ขั้นตอนการเขียนโครงงานมี10ขั้นตอนอะไรบ้าง

เรื่องที่ 4
การจัดทำโครงงาน

กระบวนการของกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(2550) กล่าวไว้ว่า กระบวนการสำคัญของการ
จัดการเรียนรู้แบบโครงงานโดยแ่งออกเป็น 3 ระยะดังนี้

ระยะที่่ 1 การเริ่มต้นทำงาน
เป็นระยะที่ผู้สอนต้องสังเกต สร้างความสนใจให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน ตกลงร่วมกัน

เรื่องที่จะต้องการศึกษาอย่างละเอียด

ระยะที่ 2 ขั้นพัฒนาโครงงาน
เป็นขั้นที่ผู้เรียนกำหนดหัวข้อคำถาม หรือประเด็นปัญหาและตั้งสมมุติฐานมาตอบ

คำถามเหล่านั้น ทดสอบสมมุติฐานลงมือปฏิบัตจนค้นพบคำตอบ ตามขึ้นตอนดังนี้
1. ผู้เรียนกำหนดปัญหาที่จะศึกษา
2. ผู้เรียนตั้งสมมุติฐานเบื้องต้น
3. ผู้เรียนตรวจสอบสมมุติฐานเบื้องต้น
4. สรุปข้อความรู้จากผลตรวจสอบสมมุติฐาน

ระยะที่ 3 ขั้นสรุป
เป็นระยะสุดท้ายที่ผู้เรียนค้นพบคำตอบของปัญหา และได้ให้ผู้สอนเห็นว่าสิ้นสุด

ความสนใจในหัวข้อโครงงานเดิม และเริ่มหันเหความสนใจไปสู่เรื่องใหม่ และเป็นระยะที่ผู้สอน
และผู้เรียนได้แบ่งปันประสบการณ์การทำงานและแสดงถึงความสำเร็จของการทำงาน
ตลอดโครงงาน มีกิจกรรมที่ผู้สอนให้ผู้เรียนดำเนินการในขั้นตอนนี้ ดังนี้

1. ผู้เรียนเขียนรายงานเป็นรูปแบบงานวิจัยเล็ก ๆ
2. ผู้เรียนนำเสนอผลงาน (แสดงเป็นแผนโครงงาน) ให้ผู้สอนสนใจรับรู้ สรุปและนำไป
ใช้ในชีวิตประจำวัน

ขัั้นตอนการทำโครงงาน

ลัดดา ภู่เกียรติ (2552) กล่าวไว้ว่า ขั้นตอนของการทำโครงงาน ปนะกอบด้วย 6 ขั้นตอน
คือ

ขั้นตอนที่ 1 การเลือกหัวข้อที่จะทำโครงงานเป็นการคิดและกำหนดหัวข้อเป็นขั้นตอนที่
สำคัญที่สุดและยากที่สุด ผู้เรียนจะต้องคิดและเลือกหัวข้อด้วยตนเอง ข้อควรคำนึงเกี่ยวกับ
การคัดเลือกหัวข้อที่จะทำโครงงาน คือ

1. เหมาะสมกับระดับความรู้ของผู้เรียน
2. เหมาะสมกับความสามารถของนักเรียน
3. วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้
4. งบประมาณเพียงพอ
5. ระยะเวลาที่ใช้ทำโครงงาน
6. มีอาจารย์หรือผู้ทรงคุณวุฒิรับเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
7. มีความปลอดภัย
8. มีแหล่งความรู้หรือเอกสารค้นคว้าเพียงพอ

ขั้นตอนที่ 2 การวางแผนในการทำโครงงานคือศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยให้ได้
แนวความคิดที่ จะกำหนดขอบเขตของเรื่องที่จะศึกษาค้นคว้าให้เฉพาะเจาะจงมากขึ้นและได้
ความรู้ในเรื่องที่จะทำการศึกษาเพิ่มเติมมากขึ้น เพื่อสามารถออกแบบและวางแผนดำเนิน
การทำโครงงานได้อย่างเหมาะสม

ขั้นตอนที่ 3 การลงมือทำโครงงานเขียนเค้าโครงของโครงงานเพื่อแสดงแนวความคิด
แผนงานและขั้นตอนของการทำโครงงาน เพื่อให้นักเรียนผู้ทำโครงงานมีความพร้อม
สามารถบอกได้ว่าอะไรคือสิ่ง ที่กำลังศึกษาเค้าโครงนี้เป็นแบบแผนการดำเนินงานอย่างเป็น
ระบบเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของ โครงงานที่กำหนดไว้ควรประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้

ขัั้นตอนการทำโครงงาน (ต่อ)

1. ชื่อโครงงานควรเป็นข้อความที่กะทัดรัดชัดเจนสื่อความหมายตรงและมีความ
เฉพาะเจาะจงว่าจะศึกษาอะไร

2. ชื่อผู้ทำโครงงาน
3. ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน
4. ที่มาและความสำคัญของโครงงานอธิบายว่าเหตุใดจึงเลือกทำโครงงานเรื่องนี้ มี
ความสำคัญอย่างไร มีความสำคัญอย่างไรมีหลักการหรือทฤษฎีอะไรที่เกี่ยวข้องเรื่องที่ทำ
เป็นเรื่องใหม่หรือได้มีผู้อื่นได้ทำการศึกษาค้นคว้าเรื่องนี้ไว้แล้ว
5. จุดหมายของการศึกษาค้นคว้าควรมีความเฉพาะเจาะจงและเป็นสิ่งที่สามารถ วัด
ได้เป็นการบอกขอบเขตของงานที่จะทำได้ชัดเจน
6. สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า (ถ้ามี) เป็นคำตอบหรือคำอธิบายที่คาดไว้ล่วง
หน้าซึ่งอาจจะถูกหรือไม่ก็ได้การเขียนสมมติฐานควรมีเหตุผล คือทฤษฎีหรือหลักการทาง
วิทยาศาสตร์รองรับที่สำคัญคือเป็นข้อความที่มองเห็นแนวในการดำเนินการทดสอบหรือ
สามารถทดสอบได้
7. วิธีดำเนินการ

7.1 วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องการใช้ระบุว่าวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้อะไรบ้างวัสดุ
อุปกรณ์วัสดุอุปกรณ์อะไรบ้างที่ต้องจัดซื้ออะไรบ้างที่ต้องจัดทำ

7.2 แนวการศึกษาค้นคว้าอธิบายว่าจะออกแบบการทดลองอย่างไรสร้างหรือ
ประดิษฐ์อะไรจะเก็บข้อมูลอะไรบ้างเก็บข้อมูลเมื่อใด

8 แผนปฏิบัติงานอธิบายเกี่ยวกับกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาเสร็จของการดำเนิน
งานในแต่ละขั้นตอน

9 ผลที่คาดว่าจะได้รับ
10 เอกสารอ้างอิง

ขัั้นตอนการทำโครงงาน (ต่อ)

ขั้นตอนที่ 4 การบันทึกผลการปฏิบัติการ ขั้นลงมือปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่ระบุไว้ใน
เค้าโครงย่อที่เสนออาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งควรคำนึงถึงเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. เตรียมวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ให้พร้อมก่อนลงมือการทดลอง
2. สมุดสำหรับบันทึกกิจกรรมประจำวันว่าได้ทำอะไรไปได้ผลอย่างไรมีปัญหาและ
ข้อคิดเห็นอย่างไรบ้าง
3. ปฏิบัติการทดลองด้วยความละเอียดรอบคอบและบันทึกข้อมูลเป็นระเบียบ
4. คำนึงถึงความประหยัดและความปลอดภัยในการทำงาน
5. พยายามทำตามแผนงานที่วางไว้ในตอนแรกแต่ก็มีการเปลี่ยนแปลงได้บ้าง
6. ควรปฏิบัติการทดลองซ้ำเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้มากขึ้น
7. ควรแบ่งงานเป็นส่วนย่อยๆและทำแต่ละส่วนให้สำเร็จก่อนทำส่วนอื่นต่อไป
8. ควรทำงานส่วนที่เป็นหลักสำคัญๆให้เสร็จก่อนแล้วจึงทำส่วนที่เหลือ

ขั้นตอนที่ 5 การเขียนรายงานเกี่ยวกับโครงงานเป็นการเสนอผลงานของการศึกษา
ค้นคว้าเป็น เอกสารเพื่ออธิบายให้ผู้อื่นทราบรายละเอียดทั้งหมดของการทำโครงงาน ได้แก่
ปัญหาที่ศึกษาวิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้าข้อมูลต่างๆที่รวบรวมได้ผลของการศึกษาตลอด
จนประโยชน์และข้อเสนอแนะต่างๆจากการทำโครงงานการเขียนรายงานควรจะใช้ภาษาที่
อ่านเข้าใจง่ายชัดเจนสั้นๆและตรงไปตรงมาโดยครอบคลุมหัวข้อต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. ชื่อโครงงาน
2. ชื่อผู้ทำโครงงาน
3. ชื่อที่ปรึกษา
4. บทคัดย่ออธิบายที่มาและความสำคัญของโครงงานวัตถุประสงค์วิธีดำเนินการและ
ผลที่ได้ตลอดจนข้อสรุปต่าง ๆ อย่างย่อประมาณ 300- 500 คำ

ขัั้นตอนการทำโครงงาน (ต่อ)

5. ที่มาและความสำคัญของโครงงานอธิบายความสำคัญของโครงงานเหตุผลที่เลือก
ทำโครงงานนี้และหลักการหรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับโครงงานเรื่องที่ทำเป็นเรื่องใหม่หรือมีผู้
อื่นเคยศึกษาไว้แล้วโดยมีรายระเอียดดังนี้

6. จุดมุ่งหมายของการศึกษา
7. สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า (ถ้ามี)
8. วิธีดำเนินการอาจแยกเป็น 2 ข้อย่อยคือ

8.1 วัสดุอุปกรณ์และสารเคมี
8.2 วิธีดำเนินการทดลอง (อธิบายขั้นตอนการดำเนินงานโดยละเอียด)
9. ผลการศึกษาค้นคว้าเป็นการนำเสนอข้อมูลหรือผลการทดลองต่างๆที่สังเกต
รวบรวมได้รวมทั้งเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่วิเคราะห์ได้
10. สรุปและข้อเสนอแนะ
11. คำขอบคุณเพื่อเป็นการเสริมสร้างบรรยากาศของความร่วมมือจึงควรกล่าว
ขอบคุณ บุคลากรหรือหน่วยงานต่างๆที่มีส่วนช่วยให้โครงงานนี้สำเร็จ
12. เอกสารอ้างอิงอ้างถึงหนังสือหรือเอกสารต่างๆ ที่ผู้ทำโครงงานใช้ค้นคว้าหรืออ่าน
เพื่อศึกษาหาข้อมูลและรายละเอียดต่างๆที่นำมาใช้ประโยชน์ในการทำโครงงานนี้

ขั้นตอนที่ 6 การนำเสนอโครงงานเป็นการเสนอผลงานที่ได้ศึกษาค้นคว้าสำเร็จแล้วให้ผู้
อื่นได้รับรู้ และเข้าใจสามารถจัดในรูปแบบต่างๆเช่นการจัดนิทรรศการสาธิตการแสดง
ประกอบรายงานปากเปล่าในการจัดแสดงผลงานการทำโครงงานสามารถทำได้หลายระดับ
เช่น การจัดเสนอผลงานภายในชั้นเรียนการจัดแสดงนิทรรศการภายในสถานศึกษาเป็นต้น
ผลงานที่นำเสนอควรจะจัดให้ครอบคลุมประเด็นสำคัญ ดังต่อไปนี้

1. ชื่อโครงงาน/ ชื่อผู้ทำโครงงาน/ ชื่อที่ปรึกษา
2. คำอธิบายย่อๆถึงเหตุจูงใจในการทำโครงงานและความสำคัญของโครงงาน

ขัั้นตอนการทำโครงงาน (ต่อ)

3. วิธีดำเนินการโดยเลือกเฉพาะขั้นตอนที่เด่นและสำคัญ
4. การสาธิตหรือแสดงผลงานที่ได้จากทดลอง
5. ผลการสังเกตและข้อมูลเด่นๆที่ได้จากการทำโครงงาน ในการจัดนิทรรศการแสดง
นอกจากนี้โครงงานนั้นควรได้คำนึงถึงสิ่งต่างๆ
6. ความปลอดภัยของการแสดง
7. ความเหมาะสมกับเนื้อหาที่จัดแสดง
8. อธิบายที่เขียนแสดงควรเน้นเฉพาะประเด็นที่สำคัญและสิ่งที่น่าสนใจเท่านั้น
9. ดึงดูดความสนใจของผู้ชมโดยใช้รูปแบบการแสดงที่น่าสนใจใช้สีที่สดใสเน้นจุด
สำคัญหรือใช้วัสดุต่างประเภทในการจัดแสดง
10. ใช้ตารางและรูปภาพประกอบโดยจัดวางอย่างเหมาะสม
11. ในกรณีที่เป็นสิ่งประดิษฐ์สิ่งนั้นควรอยู่ในสภาพที่ทำงานได้อย่างสมบูรณ์

จากขั้นตอนของการทำโครงงานที่กล่าวมาข้างต้น สรุปได้ว่า
ขั้นตอนของการทำโครงงานดำเนินการดังนี้
1) การเลือกหัวเรื่องที่จะทำโครงงาน
2) การวางแผนในการทำโครงงาน
3) การลงมือทำโครงงาน
4) การบันทึกผลการปฏิบัติการ
5) การเขียนรายงานเกี่ยวกับโครงงาน
6) การนำเสนอโครงงาน

ขัั้นตอนการทำโครงงาน (ต่อ)

ส่วนประกอบการรายงานของโครงงานประกอบด้วย
1) ชื่อโครงงาน
2) ชื่อผู้ทำโครงงาน/โรงเรียน/พ.ศ.ที่จัดทำ
3) ชื่อครูที่ปรึกษา
4) บทคัดย่อ
5) กิตติกรรมประกาศ
6) วัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า
7) ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
8) สมมุติฐานของการศึกษาค้นคว้า
9) วิธีดำเนินการ

10) สรุปผลการศึกษาค้นคว้า
11) อภิปราย/ประโยชน์/ข้อเสนอแนะ
12) เอกสารอ้างอิง

บทบาทของครูและนักเรียนในการจัดการเรียนรู้แบบ

โครงงาน

บทบาทของครู
ลัดดาภู่เกียรติ (2552) กล่าวถึงบทบาทของครูในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานดังนี้
1. จัดกิจกรรมที่ชี้ชวนให้ผู้เรียนได้ศึกษาภาพแวดล้อมทั้งภายในสถานศึกษาและ

นอกห้องเรียนเพื่อจุดประกายความอยากรู้อยากเห็น ช่างสงสัยและนำไปสู่การอยากหาคำ
ตอบในเรื่องนั้นๆเช่นพาไปเรียนรู้ในท้องถิ่นหรือสถานที่ที่ยังไม่เคยเห็น

2. ใช้คำถามที่เชื่อมโยงจากข่าว หรือเหตุการณ์เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความ
อยากรู้อยากติดตามอย่างต่อเนื่อง

3. ใช้คำถามเชื่อมโยงความคิดที่ต่อยอดจากบทเรียนปกติ
4. ใช้สื่อต่างๆทั้งภาพนิ่งภาพเคลื่อนไหวป้ายนิเทศและเป็นสื่อที่ท้าทายให้นักเรียน
ติดตาม
5. จากคำถามและสิ่งเร้าต่างๆทำให้ผู้เรียนได้กลุ่มของปัญหา/เรื่อง/ประเด็นที่
สนใจโดยมีครูคอยช่วยเหลือให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรื่องตามที่สนใจและนำไปศึกษาเพิ่มเติม
ด้วยการทำโครงงานได้
6. จากคำถามและสิ่งเร้าต่างๆทำให้นักเรียนได้กลุ่มของปัญหา/เรื่อง/ประเด็นที่
สนใจโดยมีครูคอยช่วยเหลือให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรื่องตามที่สนใจและนำไปศึกษาเพิ่มเติม
ด้วยการทำโครงงานได้แสดงความคิดเห็น เสนอแนะเพื่อให้ได้ข้อความที่เป็นวัตถุประสงค์
ของโครงงานเรื่องนั้นๆ อย่างชัดเจนและปฏิบัติได้
7. ครูและนักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ความเป็นไปได้และข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เพื่อเขียน
สิ่งที่คาดเดาไว้อย่างรอบคอบและถูกต้อง
8. ช่วยจัดเตรียมสถานที่และประสานความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องเพื่ออำนวยความ
สะดวกในการทำงานของนักเรียนทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนรวมทั้งความปลอดภัยใน
การทำงานทุกขั้นตอนด้วย

บทบาทของครูและนักเรียนในการจัดการเรียนรู้แบบ

โครงงาน (ต่อ)

บทบาทของครู
9. จัดทำแบบสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนแต่ละคนและทำการบันทึกเป็นระยะ ๆ

ตั้งแต่เริ่มทำจนจบภารกิจ
10. ดูแลให้คำแนะนำช่วยเหลือนักเรียนเป็นระยะๆและคอยแนะวิธีการแก้ปัญหาใน

ทุกๆเรื่อง
11. ให้กาลังใจและจัดเวลาให้นักเรียนได้มาปรึกษาหารือหรือแลกเปลี่ยนความคิด

เห็นระหว่างกันเป็นระยะๆ
12. ฝึกให้นักเรียนรู้จักใช้การวิเคราะห์ด้วยการหาค่าสถิติพื้นฐาน
13. ดูแลแนะนำ ปรึกษาในการทำสรุปรายงานผลการศึกษาของนักเรียนให้เหมาะ

สมกับเรื่องที่ ทำการศึกษาเพื่อนำเสนอและประเมินผล
14. ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับวิธีการนำเสนอที่เหมาะสมกับเรื่องที่สนใจศึกษา/ทดลอง

ซึ่งมีหลากหลาย
15. จัดเตรียมสถานที่เวทีป้ายนิเทศป้ายประกาศอุปกรณ์และอื่นๆเพื่อให้นักเรียนนำ

เสนอผลการศึกษา/ทดลองได้อย่างราบรื่น

บทบาทของครูและนักเรียนในการจัดการเรียนรู้แบบ

โครงงาน (ต่อ)

บทบาทของนักเรียน
ลัดดาภู่เกียรติ (2552) กล่าวไว้ว่าบทบาทของนักเรียนในการจัดการเรียนรู้แบบโครง

งานดังนี้
1. สำรวจความอยากรู้อยากเห็นของตนเองจากการสังเกตสิ่งแวดล้อมรอบตัวเอง

หรือชุมชนท้องถิ่นเพื่อหาประเด็นที่สนใจ
2. อ่านหนังสือพิมพ์หรือดูโทรทัศน์ติดตามข่าวเหตุการณ์สำคัญๆว่าสนใจในเรื่องใด

มากเป็นพิเศษ
3. มีการเชื่อมโยงความคิดสู่การเรียนรู้เชิงกว้างและลึก
4. ทัศนศึกษาชมนิทรรศการในเรื่องที่ให้ความสนใจใคร่รู้เพิ่มเติม
5. นำความคิดมาเชื่อมโยงโดยการทำแผนผังที่เข้าใจง่าย
6. เลือกเรื่องที่คิดว่าสนใจและมีข้อมูลที่สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้
7. เขียนในสิ่งที่ต้องการรู้และนำไปอภิปรายเป็นกลุ่มเพื่อหาข้อสรุปในสิ่งที่กลุ่ม

ต้องการรู้หรือต้องการคำตอบ
8. นักเรียนต้องพูดคุยปรึกษาหารือกับเพื่อนสมาชิกในกลุ่มเดียวกันเพื่อคาดคะเน

คำตอบจากการศึกษาทดลองไว้ล่วงหน้า
9. คิดหาวิธีการว่าจะศึกษาเรื่องนี้ได้กี่วิธีอะไรบ้าง
10. กำหนดขั้นตอนต่างๆให้ชัดเจน
11. เขียนเค้าโครงของโครงงานจากข้อมูลทั้งหมดเพื่อนำเสนอครู
12. นักเรียนลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนด
13. บันทึกข้อมูลตามแผนที่วางไว้
14. นำข้อมูลที่รวบรวมทั้งหมดมาทาการวิเคราะห์ตามแผนที่วางไว้

บทบาทของครูและนักเรียนในการจัดการเรียนรู้แบบ
โครงงาน (ต่อ)

บทบาทของนักเรียน
15. สรุปผลการศึกษา/ทดลองในรูปแบบต่างๆ
16. จัดทำรายงานโครงงานเป็นรูปเล่ม
17. เตรียมการนำเสนอผลที่ได้จากการทำโครงงานเพื่อให้ผู้อื่นมีความเข้าใจในการ

ศึกษาของ ตนเองหรือกลุ่มอย่างชัดเจน

หนึ่งประโยคในหนังสือนิทานของคุณ

Thank you