การประชาสัมพันธ์มีประโยชน์อย่างไร

ความหมายของการประชาสัมพันธ์ การประชาสัมพันธ์ (Public Relations (PR)) หมายถึง การติดต่อสื่อสารขององค์การกับกลุ่มต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จขององค์การ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขายปัจจัยการผลิต ผู้ถือหุ้น หรือลูกค้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างทัศนคติ ความเชื่อถือ และภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์การหรือผลิตภัณฑ์ ตลอดจนเป็นการให้ความรู้ในเรื่องใด เรื่องหนึ่ง หรือแก้ไขข้อผิดพลาดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

ลักษณะของการประชาสัมพันธ์ 1) เป็นการติดต่อสื่อสารทั้งโดยการใช้สื่อมวลชน และการไม่ใช้สื่อมวลชน 2) เป็นการใช้ทั้งสื่อที่ต้องจ่ายเงิน และไม่ต้องจ่ายเงิน 3) บางครั้งไม่สามารถระบุแหล่งที่มาของข่าวสารได้ 4) มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างทัศนคติ ความเชื่อถือ และภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์การหรือผลิตภัณฑ์ 5) มีกลุ่มเป้าหมายหลายกลุ่ม

บทบาทของการประชาสัมพันธ์ 1) ประกาศแจ้งความ ให้เกิดการรับรู้ 2) ให้ข้อมูลข่าวสาร เพื่อให้เข้าใจในรายละเอียด และมีความรู้ที่ถูกต้อง 3) จูงใจให้เกิดทัศนคติที่ดี เกิดการคล้อยตาม หรือเปลี่ยนพฤติกรรม 4) สร้างการยอมรับ 5) สร้างความคาดหวัง 6) เพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับฆาณาที่ภาพพจน์ไม่ค่อยดี 7) ให้การศึกษา 8) สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ด้วยการเล่าถึงภูมิหลัง ความสำเร็จของสินค้า 9) สร้างภาพพจน์ที่ดี

7) ให้การศึกษา 8) สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ด้วยการเล่าถึงภูมิหลัง ความสำเร็จของสินค้า 9) สร้างภาพพจน์ที่ดี 10) เปลี่ยนทัศนคติที่เป็นลบ 11) สร้างความรู้สึกที่ดี ด้วยการทำสิ่งที่ดีให้กับสังคม 12) สร้างความภักดี 13) เปลี่ยนกระบวนทัศน์ความคิด เพื่อสร้างทัศนคติ มุมมองใหม่ที่ดีกว่า 14) สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับกลุ่มต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความร่วมมือและการสนับสนุน

เหตุผลหรือความจำเป็นในการใช้การประชาสัมพันธ์ 1) เมื่อต้องการสร้างภาพลักษณ์ ในกรณีที่สินค้ามีความเหมือนหรือใกล้เคียงกับคู่แข่งขัน ภาพลักษณ์จะเป็นสิ่งเดียวที่สามารถสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าได้ ซึ่งต้องอาศัยการประชาสัมพันธ์เข้าช่วย เช่น รถยนต์ BMW ที่ใช้ถ่ายทำในภาพยนตร์เรื่อง เจมส์ บอนด์ เพื่อสร้างเรื่องราวว่า BMW เป็นรถยนต์สำหรับผู้ที่ฉลาด สมาร์ท ประสบความสำเร็จ

2) เมื่อมีข้อมูลข่าวสารจำนวนมากที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม เพราะการโฆษณามีเวลาจำกัด ดังนั้นจึงต้องใช้การประชาสัมพันธ์แทน โดยอยู่ในรูปของข่าว บทความ บทสัมภาษณ์ ฯลฯ เช่น Toyota จัดแถลงข่าวผู้นำยอดขายอันดับ 1 สามปีซ้อน

3) เมื่อจำเป็นต้องอธิบายบางสิ่งบางอย่าง การกระทำบางอย่างอาจมีทั้งผู้สนับสนุนและต่อต้าน จึงจำเป็นต้องอธิบายให้ทุกฝ่ายเข้าใจ เช่น รัฐบาลมีโครงการที่จะก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ ซึ่งมีผู้ไม่เห็นด้วยจำนวนมาก จึงต้องอธิบายถึงความจำเป็นโดยการประชาสัมพันธ์

4) เมื่อต้องการให้ความรู้กับบุคลล สินค้าบางประเภทจะประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อคนมีความรู้ความเข้าใจในสินค้านั้น จึงจำเป็นต้องอธิบายคุณสมบัติของสินค้าให้ทราบ

5) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความน่าเชื่อถือ การประชาสัมพันธ์สามารถสร้างความน่าเชื่อถือได้สูงกว่าโฆษณา 6) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารข่าว เนื่องจากมีนิตยสารธุรกิจเกิดขึ้นจำนวนมาก จึงต้องมีการควบคุมทิศทางการปล่อยข่าว หรือการให้สัมภาษณ์เป็นระยะ

7) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการป้องกันตนเอง การใช้การประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ จะสามารถป้องกันเมื่อธุรกิจของเราถูกกลุ่มกดกันโจมตี ต่อต้าน ทำให้คนไม่เชื่อข่าวที่เกิดขึ้น หรือคิดว่าไม่น่าจะเป็นไปได้

8) เพื่อใช้เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับผู้บริโภค ใครที่สามารถกระจายข่าวได้ดีที่สุดก็จะได้รับประสิทธิผลสูงสุด จึงต้องอาศัยการประชาสัมพันธ์เข้ามาช่วยในการติดต่อสื่อสารกับผู้บริโภค 9) ประหยัดงบประมาณ เนื่องจากราคาสื่อที่สูงขึ้น ทำให้ไม่สามารถเพิ่มความถี่ของการให้ข่าวสารด้วยการโฆษณาเพียงอย่างเดียวได้ จึงจำเป็นต้องใช้การประชาสัมพันธ์ที่มีต้นทุนที่ต่ำกว่า แต่มีประสิทธิภาพสูงกว่าแทน

10) สื่อมวลชนมีจำนวนมากขึ้นและมีเสรีภาพมากขึ้น บริษัทจำเป็นต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับสื่อมวลชนเพื่อป้องกันไม่ให้สื่อมวลชนเขียนเรื่องเสียหายเกี่ยวกับบริษัท

เครื่องมือการประชาสัมพันธ์ 1) การให้ข่าว เป็นการเสนอข่าวที่น่าสนใจเกี่ยวกับบริษัท ผลิตภัณฑ์ หรือบุคคลของบริษัท โดยผ่านสื่อกระจายเสียง หรือสื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งตามทฤษฎีแล้วไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย สามารถสร้างความเชื่อถือได้สูง เนื่องจากเกิดจากสื่อมวลชนไม่ใช่บุคคล

2) การสัมภาษณ์ เป็นการพูดคุยกับบุคคลที่น่าสนใจเพื่อสอบถามถึงเรื่องราวต่าง ๆ ซึ่งมีหลายรูปแบ

3) สื่อมวลชนสัมพันธ์ ถือเป็นรากฐานของการประชาสัมพันธ์ บริษัทต้องพยายามสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับสื่อมวลชน เพื่อให้สื่อมวลชนเสนอข่าวด้านบวก หลักในการสร้างสื่อมวลชนสัมพันธ์มีดังนี้ 3.1 ทำรายชื่อสื่อมวลชนให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ 3.2 ให้ความร่วมมือในการให้ข่าว 3.3 พยายามจัดสรรผู้บริหารระดับสูงในการให้สัมภาษณ์ 3.4 ให้ความสำคัญกับสื่อทุกสื่อโดยเสมอภาคกัน

3.5 การแจกของตัวอย่างสื่อมวลชน 3.6 การเยี่ยมเยียนสื่อมวลชน 3.7 การเชิญสื่อมวลชนรับประทานอาหารเป็ฯครั้งคราว 3.8 ไม่ข้ามสายการบังคับบัญชา 3.9 รักษาสัมพันธไมตรีที่ดีให้ยาวนาน 3.10 การสนับสนุนกิจกรรมของสื่อมวลชน

4) ชุมชนสัมพันธ์ ชุมชนมีปฏิกิริยา โดยใส่ใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนมากขึ้น ดังนั้น การที่นักธุรกิจจะไปทำกิจกรรมอะไรในชุมชน จะต้องคำนึงถึงความต้องการของชุมชนด้วย หลักในการสร้างชุมชนสัมพันธ์มีดังนี้ 4.1 ชุมชนต้องการให้ทำชุมชนให้สวยงาม อาจจัดกิจกรรม เช่น ปลูกต้นไม้ จัดสวนหย่อม

4.2 ชุมชนต้องการการมีส่วนร่วมจากผู้บริหารระดับสูง มาร่วมในงานพิธีต่าง ๆ หรือต้องการความช่วยเหลือด้านอื่น ๆ เช่น การจัดเต๊นท์ มีน้ำแจก

4.3 ชุมชนต้องการงาน บริษัทควรจ้างแรงงานในท้องถิ่น เพื่อเป็นการสร้างงานให้กับท้องถิ่น 4.4 ชุมชนต้องการความปลอดภัย เช่น มีระบบควบคุมมลพิษทางอากาศ ระบบบำบัดน้ำเสีย กำจัดของเสีย ต่อเติมอาคารอย่างถูกต้อง เป็นต้น

4.5 คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ต้องไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังควรมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาให้กับชุมชนด้วย

4.5 การพัฒนาชุมชน บริษัทต้องมีส่วนช่วยในการพัฒนาชุมชนให้เจริญขึ้น เปลี่ยนชุมชนที่ซบเซาให้กลายเป็นศูนย์กลางของธุรกิจ

5) การทำกิจกรรมสาธารณะ และโครงการสาธารณะ เป็นการทำกิจกรรมที่ให้ประโยชน์กับชุมชน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความรับผิดชอบของบริษัทที่มีต่อสังคม ถือเป็นการคืนกำไรให้กับสังคม เหมาะกับธุรกิจหรือองค์กรบางประเภทที่มีภาพลักษณ์เป็นลบได้ง่าย โดยสามารถจัดกลุ่มกิจกรรมได้ดังนี้

5.1 โครงการเด็ก เช่น โครงการอาหารกลางวัน โครงการสนามเด็กเล่น 5.2 โครงการสิทธิสตรี เช่น โครงการช่วยเหลือหญิงที่ถูกทารุณกรรม 5.3 โครงการสำหรับผู้สูงอายุ เช่น โครงการเยี่ยมเยียนผู้สูงอายุที่ถูกลูกหลายทอดทิ้ง

5.4 โครงการกีฬา เช่น การแข่งขันฟุตบอลการกุศล 5.5 โครงการศึกษา เช่น การมอบทุนการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชน

5.6 โครงการศาสนา เช่น โครงการอุปสมบทหมู่ ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า

5.7 โครงการสิ่งแวดล้อม เช่น โครงการแก้ปัญหาน้ำเน่า ขยะมูลฝอย

5.8 โครงการศิลปวัฒนธรรม เช่น โครงการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย การใช้ และแต่งกายด้วยผ้าไทย 5.9 โครงการเพื่อความปลอดภัย และสวัสดิภาพ เช่น โครงการถนนสีขาวของ โตโยต้า

5.10 โครงการเพื่อพัฒนาอาชีพ เนื่องจากบางอาชีพของท้องถิ่นกำลังจะสูญหาย จึงควรอนุรกษ์ไว้ เช่น การทำเครื่องปั้นดินเผาของจังหวัดนนทบุรี 5.11 โครงการร่วมกับรัฐบาล เป็นการเข้าร่วมกิจกรรมกับรัฐบาล เนื่องจากรัฐบาลมีงบประมาณไม่เพียงพอต่อการดำเนินงาน รัฐบาลจึงต้องการได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน

6) การจัดกิจกรรมพิเศษ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทุกคนได้มีส่วนร่วม เกิดการตอบสนอง และสามารถวัดผลของการกระทำได้ ตลอดจนก่อให้เกิดการครอบคลุมจากสื่อได้ดีมาก เช่น การจัดสัมมนา การจัดนิทรรศการ การจัดแรลลี่

8) การบริหารข่าวเชิงกลยุทธ์ โดยการควบคุมทิศทางการปล่อยข่าวหรือการให้สัมภาษณ์ทางการปล่อยข่าวหรือการให้สัมภาษณ์เป็นระยะ ๆ ตามความเหมาะสม หลักการง่าย ๆ ของการบริหารข่าวเชิงกลยุทธ์ คือ สิ่งใดที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับเราต้องเผยแพร่ สิ่งใดที่เป็นโทษต้องป้องกันมิให้มีการเผยแพร่โดยเด็ดขาด

9) การบริหารภาวะวิกฤต หมายถึง ปรากฎการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน หลักในการบริหารภาวะวิกฤต คือ เมื่อเกิดเหตุการณ์วิกฤตขึ้นจะต้องแก้ปัญหาทันทีโดยไม่มีการล่าข้า ต้องรีบออกมาแถลงข่าว อย่าหลบหน้า ทำให้สถานการณ์เลวร้ายไปกว่าเดิม และต้องแสดงความรับผิดชอบอย่างจริงจัง

10) การเป็นผู้สนับสนุน หมายถึง การให้การสนับสนุนกิจกรรมพิเศษเพื่อให้สามารถจัดขึ้นได้ อาทิ การสนับสนุนกิจกรรมกีฬา บันทิง ศิลปะวัฒนธรรม และวิชาการ

11) การกุศล เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับบริษัทและผลิตภัณฑ์ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของการก่อตั้งมูลนิธิ ที่มึความสอดคล้องกับธุรกิจ

เหตุใดจึงต้องเขียนโฆษณาประชาสัมพันธ์ตามความเป็นจริง

๑.เพื่อบอกกล่าว เผยแพร่ให้ความรู้ และแจ้งข่าวสารของหน่วยงานให้บุคคลทั่วไปได้ทราบ ๒. เพื่อป้องกันและแก้ไขความเข้าใจผิด การให้ความรู้และสร้างทัศนคติให้ประชาชนทราบอย่างสม่ำเสมอ ๓. เพื่อสำรวจตรวจสอบกระแสประชามติ ๔. เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดี นำไปสู่ชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของหน่วยงาน

การประชาสัมพันธ์คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร

การประชาสัมพันธ์ (Public Relation) เป็นการติดต่อสื่อสารจาก องค์การไปสู่สาธารณชนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงรับฟังความคิดเห็นและ ประชามติจากสาธารณชนที่มีต่อองค์การ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง ความเชื่อถือ ภาพลักษณ์ ความรู้ และแก้ไขข้อผิดพลาดในเรื่องใดเรื่อง หนึ่ง

งานประชาสัมพันธ์มีความสำคัญอย่างไร

การประชาสัมพันธ์ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดี ให้เกิดขึ้นแก่หน่วยงานสินค้า และบริการ ท าให้ประชาชน เกิดความนิยมและไว้วางใจหน่วยงาน และเกิดนิยมสินค้าและบริการ รวมทั้งได้รับการสนับสนุนในการด าเนินงาน จากกกลุ่มต่าง ๆ การประชาสัมพันธ์ที่ดีท าให้ความสัมพันธ์ภายในหน่วยงานเป็นไปด้วยความราบรื่น และเกิดการ แข่งขันในระบบเศรษฐกิจเสรี ...

การประชาสัมพันธ์มีลักษณะเด่นอย่างไร

ลักษณะของการประชาสัมพันธ์มีดังต่อไปนี้ การประชาสัมพันธ์เป็นการสื่อสารสองทาง (Two-way communication) เป็นการสื่อสารจากผู้ส่งไปยัง ผู้รับเกี่ยวกับข่าวสารขององค์การที่ต้องการสื่อสารให้สาธารณชนรับทราบ และเข้าใจ และยังเป็น การสื่อสารย้อนกลับจากผู้รับ คือ สาธารณชน ไปยังองค์การเกี่ยวกับความคิดเห็นที่เกี่ยวกับองค์การ