ข้อดีของการเป็นผู้ประกอบการมีอะไรบ้าง

เมื่อมาทำกิจการของตัวเอง เราก็จะได้เป็นนายของตัวเอง นั่นก็คือ เมื่อเราคิดอะไรได้เราจะต้องสั่งตัวเองให้ทำสิ่งต่างๆ ตามที่คิดออกมาตั้งแต่ทำของเอง ขายเอง เวลาได้กำไรหรือขาดทุนก็จะเป็นของเราเอง ซึ่งทำให้เรามีอำนาจในการบริหารงานได้อย่างเต็มที่ สามารถทำได้อย่างที่ต้องการ และแน่นอเราก็จะทำให้กิจการของเราได้รับประโยชน์สูงที่สุด

เป็นบันไดสู่ความสำเร็จ

การเป็นเจ้าของกิจการเองนั่นถือได้ว่าเป็นการทดสอบฝีมือของตัวเองอย่างหนึ่งเหมือนกัน เพราะต้องทำทุกอย่างด้วยตัวเอง และเมื่อเกิดปัญหาก็จะต้องหาวิธีแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง ดังนั้นการเป็นเจ้าของกิจการเองนั้นจะทำให้เราได้ฝึกทักษะด้านการบริหาร ฝึกความอดทน อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาศักยภาพของเราเกือบจะทุกด้านก็ว่าได้ ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าเจ้าของกิจการที่ประสบความสำเร็จในทุกวันนี้ ส่วนใหญ่จะผ่านปัญหาและหาวิธีแก้จนทำให้ทุกวันนี้สามารถประสบความสำเร็จได้

มีโอกาสรวยเร็วกว่า

ที่บอกแบบนี้ก็เพราะว่าเงินที่ทำได้ทุกบาททุกสตางค์ คือ ของเราหมด ดังนั้นถ้ากิจการของเราสามารถสร้างกิจการของเราให้ไปได้ดี เราก็สามารถสร้างตัวเองให้เป็นเศรษฐีใหม่ได้ไม่ยากเลย

อ่านเพิ่มเติม : รู้จักตัวเอง ทำงานประจำ VS เป็นนายตัวเอง

เมื่อมีด้านดีก็ต้องมีด้านที่ไม่ดีของการเป็นเจ้าของกิจการแบบทำเองบ้างดีกว่า

มีการลงทุนสูง

ไม่ว่าจะเริ่มจากกิจการเล็กๆ หรือกิจการใหญ่ๆ ก็ต้องใช้เงินทุนทั้งนั้น อาจจะมากน้อยตามแต่ลักษณะของกิจการแต่ละประเภท และนอกจากเงินลงทุนแล้ว เรายังระดมความรู้จากสมองที่มีและแรงกายทั้งหมดที่มี เพื่อให้กิจการของเราไปได้และดีด้วย

ต้องทำงานหนักและเหนื่อยมาก

จำไว้อย่างหนึ่งว่าเมื่อมีกิจการเป็นของตัวเองแล้ว ก่อนที่จะประสบความสำเร็จเราจะต้องทุ่มเทเป็นอย่างมาก เพราะคิดเอง ทำเอง เมื่อเกิดปัญหาก็ต้องแก้ไขเอง จนบางครั้งเวลาทำงานอาจจะมากกว่าการทำงานประจำก็เป็นได้ ช่วงที่คนอื่นได้หยุดตามเทศกาลเราก็อาจจะไม่ได้หยุดเหมือนคนอื่น

มีโอกาสไปไม่รอดสูง

บางครั้งเราก็มองแต่ด้านดี ภาพที่สวยงามของการทำธุรกิจ โดยลืมไปว่าเราทำได้ คนอื่นก็ทำได้ นั่นก็คือ การแข่งขันทางการในธุรกิจที่เราทำ ถ้าเราเจ๋งจริงเราก็จะเป็นผู้อยู่รอด แต่ถ้าเราไม่ใช่โอกาสเจ๊งก็มีอยู่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นหากออกมาทำธุรกิจเองก็อย่าลืมเผื่อใจไว้ด้วย หากกิจการของเราจะไปไม่รอด

ทำแล้วเลิกยาก

อ้าว…ทำแล้วทำไมถึงอยากเลิกล่ะ คำตอบก็คือ เมื่อลงทุนทำไปแล้วเกิดขาดทุน หรืออยากจะไปทำธุรกิจอื่น การที่จะหาคนมาซื้อหรือเซ้งกิจการต่อจากเรานั้นไม่ง่ายเลย เพราะต้องใช้เวลาอยู่เหมือนกัน ดังนั้นสิ่งที่ลงทุนทำไปแล้วก็ต้องกัดฟันทำต่อ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักร อุปกรณ์ วัตถุดิบต่างๆ ค่าเช่า หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ มากมาย ที่เดินหน้าไปไม่หยุดถึงแม้ว่าเราจะหยุดกิจการของตัวเองไว้แล้ว

ปัจจุบันมีนักศึกษาจบใหม่จำนวนมากที่ไม่ต้องการทำงานเป็นลูกน้องใคร แต่ตั้งเป้าไว้เลยว่า จะต้องมีกิจการของตัวเองให้ได้ ซึ่งคนรุ่นใหม่นี้จะกระหายความสำเร็จอย่างมาก และจะไม่หยุดนิ่งที่จะทำตามความฝันให้เป็นจริง

แต่ถ้าในเวลานี้คุณยังเป็นเพียงมนุษย์เงินตัวเล็กๆ ที่ต้องทำงานแลกกับค่าตอบแทนทุกๆ เดือน การผ่านร้อนผ่านหนาวมามากของคุณนั้น อาจเป็นเกราะกำบังให้คุณไม่สามารถไปไหนได้ เพราะเมื่อออกไปแล้วก็จะรู้สึกไม่ปลอดภัย แต่ลึกๆ แล้วคุณเองก็อยากมีกิจการของตัวเองเหมือนกัน มาดูกันว่า 50 ข้อดีของการมีธุรกิจของตัวเองนั้นมีอะไรบ้าง ไม่แน่ว่าอาจมีสักข้อที่ตรงใจคุณ เมื่ออ่านจบแล้วอย่าลืมถามตัวเองว่าพร้อมหรือยัง?

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้


คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน


คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

การประกอบการเพื่อไปให้ถึงความสำเร็จตามเป้าประสงค์แห่งพันธกิจที่ดีนั้น ผู้ประกอบการจะต้องมีคุณสมบัติที่ดี ที่ไม่ใช่การประกอบการเพียงเพื่อประโยชน์ส่วนตนเท่านั้น อย่างไรก็ดีผู้ประกอบการจำนวนมากยังเพียงมุ่งแสวงหากำไรสูงสุดเพื่อตอบสนองความมั่งคั่งแห่งตน

.

จนเหลือส่วนที่จะนำไปช่วยเหลือสังคมได้เพียงส่วนน้อย

ผู้เขียนอยากเห็นประเทศของเรามี ผู้ประกอบการ เพื่อสังคม เกิดขึ้นจำนวนมากจนเต็มแผ่นดิน โดยไม่ใช่ผู้ที่มาประกอบการเพราะไม่มีทางเลือกอื่นในการทำงานเท่านั้น จึงเสนอคุณสมบัติของผู้ประกอบการที่ดี 10 ประการ ดังนี้

 

1. มีภาระใจแรงกล้า ปรารถนาช่วยเหลือสังคม

ผู้ที่มีภาระใจมาก ย่อมมีความพยายามมาก ผู้ประกอบการที่มีหัวใจปรารถนาแก้ไขปัญหาของสังคม จะนำองค์กรเข้าไปประกอบการเพื่อแก้ไขปัญหาของสังคมอย่างจริงจัง แม้ต้องเผชิญอุปสรรค ก็ยังมุ่งมั่นอดทนเพียรพยายามหาวิธีการใหม่ๆ เพื่อไปสู่เป้าหมาย ทั้งนี้หากผู้ประกอบการแต่ละคนมีใจปรารถนาแก้ปัญหาบางมุมบางด้านในสังคม ก็จะช่วยลดปัญหาต่างๆ ในสังคมลงได้มาก

.

2. คิดดี คิดบวก เห็นโอกาส

ผู้เขียน: ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ นักวิชาการอาวุโส มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดประธานสถาบันการสร้างชาติ (NBI) ประธานสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา (IFD) ผู้เชี่ยวชาญ เศรษฐศาสตร์ นโยบายการศึกษา การต่างประเทศ สังคม การเมือง การศึกษา

.

การคิดดี เป็นคุณสมบัติของการมีจิตสำนึกแห่งตัวตนที่ดี สะท้อนออกมาเป็นจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม รวมถึงมีส่วนรับผิดชอบต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์หรือการสร้างคน

โดยปรารถนาให้คนในสังคมได้รับสิ่งที่ดี และพัฒนาสังคมให้อยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน คนในสังคมดำเนินชีวิตด้วยยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรม อันจะช่วยให้ปัญหาต่างๆ จากความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในสังคมลดลงได้

.

การคิดแง่บวก จะทำให้เกิดความพยายามหาทาง “คิดนอกกรอบ” เพื่อให้ตนสามารถทำได้ พลังของความคิดแง่บวกจะนำไปสู่การคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ที่ดีกว่าเดิมเสมอ ไม่กลัวการเผชิญความยุ่งยาก ปัญหาซับซ้อน คลุมเครือ และความจำกัดต่างๆ

ผู้ที่คิดแง่บวกมักเห็นคุณค่าและสนุกกับการคิดต่อยอดจากสิ่งที่คนอื่นคิดว่าเป็นไปไม่ได้ และสามารถพูดให้กำลังใจทีมงานจนเกิดความเชื่อมั่นว่าสามารถทำได้แน่

.

การเห็นโอกาส คือ ความตื่นตัวในการแสวงหาและฉวยโอกาสในทางที่ดี สามารถนำสิ่งต่างๆ ทั้งที่มีประโยชน์และอาจดูเหมือนไม่มีประโยชน์มาใช้ประโยชน์ได้ เพื่อทำให้ความปรารถนาและแนวคิดการประกอบการที่ดีนั้น ปรากฏเป็นความจริงได้

.

3. การนำเชิงยุทธศาสตร์

ผู้ประกอบการต้องมีทักษะการคิดเชิงยุทธศาสตร์ เป็นนักสร้างวิสัยทัศน์เชิงยุทธศาสตร์ ที่ทำให้ทีมงานเห็นภาพชัดเจนถึงยุทธวิธีหลักที่จะดำเนินการร่วมกันสู่เป้าหมายความสำเร็จ และมีดุลพินิจที่ดีในการตัดสินใจชั่งน้ำหนักทางยุทธศาสตร์ได้ว่า ควรเลือกทางเลือกทางยุทธศาสตร์อย่างไร จึงจะทำให้พันธกิจไปถึงเป้าหมายความสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิสภาพสูงสุด

.

4. ความรู้กว้าง รู้ลึก รู้ไกล

รู้กว้าง หมายถึง รู้สภาพแวดล้อมภายนอก ทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ที่เข้ามากระทบต่อพันธกิจขององค์กร

.

อาทิ 1) ภาวะเศรษฐกิจภาพรวมโลก ประเทศ และเฉพาะบางภาคอุตสาหกรรม 2) ทรัพยากรการผลิตที่ขาดแคลนซึ่งส่งผลให้การประกอบการมีต้นทุนสูง 3) เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่อาจนำมาใช้กับพันธกิจทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิสภาพมากขึ้น

4) วัฒนธรรมของสังคมซึ่งส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิต และอาจเชื่อมโยงไปสู่การเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคสินค้าและบริการ และ 5) นโยบาย กฎหมาย กฎระเบียบ จริยธรรมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจสนับสนุนการประกอบการหรือสร้างเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบการได้

.

รู้ลึก หมายถึง การรู้จริงในพันธกิจขององค์กร และรู้จักกลุ่มเป้าหมายและคู่แข่งเป็นอย่างดี เช่น พฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายหรือพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป และรู้เทคโนโลยีที่เป็นจุดเด่นหรือจุดแข็งของคู่แข่งเป็นอย่างดี เป็นต้น

.

รู้ไกล หมายถึง ความรู้ถึงแนวโน้มอนาคตและการเปลี่ยนแปลงของโลก ตลอดจนปัจจัยที่เชื่อมโยงหรือเกี่ยวข้องกับพันธกิจองค์กร เช่น แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของความต้องการของตลาด และสิ่งท้าทายใหม่ๆ ที่มีโอกาสเข้ามากระทบพันธกิจขององค์กรได้ในอนาคต

.

5. ความเชี่ยวชาญในพันธกิจ

ผู้ประกอบการต้องพัฒนาองค์กรไปสู่ความเชี่ยวชาญในพันธกิจให้นำหน้าคู่แข่งอยู่เสมอ รวมถึงการพัฒนาด้านภาพลักษณ์ขององค์กรให้ได้รับการยอมรับถึงความเป็นมืออาชีพในด้านนั้นๆ โดยเฉพาะในช่วงก่อตั้งองค์กรใหม่ตามพันธกิจ ซึ่งยังไม่มีต้นทุนด้านชื่อเสียง หากผู้ประกอบการหรือบุคลากรขาดความเชี่ยวชาญในพันธกิจ จะทำให้โอกาสก่อตั้งให้สำเร็จเป็นไปได้ยาก

ตัวอย่างความเชี่ยวชาญในพันธกิจ อาทิ การจัดกระบวนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิสภาพ การมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับระดับสากล ความสามารถทางการตลาด การกำหนดกลยุทธ์เพื่อสร้างความแตกต่าง การเจรจาต่อรอง เพื่อที่จะทำให้องค์กรมีขีดความสามารถในการแข่งขัน

.

6. วุฒิภาวะการทำงานเป็นทีม

ผู้ประกอบการต้องสามารถสื่อสารพูดคุย ประสานงานกับคนทุกระดับในองค์กรได้เป็นอย่างดี รู้และเข้าใจในจุดแข็ง จุดเด่นของคนในทีม สามารถป้องกันไม่ให้จุดอ่อนของคนในองค์กรสร้างปัญหาต่อการทำงานเป็นทีม และสามารถแก้ไขความขัดแย้งที่เกิดขึ้นโดยสามารถนำไปสู่การขัดเกลาให้เกิดการพัฒนา ทั้งต่อบุคลากรและกระบวนการทำงานขององค์กรได้

ฉะนั้น ผู้ประกอบการจึงไม่ใช่การเป็นผู้ประกอบการสำเร็จรูป แต่เป็นผู้ประกอบการที่เข้าใจความคิดและจิตใจของคนในทีม และสามารถผสานใจคนให้มาร่วมเป็นทีมงานกันได้อย่างลงตัว

.

7. ความสามารถนำความรู้และประสบการณ์มาประยุกต์ใช้

ผู้ประกอบการต้องสามารถนำความรู้ ทักษะความเชี่ยวชาญของตนและทีมงานมาประยุกต์ใช้เพื่อตอบโจทย์พันธกิจขององค์กรได้ โดยเฉพาะในบริบทสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ทำให้เกิดความท้าทายหรืออุปสรรคใหม่ๆ และนำไปสู่โจทย์ใหม่ที่องค์กรต้องปรับตัว

.

8. ความสามารถจัดการทางการเงิน

ผู้ประกอบการต้องมีความสามารถในการระดมทุนเพื่อจัดตั้งองค์กรและการดำเนินกิจการ รวมทั้งความสามารถจัดการทรัพยากรเพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน อาทิ การบริหารรายรับ-รายจ่ายจากการดำเนินพันธกิจ การจัดการความเสี่ยงทางการเงินไม่ให้ขาดสภาพคล่อง การจัดหาเงินกู้และการจัดการหนี้สิน และการจัดหาเงินทุนให้เพียงพอสำหรับการขยายกิจการต่อไปได้

.

9. ความสามารถควบคุมและตรวจสอบ

ทั้งการตรวจสอบเชิงปริมาณของเนื้องาน คุณภาพที่ตรงตามข้อกำหนด (specification) และทันเวลาตามความต้องการลูกค้า ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินการวางระบบสายพานการผลิตที่มีประสิทธิภาพ การจัดสรรกำลังคนและเครื่องจักรสำหรับการผลิต การจัดการผลเสียจากความผิดพลาดของมนุษย์ (human error) และมีระบบการควบคุมคุณภาพ

ซึ่งมีกระบวนการตรวจสอบสินค้าในระหว่างการผลิตทุกขั้นตอน ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดก่อนส่งมอบแก่ลูกค้า นอกจากนี้ ผู้ประกอบการอาจต้องเตรียมแผนสำรอง หากเผชิญกับสถานการณ์วิกฤตที่อยู่นอกเหนือการควบคุมและการตรวจสอบ และเป็นความเสี่ยงที่มิได้มีการประเมินไว้ก่อน

.

10. ความสามารถสร้างทีม ขยายทีมได้

ผู้ประกอบการต้องสามารถสร้างทีมงานและขยายทีมงานเพื่อการขับเคลื่อนภารกิจที่สำคัญๆ ได้ครบถ้วนตามพันธกิจองค์กร ทั้งนี้ การสร้างทีมให้สำเร็จอย่างแท้จริงนั้น ทีมงานจะต้องสามารถสร้างทีมงานต่อไปได้ด้วย ซึ่งไม่ใช่เพียงมีความสามารถในการบริหารจัดการงานเท่านั้น แต่ผู้ประกอบการต้องสามารถจูงใจและเคลื่อนใจคนให้ร่วมหัวจมท้ายกับพันธกิจขององค์กรได้ด้วย

การรักษาคนไว้กับพันธกิจและการสร้างทีมงานที่มีหัวใจแห่งพันธกิจนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เป็นเรื่องท้าทายที่ผู้ประกอบการจะต้องพัฒนาตนให้มีคุณสมบัติที่ดีพร้อม เพื่อจะนำและบริหารจัดการองค์กรแห่งพันธกิจให้ดำเนินไปได้อย่างยั่งยืน