เอเชียกลางมีลักษณะเด่นอย่างไร

อีกกลุ่มประเทศหนึ่งซึ่งโลกกำลังให้ความสนใจและมีการทำนายทายกันว่าน่าจะเป็นกลุ่มประเทศที่มีเศรษฐกิจบูมในทศวรรษต่อไป เป็นกลุ่มที่มีอนาคต และสามารถเชื่อมได้ทั้งรัสเซีย จีน อินเดีย อิหร่าน ตุรกี ยุโรปตะวันออก และยุโรปตะวันตก นั่นคือ “กลุ่มเอเชียกลาง”

เอเชียกลางในอดีตเจริญมาก เพราะการขนส่งสินค้าระหว่างจีน-ยุโรป จะต้องผ่านเอเชียกลาง แต่พอมีคลองสุเอซ (ทำให้การขนส่งทางเรือไม่ต้องผ่านแหลมกู้ดโฮป) คนก็หันไปใช้เส้นทางเดินเรือที่ผ่านคลองสุเอซแทน การขนส่งทางบกผ่านเอเชียกลางจึงลดความสำคัญลง ตอนที่พ่อผมไปตระเวนระหว่าง พ.ศ.2534-2550 บางแห่งที่มีอดีตเคยเป็นเมืองยิ่งใหญ่ มีประชากรมากมาย กลายเป็นเมืองแทบร้างเสียด้วยซ้ำไป

รถไฟขนส่งสินค้าจากเมืองต่างๆของจีน แวะเอเชียกลางและแล่นต่อไปต่อยังยุโรปเป็นประจำ ทำให้เอเชียกลางฟื้นอย่างอัศจรรย์ เมื่อถามว่า เอเชียกลางอยู่ทางแถบไหน ก็ตามชื่อเลยครับ คืออยู่กลางทวีปเอเชีย พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย เป็นทะเลทราย และภูเขา มีที่ราบสูงที่แห้งแล้ง

เอเชียกลางประกอบด้วย เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน และเขตปกครองตนเองทิเบต ทั้ง 3 เขตเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน ผู้คนส่วนใหญ่เป็นชาวมองโกลและเติร์ก สหรัฐฯและตะวันตกจึงพยายามเข้าไปปฏิบัติการจิตวิทยาจากชนกลุ่มน้อยเหล่านี้ให้ต่อต้านจีนซึ่งคนส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น

จีนระวังการแทรกแซงจากตะวันตก จึงทุ่มสรรพกำลังสร้างความเจริญให้กับ 3 เขตปกครองตนเองที่อยู่ในพื้นที่เอเชียกลางอย่างเต็มที่

เอเชียกลางยังรวมถึงประเทศมองโกเลีย สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน เติร์กเมนิสถาน และทาจิกิสถาน การจัดภูมิรัฐศาสตร์ของบางองค์กรโลก ยังรวมเอาอัฟกานิสถานและปากีสถานเข้าไปรวมในพื้นที่ของเอเชียกลางด้วย

เอเชียกลางเป็นพื้นที่ที่มีแร่หายากที่โลกต้องการสูง มีเทือกเขาสำคัญคือ อัลไต เทียนชาน คุนลุนชาน ฮินดูกูช และหิมาลัย ทะเลทรายในเอเชียกลางกว้างใหญ่ไพศาล มีทั้งทะเลทรายโกบี และตักลามากัน ที่มีทั้งถ่านหิน น้ำมัน ยูเรเนียม และทองคำ ความที่อยู่ใกล้กับรัสเซียและจีนซึ่งเป็น 2 ประเทศที่มีเทคโนโลยีการสำรวจล้ำสมัย ทำให้ในปัจจุบัน แผ่นดินที่เคยไร้ค่า แห้งแล้ง ไม่มีต้นไม้ใบหญ้า กลายเป็นแผ่นดินที่คนสนใจเข้าไปพัฒนาเพื่อนำทรัพยากรธรรมชาติออกมาใช้

สมัยก่อนตอนโน้น คนเรียกตักลามากันว่า “ทะเลทรายแห่งความตาย” แต่ตอนนี้ต้องเปลี่ยนแล้วครับ เปลี่ยนมาเป็น “ทะเลทรายแห่งความร่ำรวย” เพราะบริษัทปิโตรไชน่า ผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ จากทะเลทรายแห่งนี้ได้มากมายมหาศาล มีแหล่งสำรองน้ำมันและก๊าซในทะเลทรายที่สำรวจเจอแล้วมากกว่า 100 แห่ง

30 มิถุนายน 2564 รัฐบาลจีนเปิดทางด่วนข้ามทะเลทรายอย่างเต็มรูปแบบ เชื่อมกรุงปักกิ่งกับนครอุรุมชี เมืองเอกของเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ทางด่วนทั้งสายมีความยาว 2,800 กิโลเมตร ซึ่งช่วงที่ตัดผ่านทะเลทรายที่ไม่มีคนอาศัยอยู่ยาวถึง 500 กิโลเมตร ทางด่วนสายปักกิ่ง-อุรุมชี ลดระยะทางลงได้ถึง 1,300 กิโลเมตร ผ่านมณฑลเหอเป่ย์ ซานซี มองโกเลียใน และกานซู่ ทำให้การเดินทางไปกลุ่มภูมิภาค เอเชียกลางโดยรถยนต์สะดวกรวดเร็วขึ้น

ที่ใดเจอน้ำมัน ที่นั่นสหรัฐฯจะเก็บอาการไม่อยู่ จ้องดูด้วยสายตาลุกวาว ไม่ใช่เพียงแค่ความอยากได้ (เหมือนอย่างที่เคยทำกับอิรัก) แต่เป็นความอิจฉา กลัวว่าจีนจะผงาดเพราะมีน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเป็นของตนเยอะแยะ (จีนยังได้น้ำมันและก๊าซธรรมชาติจากรัสเซีย ซึ่งมีการต่อท่อตรงถึงกัน โดยจ่ายเป็นเงินหยวนและรูเบิล)

ตอนนี้ ในโซเชียลมีเดียมีสตรีวัยกลางคนออกมาตะโกนก้องร้องป่าวว่าตนเป็นชาวอุยกูร์อยู่ในจีน ครอบครัวถูกทหารจีนทำร้ายและข่มขืน แต่สมัยนี้โกหกอะไรได้ยาก บั้นปลายท้ายที่สุด ความจริงก็เปิดเผยว่า สตรีผู้นี้เป็นชาวอุยกูร์ที่อพยพไปอยู่ที่สหรัฐฯนานแล้ว ไปอยู่ก่อนที่จีนจะเจอน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจำนวนมหาศาลย้ายไปอยู่ก่อนที่สหรัฐฯจะสนใจภูมิภาคนี้ซะอีก.

Submitted by priceadmin on 18 January, 2016 - 13:15

แม้ประเทศในภูมิภาคเอเชียกลางจะอยู่ร่วมทวีปเอเชียกับประเทศไทย แต่ความรู้ ความเข้าใจ และ ความสัมพันธ์ทางด้านการค้า และ การลงทุนระหว่างกันยังอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่ประเทศตะวันตก รัสเซีย จีน และ สิงคโปร์ กลับมองเห็นลู่ทางหาประโยชน์จากการค้าและการลงทุนในประเทศเหล่านั้นมากกว่า นายกันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศกล่าวในงานสัมมนา "ไทยกับภูมิภาคเอเชียกลาง" ที่จัดขึ้นโดยกระทรวงการต่างประเทศเมื่อเร็วๆนี้ ถึงประเทศในภูมิภาคเอเชียกลางที่มีความน่าสนใจทางธุรกิจทั้ง 5 ประเทศ ได้แก่อุซเบกิสถาน ทาจิกิสถาน เตอร์กเมนิสถาน คาซัคสถาน และคีร์กิซสถาน ว่าในอดีตเป็นดินแดนที่รองรับเส้นทางสายไหม (Silk Road) และเป็นดินแดนที่อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติเช่นปิโตรเลียม ก็าซธรรมชาติ พลังน้ำ และแร่ธาตุ (เหล็กกล้า ทองแดง ทองคำ ยูเรเนียม อะลูมิเนียม) ทั้งยังเป็นแหล่งปลูกฝ้ายที่ใหญ่ของโลก ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ให้กับนักธุรกิจไทย จึงได้จัดงานนี้ขึ้นเพื่อแนะนำลู่ทางการเจาะตลาดดังกล่าว ในภาพรวม ภูมิภาคเอเชียกลางเป็นประเทศที่มีประวัตศาสตร์อันยาวนาน แต่ต้องสะดุดลงเมื่อต้องถูกกลืนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของในจักรวรรดิ์โซเวียต รัสเซีย แต่เมื่อปี 2534 ประเทศเหล่านั้นก็ได้กลับมามีเอกราชอีกครั้ง รัฐบาลของแต่ละประเทศจึงต้องเร่งพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพทางเศรษฐกิจมากขึ้น โดยปัจจุบันอยู่ในลักษณะของเศรษฐกิจระยะผ่าน (Economy in Transition) เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในประเทศรัสเซียเมื่อกว่า 20 ปีที่แล้ว อย่างไรก็ตามการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ยังอยู่ในระดับที่ต่ำมาก เว้นแต่ในประเทศที่มีทรัพยากรน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เช่นคาซักสถาน อุซเบกิสถาน และ เติร์กเมนิสถาน ส่วน คีร์จิกิซสถาน และ ทาจิกิสถานจัดอยู่ในกลุ่มประเทศยากจน และ ยากจนที่สุดตามลำดับ ผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของทั้ง 5 ประเทศรวมกันอยู่ที่ 61,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2.25 ล้านล้านบาท) คิดเป็น 0.13 ของจีดีพีโลก จำนวนประชากร 58.7 ล้านคน อาศัยอยู่ในพื้นที่ 3.9 ล้านตารางกิโลเมตร นายสรยุตม์ พรหมพจน์ เอกอัคราชทูตไทยประจำกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย ซึ่งรับผิดชอบพื้นที่ในเขตเอเชียกลาง อธิบายว่าประเทศที่มีความสำคัญในเชิงผลประโยชน์กับประเทศไทยมากที่สุดตามลำดับได้แก่ คาซัคสถาน อุซเบกิสถาน และเติร์กเมนิสถาน เพราะเป็นกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพด้านการส่งออกพลังงานเป็นรายได้หลักของประเทศและมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจติดกลุ่มที่มีพลวัตรมากที่สุดในโลก หรือ มีเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วนั่นเอง ซึ่งการเติบโตดังกล่าวมีปัจจัยผลักดันสำคัญได้แก่ การส่งออกวัตถุดิบ ประเภทปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติ มิใช่การปรับโครงสร้างการผลิต และการยกระดับประสิทธิภาพ หรือการใช้นวัตรกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนเช่นเดียวกับประเทศทางตะวันตก นอกจากนั้นทั้ง 5 ประเทศในภูมิภาคเอเชียกลาง ยังเป็นแหล่งผลิตฝ้ายรายใหญ่ในระดับนานาชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คาซักสถานที่เป็นประเทศผู้ผลิตฝ้ายอันดับ 2 ของโลกและส่งออกสินค้าจากฝ้ายไปยังประเทศต่างๆคิดเป็นสัดส่วน 25 % ของจีดีพีในประเทศ ลู่ทางการค้า-ลงทุน นายวัฒนะ คุ้นวงศ์ ที่ปรึกษา สถานเอกอัคราชทูตไทยประจำกรุงมอสโกแนะนำว่านักธุรกิจไทยควรเลี่ยงการลงทุนในกลุ่มทรัพยากรปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติเนื่องจากว่ากลุ่มบริษัทจากประเทศตะวันตกได้เข้าไปเปิดธุรกิจในอุตสาหกรรมเหล่านั้นแล้ว ดังนั้นธุรกิจที่น่าสนใจจึงอยู่ที่ธุรกิจกลุ่ม Non-Oil Sector เพื่อให้บริการแก่กลุ่ม Oil Sector เช่นการป้อนสินค้าอุปโภค-บริโภค การสร้าง และ บริหารโรงแรม ที่พักอาศัยแทน ยิ่งไปกว่านั้นการท่องเที่ยวยังเป็นธุรกิจที่น่าสนใจเพราะประเทศในภูมิภาคนี้มีแหล่งท่องเที่ยวซึ่งน่าค้นหาอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นการนำนักท่องเที่ยวจากประเทศเอเชียกลาง เข้ามายังเมืองไทย หรือ นำนักท่องเที่ยวไทยไปเที่ยว รวมทั้งการเข้าไปบริหารโรงแรมในประเทศเหล่านั้นเพื่อรองรับการท่องเที่ยวที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อย่างไรก็ตามจากการที่ประเทศในภูมิภาคดังกล่าวมีสภาพสังคมที่แตกต่างกันระหว่างสังคมเมืองและสังคมชนบทอย่างชัดเจนโดยเฉพาะเรื่องของฐานะทางการเงิน จึงควรทำการศึกษาแหล่งที่จะไปลงทุนหรือทำการค้าให้ดี เพราะความต้องการของประชากรของทั้งสองกลุ่มแตกต่างกันอย่างมาก จึงแนะนำให้ศึกษารูปแบบการวางลู่ทางการค้าของประเทศตุรกีที่เข้าไปทำธุรกิจในเพื่อนบ้านอดีตประเทศในสหภาพโซเวียต-รัสเซีย ที่มุ่งเน้นทำการค้าและบริการสำหรับกลุ่ม Oil Sector เช่น การบริหาร การก่อสร้าง และการจัดการด้านโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งรูปแบบของการเป็นพันธมิตรระหว่างสิงคโปร์-ตุรกี ที่ร่วมเข้าบุกตลาดประเทศในเอเชียกลางอย่างเงียบๆอีกด้วย ขณะที่ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งได้เปรียบประเทศอื่นๆ เพราะสามารถตั้งชุมชนชาวเกาหลี เช่นเ

เอเชียกลางมีลักษณะเด่นอย่างไร