การสืบค้นข้อมูลจากห้องสมุดมีวิธีใดบ้าง

         โดยทั่วไปในการค้นหาหนังสือแต่ละเล่มจะมีเครื่องมือช่วยค้นหาซึ่งมีความคล้ายคลึงกัน  ผู้ใช้อาจจะต้องเสียเวลาทำเข้าใจในระบบการสืบค้นและเทคนิควิธีการค้นหา เพื่อให้สามารถค้นหาหนังสือมี่ต้องการได้รวดเร็วและตรงกับความต้องการให้มากที่สุด
          เทคนิคการสืบค้น หมายถึง วิธีการต่างๆที่นำมาใช้ประกอบในการค้นหา เช่น ประโยคที่ต้องการ ข้อมูลอาจจะแป็นชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง หัวเรื่อง   เป็นต้น
          ก่อนที่จะหาเริ่มต้นการค้นหาข้อมูล

  1. จะต้องทราบข้อมูลก่อน ว่าเราจะค้นหาเรื่อง อะไร ใครเป็นผุ้แต่ง เช่น
ชื่อผู้แต่ง (Auther) เป็นการสืบค้นโดยใช้ชื่อ บุคลล กลุ่มบุคล นามปากกา หรือชื่อหน่วยงาน/องค์การ
  1. ชื่อเรื่อง (Title)  เป็นการค้นหาด้วยชื่อเรื่อง เช่นชื่อหนังสือ  ชื่อบทความ ชื่อเรื้องสั้น หรือนวนิยาย ชื่องานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์
  2. หัวเรื่อง (Subject Heading) คือ คำหรือวลีที่กำหนดขึ้นมา ใช้แทนเนื้อหาของหนังสือ บทความ วิจับ วิทยานิพนธ์ ของทรัพยากรนั้นๆ
เมื่อทราบวิธีการสืบค้นขั้นต้นแล้ว Search หา วิธีการสืบค้นหนังสือระบบ OPAC / http://lib.rmutsv.ac.th/
การสืบค้นข้อมูลจากห้องสมุดมีวิธีใดบ้าง

พิมพ์ข้อมูลที่ต้องการค้นหา เช่น ชื่อผู้แต่ง    หรือชื่อหนังสือ  เป็นต้น ในระบบจะปรากฏชื่อผู้แต่ง หรือ ชื่อหนังสือที่ต้องการ เมื่อได้ข้อมูลแล้ว เราจะต้องทราบว่า หนังสือเล่มนี้ อยู่หมวดหมู่ไหน วิธีค้นหาอย่างง่ายทีจะแนะนำ
การสืบค้นข้อมูลจากห้องสมุดมีวิธีใดบ้าง

เมื่อทราบข้อทราบข้อมูลแล้วก็สามารถหาหนังสือได้ตามที่ปรากฏตามหัวตู้ของชั้นหนังสือ

ในปัจจุบันนี้เราสามารถติดต่อสื่อสารกับคนทั่วโลกได้สะดวกมาก แต่กว่าจะมาถึงวันนี้ได้ การสื่อสารได้มีวิวัฒนาการมาหลายยุคหลายสมัย เชื่อกันว่าการสื่อสารระยะไกลของมนุษย์ในยุคแรกๆ น่าจะเป็นการการตีเกราะ เคาะไม้ การส่งเสียงต่อเป็นทอดๆ และการส่งสัญญาณควัน ต่อมาเมื่อมนุษย์รู้จักวิธีการเขียนหนังสือ ก็มีการคิดวิธีการสื่อสารกัน แบบใหม่โดยการฝากข้อความไปกับนกพิราบ หรือการส่งข้อความไปกับม้าเร็ว ต่อ มาเมื่อมีการผลิตกระแสไฟฟ้าได้  ก็เกิดการปฏิวัติการสื่อสารขึ้นโดยมนุษย์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ โดยไม่ต้องเดินทางไปหากัน  ไม่ต้องตีเกราะเคาะไม้  ไม่ต้องส่งสัญญาณควัน ไม่ต้องใช้ม้าเร็ว ไม่ต้องใช้นกพิราบ        เมื่อมีการผลิตกระแสไฟฟ้าได้การสื่อสารระยะไกลก็ได้มีการพัฒนาตามเทคโนโลยี ใหม่  โดยแซมมวลมอร์ส นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน เป็นคนแรกที่คิดวิธีการสื่อสารสมัยใหม่(ในตอนนั้น)โดยการส่งสัญญาณไปตามสาย   มอร์สได้กำหนดรหัสขึ้นมาใช้ในการสื่อสาร  ด้วยการส่งกระแสไฟฟ้าให้ไหลไปตามสายไฟฟ้า  และกำหนดให้มีจังหวะของการไหลยาวบ้างสั้นบ้างเป็นจังหวะ    แล้วนัดหมายกับฝ่ายรับปลายทางว่ารหัสแต่ละตัวหมายถึงตัวอักษร ตัวใด  การส่งสัญญาณในรูปรหัสนี้เรียกว่าการส่งโทรเลข รหัสที่ใช้ในการส่งโทรเลขเรียกว่ารหัสมอร์ส   รหัสที่มอร์สกำหนดขึ้นมาโดยใช้สัญญาณเพียงสองลักษณะเท่านั้นคือสัญญาณไฟสั้นกับ ยาว  ซึ่งจะแทนด้วย  .  กับ  -   ( จุด  กับ ขีด ) จุด เกิดจากการกดคันเคาะในช่วงเวลาสั้นๆ  ส่วนขีดเกิดจากการกดคันเคาะแช่ไว้เป็นเวลาที่นานกว่า      มอร์สนำเอารหัสจุดกับขีดนี้มาผสมกันแล้วกำหนดเป็น รหัสสัญญาณโทรเลขของตัวอักษรต่างๆขึ้นมา 
 
ในการส่งโทรเลขจะต้องมีคนเคาะคันเคาะเพื่อส่งกระแสไฟฟ้าในรูปของสัญญาณสั้น -ยาวสลับกันไปสัญญาณนี้จะวิ่งไปตามสายโทรเลข และในการส่งโทรเลข เจ้าหน้าที่ต้องจำรหัสของตัวอักษรและสระได้ทุกตัวอย่างเป็นอย่างดีจึงจะ สามารถส่งโทรเลขได้




การสืบค้นข้อมูลจากห้องสมุดมีวิธีใดบ้าง



ต่อมาได้มีการนำเอารหัสมอร์สนี้มาประยุกต์ใช้ในการส่งสัญญาณไฟ  โดยการเปิด-ปิดไฟเป็นจังหวะสั้น- ยาว  สลับกันไป  ถ้าเปิดไฟนาน  แสงจากดวงไฟจะเรียกว่าแสงวาบ  ถ้าเปิดไฟในช่วงเวลาสั้นๆ แสงไฟจะเรียกว่าแสงวับ


  


     ต่อ มา เนื่องจากการสื่อสารกันด้วยโทรเลขค่อนข้างยุ่งยากและต้องใช้ผู้ที่ชำนาญเป็น อย่างมาก และใช้เวลาฝึกฝนเป็นปีจึงจะสามารถรับหรือส่งข้อความต่างๆได้ เนื่องจากผู้รับหรือส่งจะต้องจำรหัสให้ได้ทุกตัวตั้งแต่ ก ไก่ จนถึง ฮ นกฮูก และสระทุกตัว หรือถึงแม้เจ้าหน้าที่บางคนจะจำรหัสได้ทุกตัว แต่บางคนก็ไม่สามารถรับข้อความได้ เนื่องจากสัญญาณเหล่านี้จะมาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ถ้าไม่ชำนาญจะไม่สามารถรับข้อความเหล่านี้ได้ ต่อมาเมื่อวิทยาการก้าวหน้าขึ้น ได้มีการประดิษฐ์เครื่องโทรพิมพ์เพื่อทำหน้าที่ในการส่งและรับโทรเลขแทนคน เครื่องโทรพิมพ์นี้ก็ใช้หลักการทำงานเช่นเดียวกับโทรเลข แต่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องจำรหัสตัวอักษรต่างๆ ในการส่งโทรเลขด้วยเครื่องโทรพิมพ์ ผู้ส่งก็เพียงแต่พิมพ์ตัวอักษรที่ต้องการส่งลงไปในเครื่องโทรพิมพ์ เครื่องโทรพิมพ์ก็จะเจาะรูบนแถบกระดาษให้เป็นรหัสมอร์ส

  

      ถ้าถามว่าการส่งสัญญาณด้วยรหัสมอร์สในปัจจุบันนี้ ยังมีการใช้อยู่หรือไม่ ท่านผู้อ่านคิดว่า ( มี อาจะมี ไม่มี ) ท่านผู้อ่านที่ตอบว่าไม่มี ผิดครับ !! ถึงแม้ว่าในปัจจุบันเทคโนโลยีต่างๆจะก้าวหน้าไปมาก แต่ในปัจจุบันการส่งสัญญาณด้วยรหัสมอร์สก็ยังมีการใช้อย ู่ ตัวอย่างเช่นในทางทหารยังมีการติดต่อสื่อสารกันโดยใช้รหัสมอร์ส หรือสัญญาณไฟ เนื่องจากในยามฉุกเฉินหรือในยามสงคราม การสื่อสารในระบบอื่นๆอาจถูกตัดขาด การสื่อสารทางสัญญาณไฟหรือสัญญาณมอร์สก็จะถูกนำมาใช้แทนได้ หรือกล่าวง่ายๆว่า ถ้ามีการสื่อสารหลายรูปแบบย่อมจะดีกว่าที่จะมีการสื่อสารรูปแบบเดียว จากพัฒนาการของการสื่อสารจะสังเกตเห็นว่าการสื่อสารด้วยรหัสมอร์ส ก็พัฒนามาจากการสื่อสารด้วยสัญญาณควันหรือสัญญาณการตีเกราะเคาะไม้นั่นเอง แม้ว่าโทรเลขจะเป็นการสื่อสารที่รวดเร็วมากเพราะว่าส่งปั๊บก็ถึงปุ๊บ แต่การส่งโทรเลขก็ยังไม่ค่อยสะดวกเพราะว่าเป็นการส่งตัวอักษรทีละตัว และบ่อยครั้งที่ผู้รับแปลรหัสผิดและเกิดผลเสียหาย

    ต่อมาเมื่อนักวิทยาศาสตร์สามารถแปลงเสียงพูดให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าได้  อเล็กซานเดอร์  เกรแฮม  เบลล์ (Alexander  Graham Bel)  จึงได้ประดิษฐ์โทรศัพท์ขึ้นมา  และโทรศัพท์จะมีการเปลี่ยนสัญญาณเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปตามสายโทรศัพท์    แล้วโทรศัพท์ปลายทางจะทำหน้าที่แปลงสัญญาณไฟฟ้านั้นกลับมาเป็นสัญญาณเสียงเหมือนเดิม   และเรียกการสื่อสารในลักษณะนี้ว่าโทรศัพท์แบบใช้สายหรือโทรศัพท์บ้าน  




การสืบค้นข้อมูลจากห้องสมุดมีวิธีใดบ้าง



ใน ตอนที่มีโทรศัพท์บ้านใหม่ๆ     ถือได้ว่าการสื่อสารแบบนี้เป็นการสื่อสารที่มีความสะดวกมาก     แต่เนื่องจากมนุษย์นี้มีความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด  เมื่อใช้โทรศัพท์บ้านไปนานๆคนก็เริ่มรู้สึกว่าโทรศัพท์บ้านนี้ไม่สะดวก   คุยโทรศัพท์แล้วจะเดินไปเดินมาก็ไม่ได้    หรือไปเที่ยว ป่า เขา ทะเล  ก็คุยกับเพื่อนไม่ได้   ต่อมาเมื่อนักวิทยาศาสตร์พบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งสามารถเดินทางไปในที่ ต่างๆได้โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง    จึงได้มีการประดิษฐ์โทรศัพท์ไร้สายขึ้น    แล้วคนไทยได้ตั้งชื่อโทรศัพท์แบบนี้ว่า โทรศัพท์มือถือ ”   ชื่อนี้เมื่อชาวต่างประเทศได้ยิน  คงแปลกใจว่า  แล้วโทรศัพท์แบบอื่นคนไทยใช้อะไรถือ  ?  โทรศัพท์มือถือในปัจจุบันก็พัฒนามาจากวิทยุโทรศัพท์ที่ตำรวจ  ทหาร และอาสาสมัครใช้ในการติดต่อสื่อสารกันภายในหน่วยงาน
 
      วิทยุโทรศัพท์ที่ตำรวจ  ทหารและอาสาสมัครใช้  ไม่สามารถส่งและรับพร้อมกันได้  ดังนั้นในการติดต่อสื่อสารกันตอนจบข้อความจะต้องมีคำลงท้ายว่าเปลี่ยน “  คำ ว่า  เปลี่ยน  หมายความว่าให้อีกฝ่ายหนึ่งเป็นคนพูดบ้าง  และวิทยุโทรศัพท์แบบนี้จะมีศูนย์กลางทำหน้าที่รับและถ่ายทอดสัญญาณไปยัง เครือข่ายที่อยู่ใกล้เคียง
 
      การสื่อสารในปัจจุบันช่วยให้การดำเนินชีวิตคนเรามีความสะดวก สบายมากขึ้น(ไม่ได้หมายความว่าคนในปัจจุบันมีความสุขมากขึ้น) ปัจจุบันผู้บริหารหน่วยงานต่างๆที่มีเครือข่ายอยู่ทั่วประเทศสามารถประชุม กันได้  โดยไม่ต้องมาเข้าห้องประชุมเดียวกัน

และในการประชุมก็ไม่ต้องมี เอกสารเป็นปึกๆเหมือนแต่ก่อน  เพราะว่าเอกสารต่างๆจะอยู่ในรูปแผ่นดิสก์หรืออยู่ในเครือข่ายที่สามารถดึง ข้อมูลออกมาได้ทันที

 เมื่อการสื่อสารด้วยโทรศัพท์ มาถึงจุดที่ค่อนข้างจะอิ่มตัว ก็ได้มีเทคโนโลยีใหม่เกิดขึ้นมาคือเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ในปัจจุบันเราก็สามารถพูดคุยกับเพื่อนได้ทั่วโลก โดยใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตและมีค่าใช้จ่ายถูกกว่าการใช้โทรศัพท์  นอกจากนี้ก็สามารถใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตในการจัดการเรียนการสอนผ่านทาง อินเตอร์เน็ตได้

      จากวิวัฒนาการของการสื่อสารที่มีการพัฒนาการอยู่ตลอดเวลาดังที่กล่าวมาแล้ว    ไม่รู้ว่าในอนาคตของการสื่อสารจะพัฒนาไปจนถึงขั้นใช้โทรจิตติดต่อกัน หรือไม่    และปัจจุบันมีรายงานการวิจัยออกมาว่า  เราสามารถทำการทดลองเพื่อทำนายความคิดของผู้ถูกทดลองได้   แต่รายงานการวิจัยนี้ผู้เขียนไม่คิดว่าเป็นเรื่องที่แปลกใหม่อะไร    เพราะว่าในปัจจุบันก็มีคนที่สามารถรู้ความคิดของคนได้โดยการมองดวงตา  เนื่องจากใครๆก็รู้ว่าดวงตาคือหน้าต่างของหัวใจ   และเชื่อว่าในอนาคตก็อาจจะมีคนประดิษฐ์โทรจิตก็เป็นได้ 



การสืบค้นข้อมูลจากห้องสมุดมีวิธีใดบ้าง



และหวังว่าคนที่ ประดิษฐ์โทรจิตได้เป็นคนแรกน่าจะเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลธัญบุรี    และผู้เขียนอยากจะบอกท่านผู้อ่านและนักศึกษามหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี  ว่า   ” คำว่าเป็นไปไม่ได้ “     ไม่ควรจะนำมาใช้บ่อยนัก  เพราะว่าหลายสิ่งหลายอย่างที่เราเห็นหรือที่เราใช้อยู่ในทุกวันนี้    ก็เคยเป็นสิ่งที่ในสมัยก่อนคิดว่าเป็นไปไม่ได้   ยกตัวอย่างง่ายๆเช่น  ในสมัยก่อนพูดถึงขอมดำดินก็คงไม่มีใครคิดว่าคนไทยจะสามารถดำดินได้เหมือนขอม     แต่ในปัจจุบันคนไทยก็สามารถดำดินไปโผล่ในที่ต่างๆได้แล้ว  หรือในสมัยรัชกาลที่ 1 ก็คงไม่มีใครคิดว่าเราสามารถคุยคนทุกมุมโลกโลกได้ในเวลาเดียวกันโดยไม่ต้อง เดินทางไปไหนเลย



ความสำคัญของการติดต่อสื่อสาร

   ในอดีตเมื่อมนุษย์มีการพัฒนาด้านภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน การพบปะแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกันก็ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเป็นลำดับ จากการติดต่อสื่อสารกันในระหว่างกลุ่มชุมชนเดียวกัน ก็มีการติดต่อสื่อสารข้ามกลุ่มข้ามชุมชน มีการพัฒนาวิธีการติดต่อสื่อสารเพื่อให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วขึ้น ดังที่นักเรียนอาจจะเคยทราบมาบ้างแล้ว เช่น การสื่อสารโดยใช้นกพิราบ การใช้ม้าเร็วในการติดต่อสื่อสาร การใช้สัญญาณเสียงด้วยการตีกลอง หรือตีเกราะเคาะไม้ การส่งสัญญาณควันไฟ เป็นต้น จากนั้นก็มีการพัฒนาเทคโนโลยีในการสื่อสารเพื่อช่วยให้มนุษย์มีการติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้ตามความต้องการ

องค์ประกอบของการสื่อสารที่สำคัญ
1.ผู้ส่งข้อมูล (Sender) คือสิ่งที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลหรือสารสนเทศไปยังจุดหมายที่ต้องการ
ผู้รับข้อมูล (Receiver) คือสิ่งที่ทำหน้าที่รับข้อมูลหรือสารสนเทศที่ถูกส่งมาจากผู้ส่ง
3.ข้อมูลหรือสารสนเทศ (Data or Information) คือข้อมูลหรือสารสนเทศที่ผู้ส่งข้อมูลหรือสารสนเทศไปยังผู้รับข้อมูลหรือสารสนเทศ ข้อมูลหรือสารสนเทศอยูในรูปแบบของข้อความ  เสียง  ภาพ  ภาพเคลื่อนไหว และอื่น ๆ
4.สื่อนำข้อมูล (Medium)  คือสิ่งที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการส่งข้อมูลหรือสารสนเทศจากผู้ส่งข้อมูลหรือสารสนเทศไปยังผู้รับข้อมูลหรือสารสนเทศ  เช่น สายเคเบิล (Cable) สายใยแก้วนำแสง (Fiber- Optic Cable) อากาศ (Weather) ดาวเทียม (Satellite) คลื่นไมโครเวฟ (Microwave) เป็นต้น


 ถ้าจะแบ่งการสื่อสารของมนุษย์ ตามลักษณะการส่งข้อมูล ออกเป็นหัวข้อเราจะแบ่งได้ดังนี้

1. การสื่อสารด้วยรหัส  การสื่อสารด้วยข้อความตัวอักษรจะมีปัญหาในส่วนที่ผู้อื่นสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้ง่าย โดยเฉพาะข้อมูลข่าวสารที่เป็นความลับ เช่น ข้อมูลด้านการทหาร จึงมีการพัฒนาสร้างรหัสเฉพาะเพื่อรับรู้กันเฉพาะผู้รับและผู้ส่ง เมื่อ ปี พ.ศ. 2379 แซมวล มอร์ส (Samuel Morse) ได้พัฒนาอุปกรณ์ที่สามารถส่งรหัสข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกด้วยคลื่นวิทยุ เรียกว่ารหัสมอร์ส ซึ่งเป็นรหัสที่ใช้จุดและขีดเป็นสัญลักษณ์ในการส่งวิทยุ ทำให้เกิดการพัฒนาการสื่อสารในระยะไกล และในนำไปใช้ในกิจการวิทยุ และโทรทัศน์ นอกจากนี้รหัสมอร์สยังใช้ในการสื่อสารด้วยโทรเลขเป็นระยะเวลานาน


การสืบค้นข้อมูลจากห้องสมุดมีวิธีใดบ้าง


2.การสื่อสารด้วยสายตัวนำ ในปี พ.ศ. 2419  อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบล ได้ประดิษฐ์โทรศัพท์เพื่อการสื่อสารด้วยเสียงผ่านทางสายตัวนำทองแดง เริ่มต้นใช้การสลับสายด้วยคน ต่อมาใช้ระบบการสลับสายแบบอัตโนมัติ หลังจากนั้นก็ได้คิดค้นการส่งสัญญาณเสียงผ่านทางใยแก้ว แต่ก็พบว่าการใช้สายลวดทองแดงเป็นตัวกลางนั้นสะดวกกว่า  และตั้งแต่นั้นมาการขยายตัวของระบบโทรศัพท์ ทำให้ผู้คนจากทั่วโลกติดต่อสื่อสารกันได้ง่าย เครือข่ายโทรศัพท์ได้พัฒนาและใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง แต่การทดลองการส่งสัญญาณผ่านใยแก้วของเบล ก็ทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีไฟเบอร์ออปติกจนเกิดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่สำคัญทำให้มนุษย์สามารถส่งผ่านข้อมูล วิดีโอ และเสียง ในรูปของแสงผ่านใยแก้วแทนที่จะใช้อิเล็กตรอนผ่านลวดทองแดง และด้วยเทคโนโลยีไฟเบอร์ ออปติกล่าสุด ปัจจุบันไฟเบอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าเส้นผมของมนุษย์ สามารถเป็นตัวกลางในการส่งโทรศัพท์ อี-เมล์ และเว็บเพจ ได้เช่นเดียวกับระบบโทรศัพท์ ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ ปัจจุบันโครงข่ายตัวนำที่ใช้ในระบบโทรศัพท์ เป็นโครงข่ายดิจิตอล จึงทำให้สามารถส่งข้อมูลสามารถใช้ร่วมกับแบบอื่นได้









การสืบค้นข้อมูลจากห้องสมุดมีวิธีใดบ้าง



3.การสื่อสารโดยใช้คอมพิวเตอร์ การนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน  โดยอาศัยอุปกรณ์การสื่อสารข้อมูล  เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศทำให้การติดต่อสื่อสารมีความสะดวก  รวดเร็ว  ทันต่อเวลาและได้รับรู้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ดังนั้น การสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์ คือการรับ-ส่ง โอน-ย้าย หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศระหว่างอุปกรณ์การสื่อสารต่าง ๆ ผ่านสื่อนำข้อมูลต่าง ๆส่วนการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน เรียกว่า เครือข่ายคอมพิวเตอร์ การพัฒนาเทคโนโลยีให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม เครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงเป็นวิธีการหนึ่งและกำลังได้รับความนิยมสูงมาก โดยเฉพาะเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่ทำให้การติดต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างกันได้สะดวกและมีการประยุกต์ใช้งานได้กว้างขวาง เช่น การใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล การสืบค้นและเรียกดูข่าวผ่านระบบเว็บ การพูดคุย และส่งข้อความถึงกัน เป็นต้น 


4. การสื่อสารโดยใช้ดาวเทียม  ดาวเทียมคืออุปกรณ์สื่อสารที่ส่งให้โคจรรอบโลก การเคลื่อนที่ของดาวเทียมที่เคลื่อนไปพร้อมกับการหมุนของโลกในรอบการหมุนที่เท่ากัน ดาวเทียมจึงจะอยู่ในตำแหน่งที่คงที่ตามที่กำหนดไว้ การสื่อสารผ่านดาวเทียมก็คือการส่งสัญญาณข้อมูลมาที่ดาวเทียมและสั่งให้อุปกรณ์สื่อสารในดาวเทียมส่งข้อมูลลงมายังโลกอีกต่อหนึ่ง จากนั้นบนพื้นโลกก็รับสัญญาณข้อมูลโดยสัญญาณข้อมูลจะครอบคลุมพื้นที่ที่ดาวเทียมลอยอยู่ซึ่งจะมีบริเวณกว้างมากและการส่งจากที่สูงจะทำให้จุดรับสัญญาณข้อมูลในพื้นที่ที่ไม่สามารถติดตั้งสายได้ เช่น แนวเขาบังสัญญาณ หรือเกาะที่อยู่กลางทะเล สามารถรับสัญญาณข้อมูลได้โดยสะดวก


การสืบค้นข้อมูลจากห้องสมุดมีวิธีใดบ้าง


5.   การสื่อสารด้วยระบบไร้สาย การสื่อสารผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีความสะดวก คล่องตัว การสื่อสารแบบนี้ใช้คลื่นสัญญาณวิทยุ โดยผู้ใช้จะติดต่อกับศูนย์กลางสถานีรับส่ง การสื่อสารวิธีนี้มีการวางเป็นเซลครอบพื้นที่ต่างๆ ไว้ จึงเรียกระบบโทรศัพท์ไร้สายแบบนี้ว่า เซลลูลาร์โฟน (cellular phone)  ปัจจุบันการพัฒนาการด้านการสื่อสารด้วยระบบไร้สายก้าวหน้าไปไกลมาก เช่น โทรศัพท์ไร้สาย สามารถรับส่งข้อมูลอินเทอร์เน็ต ส่งอีเมล์ ส่งข้อความ ส่งข้อมูลภาพเคลื่อนไหว ทำให้ขณะที่ติดต่อสื่อสารกันสามารถเห็นหน้ากันได้

การสืบค้นข้อมูลจากห้องสมุดมีวิธีใดบ้าง


การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร
        การติดต่อสื่อสารในยุคปัจจุบัน เป็นการรวมนำเอาเทคโนโลยีการสื่อสารหลายๆเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารแบบ การสื่อสารด้วยรหัส  การสื่อสารด้วยสายตัวนำ การสื่อสารโดยใช้คอมพิวเตอร์ การสื่อสารโดยใช้ดาวเทียม ดังตัวอย่างเช่น ระบบอินเทอร์เน็ตเป็นการนำเอาการสื่อสารโดยใช้คอมพิวเตอร์ มาใช้ร่วมกับการสื่อสารผ่านระบบโทรคมนาคมด้านโทรศัพท์ ซึ่งเป็นการสื่อสารในระบบสารตัวนำ และถ้าเป็นบริเวณที่ไม่สามารถวางสายตัวนำได้ก็จะใช้ระบบดาวเทียม นอกจากนี้ในระบบอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันมีการนำมาใช้ในการทำธุรกรรมด้านการเงิน เช่น การสั่งซื้อสินค้าโดยใช้บัตรเครดิต ซึ่งจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีการสื่อสารด้วยรหัสเพื่อป้องกันข้อมูลให้เป็นความลับ


เครือข่ายคอมพิวเตอร์

      เมื่อเริ่มมีคอมพิวเตอร์ใช้งาน คอมพิวเตอร์ได้ถูกออกแบบมาใช้ทำงานเป็นแบบเครื่องเดี่ยว ต่อมาได้มีการพัฒนาอุปกรณ์การสื่อสารและพัฒนาโปรแกรมเกียวกับการสื่อสารคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถในการทำงานที่หลากหลายมากขึ้น  มีการนำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือช่วยกันในการประมวลผลสารสนเทศ ต่อมาก็นำมาพัฒนาเป็นการติดต่อสื่อสาร  แลกเปลี่ยนข้อมูลและข่าวสารจนเป็นที่นิยมในปัจจุบัน


     การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทและความสำคัญเพิ่มขึ้น เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกับเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบให้สูงขึ้น เพิ่มการใช้งานด้านต่าง ๆ และลดต้นทุนระบบโดยรวมลง มีการแบ่งใช้งานอุปกรณ์และข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกันได้


     ระบบเครือข่ายมีประโยชน์ต่อระบบข้อมูลสารสนเทศมาก คือ มีการโอนย้ายข้อมูลระหว่างกัน มีการนำข้อมูล มาแบ่งกันใช้งาน หรือการนำข้อมูลไปใช้ประมวลผลในลักษณะแบ่งกันใช้ทรัพยากร เช่น แบ่งกันใช้ซีพียู แบ่งกันใช้ฮาร์ดดิสก์ แบ่งกันใช้โปรแกรม และแบ่งกันใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีราคาแพงหรือไม่สามารถจัดหาให้ทุกคนได้ เช่นเครื่องพิมพ์ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายจึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้กว้างขวางและมากขึ้นจากเดิม

      ในปัจจุบันองค์กร หน่วยงานต่างๆ แม้แต่หน่วยงานทางการศึกษา อย่างโรงเรียน ก็มีการนำเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้ในหน่วยงานของตนเอง ตัวอย่างเช่น โรงเรียนปากท่อพิทยาคมใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในโรงเรียนเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของโรงเรียน โดยเน้นการใช้งานด้านการศึกษาการเรียนรู้ของนักเรียน และใช้งานด้านระบบงานทะเบียนวัดผล ระบบงานกิจการนักเรียน ระบบงานห้องสมุดโรงเรียน ซึ่งเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของโรงเรียนยังได้เชื่อมโยงกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายนอกโรงเรียนผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ของโรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลก

การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศ มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

เครื่องมือสืบค้นสารนิเทศมีอยู่ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ประเภทสืบค้นด้วยมือ และสืบค้น ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ การสืบค้นด้วยมือได้แก่ การสืบค้นด้วยบัตรรายการ และการสืบค้น ด้วยบัตรดัชนีวารสาร

เครื่องมือในการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศ มีอะไรบ้าง

1. ฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด (Web OPAC) 2. ฐานข้อมูลออนไลน์ (Online Databases) 3. ฐานข้อมูลซีดีรอม 4. ฐานข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต

กลยุทธ์การสืบค้นข้อมูลมีอะไรบ้าง

1. แจงปัญหา, โจทย์ หรือหัวข้องานวิจัย 2. วิเคราะห์ปัญหาโจทย์ ใคร ทำอะไร เพื่ออะไร 3. คัดแยก keyword หัวเรื่อง ออกจากโจทย์ คำควรเป็นคำนาม คำเหมือน คำคล้าย หรือมีรากศัพท์เดียวกัน 4. แปลง keyword เป็นภาษาในการค้น โดยใช้ google ในการแปล

ฐานข้อมูลในการสืบค้นข้อมูลมีที่ใดบ้าง

ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อสืบค้น.
ACM Digital Library. ... .
IEEE/IET Electronic Library (IEL) ... .
Web of Science. ... .
ProQuest Dissertation & Theses Global. ... .
SpringerLink – Journal. ... .
American Chemical Society Journal (ACS) ... .
Emerald Management (EM92) ... .
Academic Search Complete (ASC).