การบานท่อ 2 ชั้น มี ประโยชน์ อย่างไร

 Flaring Tool with Tube Cutter KING EAGLE ชุดบานแฟร์พร้อมลูกบานแป๊ป 2 ชั้น ครบชุด ลูกบานแป๊ป 2 ชั้น 5 ขนาด 3/16", 1/4", 5/16", 3/8", 1/2" ในชุดมาพร้อมตัวตัดท่อทองแดง

การใช้งาน ชุดบานแป๊ปท่อ 2 ชั้น เพื่อสร้างปลายท่อทองแดงให้มีคุณสมบัติในการยึดเข้ากับข้อต่อ เริ่มด้วยการนำท่อที่ต้องการบานท่อใส่เข้ามาในอุปกรณ์ล็อคซึ่งในอุปกรณ์ล็อคนี้จะระบุขนาดท่อ หลังจากใส่แล้วให้ล็อคให้แน่น สร้างข้อพับแรกโดยใช้อะแดปเตอร์สีดำที่ให้มาในชุดสวมเข้าไปตรงปลายที่ต้องการบาน นำตัวขันเพื่อบานล็อคเข้ากับอุปกรณ์ล็อคแล้วจึงเริ่มทำการหมุนให้แน่น เมื่อถอดอะแดปเตอร์ออกจะเห็นท่อถูกบานเข้ามาในท่อ จากนั้นหมุนตัวบานอีกครั้งหลังจากเอาอะแดปเตอร์ออกแล้วเพื่อบานชั้นที่2 ทำเหมือนเดิมคือหมุนตัวบานให้แน่น หลังจากนั้นจึงคลายตัวบานและถอดตัวล็อคออก 

ในขั้นตอนการติดตั้งเครื่องปรับอากาศหรือแอร์ การทำให้ท่อพาความเย็น/ท่อแอร์ สามารถพาน้ำยาแอร์ไหลไปได้อย่างครบวงจรจะทำได้ดีขึ้นหรือไม่นั้นล้วนอยู่กับฝีมือช่างผู้ชำนาญ และวิธีดูแลเอาใจใส่ท่ออย่างถูกต้องเหมาะสม ซึ่งนับเป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้ระบบการทำความเย็นในเครื่องปรับอากาศ สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงได้อย่างแท้จริง

ชนิดของท่อพาความเย็นในเครื่องปรับอากาศ

ท่อพาความเย็นในเครื่องปรับอากาศสามารถใช้ได้ดี โดยแบ่งออกตามลักษณะภายนอกของท่อได้เป็น 2 แบบคือ

  • ท่อแบบแข็งเช่น ท่อแสตนเลส ท่อทองแดง
  • ท่อแบบอ่อน เช่น ท่ออลูมิเนียม ท่อทองแดงอ่อนหรือจะเป็นโลหะผสมที่มีลักษณะอ่อนนิ่มงอได้

การใช้ท่อพาความเย็นควรคำนึงถึงความยากง่ายในการหาซื้อ ราคาที่เหมาะสม ความแข็งหรืออ่อนของท่อที่จะใช้ต่อกัน ส่วนใหญ่ท่อแอร์จะแถมมากับเครื่องปรับอากาศ ดยมีระยะความยาวท่อให้แล้ว 4 เมตร ซึ่งถือเป็นระยะในการติดตั้งที่เหมาะสมที่สุด โดยมักนิยมใช้ขนาดที่มีขายอยู่ทั่วไปคือ ขนาด 25-30 ฟุต

วิธีการตัดท่อแอร์เย็นที่ถูกต้อง

เมื่อเลือกหาท่อที่จะนำมาใช้ต่อได้แล้ว ก็จะนำมาตัดเพื่อต่อด้วยขนาดที่เหมาะสมกล่าวคือ หากเป็นท่อชนิดอ่อน อุปกรณ์ที่ใช้ตัดที่ดีก็ควรใช้คัตเตอร์ตัดท่อ หากเป็นท่อแสตนเลสที่มีความหนามาก และเส้นผ่าศูนย์กลางมีขนาดใหญ่ก็ควรตัดด้วยเลื่อยมือหรือเบนเดอร์ตัดท่อแบบหนา

1. การตัดด้วยคัทเตอร์

หากต้องการจุดตัดที่มีความยาวเท่าใดหรือตำแหน่งใด ให้ทำเครื่องหมายที่จุดที่ต้องการนั้นๆ ให้ชัดเจน แล้ววางท่อในร่องนำคัทเตอร์ หมุนมือให้ใบตัดคัทเตอร์กดลงบนท่อจนครบรอบท่อนั้นๆ จากนั้นหมุนมือเพื่อให้ใบตัด ตัดเนื้อท่อจนกว่าจะขาดออกจากกันโดยหมุนประมาณ 1/16 ของมือหมุน

การบานท่อ 2 ชั้น มี ประโยชน์ อย่างไร

2. การตัดด้วยใบเลื่อย

เช่นเดียวกับการตัดด้วยคัทเตอร์ด้วยการทำเครื่องหมายในจุดที่ต้องการ แล้วใช้ปากกาจับงานกลมจับไว้ก่อนใช้ใบเลื่อยแบบมือเลื่อยจนขาด เมื่อผนังท่อทะลุแล้วก็หมุนท่อตัดให้ขาดโดยรอบ

ซึ่งทั้ง 2 วิธีนี้ เมื่อตัดท่อเรียบร้อยแล้วจะต้องรีมท่อให้เรียบร้อยด้วยรีมเมอร์ท่อทุกครั้งเพื่อให้รูของท่อที่ตัดมีขนาดเท่าเดิม

วิธีการบานปลายท่อ (Flair Tubing)

การบานท่อ 2 ชั้น มี ประโยชน์ อย่างไร

เมื่อท่อขาดออกจากกันแล้วการบานปลายท่อของท่อทองแดงเพื่อให้บานรับเข้ากับบ่าของเกลียวนอก และเพื่อให้ท่อทองแดงเข้ากับระบบทำความเย็นก็สำคัญ โดยจะต้องใช้ตัวนัท (Fare Nut) ทำการกวดอัด เนื่องจากเป็นเครื่องที่ใช้เฉพาะซึ่งจะประกอบไปด้วยแท่นจับท่อ (Flare Nut) ซึ่งแท่นจับท่อนี้จะมีหลายขนาด พอเหมาะกับขนาดท่อที่ต้องการบานท่อ หลังจากจับแล้ว ให้ใช้ตัวบานท่อ (Flaring nut) กดลงไปที่ท่อ โดยให้ท่อเลยพ้นออกมา เรียกว่าการบานเพียงชั้นเดียว การบานท่อนี้สามารถทำได้ 2 ชั้นและใช้การขยายท่อ (Swage) ก็ได้ ซึ่งการบานท่อ 2 ชั้นและการขยายท่อก็ใช้อุปกรณ์การบานท่อ (Flaring nut) เหมือนกัน แต่การบานท่อ 2 ชั้นจะต้องใช้ Adapter เพิ่มเข้ามาร่วมด้วยอีกตัว

การบานท่อเป็นการทำให้สามารถต่อท่อทำความเย็นให้เข้ากับระบบได้ แต่การขยายท่อนั้นเป็นการทำท่อที่มีขนาดเท่ากันสามารถสวมให้เข้ากันได้ อีกทั้งยังเป็นการลดวิธีเชื่อมและยังคงมีความคงทนกว่าการที่จะนำท่อมาชนต่อกันแบบธรรมดา หากทำถูกวิธีการตัดท่อ การบานท่อหรือขยายท่อก็จะไม่เกิดปัญหาต่อเครื่องปรับอากาศอย่างแน่นอน

2.การขันแฟร์ตึงเกินไป หรือหย่อนเกินไป ระยะการบานแฟร์ที่เหมาะสม ขึ้นกับขนาดท่อที่จะบาน โดยใส่ท่อเข้ารูของชุดบานแฟร์ ให้ปลายท่อโผล่ออกด้านที่เป็นสโลบ โดยให้ระยะที่ท่อโผล่ออกสูงกว่าขอบด้านบนของรู ดังนี้ ท่อ 1/4 นิ้ว , 3/8 นื้ว , 1/2 นิ้ว โผล่ประมาณ 0.5 มม. ท่อ 5/8 นิ้ว โผล่ประมาณ 1.0 มม. ท่อ 3/4 นิ้ว โผล่ประมาณ 1.0-1.3 มม. การเลือกชุดบานแฟร์ ก็สำคัญ ต้องดูให้ดีตอนซื้อ รูต้องกลม ถ้าไม่กลมเวลาบานจะไม่เรียบ เป็นสาเหตุทำให้รั่วซึมได้ ส่วนการขันแฟร์คงต้องอาศัยประสบการณ์ เพราะตึงของแต่ละคนขึ้นกับแรงของคนๆนั้น และถ้าจะให้ดี ก่อนขันแฟร์ให้หยดน้ำมันคอมเพรสเซอร์ ที่เกลียวแฟล์สัก 1-2 หยดด้วย

ท่อทองแดง เป็นหนึ่งในวัสดุหลักที่ถูกนำมาใช้ในการผลิตชิ้นส่วน สำหรับงานโครงสร้าง งานระบบ และเพื่อเป็นอุปกรณ์ภายในเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ซึ่งชิ้นส่วนหลักที่เรามักพบเห็นในงานเหล่านี้ก็คือท่อทองแดง และชิ้นส่วนสำหรับ Fitting นั่นเอง วันนี้ UDIRONS จึงขอนำความรู้เรื่องท่อทองแดงแต่ละแบบ มาฝากทุกท่านครับ

สารบัญ

ท่อทองแดงคืออะไร

ท่อทองแดง ผลิตมาจากทองแดง หรือโลหะผสมทองแดง ถูกนำมาใช้เป็นวัสดุทางวิศวกรรมหลายด้าน เนื่องจากมีคุณสมบัตินำไฟฟ้า มีความแข็งแรง ทนทาน ต้านทานการกัดกร่อน สามารถนำไปแปรรูป บิด บาน ได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน นอกจากนี้เรายังสามารถเพิ่มคุณสมบัติของท่อทองแดงให้เหมาะสม กับลักษณะงานที่นำไปใช้อีกด้วย

การบานท่อ 2 ชั้น มี ประโยชน์ อย่างไร

ลักษณะของท่อทองแดง

ท่อทองแดงมีหลายรูปแบบ ทั้งแบบไปป์ม้วนและท่อกลมยาว มีขนาดแตกต่างกันออกไปตามรุ่น และประเภท ส่วนสีของท่อทองแดงมักมีสีทองแดง (Copper) แต่นอกจากนี้ก็อาจขึ้นอยู่กับอัลลอยด์ที่นำมาเป็นส่วนประกอบ ซึ่งสารประกอบเหล่านี้ ทำให้ท่อทองแดงมีหลายสี เช่น สีชมพู สีทอง สีเหลือง และสีเขียว นอกจากนี้หากมีการสัมผัสกับอากาศ ก็อาจทำให้ท่อทองแดงเปลี่ยนเป็นสีบรอนซ์ดำ หรือสีสนิมจากการเกิดออกซิเดชั่นได้เช่นกัน

ดังนั้นการเลือกท่อทองแดง จึงต้องให้ความสำคัญกับสารที่นำมาใช้ ในกระบวนการผลิตด้วยเพื่อให้ได้ท่อ และอุปกรณ์ Fitting ที่มีคุณภาพเหมาะสม กับการนำไปใช้ในงานโครงสร้างของเรามากที่สุด ท่อทองแดงเป็นอุปกรณ์ที่ถูกนำมาใช้ ในงานระบบปรับอาการ และงานระบบอื่นๆ มักใช้ เพื่อเป็นท่อนำน้ำยาแอร์หรือสารทำความเย็น ส่วนใหญ่ท่อทองแดงที่เราใช้แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

  • ท่อทองแดงแบบ K หรือ Type K เป็นท่อที่เรานำมาใช้งานกับระบบปรับอากาศ และระบบน้ำยาทำความเย็นได้ เพราะมีความหนามากที่สุดในบรรดาท่อทองแดงทั้งหมด
  • ท่อทองแดงแบบ L หรือ Type L เป็นท่อที่มีความหนาปานกลาง คุณสมบัติคล้ายกับท่อทองแดงแบบ K สามารถใช้กับระบบทำความเย็นได้เหมือนกัน
  • ท่อทองแดงแบบ M หรือ Type M เป็นท่อทองแดงแบบบาง นิยมใช้ในงานเดินท่อภายนอกระบบปรับอากาศ ไม่เหมาะกับงานภายใน

และนี่ก็คือความแตกต่างของท่อทองแดงแต่ละประเภท ที่นิยมนำมาใช้ในงานระบบปรับอากาศ หรือการเดินระบบแอร์ทั้งภายในบ้าน และอาคารครับ โดยท่อแต่ละแบบก็มีขนาด และความหนาแตกต่างกันออกไป ก่อนเลือกใช้จึงต้องซื้อให้ถูกประเภท โดยเลือกท่อทองแดงที่มีความหนา เหมาะสมกับงานโครงสร้าง ที่เราต้องการนำไปใช้นะครับ

หากสนใจซื้อท่อทองแดง แต่ยังไม่มั่นใจว่าต้องเลือกซื้อรุ่นไหน แบบใด และใช้ปริมาณเท่าไร ปรึกษาทีมงาน UDIRONS ได้ทุกวัน และเวลาทำการ เพราะเราคือผู้จัดจำหน่ายท่อทองแดง และอุปกรณ์ Fitting คุณภาพสูงสำหรับงานโครงสร้าง และงานระบบทุกประเภทครับ

สินค้าพร้อมจำหน่วย สนใจกดดูรายละเอียดได้เลย

  • การบานท่อ 2 ชั้น มี ประโยชน์ อย่างไร
    ยูเนียน 400 ฿6,100 ฿
  • การบานท่อ 2 ชั้น มี ประโยชน์ อย่างไร
    ข้องอทองแดง 90 30 ฿2,500 ฿
  • การบานท่อ 2 ชั้น มี ประโยชน์ อย่างไร
    พีแทรป 470 ฿3,800 ฿

  • ท่อทองแดงม้วน มีกี่ประเภท
  • มาทำความรู้จักกับ aeroflex

กลับสู่สารบัญ

คุณสมบัติเฉพาะของท่อทองแดง

การบานท่อ 2 ชั้น มี ประโยชน์ อย่างไร

ท่อทองแดงเป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติที่ดีในการนำมาใช้ และการใช้กับงานระบบ และโครงสร้าง ดังนี้

1. ท่อทองแดงกับคุณสมบัติการนำความร้อน

ท่อทองแดงมีคุณสมบัติการนำความร้อนได้ดี ซึ่งคุณสมบัตินี้จะเปลี่ยนไปตามปริมาณอัลลอยด์ที่ใช้ในการผลิต มันสามารถนำความร้อน และอุณหภูมิได้ดีพอๆ กับการนำไฟฟ้า

2. ท่อทองแดงมีคุณสมบัติการนำไฟฟ้า

ในบรรดาโลหะวิศวกรรมและวัสดุงานอะไหล่ทั้งหมด ทองแดงคือวัสดุที่นิยมนำมาใช้ในการนำไฟฟ้ามากที่สุด ท่อทองแดงเองก็มีคุณสมบัติดังกล่าวนี้เช่นกัน ส่วนกรณีที่ไม่ต้องการให้ท่อทองแดงอ่อนตัว อาจใช้วิธีเพิ่มโลหะเงินผสมเข้าไป เพื่อให้ท่อทองแดงมีความแข็งมากขึ้น และไม่เสียสภาพเมื่อนำไฟฟ้า

3. ท่อทองแดงกับคุณสมบัติต้านทานการกัดกร่อน

อีกหนึ่งคุณสมบัติ ที่ทำให้ท่อทองแดงถูกนำไปใช้ในงานระบบ โดยเฉพาะระบบปรับอากาศได้ดีก็คือ ความสามารถในการต้านทานการกัดกร่อน ทำให้มันถูกนำไปใช้ในการประกอบเครื่องปรับอากาศ เครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม ไปจนถึงระบบงานต่างๆ อีกหลากหลายงาน

แต่อย่างไรก็ตามท่อทองแดงไม่ทนต่อสารเคมีประเภทฮาโลเจน แอมโมเนีย และซัลไฟด์นะครับ เนื่องจากกรดเหล่านี้มีฤทธิ์ในการกัดกร่อนทองแดง แต่เราก็อาจเพิ่มความทนทานให้ท่อทองแดงมากขึ้น ด้วยการเคลือบฟิล์มป้องกันการกัดกร่อน

การเพิ่มความแข็งให้กับท่อทองแดง

เราสามารถเพิ่มความแข็งให้กับท่อทองแดงได้ 4 วิธี คือ

  • การทำให้เกิดสารประกอบขนาดเล็ก
  • การทำให้เกิดการจายตัวในเฟสสอง
  • การเพิ่มสารละลายของแข็ง
  • และการเพิ่มความเครียดให้กับทองแดง

แต่วิธีเหล่านี้ มักเป็นกระบวนการขั้นสูงตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตครับ

การทำให้ท่อทองแดงอ่อนตัว

การจะทำให้ทองแดงเกิดการอ่อนตัวนั้น ทำได้ด้วยกระบวนการอบ เพื่อให้อ่อน หรืออาจจะใช้วิธีเชื่อมท่อทองแดงก็ได้ จากที่กล่าวมาหลายๆ ท่านคงพอเห็นภาพแล้วว่า เพราะเหตุใด ท่อทองแดง จึงกลายเป็นวัสดุที่ได้รับความนิยม ในการนำมาใช้กับงานโครงสร้าง และระบบปรับอากาศ ไปจนถึงงานที่ต้องเจอกับน้ำ ของเหลว หรือความชื้น รวมถึงงานที่ต้องพึ่งคุณสมบัติการนำไฟฟ้า และการนำความร้อนครับ

การตัดท่อทองแดง

ท่อทองแดงเป็นส่วนสำคัญ ของระบบโครงสร้าง และระบบทำความเย็น แต่การทำงานของระบบเหล่านี้ จะมีคุณภาพ และประสิทธิภาพมากแค่ไหนนั้น ก็ขึ้นอยู่กับฝีมือการดูแล และติดตั้งระบบโครงสร้างเหล่านี้ โดยท่อทองแดงก็เป็นส่วนสำคัญ ที่ขาดไม่ได้ของโครงสร้างเหล่านี้ ในการทำหน้าที่พาสารทำความเย็นไปสู่วงจรต่างๆ ของระบบ ด้วยเหตุนี้เองการเลือกท่อทองแดงให้ถูกชนิด ขนาด และประเภทจึงเป็นสิ่งสำคัญ นอกจากนี้การตัดแต่ง และดัดท่อ เพื่อให้มีขนาด และรูปร่างเหมาะสม กับโครงสร้างตามที่เราต้องการ จึงเป็นทักษะที่ช่างหลายคนควรมีครับ

การตัดท่อทองแดง สามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งวิธีที่ดีที่สุด ในการตัดท่อทองแดงประเภทอบอ่อนก็คือใช้คัทเตอร์ (Tube Cutter) แต่นอกจากนี้ ก็ยังมีอีกหลายวิธีที่ใช้ตัดท่อทองแดงได้เหมือนกัน หลังจากตัดท่อทองแดงแล้ว จะต้องทำการรีมท่อที่ตัดแล้ว ด้วยรีมเมอร์ท่อ หรือด้วยรีมเมอร์ที่ติดอยู่กับคัทเตอร์ด้วยครับ

การบานท่อ 2 ชั้น มี ประโยชน์ อย่างไร

การใช้คัทเตอร์ตัดท่อทองแดง

  • ก่อนอื่นเริ่มจากการทำเครื่องหมาย ที่ตำแหน่งที่เราต้องการตัด จากนั้นวางท่อทองแดงลงในร่องนำคัทเตอร์ แล้วจึงหมุนมือหมุน จนกระทั่งใบตัดกดลงบนท่อทองแดง หมุนคัทเตอร์ต่อไปจนใบมีดตัดเนื้อท่อประมาณ 1/16 รอบของมือหมุน และหมุนคัทเตอร์ให้รอบท่อ หมุนไปเรื่อยๆ จนกระทั่งท่อทองแดงขาดออกจากกัน

การใช้เลื่อยตัดท่อทองแดง

  • เริ่มต้นจากการทำเครื่องหมายบริเวณที่จะตัดเช่นเดียวกัน จากนั้นจับท่อที่ต้องการตัดให้แน่น และตัดด้วยเลื่อยมือ จนเลื่อยกินเข้าไปในเนื้อท่อ ค่อยๆ หมุนท่อจนตัดครบรอบ และท่อทองแดงขาดออกจากกัน

ข้อควรระวังในการตัดท่อทองแดง

  • หลังการตัดท่อทองแดงทุกครั้ง ให้ทำการรีมด้วยรีมเมอร์ เพื่อให้รูของท่อที่ตัดมีขนาดเท่าเดิม เพราะเราต้องระวังไม่ให้รูของท่อทองแดงตัน ท่อส่วนที่เหลือ อาจใช้จุกพสาสติกครอบปลายท่อที่ม้วนเรียบร้อยแล้ว เพื่อป้องกันสิ่งสกปรก และฝุ่นละอองเข้าไปอุดตัน

การดัดท่อทองแดง

การดัดท่อทองแดงเป็นการเปลี่ยนรูปท่อ เพื่อให้ได้ทิศทาง หรือรูปร่างตามที่ต้องการ เครื่องมือที่ใช้ในการดัด หรืองอท่อทองแดงมี 2 ชนิดคือ ชนิดสปริง (spring Type) เป็นอุปกรณ์การดัดสำหรับงานที่ไม่ต้องการองศาแน่นอน ส่วนอีกชนิดคือเครื่องดัดแบบกลไก หรือกระเดื่อง (Lever Type Bender) เป็นอุปกรณ์ที่เหมาะกับงานที่ต้องการองศา หรือความโค้งที่แน่นอน เพราะเครื่องดัดแบบนี้ จะมีตัวช่วยบอกองศาอยู่ที่เครื่องมือ

การตัดหรือดัดท่อทองแดงให้ได้ขนาด ทิศทาง หรือรูปร่างที่ต้องการนั้นมีความสำคัญในการทำงานอย่างมาก เพราะฉะนั้นช่างจึงต้องมีความชำนาญในระดับหนึ่ง เพื่อการตัดและดัดท่อทองแดงที่แม่นยำครับ การทำงานกับท่อทองแดงมีหลายลักษณะ ก่อนเราจะนำท่อทองแดงไปใช้อาจต้องผ่านการตัด ดัด บิดเพื่อให้ท่อโค้งงอในองศาที่ต้องการ และมีขนาดที่เหมาะสม แต่นอกจากเทคนิคข้างต้นแล้ว ยังมีการบานท่อทองแดง และการบัดกรีอีกด้วย

การบานท่อทองแดง (Flair Tubing)

การบานท่อทองแดงเป็นการขยายท่อให้มีขนาดเข้ากับระบบทำความเย็น โดยการเอาท่อทองแดงเข้ากับเกลียวนอก และทำการบานท่อให้รับกับบ่าของเกลียวนอกนั้นพอดี โดยการใช้นัท (Fare Nut) ในการอัด ก่อนอื่นต้องนำท่อไปยึดไว้กับแท่นจับท่อ ซึ่งมีรูหลายขนาด และมีขนาดบอกไว้ สำหรับจับท่อทองแดงแต่ละขนาดตามที่เราต้องการ

หลังจากที่จับท่อไว้ด้วยแท่นนี้แล้ว ก็ให้ใช้ตัวบานท่อ (Flaring nut) กดท่อที่พ้นแท่นจับมา การบานในลักษณะนี้เรียกว่า การบานท่อชั้นเดียว โดยให้ท่อพ้นออกมาประมาณหนึ่งในสามของความสูงรอบหลุม นอกจากการบานท่อชั้นเดียวแล้ว ยังมีเทคนิคการบานท่อ 2 ชั้น และการขยายท่อ (Swage) อีกด้วย ซึ่งการบานท่อ 2 ชั้น จะใช้เครื่องมือ Adapter ร่วมด้วย

ส่วนข้อควรระวังในการบานท่อก็คือ อย่าลืมใส่นัท (Flare nut) เข้าไปก่อนจะทำการบานท่อทั้งชั้นเดียวและสองชั้น เพราะหลังจากการทำการบานท่อแล้ว เราจะใส่นัทเข้าไปไม่ได้นั่นเอง

การบานท่อ 2 ชั้น มี ประโยชน์ อย่างไร

การบัดกรีอ่อน (Soft Soldering) ท่อทองแดง

การบัดกรีคือการประสานโลหะสองชิ้นเข้าด้วยกัน โดยใช้โลหะอื่น ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าทำละลาย และเชื่อมเอาไว้เป็นตัวประสานรอยต่อเข้าด้วยกัน

ขั้นตอนการบัดกรีท่อ

ทำความสะอาคผิวของท่อทองแดงที่เราต้องการ โดยใช้กระดาษทราย หรือแปรงขัดผิว อาจทำความสะอาด ด้วยวิธีการใช้สารเคมี คือประเภทฟลักซ์ เพื่อขจัดออกไซด์ที่ผิวออกไป ด้วย ระยะห่างระหว่างท่อที่สวมต่อกัน จะต้องคับแน่นพอดี สามารถออกแรงดันด้วยมือเพียงเล็กน้อย เพื่อสวมท่อสองชิ้นเข้าด้วยกัน การให้ความร้อนสามารถทำได้ด้วยหัวเชื่อม โดยให้ความร้อนแก่ท่อทั้งสองชิ้นก่อน จากนั้นจึงให้ความร้อนแก่ตะกั่วบัดกรี เมื่อตะกั่วละลายก็จะไหลไปตาม และทำการเชื่อมประสานรอยนั้นเอาไว้ การให้ความร้อนต้องทำอย่างระมัดระวัง เพื่อให้ตะกั่วไหลซึม และประสานเนื้องานของเราได้ดี

เทคนิคการทำงานเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้เป็นวิธีการทำงานที่ช่างหลายคนต้องเจอเมื่อทำงานโครงสร้าง งานระบบ ที่ต้องอาศัยท่อทองแดง หรือวัสดุงานช่างอื่นๆ ครับ

กลับสู่สารบัญ

การเลือกร้านจำหน่ายท่อทองแดง และอุปกรณ์ Fitting

ท่อทองแดงคือวัสดุสำคัญในงานช่าง และงานระบบโครงสร้างต่างๆ มันจึงกลายเป็นวัสดุที่ขาดไม่ได้ ทั้งสำหรับการก่อสร้างและงานวางระบบภายในอาคาร แต่การเลือกซื้อท่อทองแดงสำหรับงานระบบแต่ละครั้ง อาจต้องใช้ทั้งตัวท่อและอุปกรณ์ Fitting จำนวนมาก การเลือกซื้ออุปกรณ์เหล่านี้จากร้านที่ไว้ใจได้ และน่าเชื่อถือ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่มองข้ามไปไม่ได้

การบานท่อ 2 ชั้น มี ประโยชน์ อย่างไร

1. เลือกร้านจำหน่ายท่อทองแดง ที่มีความรู้เฉพาะด้าน

การเลือกร้านที่มีความรู้ทั้งด้านงานช่าง โครงสร้าง หรืองานระบบภายในโดยเฉพาะ จะดีกว่าการเลือกซื้อจากร้านค้าทั่วไป เพราะหากเราเกิดข้อสงสัยหรือไม่แน่ใจว่า ควรเลือกใช้งานท่อทองแดงเบอร์อะไร หรือควรใช้อุปกรณ์ Fitting ชิ้นไหนกับงานของเรา พนักงานของร้านที่มีความรู้ และความเข้าใจในงานด้านนี้ ก็จะสามารถให้คำแนะนำแก่เราได้ครับ

2. เลือกร้านที่วัสดุมีคุณภาพ

เรื่องของวัสดุอาจดูกันยาก ยิ่งปัจจุบันที่การสั่งซื้อเป็นการซื้อของออนไลน์ ก็ยิ่งยากเข้าไปใหญ่ แต่ก็มีเคล็ดลับอยู่เล็กน้อยครับ นั่นก็คือเลือกจาก แบรนด์ท่อทองแดง ชั้นนำ ใช่แล้วครับ แบรนด์สินค้าเป็นตัวช่วยชั้นดี เพราะส่วนใหญ่แบรนด์เหล่านี้ มักเป็นสินค้าที่ได้รับอนุมัติ ให้นำไปใช้ติดตั้งในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่

เนื่องจากผลิตจากวัสดุทองแดงที่มีคุณภาพสูง และผลิตตามมาตรฐานสากล ASTM-B88 ซึ่งช่วยรับประกันได้ว่าท่อทองแดงที่ซื้อไปนั้น จะได้คุณภาพ และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน

3. เลือกร้านที่มีข้อมูลติดต่อชัดเจน

ร้านที่มีข้อมูลการติดต่อชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นหน้าร้าน ที่อยู่ เบอร์โทร หรือช่องทางติดต่ออื่นๆ นั้นมีความน่าเชื่อถือมากกว่า เพราะที่อยู่ และข้อมูลติดต่อเหล่านี้ เป็นตัวช่วยรับประกันว่าหากสินค้ามีปัญหา เราจะสามารถติดต่อกับทางร้านได้ทันที

4. เลือกร้านท่อทองแดงที่มีประสบการณ์

ร้านที่มีประสบการณ์ทั้งด้านการคัดเลือกวัสดุ สินค้า และการให้บริการ จะดีกว่าร้านที่ประสบการณ์น้อย เพราะหากเราต้องการคำแนะนำ มีข้อสงสัย หรือต้องการการบริการหลังการขาย ร้านที่มีประสบการณ์มักให้บริการได้ดี และตอบโจทย์เราได้มากกว่า

แค่ 4 ขั้นตอนง่ายๆ ก็ช่วยเราพิจารณาเลือกร้านจำหน่ายท่อทองแดง และอุปกรณ์ Fitting ที่เหมาะสมที่สุดได้แล้วครับ อย่าลืมนะครับว่าอุปกรณ์โครงสร้างอย่างท่อทองแดงเอง ก็มีความสำคัญไม่แพ้ชิ้นส่วนอื่นๆ เพราะฉะนั้นอย่าลืมเลือกซื้อท่อทองแดงจากร้านที่น่าเชื่อถือ เพื่อให้เราได้วัสดุที่มีคุณภาพ และมาตรฐานมากที่สุดนะครับ

  • ท่อทองแดง type l
  • ฉนวนหุ้มท่อแอร์ คืออะไร

กลับสู่สารบัญ

เคล็ดลับการเลือกท่อทองแดง

ท่อทองแดง หนึ่งในวัสดุยอดนิยม สำหรับงานวิศวกรรมที่เรามักนำมาใช้กับโครงสร้าง งานระบบ และนำมาเป็นอะไหล่ภายในเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่การจะเลือกซือท่อทองแดงอาจเป็นเรื่องยาก สำหรับมือใหม่หรือผู้ไม่มีความชำนาญ วันนี้ UDIRONS จะพาคุณไปทำความรู้จักกับท่อทองแดงแต่ละแบบให้มากขึ้น และการเลือกขนาดของท่อทองแดงให้เหมาะกับงานครับ

ท่อทองแดง (Copper pipe)

ท่อทองแดง ข้อต่อ ข้องอ และอุปกรณ์ Fitting ชนิดอื่นๆ ที่ผลิตจากทองแดงนั้น มีคุณสมบัติที่ดี ทั้งสามารถทนความร้อน ทนแรงดันสูง และยังมีความแข็งแรงทนทาน ทำให้มันกลายเป็นอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้ในงานระบบต่างๆ เช่น ระบบปรับอากาศ เป็นต้น

การบานท่อ 2 ชั้น มี ประโยชน์ อย่างไร

ชนิดของท่อทองแดง

ท่อทองแดงมีหลายแบบ หลายประเภท นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ Fitting ที่เราต้องนำไปใช้ให้เหมาะสมกับงานโครงสร้างอีกด้วย โดยหลักแล้วท่อทองแดงแบ่งเป็น 4 ชนิด คือ

  1. ท่อทองแดงชนิดเส้น
  2. ท่อทองแดงชนิดม้วน หรือไปป์ทองแดง
  3. ข้องอ และข้อต่อทองแดง (Fitting)
  4. ข้ออ่อนทองแดง (Vibration)

ขนาดของท่อทองแดงที่เหมาะกับงานแต่ละประเภท

การเลือกขนาดของท่อทองแดง คือหัวใจของงานระบบที่เราต้องการนำไปใช้งาน เพราะท่อทองแดงแต่ละขนาดก็มีความเหมาะสม กับงานแตกต่างกันออกไป นอกจากนี้ขนาดของท่อยังเป็นตัวเพิ่ม หรือลดประสิทธิภาพของอุปกรณ์อีกด้วย ท่อทองแดงมีหลายขนาดตั้งแต่เส้นผ่าศูนย์กลาง 1/4 หรือประมาณ 6.35 มิลลิเมตร, 3/8 นิ้ว หรือประมาณ 9.52 มิลลิเมตร

ส่วนขนาดที่นิยมนำมาใช้กับระบบทำความเย็น หรือระบบปรับอากาศ อาจใช้ท่อทองแดงที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1/2 นิ้ว (12.7 มิลลิเมตร) 3/4 นิ้ว (19.05 มิลลิเมตร) หรือ 5/8 นิ้ว (15.88 มิลลิเมตร) เป็นต้น ยิ่งระบบปรับอากาศใหญ่ขึ้น มีกำลังมากขึ้น ท่อทองแดงที่นำไปใช้ ก็ต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากขึ้นเช่นกัน

กลับสู่สารบัญ

สรุปทิ้งท้าย

ดังนั้นการเลือกขนาดของท่อทองแดงให้เหมาะสม จึงต้องดูจากงานที่เรานำไปใช้ หรือหากไม่มั่นใจจริงๆ ก็ควรสอบถามจากช่างผู้มีประสบการณ์ และความชำนาญ เพื่อให้แนะนำขนาดของท่อทองแดง ที่เหมาะสมที่สุดจะดีกว่าครับ