัดระบบ
การดำเนินงาน
2. การถอดบทเรียนจากผู้ประสบความสำเร็จนำข้อมูลสารสนเทศที่ได้มาจัดระบบ
ให้เหมาะสมกับตนเอง
3. การทดลอง เพื่อตรวจสอบระบบการดำเนินงานที่ได้มาจากข้อมูลสารสนเทศว่า
เกิดผลตามความรู้เพียงใดจะต้องเพิ่มเติมพัฒนาอะไร จึงอาจจะสรุปได้ว่า ปัจจัย
แห่งความสำเร็จของการใช้ความหลากหลายทางชีวภาพและกิจกรรมมาสร้าง
ความมั่นคงยั่งยืนในอาชีพได้อย่างลงตัว คือ การทำงานบนฐานข้อมูลและใช้
กระบวนการวิจัยมาเป็ นเครื่องมือของผู้เรียนนั่นเองกิจ

ใบความรู้ เรื่อง การประเมินประสิทธิภาพ

นวัตกรรม เทคโนโลยี

จากแผนภูมิสามารถอธิบายได้ว่า ประสิทธิภาพมีองค์
ประกอบร่วมอย่างน้อย 3องค์ประกอบ คือ
(1) ความถูกต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์
(2) มีความรวดเร็ว และ
(3) สามารถลดต้นทุนรายจ่ายได้ นอกจากนั้นในแต่ละ
องค์ประกอบจะต้องมีความสัมพันธ์ต่อกัน หากนำ
กรอบแนวคิดนี้ มาอธิบายกับประสิทธิภาพของ
นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีอาจจะสรุปได้ว่า
ประสิทธิภาพของนวัตกรรม เทคโนโลยีการประกอบ
อาชีพขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ ดังนี้
1 ความสามารถทำงานได้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์และ
มีข้อเสียน้อย
2 ประหยัดค่าใช้จ่าย
3 ทำงานได้รวดเร็ว

ใบความรู้ เรื่อง การวิเคราะห์เพื่อจำแนกบทบาทหน้าที่ของ
นวัตกรรม เทคโนโลยี

การเข้าสู่อาชีพเมื่อดำเนินธุรกิจไปจนประสบผลสำเร็จ มัก
จะถูกจับตามอง ทำตามกันมาก

ส่วนแบ่งการตลาดจึงมีขนาดเล็กลงโดยลำดับ จนถึงวันหนึ่ง
จะเกิดวิกฤติ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนา

หรือขยายขอบข่ายอาชีพออกไปหรือเรียนรู้ทำในสิ่งที่คนอื่น
ทำไม่ได้ เพื่อให้อยู่ได้อย่างมั่นคงยั่งยืน

การพัฒนาหรือขยายอาชีพจะต้องใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี
เข้ามาช่วย

บทที่ 2
ตรวจสอบระบบความพร้อมการ

สร้างอาชีพให้มีความมั่นคง

องค์ประกอบในระบบอาชีพ

จากแผนภูมิความสัมพันธ์องค์
ประกอบ

ภายในระบบอาชีพ มีองค์ประกอบ
ที่สำคัญและส่งผลกระทบ

ความมั่นคงและลักษณะองค์
ประกอบในขอบข่ายอาชีพ
ของอาชีพ 4 องค์ประกอบด้วยกัน

คือ (1) ทุน
(2) ผลผลิต
(3) ลูกค้า และ
(4) การเรียนรู้พัฒนาตนเองของ
สถานประกอบการ

ทุน

ในการประกอบอาชีพ การจัดการทุนเป็นเรื่องสำคัญ เพราะทุนจะต้อง
ผันแปรสำคัญต่อความมั่นคงของอาชีพ ทุนมีหลายประเภทที่ผู้ประกอบ

อาชีพจะนำเข้ บูรณาการใช้ลงทุนประกอบการ เช่น
1. เงินทุน ได้มาจากการออม จากการสะสมทุน จากการกู้ยืมสถาบันการเงิน

2. ทุนที่ดิน เป็นที่ตั้งสถานประกอบการ เป็นฐานการผลิตที่จะต้องมีการ
จัดการให้การใช้ที่ดินเป็ นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

3. ทุนทางสิ่งแวดล้อม เช่น การเกษตรอินทรีย์ ตั้งบนพื้นที่ป่าเขาโดยล้อม
ทำให้ได้ความชื้นและปุ๋ยธรรมชาติมาตาม ลมและไหลมากับน้ำฝน ทำให้ลด

ต้นทุนเกี่ยวกับปุ๋ยหมักและจุลินทรีย์ลงได้

ผลผลิต

เป็นตัวเป้าหมายการประกอบอาชีพที่จะต้องมีมาตรฐาน ข้อกำหนดในรูป
แบบต่าง ๆ ทั้งในรูปลายลักษณ์อักษร ในรูปของค่านิยมที่ยอมรับกันทั่วไป
ที่ผู้ผลิตจะต้องทำให้ได้ตามมาตรฐานในการจัดการให้เกิดผลผลิตมีองค์

ประกอบร่วมอยู่หลายประการ เช่น
1. คุณภาพผลผลิต ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน ค่านิยมของลูกค้า

2. กระบวนการผลิต ต้องสามารถลดต้นทุนได้
3. การจัดการผลผลิตส่งมอบให้ลูกค้าในสภาพที่มีคุณภาพให้มากที่สุด

4. ความปลอดภัยของผลผลิต

ลูกค้า

เป็ นองค์ประกอบที่สำคัญเพราะถ้าไม่มีลูกค้าก็จะไม่เกิดการหมุนเวียนทาง
รายได้ รูปแบบเศรษฐกิจจะเป็นการทำเพื่ออยู่เพื่อกิน แบ่งปันกันในชุมชน
ประเทศชาติคงไม่มีรายได้มาพัฒนาประเทศ การประกอบอาชีพจึงให้ความ
สำคัญกับลูกค้าที่จะต้องสร้างความผูกพันภักดีต่อกันและขยายวงกว้าง
ออกไป ทำให้ผลผลิตจำหน่ายได้ปริมาณสูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรง

ต่อความมั่นคง ยั่งยืนของอาชีพส่วนบุคคลและสังคมประเทศชาติ

การพัฒนาตนเอง

การประกอบอาชีพธุรกิจ ผู้ประกอบอาชีพจำเป็นต้องศึกษาวิเคราะห์
สภาพการผลิต การตลาด การลงทุน ค่านิยม นวัตกรรมเทคโนโลยีต่าง ๆ
ให้สามารถจัดการพัฒนาธุรกิจให้ก้าวหน้าสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลง

ของสังคมโลก เพื่อสร้างความมั่นคงในอาชีพให้เติบโตขึ้นไม่ให้อาชีพ
ตกต่ำและตายลง

ตัวอย่างที่ อาชีพเขียนป้ายประกาศถ้าพัฒนาตนเองไม่ใช้คอมพิวเตอร์
และอิงค์เจทก็ยังสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ แต่ถ้าหากไม่ยอมรับการ
เปลี่ยนแปลงและเรียนรู้อาชีพเขียนป้ายประกาศก็จะตายลงทั้งหมดแล้ว

ตัวอย่างที่ ร้านโชห่วยที่เรียนรู้พัฒนาตนเอง วิจัยระบุสินค้าจำเป็นของ
คนในชุมชน ต้องใช้ประจำและจำนวนมาก แล้วจัดร้านใหม่บรรจุสินค้าที่
จำเป็น ทำให้ร้านค้าไม่รกรุงรัง ถ้าหากราคาขายที่เป็นจริงไม่เอาเปรียบ

คนในชุมชนก็เต็มใจซื้อไม่เสียเวลาไปศูนย์การค้าที่ต้องมีการเดินทาง
ร้านโชห่วยที่ไม่เรียนรู้พัฒนาตนเอง จึงตายไปจากท้องถิ่น

เรื่อง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เชื่อว่า คนไทยสามารถพัฒนาศักยภาพการคิด การกระทำให้เข้มแข็งขึ้น
เพื่อสร้างเศรษฐกิจแก้ปั ญหาความยากจนด้วยการสร้างลักษณะนิสัย

ประจำให้เป็นบุคคลที่จะทำอะไรต้องคิดหาเหตุผล คิดตัดสินใจระบบ
ความพอดีสำหรับตนเองหรือชุมชน กำหนดแนวทางสร้างภูมิคุ้มกันให้กับ

อาชีพที่จะทำ เรียนรู้ สร้างความรอบรู้ให้กระจ่างพึ่งพาตนเองได้ และมี
คุณธรรม จริยธรรม ส่งผลให้การพัฒนาเศรษฐกิจของบุคคล สามารถ
สร้างความพอเพียงอยู่ดีมีสุข และก้าวถึงความมั่งมีศรีสุข ดำรงชีวิตอย่าง

พอเพียงเกื้อกูลสังคมได้

การเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพ การคิด การกระทำ ตามแนว
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจะมุ่งเน้นองค์ประกอบแห่งคุณค่า 5

ประการ คือ

1. การพัฒนาทักษะการคิดหาเหตุผล
2. การพัฒนาทักษะการคิดตัดสินใจระบุความพอดีสำหรับตนเองและชุมชน
3. การพัฒนาทักษะการคิดกำหนดแนวทางสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเรื่องที่จะทำ
4. การพัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้และสรุปองค์ความรู้ในเรื่องที่จะทำ
5. การพัฒนาเจตคติเพื่อการคิดการกระทำให้เกิดคุณค่าในคุณธรรมและ

จริยธรรม

กรอบแนวคิด

แผนภูมิแสดงกรอบแนวคิดการวิเคราะห์ตรวจสอบระบบความพร้อมในการ
สร้างอาชีพ
จากแผนภูมิดังกล่าว จะเห็นว่า การวิเคราะห์ตรวจสอบระบบความพร้อมใน
การสร้างอาชีพมีภารกิจที่จะต้องทำ 2 ขั้นตอน คือ
1. การนำองค์ประกอบของเศรษฐกิจพอเพียงและองค์ประกอบการทำอาชีพ
มาวิเคราะห์โดยตารางสัมพันธ์สองทาง เพื่อคิดหาปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น
ระหว่างองค์ประกอบ
2. นำปฏิสัมพันธ์ที่วิเคราะห์ได้มาตรวจสอบกับสภาพจริงว่า มีอะไรบ้างที่ยัง
ไม่พร้อมแล้ว สรุปลักษณะความพร้อมและสิ่งที่จะต้องสร้างให้เกิดความ
พร้อม

บทที่ 3 การพัฒนาตนเองเพื่อ
การขยายอาชีพ

เรื่อง ตัวตนที่แท้จริงของตนเอง

กรอบแนวคิด
โครงสร้างของตัวตนที่แท้จริงมีการทำงานที่สอดประสานกันทั้งทางบวกและ
ทางลบที่ทำให้คนเรามีความแตกต่างกัน คนที่ประสบความสำเร็จมักจะเป็น

บุคคลที่มีความสามารถควบคุมกายและใจให้อยู่กับสมมติค่านิยมของ
สังคมชุมชนได้ ผู้ที่ไม่สามารถควบคุมได้มักจะเป็นบุคคลที่ตกอยู่ในสภาพ

คล้อยตามความอยากของกายและใจ พึ่งพาตนเองได้จากความคิดดัง
กล่าวอาจสรุปได้ว่าองค์ประกอบทั้ง 5 ประการนี้ สามารถพัฒนายกระดับ
คุณค่าขึ้นได้ด้วยตนเองด้วยการเรียนรู้ทำความรู้จัก และรู้เท่าทันตลอดเวลา

ปฏิบัติการวิเคราะห์ทำความเข้าใจตัวตน

จากความเข้าใจในองค์ประกอบของตัวตนที่แท้จริง เป็นความเข้าใจแบบ
รู้จำได้ แต่ความรู้ ความเข้าใจต้องเกิดจากภายในตัวตนที่แท้จริงของเรา

ด้วยตนเอง โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. องค์ประกอบที่เราจะเรียนรู้ต้นแบบด้านการนึกคิดตรึกตรองจากตัวเรา
เอง คือ
1.1 ความรู้สึก
1.2 การจำได้ หมายรู้
1.3 การคิดปรุงแต่ง
1.4 การรับรู้

1.1 ความรู้สึก

1.2 ความจำ

1.3 การคิดปรุงแต่ง

1.4 การรับรู้

2. การเตรียมการ ควรใช้สถานที่สงบ สภาพอากาศสิ่งแวดล้อมสบาย ๆ มี
สิ่งรบกวนน้อย
3. วิธีการ กระทบสิ่งสนใจ ใจเราจะเกิดความรู้สึก ชอบ – ไม่ชอบ หรือเป็น
ความสุข – ความทุกข์ หรือ

3.2 การจำได้ หมายรู้ ให้ผู้เรียนนึกถึง บุคคล เหตุการณ์ที่เราพึงพอใจ หรือ

ไม่พอใจ เราจะนึก

เห็นเป็นภาพในใจ ปรากฎการณ์นั้นเป็นสิ่งที่เรามีความจำได้หมายรู้
3.3 การคิดปรุงแต่ง ให้ผู้เรียนมองหรือฟั งเสียง บุคคล สถานที่ สิ่งแวดล้อม
ต่าง ๆ จะเกิด

ความรู้สึก จากนั้นปรุงแต่งต่อไปว่าสิ่งที่คิดนั้น จะเป็นทางบวกหรือทางลบ
ปรากฏการณ์นี้จะเป็นการนำสิ่งที่รับรู้มาประมวลกับประสบการณ์เดิม ผล
การปรุงแต่งมักจะอาศัยความจำได้หมายรู้ของประสบการณ์เดิม

3.4 การรับรู้ ให้ผู้เรียนสังเกต การมอง การฟั งของตนเอง จะเป็นกระบวน

การต่อเนื่อง

เรื่อง การพัฒนาทักษะการขยายอาชีพให้เป็นลักษณะนิสัย

จากแผนภูมิ บอกภาพคิดรวบยอดได้ว่า การสร้างลักษณะนิสัยให้เกิดใน

ตนเอง ต้องเริ่มต้นที่ปัจจัยนำเข้า คือ ความรู้ทักษะในอาชีพ หรือสิ่งที่มี
คุณค่าต่อชีวิต จากนั้นกระบวนการสร้างลักษณะนิสัย จะเริ่มต้นที่ตัวตนของ
เราต้องเปิดช่องทางการเรียนรู้ ได้แก่ การมอง การรับฟั ง การรู้กลิ่น การรู้รส
และการรู้สัมผัสช่องทางเหล่านี้จะทำให้เราได้ข้อมูล ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำเข้า

มาสู่กระบวนการตอบสนองการรับรู้ที่เริ่มต้นจากสมองรับข้อมูลเข้ามาสู่องค์
ประกอบด้านความรู้สึกจะรับรู้และแสดงออกในความพอใจ (เฉย ๆ หรือไม่

พอใจ ก็จะหลุดออกไป) ส่งต่อไปยังองค์ประกอบด้านการจำได้ หมายรู้ จะ

ประมวลว่ามีความจำอะไรที่เกี่ยวข้องจะตอบสนองแสดงออกจำได้เห็นความ

สำคัญ (จำไม่ได้ สาระที่เข้ามาก็จะหยุดลงหรือหลุดออกไป) แล้วส่งต่อไปยัง

องค์ประกอบด้านนึกคิดปรุงแต่ง จะประมวลคิดสร้างสรรค์ เป็นสิ่งใหม่หรือ
แนวทางการทำงาน ดังนั้น ถ้าเราได้ย้อนกลับมาเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง เราจะพบ
ว่ากระบวนการตอบสนองการรับรู้ จะทำงานอย่างรวดเร็ว ถ้าทำซ้ำอีก อัตรา
ความเร็ว ในการตอบสนองจะรวดเร็วขึ้นโดยลำดับจนตัวตนติดยึด ถ้าจะทำ

อะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้จะตอบสนองอย่างเป็ นอัตโนมัติหรือเป็ นลักษณะนิสัย

บทที่ 4 ความหมาย ความ
สำคัญของการขยายอาชีพ

เรื่อง ความหมายของการจัดการขยายอาชีพ เพื่อความ
มั่นคงตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พศ. 2525 ดังนี้
1. การจัดการ หมายถึง กรรมวิธีในการสั่งงาน ควบคุมงาน ดำเนินงาน
2. ขยายอาชีพ หมายถึง การทำให้การทำมาหากิน แผ่กว้างออกไป
3. ความมั่นคง หมายถึง เกี่ยวกับการเกิดความแน่น และทนทานไม่กลับ
เป็ นอื่น
4. การจัดการขยายอาชีพเพื่อความมั่นคง หมายถึง กรรมวิธีในการ
ควบคุมการดำเนินงานทำมาหากินให้แผ่กว้างออกไปด้วยความทนทานไม่
กลับเป็ นอื่น

5. เศรษฐกิจ หมายถึง งานเกี่ยวกับการผลิต การจำหน่ายจ่ายแจกและการ
บริโภคใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ของชุมชน
6. พอเพียง หมายถึง เท่าที่ต้องการ ควรแก่ความต้องการ เต็มความ
ต้องการ
7. ปรัชญา หมายถึง วิชาด้วยหลักแห่งความรู้ ความจริง
8. เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง
หลักแห่งความรู้ ความจริงของงานเกี่ยวกับการผลิต การจำหน่ายจ่ายแจก
และการบริโภคใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ของชุมชนเป็นไปตามต้องการ

ดังนั้น การจัดการขยายอาชีพ เพื่อความมั่นคงตามแนว
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงอาจให้ความหมายได้ว่า

“กรรมวิธีในการควบคุมการดำเนินงานทำมาหากินให้ขยาย
ก้าวออกไปให้เกิดความแน่นและทนทานไม่กลับเป็ นอื่นตาม

หลักความรู้ ความจริงของงานเกี่ยวกับการผลิต การ

จำหน่ายจ่ายแจกและการบริโภคใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ของชุมชน
เป็ นไปตามต้องการ”

เรื่อง แบบประเมินความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย
ของการจัดการขยายอาชีพ ตามแนวคิดปรัชญา

เศรษฐกิจพอเพียง

1. อ่านกรณีตัวอย่างแล้วตอบคำถามด้วยตนเอง
“ ลุงอินปลูกข้าวโพดหวาน ขนาดร่องกว้าง 0.75 เมตร ยาว 40 เมตร
สัปดาห์ละ 5 ร่องอย่างต่อเนื่องได้ผลผลิตสัปดาห์ละ 250 กิโลกรัม ขาย
ให้กับลูกค้าประจำ มีรายได้ 2,500 บาทค่อนข้างแน่นอน แต่ปีนี้ลูกเข้า
เรียนระดับอุดมศึกษา 2 คน จะต้องมีรายจ่ายเพิ่มอีกเดือนละ 10,000
บาทลุงอินหาตลาดข้าวโพดหวาน ได้ลูกค้าเพิ่มสามารถรับซื้อข้าวโพด
หวานตามปริมาณที่เพิ่มขึ้นได้ตามต้องการ อยู่มาไม่นานเพื่อนบ้านหลาย
ครอบครัวเอาอย่างปลูกข้าวโพดหวานขาย ทำให้ข้าวโพดมีปริมาณมาก

ราคาตก

ลุงอิน เห็นว่า เพื่อนบ้านต่างก็ยากจน หากปล่อยให้สภาพเหตุการณ์เป็น
เช่นนี้ก็จะพากันขาดทุน เสียหาย ลุงอินประเมินปริมาณข้าวโพดหวานที่
ผลิตได้และมีคุณภาพปานกลางกับของลุงอิน ประมาณสัปดาห์ละ 3,000
กิโลกรัม จึงตัดสินใจไปพบพ่อค้าขายส่งรายใหม่ต้องการข้าวโพดหวาน
ปริมาณมาก หากลุงอินสามารถรวบรวมผลผลิต ควบคุมคุณภาพให้ได้
มาตรฐานที่ต้องการและจัดการส่งมอบให้ได้จะรับซื้อกิโลกรัมละ 15 บาท ลุง
อินจึงเจรจารับซื้อข้าวโพดหวานของเพื่อนบ้านให้ราคากิโลกรัมละ 10 บาท
หักค่าขนส่งกิโลกรัมละ 1 บาท ลุงอินได้กำไรกิโลกรัมละ 4 บาท เดือนหนึ่ง
จะมีรายได้ 48,000 บาท พอเพียงใช้จ่ายดำรงชีวิต ส่งลูกเรียนได้ ที่ดินที่
เคยปลูกข้าวโพดและว่างเปล่า จำนวน 20 ไร่ ลุงอินปลูกไม้ป่าต้นยางนา
ต้นสัก เป็นไม้โตไวได้ 2,000 ต้น อีก 15 ปีข้างหน้าจะสามารถตัดโค่นขาย

ได้ต้นละ 5,000 บาท คาดว่าจะได้เงินประมาณ 10 ล้านบาท ”

บทที่ 5 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ
การบริหารจัดการในการขยาย

อาชีพ

เรื่องการบริหารจัดการในการขยายอาชีพ

1) การทำแผนธุรกิจ
1.1 ความหมายของแผนธุรกิจ
แผนธุรกิจ คือแผนงานทางธุรกิจที่แสดงกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องปฏิบัติใน
การลงทุนประกอบการ โดยมีจุดเริ่มต้นจากจะผลิตสินค้าและบริการอะไร
มีกระบวนการปฏิบัติอย่างไรบ้าง และผลจากการปฏิบัติออกมาได้มาก
น้อยแค่ไหน ใช้งบประมาณและกำลังคนเท่าไร เพื่อให้เกิดเป็นสินค้าและ
บริการแก่ลูกค้า และจะบริหารธุรกิจอย่างไรธุรกิจจึงจะอยู่รอด (แหล่ง
ที่มา : มาณพ ชิวธนาสุนทร, แผนธุรกิจ SMES, สำนักพัฒนาธุรกิจ
อุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ, กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, กระทรวง
อุตสาหกรรม, 2547)

1.2 การศึกษาวิเคราะห์ชุมชนเพื่อการพัฒนาอาชีพ
การวิเคราะห์ชุมชน หมายถึง การนำเอาข้อมูลทั่วไปของชุมชนที่เราอาศัย

อยู่ ซึ่งอาจจะเป็นหมู่บ้าน ตำบล หรืออำเภอก็ได้ขึ้นอยู่กับการกำหนด
ขอบเขตของชุมชนว่าจะนำข้อมูลของชุมชนในระดับใดมาพิจารณา โดย
การจำแนกข้อมูลด้านต่างๆ เพื่อให้ทราบถึงประเด็นปัญหา และความ
ต้องการที่แท้จริงของชุมชน เพื่อจะนำมากำหนดแนวทางการขยายอาชีพ
ให้ตอบสนองตรงกับความต้องการของคนในชุมชน โดยเฉพาะเกี่ยวกับ
การประกอบอาชีพ รายได้ของประชากรต่อคน ต่อครอบครัวเป็นอย่างไร
ลักษณะของการประกอบอาชีพของประชากรเป็นอย่างไร รวมถึงข้อมูลอื่น
ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ข้อมูลด้านการตลาด แนวโน้มของความต้องการของการ
ตลาด นโยบายของรัฐที่จะเอื้อประโยชน์ต่อการผลิตหรือการประกอบ
อาชีพ เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เราวางแผนการดำเนินการพัฒนา

อาชีพได้รอบคอบขึ้น

การวิเคราะห์ข้อมูล โดยวิเคราะห์สภาพการภายใน ภายนอกของชุมชน
โดยใช้เทคนิค SWOT (SWOT ANALYSIS)การศึกษาความต้องการของ
ชุมชนเป็นการสำรวจความต้องการของชุมชนเพื่อให้ทราบถึงจุดเด่น จุด
ด้อย อุปสรรคหรือความเสี่ยงและโอกาสในด้านต่างๆ ของข้อมูลและ
ความต้องการของชุมชน ทั้งนี้โดยใช้เทคนิค SWOT ในการวิเคราะห์ชุมชน
มีดังนี้
S (STRENGTHS) จุดแข็งหรือจุดเด่นของชุมชน
W (WEAKNESSES) จุดอ่อนหรือข้อด้อยของชุมชน
O (OPPORTUNITIES) โอกาสที่จะสามารถดำเนินการได้
T (THREATS) อุปสรรคหรือปัจจัยที่เป็นความเสี่ยงของชุมชนที่ควรหลีก
เลี่ยงในการปฏิบัติ

การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการผลิต

การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการผลิต เป็นการพัฒนาความสามารถ
ในการผลิตผลิตภัณฑ์ของมนุษย์ ช่วยในการแก้ปัญหาและสนองความ
ต้องการของมนุษย์อย่างสร้างสรรค์ โดยนำความรู้มาใช้กับกระบวนการ
เทคโนโลยี เพื่อสร้างและใช้สิ่งของเครื่องใช้ วิธีการให้การดำรงชีวิตมี

คุณภาพดียิ่งขึ้น

การเลือกอาชีพควรพิจารณาจากปัจจัยใดบ้าง

1. ด้านลักษณะงาน 2. ด้านความก้าวหน้าในอาชีพ 3. ด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ 4. ด้านความมั่นคงในการทำงาน 5. ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ความปรารถนาในการเลือกอาชีพ

การขยายอาชีพมีกี่องค์ประกอบ

องค์ประกอบในระบบอาชีพ จากแผนภูมิความสัมพันธ์องค์ประกอบภายในระบบอาชีพ มีองค์ประกอบที่สำคัญและส่งผลกระทบความมั่นคงของอาชีพ 4 องค์ประกอบด้วยกันคือ (1) ทุน (2) ผลผลิต (3) ลูกค้า และ (4) การเรียนรู้พัฒนาตนเองของสถานประกอบการ

ศักยภาพ 5 ด้าน ได้แก่อะไรบ้าง

กลุ่มอาชีพใหม่ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ.
ศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติในแต่ละพื้นที่.
ศักยภาพของพื้นที่ตามลักษณะภูมิอากาศ.
ศักยภาพของภูมิประเทศและทำเลที่ตั้งของแต่ละพื้นที่.
ศักยภาพของศิลปวรรฒนธรรม ประเพณี องค์ความรู้ ภูมิปัญญา และวิถีชีตของแต่ละพื้นที่.
ศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละพื้นที่.

ทำไมเราต้องขยายอาชีพ

(1) เป็นการเพิ่มกิจกรรมอาชีพบนฐานการจัดการอาชีพหลักที่ทำอยู่ (2) ทำให้ประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรดำเนินงาน สามารถสร้างผลผลิตเพิ่มสูงขึ้นได้ (3) ทำให้ผู้ร่วมงานมีความเชื่อมั่นว่า ธุรกิจเจริญก้าวหน้า สามารถอยู่ร่วมทำงานได้อย่างมั่นคง (4) มีผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น สามารถขยายฐานลูกค้าออกไปได้กว้างขึ้น