ประโยชน์ของคำพูดที่ดีมีอะไรบ้าง

เรารู้ดีว่าการคิดถี่ถ้วนระมัดระวังนั้นไม่ได้เกิดขึ้นตลอดเวลา ยิ่งในปัจจุบันที่เทคโนโลยีทำให้เราแสดงความคิดเห็นได้รวดเร็ว ความคิดที่ไม่ได้กรั่นกรองก่อนแสดงออกมา หลายครั้งที่ทำให้เกิดความเสียหาย ทำให้ต้องกลับมาคิดว่า เพียงเพราะเราพูดคำนั้นได้ ไม่ได้หมายความว่าเราควรพูดมันออกไป

ปีใหม่นี้ หากใครคิดอยากจะสร้างนิสัยที่ดี แต่ยังขาดไอเดีย การคิดก่อนพูดเป็นนิสัยที่ดีที่ควรสร้างให้ติดอยู่กับตัว คิดก่อนพูดทุกครั้ง ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์อะไร ไม่ว่าจะรู้สึกยังไงก็ตาม คิดก่อนพูดจะทำให้ไม่ต้องเสียใจภายหลัง ก่อนจะพูดอะไรออกไป ก็ควรจะคิด ควรจะ T.H.I.N.K. Before You Speak

ก่อนพูดออกไปควรคิดพิจารณาให้ดีก่อนว่า สิ่งที่เราจะพูดนั้น

  • True – มันเป็นความจริงหรือเปล่า
  • Helpful – มันเกิดประโยชน์หรือเปล่า
  • Inspiring – มันให้แรงบันดาลใจหรือเปล่า
  • Necessary – มันจำเป็นหรือเปล่า
  • Kind – มันรักษาน้ำใจหรือเปล่า

ไม่ว่าตอนนั้นจะรู้สึงยังไง ไม่ว่าจะอยู่ในอารมณ์ไหนก็ตาม ก็ขอให้คิดก่อน ว่าสิ่งที่เราจะพูดออกไปนั้น มันแสดงออกถึงความมีน้ำใจหรือเปล่า

มีเหตุผลหลายอย่างที่เราควรหยุดแล้วคิดก่อนที่จะเผลอพูดออกไป คนมักจะพูดนินทาคนอื่นโดยไม่ระมัดระวัง คำพูดบ่งบอกถึงตัวตนของคนพูด คำพูดทำให้เกิดเรื่องดีๆ และคำพูดก็ทำร้ายเราได้เช่นกัน

หลังจากพูดออกไป เราไม่สามารถหลบซ่อนจากผลที่ตามมาหรือธาตุแท้ที่เผยออกมาได้ คนที่พูดในที่สาธารณะบางคนไม่หยุดแล้วคิดก่อนพูด เผลอไม่ระมัดระวังคำพูด พูดขัดแย้งกันบ่อยๆ นึกไม่ถึง ไม่รู้ว่าคำพูดที่หลุดออกจากปากนั้น ไม่ว่าจะขอโทษกี่ครั้งก็ไม่อาจกลับคำพูดนั้นได้

คำพูดมีพลัง พลังที่จะช่วย พลังที่จะรักษา พลังที่จะทำร้าย พลังที่จะล้อเลียน เราเลือกที่จะใช้มันสร้างแรงกระตุ้นหรือทำลายความหวังของคนได้

ก่อนจะพูดออกไป จะต้องใช้เวลาคิดก่อนว่าจะพูดยังไง นึกถึงคนฟัง นึกถึงผลกระทบที่จะตามมา ใช้คำพูดที่รักษาน้ำใจ คำพูดที่ให้แรงบันดาลใจ คำพูดไพเราะน่าฟังเป็นสิ่งที่ต้องการของคนทั่วไป

เวลาที่พูด ก็ควรพูดอย่างมีสติ พูดในแบบที่จะสร้างสันติและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น คำพูดและน้ำเสียงต่างก็สร้างผลกระทบได้ พูดความจริง ไม่พูดเกินจริง พูดให้สอดคล้องกัน ไม่ใช้สองมาตรฐาน ไม่ใช้คำพูดเพียงเพราะต้องการชี้นำผู้อื่น และที่สำคัญไม่ใช้คำพูดที่สื่อถึงการคุกคามหรือพูดทำร้ายผู้อื่น

พูดด้วยความตรงไปตรงมา ซื่อสัตย์ ในการเจรจา ไม่ว่ากับใครก็ตาม การพูดความจริงเป็นสิ่งจำเป็น และถึงแม้จะต่างความคิด ถึงแม้จะไม่เห็นด้วย แต่เราก็ยังต้องพูดกันด้วยความมีน้ำใจ เคารพผู้อื่น แสดงออกถึงความเป็นสุภาพชนเสมอ

หากเราใช้คำพูดในทางที่ดี มันจะกลายเป็นเมล็ดพันธุ์ ทำให้คนฟังรู้สึกดี ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดี ทำให้เกิดความร่วมมือกันในกลุ่ม แต่หากเราใช้คำพูดในทางไม่ดี พูดข่มเหง พูดดูถูก พูดให้ร้ายผู้อื่น มันก็จะเป็นกระสุนทำร้ายจิตใจคน ทำลายความสัมพันธ์กับคนอื่นๆ

สิ่งสำคัญในการพูดคือการตั้งใจฟังและอดทน พูดอย่างมีสติ มีวิธีการพูดที่ดี และพูดความจริงที่เราเข้าใจ ระมัดระวังการใช้คำพูด น้ำเสียงและภาษากาย

วาจาอันใดที่ไพเราะอ่อนหวานไม่รำคาญแก่โสต เป็นประโยชน์ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า วาจานั้นชื่อว่า วาจาสุภาษิต

วาจาสุภาษิตประกอบด้วยองค์ 5 ประการ และเว้นจากองค์ 4 ประการ ที่ว่าประกอบด้วยองค์ 5 ประการ คือ

องค์ประกอบของวาจาสุภาษิต

๑. ต้องเป็นคำจริง ไม่ใช่คำพูดที่ปั้นแต่งขึ้น เป็นคำพูดที่ไม่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ไม่บิดเบือนจากความจริง ไม่เสริมความ ไม่อำความ ต้องเป็นเรื่องจริง ๒. ต้องเป็นคำสุภาพ เป็นคำพูดไพเราะ ที่กลั่นออกมาจากน้ำใจที่ บริสุทธิ์ ไม่เป็นคำหยาบ คำด่า คำประชดประชัน คำเสียดสี คำหยาบนั้นฟังก็ ระคายหู แค่คิดถึงก็ระคายใจ

๓. พูดแล้วก่อให้เกิดประโยชน์ เกิดผลดีทั้งแก่คนพูดและคนฟัง ถึงแม้คำพูดนั้นจะจริงและเป็นคำสุภาพ แต่ถ้าพูดแล้วไม่เกิดประโยชน์อะไร กลับจะทำให้เกิดโทษ ก็ไม่ควรพูด

๔. พูดด้วยจิตเมตตา พูดด้วยความปรารถนาดี อยากให้คนฟังมี ความสุข มีความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป ในข้อนี้หมายถึงว่า แม้จะพูดจริง เป็นคำ สุภาพ พูดแล้วเกิดประโยชน์ แต่ถ้าจิตยังคิดโกรธมีความริษยาก็ยังไม่สมควรพูด เพราะผู้ฟังอาจรับไม่ได้ ถ้วยคำที่กล่าวด้วยจิตขุนมัว แม้เพียงประโยคเดียวอาจก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงอย่างไม่อาจประมาณได้

๕. พูดถูกกาลเทศะ แม้ใช้คำพูดที่ดี เป็นคำจริง เป็นคำสุภาพ เป็นคำพูดที่มีประโยชน์ และพูดด้วยจิตที่เมตตา แต่ถ้าผิดจังหวะ ไม่ถูกกาลเทศะ ผู้ฟังยังไม่พร้อมที่จะรับแล้ว จะก่อให้เกิดผลเสียได้ เช่น จะกลายเป็นประจานหรือจับผิดกันไป

- พูดถูกเวลา (กาล) คือรู้ว่าเวลาไหนควรพูด เวลาไหนยังไม่ควรพูด ควรพูดนานเท่าไร ต้องคาดผลที่จะเกิดขึ้นไว้ด้วย

- พูดถูกสถานที่ (เทศะ) คือรู้ว่าในสถานที่เช่นไร เหตุการณ์แวดล้อม เช่นไรจึงสมควรที่จะพูด หากพูดออกไปแล้วจะมีผลดีหรือผลเสียอย่างไร

เช่น มีความหวังดีอยากเตือนเพื่อนไม่ให้ดื่มเหล้า แต่ไปเตือนขณะเพื่อนกำลังเมาอยู่ในหมู่เพื่อนฝูงทำให้เขาเสียหน้า อย่างนี้นอกจากเขาจะไม่ฟังแล้ว เราเองอาจเจ็บตัวได้

“คนฉลาดไม่ใช่เป็นแต่พูดเท่านั้น ต้องนิ่งเป็นด้วย

คนที่พูดเป็นนั้น ต้องรู้ในสิ่งที่ไม่ควรพูดให้ยิ่งกว่าสิ่งที่ควรพูด”

สำหรับคำที่ว่าวาจาสุภาษิตนั้นเว้นจากองค์ 4 ก็คือ

1. มุสาวาท คือการกล่าวคำเท็จ หลอกลวง ล่อลวง ด้วยเรื่องไม่จริง ทำให้ผู้ฟังต้องเสียหายจากประโยชน์ต่าง ๆ

2. ปิสุณาวาท หรือ เปสุญญวาท คือการกล่าวถ้อยคำส่อเสียดยุยงให้คนแตกกัน ให้คนทะเลาะกัน ให้คนผิดใจกัน ให้คนแตกความสามัคคีกัน ให้คนกลายจากมิตรเป็นศัตรูซึ่งกันและกัน

ประโยชน์ของคำพูดที่ดีมีอะไรบ้าง

          ในทุกๆวันมนุษย์เราก็ต้องสื่อสารกับคนอื่น พูดกับคนอื่น เพื่อสร้างมิตรภาพและสัมพันธไมตรี ไม่ว่าจะเป็นกับสมาชิกในครอบครัว เพื่อนร่วมชั้นเรียน เพื่อนร่วมงาน แม้แต่คนที่ไม่รู้จักมาก่อนแค่เดินเจอกันระหว่างทางในแต่ละวัน ทีนี้เราควรจะมีศิลปะการพูดอย่างไรให้สื่อสารออกมาได้ดี ผู้พูดและผู้ฟังมีความสุข ปราศจากการเข้าใจผิดหรืออารมณ์ฉุนเฉียว ซึ่งอาจจะส่งผลต่ออารมณ์โมโหหรือก่อให้เกิดเป็นความเครียดขึ้นมาได้

ศิลปะการพูดที่ดีมีอะไรบ้าง

  1. คิดก่อนพูด คำพูดเป็นสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญมาก พูดอะไรออกไปแล้วต้องให้เกิดความรู้สึกดีดีกับทั้งผู้พูดและผู้ฟัง คิดในแง่ดี คิดในเชิงบวก อะไรที่เสี่ยงต่อการปะทะคารม ก็ควรหลีกเลี่ยง
  2. คำพูดเป็นนายเรา พูดออกไปแล้วต้องทำให้ได้ ต้องเป็นความจริง ไม่ทำให้ฝ่ายตรงข้ามเสียความรู้สึก หรือหมดความเชื่อถือและศรัทธาในตัวเรา
  3.  พูดจาไพเราะ อ่อนหวาน ย่อมเป็นที่ประทับใจคนฟัง พูดให้มีหางเสียง ใช้น้ำเสียงที่นุ่มนวล สื่อถึงความเป็นมิตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานบริการ
  4. พูดแบบจริงใจ ไม่โกหกหลอกลวง การพูดเปิดใจให้ตรงไปตรงมาและต้องรักษาน้ำใจผู้ฟัง การพูดแบบจริงใจ จะทำให้ฝ่ายตรงข้ามรู้สึกได้ถึงความจริงใจ มิตรภาพที่แท้จริง นอกจากความสบายใจของเราแล้ว ยังจะได้ตำแหน่งเพื่อนแท้เป็นที่ปรึกษาให้กับเพื่อนๆด้วย
  5. ไม่ควรพูดคุยเรื่องส่วนตัวของผู้อื่น หรือนินทาผู้อื่น แม้จะสนุกปากในวงเพื่อนมากแค่ไหน เเต่เราต้องเคารพสิทธิส่วนบุคคลของคนที่เราพูดถึงด้วย อาจทำให้เกิดความขุ่นเคืองโดยที่เราไม่รู้ตัวได้
  6. พูดเรื่องที่คนฟังสนใจ ข้อนี้สำคัญมากซึ่งหลายคนก็มองข้ามไป แต่การเลือกหัวข้อเรื่องที่มาพูดคุยกัน หากเป็นหัวข้อที่ทุกคนในวงสนทนาชอบและเข้าใจเหมือนๆกัน จะส่งผลให้บรรยากาศการสนทนาสนุกสนานมีความสุข เช่น ถ้าเป็นวงสนทนาของเพื่อนผู้หญิงที่รักสวยรักงาม คงหนีไม่พ้นเรื่องการแต่งหน้า แต่งตัว กระเป๋า รองเท้า หากเป็นวงสนทนานักธุรกิจ อาจสนใจเรื่องหุ้น การลงทุน เป็นต้น
  7. เมื่อเป็นผู้พูดที่ดีแล้ว ต้องเป็นผู้ฟังที่ดีด้วย ให้เกียรติผู้ร่วมวงสนทนา ไม่พูดแทรก พูดขัด ทำให้เขารู้สึกไม่พอใจ เวลาเราพูดคุยกับเพื่อนย่อมมีบางคนที่มีความคิดเห็นแตกต่างกันออกไป หรือพูดผิดประเด็นไป เราต้องเคารพความคิดเห็นด้วย ไม่ควรดูถูกหรือมองเขาไม่ดี เพราะอาจทำให้คนอื่นไม่กล้าแสดงความคิดเห็นอื่นๆ ออกมาด้วย รวมทั้งหลีกเลี่ยงการโต้เถียง หรือใช้อารมณ์เหนือเหตุผล

ใครว่าศิลปะการพูดไม่สำคัญ การพูดที่ดีทำให้เราเป็นที่รักของทุกๆคน พูดส่งความสุขให้กับคนรอบข้าง เป็นที่ปรึกษาที่ดีในหมู่เพื่อนฝูง และสุดท้ายความสุขนั้นก็จะกลับเข้าหาเราเอง

เอกสารอ้างอิง

- การพูดดีและพูดเป็นในการทำหน้าที่กัลยาณมิตร (2557) เข้าถึงได้จากhttp://www.kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=6992

- บทความออนไลน์ "ทําอย่างไร?.. ให้เจ้านายและเพื่อนๆ ที่ทํางานรักเรา" เข้าถึงได้จากhttp://reo06.mnre.go.th/home/images/upload/file/report/work.pdf

การพูดดีมีประโยชน์อย่างไร

การพูดที่ดี น้ำเสียงสุภาพ มีความเป็นมิตร มีความหวังดี ปรารถนาดี และมีความจริงใจ จะทำให้อีกฝ่ายรู้สึกดีไว้วางใจ ส่งผลให้การทำงานหรือทำธุรกิจร่วมกัน มีโอกาสสำเร็จได้ง่าย

พูดจาดีมีอะไรบ้าง

การพูดที่ดี คือ การใช้ถ้อยคำน้ำเสียง รวมทั้งกิริยาอาการอย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง ตามจรรยามารยาทและประเพณีนิยมของสังคม เพื่อถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด ความรู้ ประสบการณ์ และความต้องการที่เป็นคุณประโยชน์แก่ผู้ฟัง เพื่อให้เกิดการรับรู้และเกิดผลการตอบสนองอย่างสัมฤทธิ์ผลตามความมุ่งหมายของผู้พูด

พูดดีเป็นอย่างไร

ลักษณะการพูดที่ดี มีองค์ประกอบดังนี้ น้ำเสียงมีพลัง แสดงสีหน้าที่สอดคล้องกับเรื่องที่นำเสนอ ท่าทางต้องเป็นธรรมชาติ ใช้ภาษาฟังง่าย เป็นกันเองกับผู้ฟัง แสดงความรู้สึกออกมาทางสีหน้าและสายตา ให้เสียงของเราช่วยเน้นความรู้สึก จะคิดไปพูดไปก็ได้ แต่อย่าพูดไปอ่านไป ให้พูดในสาระประการเดียว

คนที่พูดจาไพเราะอ่อนหวานจะเกิดผลดีกับตัวเองอย่างไร

พูดจาไพเราะ อ่อนหวาน ย่อมเป็นที่ประทับใจคนฟัง พูดให้มีหางเสียง ใช้น้ำเสียงที่นุ่มนวล สื่อถึงความเป็นมิตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานบริการ