อาการต่อต้านสมาธิ เกิดจากอะไร

- คำอธิษฐานก่อนนั่งสมาธิ : "ข้าพเจ้า ระลึกถึง คุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ คุณบิดา มารดา คุณครูบาอาจารย์ จงมาดลบันดาล ให้ใจของข้าพเจ้า จงรวมลงเป็นสมาธิ 

พุทโธ ธัมโม สังโฆ, พุทโธ ธัมโม สังโฆ, พุทโธ ธัมโม สังโฆ, พุทโธ พุทโธ พุทโธ"

- คำแผ่เมตตาหลังนั่งสมาธิ : "สัพเพ  สัตตา  สะทา โหนตุ,  อะเวรา  สุขะชีวิโน

ขอให้สัตว์ทั้งหลาย จงเป็นผู้ไม่มีเวรต่อกันและกัน จงเป็นผู้ดำรงชีพอยู่เป็นสุขทุกเมื่อเถิด

กะตัง ปุญญัง ผะลัง มัยหัง, สัพเพ ภาคี ภะวันตุ เต

ขอให้สัตว์ทั้งสิ้นนั้น จงเป็นผู้มีส่วนได้เสวยผลบุญ อันที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญแล้วนั้นเทอญ"

- การเรียนสมาธิมีจุดประสงค์คืออะไร : สะสมพลังจิต

  + สมาธิธรรมชาติ เช่นการนอนหลับ ได้พลังจิตไม่มาก ได้มาใช้ไป เหมือนคนหาเช้ากินค่ำ

  + สมาธิสร้างขึ้น ทำอย่างเป็นระบบ จะทำให้ได้พลังจิตสะสมเพิ่มมากขึ้น จนมีกำลังเพียงพอจนเกิดฌาน ญาณ วิปัสสนา เหมือนเศรษฐีมีเงินเหลือมากพอจะซื้ออะไรก็ได้ แต่สมาธิธรรมชาติทำให้เกิดไม่ได้เพราะพลังไม่เพียงพอ

- สมาธิที่สร้างขึ้น ได้พลังจิตสะสม แบ่งเป็น  ๒ อย่าง  คือ 

  + พลังหลัก  ๖๐%  สะสมข้ามภพข้ามชาติ

  + พลังเฉลี่ย ๔๐% ใช้ในชีวิตประจำวัน ใช้แล้วหมดไป

- การทำสมาธิทำได้กี่อิริยาบถ อะไรบ้าง : 4 อิริยาบถ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน

- อิริยาบถหลัก คือ เดิน และนั่ง คือ การเดินจงกรม และการนั่งสมาธิ

- ฐานที่ตั้งของจิต มีกี่แห่ง อะไรบ้าง : 5 แห่ง คือ หน้าผาก ปลายจมูก บริเวณหน้า อกเบี้องซ้าย สะดือ

- ช่วงแรกของการทำสมาธินั้น สามารถย้ายฐานของจิตเพื่อหาจุดที่เหมาะสม แต่เมื่อได้วางจิตแล้ว ไม่ควรย้ายอีก เพราะจะทำให้จิตสับสน เหมือนปลูกต้นไม้ ถ้าย้ายไปย้ายมาต้นไม้ก็ไม่โต

- การบริกรรมมีจุดประสงค์อะไร : เพื่อให้จิตเป็นหนึ่ง (ความเป็นหนึ่งของจิตคือสมาธิ)

- การบริกรรมเป็นเพียงเบื้องต้น เปรียบเทียบเหมือนอะไร : เหมือนพ่อแม่เลี้ยงลูก เกิดใหม่ๆพ่อแม่ต้องเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด เมื่อลูกโตแล้วก็มองดูห่างๆ เบื้องต้นหมายความว่าเมื่อจิตเป็นสมาธิแล้ว ไม่ต้องบริรรมอีก

- จิตขณะบริกรรม เป็นการกรองอารมณ์ 

- คำบริกรรม ใช้คำใดก็ได้ที่มีความหมายดี

- สถาบันฯ ใช้คำว่า “พุทโธ”   เพราะเป็นคำที่มี ความหมายดี แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น และต้องการให้เป็นเอกภาพ  

- การเดินจงกรม ก้าวเท้าขวาก่อน เวลาถึงท้ายจงกรม ให้หมุนทางด้านขวา แล้วก้าวออกด้วยเท้าขวาก่อน  ตรงนี้เพื่อฝึกสติ ให้ระลึกว่าก้าวเท้าขวาก่อน ไม่ใช่เท้าไหนก็ได้

- ลักษณะต่อต้านสมาธิ มี 7 ข้อ : ความเจ็บ ปวด เมื่อย เหนื่อย หิว, ความปริวิตก, ความกระวนกระวาย, ความหงุดหงิด, อาการกิริยาเจ็บคันโดยไม่มีเหตุผล, ความลังเลสงสัย, ความโลภอยากได้เร็ว

- ความหงุดหงิด เกิดจากการคิดปรุงแต่งของจิต ทำให้เกิดจุดดำในจิต

- สมาธิ มี 3 ขั้นตอน คือ ขณิกะสมาธิ อุปจาระสมาธิ อุปจาระสมาธิ (เปรียบเหมือนเรียน ประถม มัธยม มหาวิทยาลัย)

  + ขณิกะ แปลว่า นิดหน่อย เป็นสมาธิขั้นเล็กน้อย เปรียบเหมือน ช้างกระพริบหู งูแลบลิ้น

  + อัปจาระ สงบมาก ตั้งอยู่ได้นาน

  + อัปนาสมาธิ สงบมาก แน่วแน่

- สมาธิตื้น อยู่ในกายหยาบ ยังรู้ตัวอยู่

- สมาธิลึก อยู่ในกายละเอียด หรือกายทิพย์

- ภวังค์ คือ = เคลิ้ม หลับ

  + หลับ จะปิดการรับรู้ทั้งหมด

  + ภวังค์ จะปิดการรับรู้ 90%

- นิมิต แปลว่า สัญลักษณ์ เป็นได้ทั้ง แสง สี เสียง เกิดเมื่อจิตเข้าภวังค์แล้ว (นิมิตคือฝันนั่นเอง)

- จิตเหมือนห้องสมุด เมื่อจิตสงบก็ไปเปิดห้องสมุดของเรา เป็นภาพ เป็นเสียง เรียกว่า นิมิต

- ประโยชน์ของสมาธิ มี 12 ข้อ คือ ทำให้หลับสบาย คลายกังวล, กำจัดโรคภัยไข้เจ็บ, ทำให้สมองปัญญาดี, ทำให้รอบคอบก่อนการทำงาน, ทำให้ระงับความร้ายกาจ, บรรเทาความเครียดม, มีความสุขพิเศษ, ทำให้จิตใจอ่อนโยน, กลับใจได้, เวลาจะสิ้นลมพบทางดี, เจริญวาสนาบารมี, เป็นกุศล

- สมาธิรักษาโรค : โรคเครียด โรคนอนไม่หลับ / โรคอื่นๆ มีขั้นตอนคือ

  + เข้าใจวิธีการกำหนด, กำหนดร่างกายส่วนบน-ล่าง, ส่วนบนกำหนดเขียว, ล่างกำหนดแดง, ใกล้ลำแสงดุจเทียนใหญ่, ไกลดุจเทียนเล็ก, ส่วนตำแหน่งของโรค, กำหนดเวลา

- สมาธิกับการควบคุมอารมณ์ (กองกำลังทั้ง 7) คือ พลังจิต, ความรอบคอบ, ความหยุดยั้ง, ความเตือนตน, ความอดทน, ความเฉียบคม, การวางเฉย

- ฌาน แปลว่า ความเพ่งอยู่ อาการคือ ความสุข ความเบา ความสบาย

- ญาณ แปลว่า ความรู้สู่ความสำเร็จ

- จุดพลังอำนาจ คือ ที่รวมหรือศูนย์รวมของพลังจิต อยู่ระหว่างกายหยาบกับกายละเอียด

- สมาธิ เปรียบเหมือน ไฟ / ฌาน เปรียบเหมือน แสงไฟ 

- รูปฌาน คือ ฌานตื้น มี 4 ระดับ

  + ฌาน 1 (ปฐมฌาน) มี องค์ 5 : วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคตา

  + ฌาน 2 (ทุติยะฌาน) มี องค์ 3 : ปีติ สุข เอกัคตา

  + ฌาน 3 (ตติยะฌาน) มี องค์ 2 : สุข เอกัคตา

  + ฌาน 4 (จตุตถะฌาน) มี องค์ 2  : อุเบกขา เอกัคตา

- อรูปฌาน คือ ฌานลึก มี 4 ระดับ

   + ฌาน 5 อากาสานัญจายตนะฌาน, ฌาน 6 วิญญานัญจายตนะฌาน, ฌาน 7 อากิญจัญญายตนะฌาน, ฌาน 8 เนวสัญญานาสัญญายตนะฌาน

- สมถะ คือ ความสงบของจิต เกิดความสุขสบาย

- วิปัสสนา คือ ความรู้แจ้งเห็นจริง

- ผู้เริ่มเรียนหนังสือ เหมือนเรียนสมถะไปเรื่อยๆ เมื่ออ่านหนังสือได้แล้วเป็นวิปัสสนาอ่อนๆ เมื่อแยกแยะได้แล้วเป็นวิปัสสนาแตกฉาน

- วิปัสสนาตกน้ำ คือ ข้ามขั้นตอน ลักลั่นไม่เป็นไปตามความเป็นจริง คิดว่าบรรลุแล้ว เหมือนเห็นเงาเพชรในน้ำคิดว่าเป็นของจริง เพราะแยกแยะไม่ได้

- วิปัสสณูปกิเลส เป็นกิเลสขั้นละเอียด ยากจะแยกแยะได้ ทำให้เกิดความหลงผิดว่าสำเร็จแล้ว  

- วิปัสสณูปกิเลส มี 10 ข้อ ลึกซึ้ง เช่น 

  + โอภาส แสงสว่างมองเห็นชัดเจน เหมือนบรรลุทิพยจักขุญาณ

  + ญาณ ความรู้เฉียบคม มีเหตุผล ทำนายได้ถูกต้องหมด

  + ปีติ เอิบอิ่ม เบากายเบาใจ

  + สุข ความสบายใจ ความปลอดโปร่ง เป็นไปอย่างสุขุม ประหนึ่งพ้นทุกข์เด็ดขาด

  + นิกันติ ความรู้สึกพอใจในความเป็นไปของจิต คล้ายกับพ้นอำนาจมาร

- วิทิสาสมาธิ : การทำสมาธิแบบง่ายๆ ทำครั้งละ 5 นาที 3 เวลาต่อวัน คือ เช้า กลางวัน เย็น (1 เดือนได้ 7.5 ชั่วโมง)

  + จิตจะมีพลัง เป็นผู้มีพลังจิตเพียงพอแก่การควบคุมจิตใจ มีความเบิกบาน มีสติ มีปัญญา มีหลักประพฤติดีงาม

- อัตถสาสมาธิ : นาทีทองที่จะนำสมาธิคือ ช่วงตี4-ตี5 เราพักผ่อนเพียงพ่อ จิตจึงสงบ เป็นช่วงที่พระพุทธเจ้าตรวจผู้มีบุญวาสนาก่อนออกบิณฑบาต

อาการต่อต้านสมาธิคืออะไร

ลักษณะต่อต้านสมาธิ ได้แก่ ความเจ็บปวด เมื่อย เหนื่อย หิว ความปริวิตก ความกระวนกระวาย ความหงุดหงิด อาการกิริยาเจ็บคันโดยไม่มีเหตุผล ความลังเลสงสัย ความโลภอยากได้เร็ว

เมื่อจิตเป็นสมาธิจะเกิดสิ่งใด

1. ความหมายในเชิงลักษณะผลของสมาธิ สมาธิ คือ อาการที่ใจตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวอย่างต่อเนื่อง หรืออาการที่ใจหยุดนิ่งแน่วแน่ ไม่ซัดส่ายไป มา เป็นอาการที่ใจสงบรวมเป็นหนึ่ง มีแต่ความบริสุทธิ์ผ่องใส สว่างไสวผุดขึ้นในใจจนกระทั่งสามารถเห็นความ บริสุทธิ์นั้นด้วยใจตนเอง อันจะก่อให้เกิดทั้งก าลังใจ ก าลังขวัญ ก าลังปัญญา และ ...

อุปสรรคของสมาธิคือข้อใด

อุปสรรคที่สำคัญของการเจริญสมาธิ โดยเฉพาะในระดับอุปจารสมาธิ คือ นิวรณ์ นิวรณ์ แปลว่า เครื่องกั้น เครื่องกัน หรือเครื่องขัดขวาง คือ ขัดขวางไม่ให้เราประสบความเจริญไม่ให้เราทำสมาธิได้ผล ไม่ให้เราได้รับความสุข กล่าวอีกนัยหนึ่ง นิวรณ์ คือ กิเลสที่ทำให้จิตมัวหมอง และ กันจิตไม่ให้บรรลุความดีนั่นเอง

จุดประสงค์ของการทําสมาธิคืออะไร รด

การนั่งสมาธิยึดหลักการผสานร่างกายและจิตใจเข้าด้วยกัน ทำให้ผู้ที่ทำสมาธิเกิดความรู้สึกผ่อนคลายทั้งทางกายและใจ โดยแม้จะเป็นการทำสมาธิเพียงช่วงสั้นๆ ก็มีประโยชน์ไม่น้อย และยังเป็นเทคนิคที่ช่วยในการบำบัดทางด้านจิตใจและอารมณ์ได้เป็นอย่างดี เพิ่มการตระหนักรู้ต่อสิ่งต่างๆ ตรงหน้า และการมีสติอยู่กับปัจจจุบัน