ลักษณะของสีในงานจิตรกรรมไทยนั้น เป็นอย่างไร

 
ลักษณะของสีในงานจิตรกรรมไทยนั้น เป็นอย่างไร

จิตรกรรมไทย

               จิตรกรรมไทย หมายถึง ภาพเขียนที่มีลักษณะเป็นแบบอย่างของไทย ที่แตกต่าง จากศิลปะของชนชาติอื่นอย่างชัดเจน ถึงแม้จะมีอิทธิพลศิลปะของชาติอื่นอยู่บ้าง แต่ก็สามารถ ดัดแปลง คลี่คลาย ตัดทอน หรือเพิ่มเติมจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของ ตนเองได้อย่างสวยงาม ลงตัว น่าภาคภูมิใจและมีวิวัฒนาการทางด้านรูปแบบ และวิธีการมาตลอดจนถึงปัจจุบัน ซึ่งสามารถพัฒนาต่อไปอีกในอนาคต จิตรกรรมไทยเป็นลักษณะอุดมคติ เป็นภาพ 2 มิติ โดยนำสิ่งใกล้ไว้ตอนล่างของภาพ สิ่งไกลไว้ตอนบนของภาพ ใช้สีแบบเอกรงค์ คือ ใช้หลายสี แต่มีสีที่โดดเด่นเพียงสีเดียว

               ลายไทย เป็นส่วนประกอบของภาพเขียนไทยใช้ตกแต่งอาคาร สิ่งของ เครื่องใช้ ต่าง ๆ เครื่องประดับ ฯลฯ เป็นลวดลายที่มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันซึ่งนำเอารูปร่างจาก ธรรมชาติมาประกอบ เช่น ลายกระหนก ลายกระจัง ลายประจำยาม ลายเครือเถา เป็นต้น หรือเป็นรูปที่มาจากความเชื่อและคตินิยม เช่น รูปคน รูปเทวดา รูปสัตว์ รูปยักษ์ เป็นต้น

               จิตรกรรมไทย เป็นวิจิตรศิลป์อย่างหนึ่ง ซึ่งส่งผลสะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมอันดี งามของชาติ มีคุณค่าทางศิลปะและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้า เรื่องที่เกี่ยวกับ ศาสนา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรมการแต่งกาย ตลอดจนการแสดงการเล่นพื้นเมืองต่าง ๆ ของแต่ละยุคสมัยและสาระอื่น ๆ ที่ประกอบกันเป็นภาพจิตรกรรมไทย งานจิตรกรรมให้ความรู้สึกในความงามอันบริสุทธิ์น่าชื่นชม เสริมสร้างสุนทรียภาพขึ้นในจิตใจมวลมนุษยชาติได้โดยทั่วไป วิวัฒนาการของงาน จิตรกรรมไทยแบ่งออกตามลักษณะรูปแบบทางศิลปกรรม ที่ปรากฏในปัจจุบันมีอยู่ 2 แบบ คือ

จิตรกรรมไทยแบบร่วมสมัย

               จิตรกรรมไทยแบบร่วมสมัย (Thai Contemporary Painting) จิตรกรรมไทยร่วมสมัยเป็นผลมาจากความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการของโลก ความเจริญทางการศึกษา การคมนาคม การพาณิชย์ การปกครอง การรับรู้ข่าวสาร ความเป็นไปของโลกที่อยู่ห่างไกล ฯลฯ เหล่านี้ ล้วนมีผลต่อความรู้สึกนึกคิดและแนวทางการแสดงออกของศิลปินในยุคต่อๆ มาซึ่งได้พัฒนาไปตามสภาพเวดล้อม ความเปลี่ยนแปลงของชีวิต ความเป็นอยู่ ความรู้สึกนึกคิด และความนิยมในสังคม สะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ใหม่ของวัฒนธรรมไทยอีกรูปแบบหนึ่ง อย่างมีคุณค่า เช่นดียวกัน อนึ่ง สำหรับลักษณะเกี่ยวกับจิตรกรรมไทยร่วมสมัยนั้น ส่วนใหญ่เป็นแนวทางเดียวกันกับลักษณะศิลปะแบบตะวันตกในลัทธิต่างๆ ตามความนิยมของศิลปินแต่ละคน

ลักษณะของสีในงานจิตรกรรมไทยนั้น เป็นอย่างไร

ขอบคุณเวบไซต์
http://th.wikipedia.org/wiki/

 
ลักษณะของสีในงานจิตรกรรมไทยนั้น เป็นอย่างไร

       จิตรกรรมไทย เป็นภาพวาดเขียนที่มีเอกลักษณ์พิเศษตามลักษณะแบบไทย ๆ ที่ได้

ทำสืบทอดกันมาจนเป็นประเพณี เน้นความรู้สึก และรูปร่างด้วยเส้น เสริมความงดงามน่าดูขึ้นด้วยสี 

แสงเงา นั้นมีปรากฏอยู่บ้าง แต่ไม่ชัดเจนนัก บางภาพก็ไม่มีเอาเสียเลย จิตรกรรมไทยที่พบเห็นกันอยู่

บ่อย ๆ นั้นมี 3 ลักษณะ คือ

1. จิตรกรรมไทยลายเส้น ได้แก่ ลวดลายไทย หรือภาพไทยที่เกิดจากการขูด ขีด จารให้เกิดเป็นร่องรอยเป็นเส้นด้วยการนำเอาความงามของธรรมชาติมาดัดแปลงปรุงแต่งด้วยความคิดสร้างสรรค์ด้วยอุดมคติทางความงามที่เป็นลักษณะพิเศษแบบไทย 

ลักษณะของสีในงานจิตรกรรมไทยนั้น เป็นอย่างไร

จิตรกรรมลายเส้นจากวัดศรีชุม

ลักษณะของสีในงานจิตรกรรมไทยนั้น เป็นอย่างไร

ชมพูพาน พญาวานร

 2. จิตรกรรมไทยสีเดียว บางทีเรียกกันว่า “จิตรกรรมเอกรงค์” ได้แก่ ลวดลายไทยหรือภาพไทยที่ระบายสี  หรือทำให้เกิดสีเพียงสีเดียวที่เห็นได้อย่างชัดเจน คืองานประเภทภาพลายรดน้ำซึ่งเป็นการเขียนภาพปิดด้วยทองคำเปลวบนผิวยางรัก เช่น ตู้พระธรรม เป็นต้น  

ลักษณะของสีในงานจิตรกรรมไทยนั้น เป็นอย่างไร

บานหน้าต่าง ลายรดน้ำ วัดบวรนิเวสวิหาร

ตัวอย่างกรรมวิธีการเขียนลายรดน้ำ 

  Cr.https://phaiboon01.wordpress.com

3. จิตรกรรมหลายสี หรือ “จิตรกรรมพหุรงค์” เป็นการเขียนภาพ หรือลวดลายไทยระบายสีหลาย ๆ สี บางครั้งก็มีการปิดทองคำเปลวประกอบ มีทั้งภาพเดี่ยว ภาพลวดลาย                                         และประกอบกันเป็นเรื่องราวประดับผนัง สมุดข่อย หรือผืนผ้า เป็นต้น  

ลักษณะของสีในงานจิตรกรรมไทยนั้น เป็นอย่างไร

จิตรกรรมฝาผนัง วัดบวรนิเวศวิหาร

ลักษณะของสีในงานจิตรกรรมไทยนั้น เป็นอย่างไร

จิตรกรรมฝาผนังวัดสามเรือน จังหวัดพิษณุโลก

         จิตรกรรมไทยในอดีตส่วนมากเขียนด้วยสีฝุ่นผสมกาว หรือไข่ขาวบนผนังของสถาปัตยกรรมโยเฉพาะผนังโบสถ์ วิหาร ปราสาท ราชวัง ฯลฯ จึงมักเรียกกันว่า “จิตรกรรมฝาผนัง”  นอกจากนั้นยังมีปรากฏที่ตู้พระธรรม สมุดข่อย นับว่ามีคุณค่าทั้งความงาม บันทึกประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทยสมัยต่าง ๆ วรรณคดี ฯลฯ ช่วยเสริมแต่งประติมากรรม และสถาปัตยกรรมให้งดงามเหมาะสมจรรโลงใจให้แก่ผู้พบเห็นมีความสุขได้อย่างประหลาด โดยเฉพาะเรื่องราวของพุทธประวัติ ศาสนา และวรรณคดี ช่วยกล่อมเกลาจิตใจผู้พบเห็นได้อย่างมาก ปัจจุบันนิยมใช้ภาพไทย ประดับตกแต่งอาคาร บ้านเรือนด้วยวิธีการคัดลอกจากจิตรกรรมไทยโบราณ หรือเขียนขึ้นมาใหม่ด้วยการประยุกต์ขึ้น และตามแบบคตินิยมเดิม  

ลักษณะในการใช้สีในงานจิตรกรรมไทยเป็นอย่างไร

สีที่ช่างนำมาใช้ในงานจิตรกรรมแต่เดิมนั้นมีน้อยมาก มักใช้สีเดียว ที่เรียกว่า "เอกรงค์" โดยใช้สีขาว สีดำและสีแดงเท่านั้น ทำให้เกิดความกลมกลืนกันมาก ต่อมาสีที่ใช้ในภาพจิตรกรรมก็มีมากขึ้น มีการเขียนภาพ ที่เรียกว่า"เบญจรงค์" คือใช้สี 5 สี ได้แก่ สีเหลือง เขียวหรือคราม แดงชาด ขาว และดำ การวาดภาพที่ใช้ หลาย ๆ สี เรียกว่า "พหุ ...

ลักษณะของงานจิตรกรรมไทยเป็นความงามลักษณะใด

งานจิตรกรรมไทยมีเอกลักษณ์ในการใช้เส้น และสี ไม่แสดงแสงเงาตามธรรมชาติ และระยะใกล้ไกลของภาพ โดยใช้สีแบน ๆ เรียบสงบ แล้วตัดเส้นลวดลายไปตลอดทั้งภาพ มีช่องไฟหรือพื้นหลัง จะช่วยเน้นเส้นที่อ่อนช้อยงดงาม และจัดระเบียบให้ภาพมีความสัมพันธ์กลมกลืนกัน ความงามของเส้นจะเร้าความรู้สึกของผู้ดูให้เห็นความงามอันละเอียดอ่อน และแสดงถึง ...

งาน "จิตรกรรม" มีลักษณะเป็นอย่างไร

จิตรกรรม เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการขีดเขียน การวาด และระบายสี เพื่อให้เกิดภาพ เป็นงานศิลปะที่มี 2 มิติ เป็นรูปแบน ไม่มีความลึกหรือนูนหนา แต่สามารถเขียนลวงตาให้ เห็นว่ามีความลึกหรือนูนได้ ความงามของจิตรกรรมเกิดจากการใช้สีในลักษณะต่าง ๆ กัน

ลักษณะของภาพแบบไทย คือข้อใด

จิตรกรรมไทย จัดเป็นภาพเล่าเรื่องที่เขียนขึ้นด้วยความคิดจินตนาการของคนไทย มีลักษณะตามอุดมคติของกระบวนงานช่างไทย คือ เขียนสีแบน ไม่คำนึงถึงแสงและเงา นิยมตัดเส้นให้เห็นชัดเจน และเส้นที่ใช้ จะแสดงความรู้สึกเคลื่อนไหวนุ่มนวล