มารยาทไทย 10 ข้อมีอะไรบ้าง

มารยาทไทย, มารยาทไทย หมายถึง, มารยาทไทย คือ, มารยาทไทย ความหมาย, มารยาทไทย คืออะไร

มารยาทไทย 10 ข้อมีอะไรบ้าง

มารยาทไทย, มารยาทไทย หมายถึง, มารยาทไทย คือ, มารยาทไทย ความหมาย, มารยาทไทย คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

“หลวงพ่อจรัญ” แห่งวัดอัมพวัน อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี ให้ข้อคิดกับลูกศิษย์เสมอว่า “คนโกรธ คือ คนโง่ คนโมโห คือ คนบ้า” ยิ่งในยุคโควิด-19 ภาวะเครียด ภาวะกลุ้มใจ อารมณ์อ่อนไหวง่าย คนใจเย็นน้อยลง คนก้าวร้าวมากขึ้น หากเป็นเด็กๆ ค่อยอบรมกล่อมเกลาบ่อยๆ โอกาสจะใจเย็นยังพอหวังได้ แต่ถ้าคนเราโตขึ้นเป็นวัยรุ่น หนุ่มสาววัยทำงาน จนถึงผู้สูงอายุ เกิดเป็นนิสัยคนขี้โมโหแล้ว โดยทั่วไปจะแก้นิสัยดังกล่าวให้เย็นคงจะยาก แต่ยังพอมีหวัง หากผู้ใดตั้งใจฝึกฝนปฏิบัติลด “อารมณ์โมโห” ให้ย่อมทำได้ เพียงต้องตั้ง “สติ” มุ่งมั่นฝึกฝนทำให้ได้ เริ่มคิดก่อนพูด คิดก่อนทำ คิดก่อนตัดสินใจ

Advertisment

⦁ ยับยั้งคำพูดและการกระทำ ในยามที่ตัวเองรู้ตัวว่าโกรธ อารมณ์คำสั่งพลุ่งพล่านให้สงบนิ่งไว้ จำไว้เสมอว่าความคิดใดๆ คำพูดใดๆ การกระทำใดๆ หากมีขึ้นในยามโกรธ โมโห มันเป็นไปในทางก้าวร้าว ทำลายร้ายแรง อาจจะสะใจชั่วครู่ แต่สุดท้ายก็ไม่เป็นผลดี
กฎเหล็ก : เบื้องต้นที่ต้องทำให้ได้ คือ หยุดพูดไม่ทำอะไรเด็ดขาดให้ได้ในยามที่โกรธ รอให้ใจเย็น สงบหายโกรธแล้วค่อย เปิดปากพูดได้

⦁ ไตร่ตรองโทสะของความโกรธ ประโยชน์ของเมตตากรุณาย้อนอดีตที่เราเคยเกิดผลเสียเกิดอะไรบ้าง คิดซ้ำๆ ให้มากกว่าเรียกว่าอะไรไปบ้าง ทำให้ใครเสียใจกี่คน เสียเพื่อนกี่คน เสียโอกาสทำลายความสัมพันธ์เดิมๆ ดี ที่ผ่านมา

การปลูกฝังมารยาทที่ดีให้ลูก จะเป็นการเสริมสร้างทักษะความฉลาดทางสังคม (SQ) ลูกจะเติบโตและเรียนรู้เรื่องการเข้าสังคม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ง่าย เคารพผู้อื่น และรู้จักทำเพื่อส่วนรวม ทั้ง 10 มารยาทพื้นฐานที่คุณพ่อคุณแม่สอนลูกได้ง่ายๆ จะมีอะไรบ้างไปดูกันค่ะ

1. สอนให้ลูกพูดจาไพเราะ สุภาพอ่อนน้อม ตั้งแต่ลูกเริ่มพูด คุณพ่อคุณแม่ต้องเป็นต้นแบบที่ดีให้กับลูกควรใช้คำที่สุภาพอ่อนโยน ฝึกให้ลูกพูดมีหางเสียง ครับ/ค่ะ ต่อท้ายทุกครั้ง

มารยาทไทย 10 ข้อมีอะไรบ้าง

2. สอนให้ลูกพูดคำว่าขอโทษและขอบคุณ เมื่อเขาทำผิดให้พูดขอโทษ ถ้าได้รับความช่วยเหลือให้พูดขอบคุณกับผู้อื่นเสมอ

มารยาทไทย 10 ข้อมีอะไรบ้าง

3. สอนให้ลูกรู้จักเข้าคิว มีระเบียบวินัย เมื่อพาลูกออกไปนอกบ้าน ไม่ว่าจะพาไปเที่ยวหรือทานอาหารนอกบ้าน ต้องสอนให้เข้าคิว เช่น พาไปต่อแถวซื้อตั๋วขึ้นรถไฟฟ้า ซื้อตั๋วเข้าสวนสัตว์ ซื้ออาหาร จะทำให้เขาเรียนรู้เรื่องระเบียบวินัยของสังคมค่ะ

มารยาทไทย 10 ข้อมีอะไรบ้าง

4. สอนให้ลูกไหว้ผู้ใหญ่อย่างอ่อนน้อม ให้ลูกกล่าวคำทักทายและทำท่าสวัสดีให้ดูไปพร้อมๆ กันทุกครั้ง ลูกจะยกมือทำท่าสวัสดีตาม เวลาเจอใครๆ ก็จะยกมือไหว้สวัสดีทักทายทุกครั้ง

มารยาทไทย 10 ข้อมีอะไรบ้าง

5. สอนให้ลูกไม่ส่งเสียงดังในสถานที่สาธารณะ พ่อแม่ต้องไม่พูดเสียงดังหรือตะโกนคุยกับลูก และบอกลูกเสมอว่าไม่ควรส่งเสียงดังโวยวาย เพราะจะเป็นการรบกวนคนอื่น เป็นกิริยาที่ไม่ดี ไม่ควรทำ

มารยาทไทย 10 ข้อมีอะไรบ้าง

6. สอนให้ลูกไม่โยนของ ขว้างทิ้งของ ไม่ว่าของจะเป็นอะไรควรยื่นส่งให้ดีๆ ต้องอธิบายว่าการโยนเป็นกิริยาที่ไม่ดีและอาจจะทำให้ของตกหล่นเกิดความเสียหายได้

มารยาทไทย 10 ข้อมีอะไรบ้าง

7. สอนมารยาทบนโต๊ะอาหารให้กับลูก ไม่ว่าจะเป็นการใช้ช้อน ส้อม ตะเกียบในการรับประทานอาหาร การเช็ดปาก รวบช้อนเมื่อทานอิ่มแล้ว โดยทำเป็นตัวอย่างให้ลูกเห็นอยู่เสมอ

มารยาทไทย 10 ข้อมีอะไรบ้าง

8. สอนให้ลูกปิดปากเวลาไอหรือจาม เมื่อลูกไม่สบายให้ใส่หน้ากากอนามัยและเมื่อจามหรือไอ ก็สอนให้ลูกปิดปาก

มารยาทไทย 10 ข้อมีอะไรบ้าง

9. สอนให้ลูกรู้จักเคารพสิทธิผู้อื่น ไม่ล้อเลียนหรือไม่วิจารณ์รูปลักษณ์ภายนอกของคนอื่น นอกจากเป็นคำชมที่ดีสามารถทำได้ค่ะ

มารยาทไทย 10 ข้อมีอะไรบ้าง

10. สอนให้ลูกรู้จักมารยาทในการใช้โทรศัพท์ ให้แนะนำตัวเองก่อน แล้วจึงขอสายคนที่ลูกต้องการสนทนาด้วย และไม่เล่นโทรศัพท์ขณะคุยกับผู้อื่นหรือเล่นเวลาอยู่บนโต๊ะอาหาร

มารยาทไทย 10 ข้อมีอะไรบ้าง

การฝึกสอนมารยาทให้ลูกตั้งแต่เล็กๆ เป็นการส่งเสริมพัฒนาการทั้ง ด้านอารมณ์ สังคมให้ลูกได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญการเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูก ยิ่งทำให้ลูกปฎิบัติตามได้ง่ายกว่าการบอกหรือสั่งเพียงอย่างเดียวค่ะ

มารยาทไทย

มารยาทไทย 10 ข้อมีอะไรบ้าง

ที่มาของภาพ : http://ratthikan.wordpress.com/2013/05/29/มารยาทไทย

       มารยาทไทย คือ กิริยา วาจาต่างๆ เช่น การยืน การเดิน การนั่ง การนอน การรับของส่งของ การทำความเคารพ การแสดงกิริยาอาการ การรับประทานอาหาร การให้และรับบริการ การทักทาย การสนทนา การใช้คำพูด การฟัง การใช้เครื่องมือสื่อสาร รวมทั้งการประพฤติปฏิบัติในพิธีการต่างๆที่สุภาพเรียบร้อยที่บุคคลพึงปฏิบัติในสังคมโดยมีระเบียบแบบแผนอันเหมาะสมตามกาลเทศะ และถือเป็นเอกลักษณ์สำคัญของคนไทย

มารยาทไทย 10 ข้อมีอะไรบ้าง

ที่มาของภาพ : http://ratthikan.wordpress.com/2013/05/29/มารยาทไทย
มารยาทไทยกำหนดขึ้นไว้เป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติ ดังนี้
        1. การแสดงความเคารพ
        2. การยืน
        3. การเดิน
        4. การนั่ง
        5. การนอน
        6. การรับของและส่งของ
        7. การแสดงกิริยาอาการ
        8. การรับประทานอาหาร
        9. การให้และรับบริการ
        10. การทักทาย
        11. การสนทนา
        12. การใช้คำพูด
        13. การฟัง
        14. การใช้เครื่องมือสื่อสาร
        15. การประพฤติปฏิบัติในพิธีการต่างๆ
        การแสดงความเคารพ อันเป็นมารยาทของคนไทย นิยมการประนมมือ การไหว้ และการกราบ
        การประนมมือ (อัญชลีกรรม) คือ การกระพุ่มมือทั้งสองประนมให้ฝ่ามือทั้งสองประกบกันนิ้วทุกนิ้ว แนบชิดติดกันไม่เหลื่อมล้ำกันหรือกางออกห่าง กระพุ่มมือที่ประนมนี้ไว้ระหว่างอกให้ตั้งตรงขึ้นข้างบนมีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม แนบศอกทั้งสองข้างไว้ชิดกับชายโครง ไม่ปล่อยให้กางออกไปรักษาระดับกระพุ่มมือไว้ระหว่างอก เป็นการแสดงความเคารพเวลาสวดมนต์ หรือฟังสวดมนต์และฟังเทศน์
        การไหว้ (นมัสการ) คือ การยกมือที่ประนมขึ้นจรดหน้าผาก นิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่ระหว่างคิ้วพร้อมกับก้มศีรษะลงเล็กน้อย ใช้แสดงความเคารพพระภิกษุสามเณร หรือปูชนียวัตถุปูชนียสถาน ในขณะที่ผู้ไหว้นั่งบนเก้าอี้หรือยืนอยู่ การไหว้บุคคลผู้อาวุโสกว่าให้ปล่อยมือจรดจมูกหรือคิ้ว การไหว้ผู้เสมอกันให้ประนมมือไหว้ระดับอก
        การกราบ (อภิวาท) คือ การแสดงอาการกราบราบลงกับพื้นด้วยเบญจางคประดิษฐ์ คือด้วยองค์ประกอบห้าอย่าง ได้แก่ เข่าทั้งสอง ฝ่ามือทั้งสอง และศีรษะอันได้แก่ หน้าผากให้จรดกับพื้นเป็นอาการแสดงความเคารพอย่างสูงต่อ พระรัตนตรัย มีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
        ท่าเตรียมตัว นั่งคุกเข่า (ชายตามแบบชาย หญิงตามแบบหญิง) มือทั้งสองทอดวางเหนือเข่าทั้งสองให้นิ้วมือทั้งห้าแนบชิดกัน
        – จังหวะที่หนึ่ง ยกมือขึ้นประนมไว้ระหว่างอก ตามแบบการประนม
        – จังหวะที่สอง ยกมือที่ประนมขึ้นจรดหน้าผาก โดยให้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่ระหว่างคิ้วตามแบบการไหว้ พระรัตนตรัย
        – จังหวะที่สาม ก้มตัวลง ปล่อยมือทั้งสองให้ทอดลงกับพื้นโดยแบมือทั้งสองให้ข้อศอกต่อกับเข่าทั้งสอง ข้าง (สำหรับชาย) และให้ศอกทั้งสองข้างขนาบเข่าทั้งสองไว้(สำหรับหญิง) ให้ระยะมือทั้งสองห่างกันประมาณ ห้านิ้ว ก้มศีรษะให้หน้าผากจรดพื้นในระหว่างมือทั้งสองแล้วยกมือประนมขึ้นผ่านจังหวะ ที่หนึ่สอง และสามไปตามลำดับให้ต่อเนื่องกันทำติดต่อกันไปจนครบสามครั้ง
เมื่อครบสามครั้งแล้วพึงยกมือขึ้นไหว้ตามแบบพระรัตนตรัย แล้วเปลี่ยนอริยาบทเป็นนั่งพับเพียบหรือลุกขึ้นตามกาลเทศะ
        การกราบบุคคล และกราบศพ เป็นการกราบด้วยวิธีกระพุ่มมือ และกราบเพียงครั้งเดียวไม่แบมือ ดังนี้
        1) หากบุคคลหรือศพอาวุโสกว่าให้ประนมมือไหว้ ให้ปลายนิ้วจรดจมูก หรือจรดหว่างคิ้วก็ได้ถ้าคนเสมอกัน
             ประนมมือเพียงระหว่างอก
        2) นั่งพับเพียบเก็บเท้า ตามแบบนั่งพับเพียบ
        3) หมอบลงตามแบบหมอบ
        4) มือทั้งสองกระพุ่มทอดลงกับพื้นไม่แบมือ
        5) ก้มศีรษะลงจรดสันมือ กราบเพียงครั้งเดียว
        6) เสร็จแล้วลุกขึ้นนั่งพับเพียบตามปกติ
        ศพพระสงฆ์จะกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์สามครั้งก็ได้ สำหรับนาคกราบลาบวช หรือจะกราบบิดามารดาตอนรับผ้าไตรใช้แบบเบญจางคประดิษฐ์ 3 ครั้ง
        การยืน ที่ควรทราบและถือปฏิบัติทั้งในเวลายืนตามลำพัง ยืนต่อหน้าผู้ใหญ่ และยืนแสดงความเคารพในโอกาสต่างๆ ดังนี้
   1) การยืนตามลำพัง ควรอยู่ในลักษณะสุภาพ สบาย ขาชิด ตั้งตัวตรง ไม่หันหน้าหรือแกว่งแขนไปมา
   2) การยืนต่อหน้าผู้ใหญ่ ควรยืนตรง ขาชิด ปลายเท้าห่างกันเล็กน้อย มือทั้งสองแนบข้างลำตัว ถ้าอยู่ต่อหน้าผู้ใหญ่ที่มีอาวุโสสูงหรือพระสงฆ์ หรือเป็นการยืนหน้าที่ประทับควรค้อมส่วนบนตั้งแต่เอวขึ้นไปเล็กน้อยมืออยู่ ในลักษณะคว่ำซ้อนกัน จะเป็นมือข้างไหนทับมือข้างไหนก็ได้ หรือจะประสานมือทั้งสองอย่างหลวมๆ หงายมือทั้งสองสอดนิ้วเข้าระหว่างช่องนิ้วของแต่ละมือก็ได้
   3) การยืนถวายความเคารพพระมหากษัตริย์หรือพระมเหสี ถ้าแต่งเครื่องแบบให้ยืนตรง แล้วกระทำวันทยาหัตถ์ ถ้าไม่ได้สวมหมวก ให้ยืนตรงแล้วถวายคำนับ การถวายคำนับให้ก้มศีรษะ และส่วนไหล่ลงช้า ๆ ให้ต่ำพอสมควรแล้วกลับมายืนตรง อย่าผงกศีรษะ ถ้าสวมหมวกอื่นที่มิใช่ประกอบเครื่องแบบต้องถอดหมวกก่อนแล้วจึงถวายคำนับ
สำหรับหญิง ให้ยืนตรงเท้าชิด หันหน้าไปทางพระองค์ท่าน ชักเท้าข้างใดข้างหนึ่งไปทางหลังโดยวาดปลายเท้าไปทางอีกด้านหนึ่งของเท้าที่ ยืน ทำพร้อมกับย่อเข่าอีกข้างหนึ่งลงช้าๆ เมื่อจวนจะต่ำสุดให้ยกมือทั้งสองวางประสานกันบนหน้าขาที่ย่อให้ต่ำลง โดยให้หน้ามือประสานกันและให้ค่อนไปทางเข่า ก้มศีรษะลงเล็กน้อย จากนั้นเงยศีรษะขึ้นพร้อมกับชักเท้าที่ไขว้กลับที่เดิมและตั้งเข่าตรง
   4) การยืนแสดงความเคารพเมื่อมีการบรรเลงเพลงเคารพ เพลงเคารพได้แก่เพลงชาติ เพลงสรรเสริญพระบารมี เพลงมหาฤกษ์ และเพลงมหาชัย
        เมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญพระบารมีให้ยืนขึ้นแล้วระวังตรง หันหน้าไปทางพระองค์ท่านหรือพระบรมฉายาลักษณ์หรือประธานที่ชวนเชิญถวายพระพร ในขณะนั้นให้ยืนตรงอยู่จนจบเพลง ถ้าเป็นการบรรเลงที่ปรากฏพระองค์ต้องถวายความเคารพเมื่อเห็นพระองค์ครั้งหนึ่ง
        เมื่อได้ยินเพลงชาติให้ยืนระวังตรงจนจบเพลง แล้วจึงเปลี่ยนอิริยาบถเป็นอย่างอื่นแล้วแต่กรณี
        เมื่อได้ยินเพลงมหาฤกษ์ ซึ่งใช้ในการเริ่มพิธีสำคัญๆให้ยืนขึ้นอย่างสุภาพหันหน้าไปทางประธานในพิธี           เมื่อจบเพลงแล้วจึงเปลี่ยนอิริยาบถเป็นอย่างอื่นแล้วแต่กรณี
        เมื่อได้ยินเพลงมหาชัย ซึ่งใช้แสดงความเคารพต่อพระบรมวงศานุวงศ์ ควรปฏิบัติเช่นเดียวกับได้ยินเสียงเพลงสรรเสริญพระบารมี
   5) การยืนต่อหน้าพระที่นั่ง ในเวลาที่อยู่ต่อหน้าพระที่นั่งเวลาจะลุกขึ้นยืนหรือเคลื่อนที่ไปไหน ต้องถวายความเคารพก่อนทุกครั้ง การยืนรับเสด็จเวลาเสด็จพระราชดำเนินผ่านสำหรับชายยืนตรงถวายคำนับ หญิงถอนสายบัว ถ้าแต่งเครื่องแบบและสวมหมวกให้ทำวันทยาหัตถ์
   6) การเดินไปทำธุระใดๆ เมื่อลุกจากที่และถวายความเคารพแล้วเดินไปยังที่จะทำกิจธุระเมื่อถึงที่ให้ ถวายความเคารพแล้วจึงทำกิจธุระนั้น ขณะทำกิจธุระจะนั่งย่อเข่า หรือคุกเข่าหรือหมอบแล้วแต่กรณี ทำกิจธุระเสร็จแล้วลุกขึ้น ถอยหลังหนึ่งก้าว ถวายความเคารพแล้วเดินถอยหลังสามก้าว ถวายความเคารพ แล้วเดินกลับที่นั่ง ก่อนจะนั่งถวายความเคารพอีกครั้ง
   7) การเดินขึ้นลงเมรุ ในงานศพที่เสด็จพระราชดำเนิน ควรปฏิบัติโดยลำดับ ดังนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระบรมวงศานุวงศ์ประธานองคมนตรี นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี คณะทูตานุทูต ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ประชาชนทั่วไป พระภิกษุสามเณรเป็นอันดับสุดท้าย
        การปฏิบัติในการเดินขึ้นสู่เมรุให้ลุกจากที่นั่งถวายความเคารพ เมื่อผ่านที่ประทับถวายความเคารพลงจากเมรุถึงพื้นถวายความเคารพ เมื่อผ่านที่ประทับถวายความเคารพ ก่อนจะนั่งถวายความเคารพ
        การนั่ง โดยคำนึงถึงมารยาทอาจจัดเป็นประเภทต่างๆได้ดังนี้ การหมอบ และการนั่งคุกเข่าในงาน และในโอกาสต่างๆ มีวิธีปฏิบัติดังนี้
   1) การนั่งเก้าอี้ ให้นั่งตัวตรง หลังพิงพนักเก้าอี้ เท้าวางชิดกัน เข่าแนบชิดกัน มือทั้งสองวางบนหน้าขาถ้าเป็นเก้าอี้ท้าวแขน เมื่อนั่งตามลำพัง จะเอาแขนพาดบนท้าวแขนก็ได้ ไม่ควรนั่งเอาปลายเท้าหรือขาไขว้กันอย่างนั่งไขว่ห้างควรนั่งเต็มเก้าอี้ อย่านั่งโดยโยกเก้าอี้ให้ยกหน้าหรือเอนหลัง การนั่งลงศอกในกรณีนั่งเก้าอี้ให้น้อมตัวลงเงยหน้าเล็กน้อย วางแขนทั้งสองลงบนหน้าขามือประสานกัน
   2) การนั่งพับเพียบ ให้นั่งในลักษณะสุภาพ ยืดตัว ไม่ต้องเก็บปลายเท้า แต่อย่าเหยียดเท้าถ้านั่งต่อหน้าผู้ใหญ่ให้เก็บปลายเท้า มือประสานกันไม่ท้าวแขน
   3) การหมอบ ให้นั่งพับเพียบเก็บปลายเท้าก่อน แล้วหมอบลงไปให้เข่าข้างหนึ่งอยู่ระหว่างแขนทั้งสองข้างแขนวางราบกับพื้น ตลอดครึ่งแขน ส่วนมือถึงศอกประสาน หรือประณมแล้วแต่กรณี
   4) การนั่งคุกเข่า ให้นั่งตัวตรง วางก้นบนส้นเท้าปลายเท้าตั้ง มือทั้งสองประสานกัน หรือจะวางคว่ำบนหน้าขาก็ได้
   5) การนั่งหน้ารถพระที่นั่งหรือรถที่นั่ง ก่อนที่จะขึ้นนั่งให้ถวายความเคารพก่อน แล้วขึ้นนั่งโดยหันหลังขึ้นนั่งพร้อมกับยกขาขึ้นตามไปด้วยนั่งตัวตรง ขาชิด เข่าชิด หลังแตะพนักแต่ไม่พิง มือประสานบนตัก สำรวมอิริยาบถแต่ให้ผึ่งผาย ไม่เหลียวหน้าไปทางใด
   6) การนั่งขัดสมาธิ (สะหมาด) คือการนั่งตามสบายอย่างหนึ่งและการนั่งแบบทำสมาธิ
        การนั่งขัดสมาธิธรรมดา คือ การนั่งบนพื้น คู้เข่าทังสองข้างหาตัว แนบขาลงกับพื้น โดยให้ขาข้างหนึ่งช้อนทับอยู่บนอีกข้างหนึ่ง ส้นเท้าทั้งสองข้างจะสัมผัสกับขา เป็นอิริยาบถที่ใช้นั่งตามลำพังสบายๆ หรือ สำหรับชายนั่งกับพื้นรับประทานอาหาร
        การนั่งขัดสมาธิที่ใช้ในทางศาสนา มี 2 แบบ คือ การนั่งขัดสมาธิราบ และการนั่งขัดสมาธิเพชร
        การนั่งขัดสมาธิราบ คือ การนั่งขัดสมาธิสองชั้น โดยเอาขาซ้อนทับกัน เอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ให้นิ้วหัวแม่มือจรดกัน ตั้งกายส่วนบนให้ตรง การนั่งขัดสมาธิราบนี้ใช้นั่งในการเจริญภาวนาทำจิตใจให้สงบ ซึ่งเป็นการปฏิบัติกรรมฐานเมื่อนั่งแบบนี้จะมีผลให้เนื้อหนังและเอ็นไม่ขด แม้นั่งนานทุกขเวทนาก็จะไม่บังเกิดขึ้น การบำเพ็ญภาวนาทางจิตใจจะได้ผล
        การนั่งขัดสมาธิเพชร คือ การนั่งขัดสมาธิโดยคู้เข่าทั้งสองข้าง เอาฝ่าเท้าทั้งสองขัดหรือไขว้ขึ้นวางบนหน้าขา ท่านั่งขัดสมาธิแบบนี้ต้องใช้การฝึกหัดให้เกิดความชำนาญ โดยการหัดนั่งขัดสมาธิราบ หรือขัดสมาธิสองชั้นได้ชำนาญแล้ว

มารยาทไทย 10 ข้อมีอะไรบ้าง

http://ratthikan.wordpress.com/2013/05/29/มารยาทไทย

มารยาทไทยมีกี่ข้อ

มารยาทไทยกำหนดขึ้นไว้เป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติ ดังนี้ 1. การแสดงความเคารพ 2. การยืน 3. การเดิน

มารยาทไทยที่นักเรียนรู้จักและปฏิบัติเป็นประจำมีอะไรบ้าง

การพูด ... .
การทักทาย ... .
การแต่งกาย ... .
การนั่ง การยืน และการเดิน ... .
การรับประทานอาหาร ... .
การใช้บริการรถสาธารณะ ... .
การใช้สมาร์ทโฟน ... .
เคารพสิทธิผู้อื่น.

มารยาทที่ดีมีอะไรบ้าง5ข้อ

มารยาท คือ ระเบียบเกี่ยวกับความประพฤติต่างๆ มารยาทที่ควรปฏิบัติในครอบครัว ได้แก่.
มารยาทในการพูด - ใช้คำพูดสุภาพอ่อนหวาน - ไม่พูดแทรก ... .
มารยาทในการแสดงความเคารพ ... .
การรู้จักสำรวมกิริยา ... .
มารยาทในการรับประทานอาหาร ... .
มารยาทในการเล่น.

แนวทางปฏิบัติมารยาทไทย มีอะไรบ้าง

๑) ทางกาย เป็นผู้มีกิริยามารยาทที่ดี มีความเคารพหรือแสดงออกอย่างเหมาะสมกับ สถานะของตนเองและผู้อื่น แต่งกายสุภาพเหมาะสมกับสถานที่ ๒) ทางวาจา พูดจาด้วยภาษาสุภาพ ไม่พูดแทรกในขณะที่ผู้อื่นพูดอยู่ ไม่ส่งเสียงดัง ในที่สาธารณะ ๓) ทางใจ เป็นผู้มีคุณธรรมในจิตใจ มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ให้ความเคารพแก่ผู้อื่น