สิทธิประกันสังคม ม.40 มีอะไรบ้าง

หลังจากที่ ครม. เคาะมาตราการเยียวยา ประกันสังคมมาตรา 40 ในพื้นที่ "สีแดงเข้ม" รวม 13 จังหวัด ใน 9 กลุ่มอาชีพ ทั้งนี้ ได้ครอบคลุมถึง "ผู้ประกอบอาชีพอิสระ" ที่ได้รับผลกระทบจากการประกาศล็อคดาวน์ เพื่อควบคุมสถานการณ์การระบาด "โควิด-19"

สำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ จะต้องสมัครเป็น ผู้ประกันตนมาตรา 40 ในกองทุนประกันสังคม ภายในวันที่ 30 กรกฎาคม 2564 จึงจะไดัรับสิทธิเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท 

การจ่ายเงินสมทบมาตรา 40 แบบใหม่ มี 3 ทางเลือก ดังนี้

  • ทางเลือกที่ 1: จ่าย 42 บาทต่อเดือน จากเดิม 70 บาท
  • ทางเลือกที่ 2: จ่าย 60 บาทต่อเดือน จากเดิม 100 บาท
  • ทางเลือกที่ 3: จ่าย 180 บาทต่อเดือน จากเดิม 300 บาท

ทั้งนี้ สำนักงานประสังคม ได้ลดเงินสมทบ ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 เหลือร้อยละ 60 ของเงินสมทบเดิม เป็นระยะเวลา 6 เดือนตั้งวันที่ 1 สิงหาคม 2564 – 31 มกราคม 2565
 

ผู้ประกันมาตรา 40 ได้สิทธิคุ้มครอง ดังนี้

  • ทางเลือก 1 : เจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต
  • ทางเลือก 2 : เจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ
  • ทางเลือก 3 : เจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ สงเคราะห์บุตร

 

ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 200 บาท ไม่เกิน 30 วัน/ปี

- การรักษาพยาบาลใช้สิทธิ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) หรือบัตรทอง 30 บาท นั่นหมายความว่า ผู้ประกันตนมาตรา 40 จะใช้สิทธิบัตรทองได้เหมือนเดิม เพียงแต่มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้เพิ่มขึ้นเท่านั้น

 

สิทธิประกันสังคม ม.40 มีอะไรบ้าง


 

เงื่อนไขการรับสิทธิ กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย

  • ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายใน 4 เดือน ก่อนประสบอันตราย/เจ็บป่วย
  • รักษาตัวในโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป จะได้รับสิทธิวันละ 200 บาท ไม่เกิน 30 วันต่อปี

 

กรณีทุพพลภาพ 

  • ได้รับเงินทดแทนการขาดได้ตั้งแต่ 500–1,000 บาท/เดือน เป็นระยะเวลา 15 ปี
  • เสียชีวิตก่อนครบ 15 ปี รับเงินค่าทำศพ 20,000 บาท
     

 

เงื่อนไขในการรับสิทธิ กรณีทุพพลภาพ

  • จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 6 เดือน ภายในระยะเวลา 10 เดือนก่อนทุพพลภาพ รับ 500 บาทต่อเดือน
  • จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 12 เดือน ภายในระยะเวลา 20 เดือนก่อนทุพพลภาพ รับ 650 บาทต่อเดือน
  • จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 24 เดือน ภายในระยะเวลา 40 เดือนก่อนทุพพลภาพ รับ 800 บาทต่อเดือน
  • จ่ายเงินสมทบอย่างน้อย 36 เดือน ภายในระยะเวลา 60 เดือนก่อนทุพพลภาพ รับ 1,000 บาทต่อเดือน
     

 

กรณีชราภาพ (รับเงินบำเหน็จ) 

  • ได้เงินบำเหน็จพร้อมผลตอบแทน (ดอกเบี้ย) คืนทั้งหมด


 

เงื่อนไขการรับสิทธิ กรณีชราภาพ

  • เมื่อผู้ประกันตนมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และแจ้งสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน หรือลาออก
  • ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบสามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มได้ไม่เกิน 1,000 บาท/เดือน
     

 

กรณีชราภาพ (รับเงินบำนาญ) 

  • ได้รับบำนาญรายเดือนขึ้นต่ำ 600 บาท/เดือน ตลอดจนเสียชีวิต
  • กรณีจ่ายเงินสมทบไม่ถึงหลักเกณฑ์ที่จะรับเงินบำนาญ (ขั้นต่ำ) จะได้รับเงินบำเหน็จพร้อมผลตอบแทน (ดอกเบี้ย) คืนทั้งหมด
  • ได้รับบำนาญแล้วเสียชีวิตภายใน 60 เดือน ทายาทได้รับเงินบำเหน็จ 10 เท่าของเงินบำนาญรายเดือน
  • กรณีทุพพลภาพก่อนได้รับบำนาญ จะมีสิทธิขอรับบำเหน็จพร้อมผลตอบแทน (ดอกเบี้ย) คืน


 

เงื่อนไขการรับสิทธิ

  • ผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินสมทบครบหลักเกณฑ์ที่จะรับเงินบำนาญ (ขั้นต่ำ) หรือจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 420 เดือน (35 ปี)
  • ผู้ประกันตนจะต้องมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน หรือลาออก
  • ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบสามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มได้ไม่เกิน 1,000 บาท/เดือน
  • ผู้ประกันตนสามารถจ่ายเงินสมทบย้อนหลังได้ไม่เกินเดือน พฤษภาคม 2555


 

เงินสงเคราะห์บุตร 

ในกรณีเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40  ทางเลือกที่ 3 จะมีสิทธิ์ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรรายเดือน ตั้งแต่บุตรแรกเกิดจนอายุ 6 ปีบริบูรณ์ คนละ 200 บาท คราวละไม่เกิน 2 คน ทั้งนี้ผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินสมทบตามที่ประกันสังคมกำหนดด้วย



วิธีการสมัครประกันสังคมมาตรา 40 

  • ช่องทางแรกสมัครผ่านเว็บไซต์ประกันสังคม

ไม่ต้องเดินทางไปที่สำนักงานประกันสังคม วิธีสมัคร "ประกันสังคม" มาตรา 40 ผ่านเว็บไซต์ประกันสังคม คลิก www.sso.go.th

  • ช่องทางการสมัครอื่นๆ 

นอกจากจะสมัครผ่านเว็บไซต์ประกันสังคมได้แล้ว สำหรับคนที่ไม่สะดวกสมัครผ่านเว็บไซต์ สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ได้ในช่องทางอื่นๆ ดังต่อไปนี้ 

ผู้ประกันตนมาตรา 40 คือ ผู้ที่สมัครประกันสังคมด้วยความสมัครใจ เป็นอาชีพอิสระ หรือแรงงานนอกระบบ ได้แก่ เกษตรกร ทำสวน ค้าขาย ฟรีแลนซ์ และอาชีพอิสระอื่นๆ มากมาย โดยไม่ใช่ผู้ประกันตนมาตรา 39 มาก่อน ถ้าเราพูดถึงการจ่ายเงินสมทบ ประกันสังคมมาตรา 40 จะเป็นการเลือกจ่ายโดยมีทั้งหมด 3 รูปแบบ แต่ละเเบบจะได้รับสิทธิประกันสังคม ม.40 ต่างกันไป งั้นมาเช็คสิทธิประกันสังคมของคุณกันเลย...

ทางเลือกที่ 1

ประกันสังคมมาตรา 40

  • ประสบอุบัติเหตุ หรือ เจ็บป่วย ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้สูงสุด 300 บาท (ไม่เกิน 30 วัน/ปี) 
  • ทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 500-1,000 บาท/เดือน (ไม่เกิน 15 ปี) 
  • เสียชีวิต ได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท (เมื่อจ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือนก่อนเสียชีวิต ได้รับเงินเพิ่ม 8,000 บาท) 

ทางเลือกที่ 2

เช็คสิทธิประกันสังคมมาตรา 40

  • ประสบอุบัติเหตุ หรือ เจ็บป่วย ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้สูงสุด 300 บาท (ไม่เกิน 30 วัน/ปี) 
  • ทุพพลภาพ ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 500-1,000 บาท/เดือน (ไม่เกิน 15 ปี) 
  • เสียชีวิต ได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท (เมื่อจ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือนก่อนเสียชีวิต ได้รับเงินเพิ่ม 8,000 บาท) 
  • ชราภาพ รับบำเหน็จชราภาพ 50 บาท/เดือน (จ่ายเงินออมเพิ่มได้ ไม่เกิน 1,000 บาท/เดือน) 

ประกันรถยนต์

ทางเลือกที่ 3

สมัครประกันสังคมมาตรา 40

  • ประสบอุบัติเหตุ หรือ เจ็บป่วย รับเงินทดแทนการขาดรายได้สูงสุด 300 บาท/วัน (ไม่เกิน 90 วัน/ปี) 
  • ทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 500-1,000 บาท/เดือน (ตลอดชีวิต) 
  • เสียชีวิต ได้รับค่าทำศพ 50,000 บาท  
  • ชราภาพ รับบำเหน็จชราภาพ 150 บาท/เดือน กรณีจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน รับเงินเพิ่ม 10,000 บาท (จ่ายเงินออมเพิ่มได้ ไม่เกิน 1,000 บาท/เดือน) 
  • สงเคราะห์บุตร รับเงินสงเคราะห์บุตรแรกเกิด ถึง 6 ปีบริบูรณ์ 200 บาท/คน/เดือน (ครั้งละไม่เกิน 2 คน)

อ่านเพิ่มเติม: ประกันสังคมมาตรา 39 กับ 40 ต่างกันอย่างไร 

ประกันอุบัติเหตุ

คุณสมบัติของผู้ประกันตน ม.40 

  • บุคคลสัญชาติไทย 
  • อายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ 
  • แรงงานอิสระหรือผู้ประกอบอาชีพอิสระ 
  • ไม่เป็นลูกจ้างในบริษัท ห้างร้าน โรงงาน (ม.33) 
  • ไม่เป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจ (ม.39) 
  • ไม่เป็นข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ 
  • ผู้ถือบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยขึ้นต้นด้วยเลข 0,6,7 (ยกเว้นขึ้นต้นด้วย000) 
  • ผู้พิการที่รับรู้สิทธิก็สมัครได้ 

เช็คสิทธิประกันสังคมมาตรา 40 ที่ไหน

เช็คม.40

สำหรับผู้ประกันตนที่ต้องการ เช็คสิทธิประกันสังคม มาตรา 40 สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยเลขบัตรประชาชน และเข้าเว็บไซต์ www.sso.go.th ของสำนักงานประกันสังคม ซึ่งจะมีรายละเอียดสิทธิประโยชน์พื้นฐานของคุณ 

ทั้งหมดนี้คือ สิทธิประกันสังคม มาตรา 40 โดยผู้ประกันตนสามารถเลือกจ่ายได้ตามที่ต้องการ แต่ถ้าคุณไม่มั่นใจว่าสิทธิประกันสังคมจะเพียงพอหรือไม่ ซื้อประกันอุบัติเหตุ เพิ่มอีกหนึ่งทางเลือกได้ ถือเป็นตัวช่วยที่จะแบ่งเบาค่ารักษาพยาบาลเมื่อเกิดอุบัติเหตุไม่คาดฝัน ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุเล็กๆ น้อยๆ ก็เคลมได้ เบี้ยเริ่มเพียง 850 บาท/ปีเท่านั้น! ทำให้คุณใช้ชีวิตได้อย่างอุ่นใจมากขึ้น เหมาะสำหรับอาชีฟฟรีเเลนซ์โดยเฉพาะ

ประกันสังคมมาตรา 40 คุ้มครองตอนไหน

เงื่อนไขการรับสิทธิ ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายใน 4 เดือน ก่อนประสบอันตราย/เจ็บป่วย รักษาตัวในโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป จะได้รับสิทธิวันละ 200 บาท ไม่เกิน 30 วันต่อปี

สมัคร ม.40 จะเสียสิทธิอะไรบ้าง

สมัครประกันสังคม .40 ไม่เสียสิทธิบัตรทอง เพราะสมัครมาตรา 40 จะไม่กระทบกับสิทธิบัตรทอง (สปสช.) และสิทธิประโยชน์สวัสดิการแห่งรัฐอื่นๆ แถมยังมีสิทธิ์ได้รับเงินทดแทนจากการขาดรายได้เมื่อประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย, เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพ, บำเหน็จชราภาพ, เงินสงเคราะห์บุตร หรือสิทธิประโยชน์กรณีเสียชีวิต ตามหลักเกณฑ์ ...

ประกันสังคมมาตรา 40 มีกี่แบบ

ประกันสังคมมาตรา 40 มี 3 ทางเลือก รับความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ต่างกันอย่างไร สรุปให้เข้าใจง่าย อัพเดทแบบครบจบในที่เดียวที่นี่.
ทางเลือกที่ 1 จ่าย 70 บาท/เดือน.
ทางเลือกที่ 2 จ่าย 100 บาท/เดือน.
ทางเลือกที่ 3 จ่าย 300 บาท/เดือน.

เงินสมทบประกันสังคม ม.40 คืออะไร

ผู้ประกันตนมาตรา 40 คือ ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ หรือ แรงงานนอกระบบ เช่น ฟรีแลนซ์ เกษตรกร ค้าขาย เป็นต้น ที่เลือกจ่ายเงินสมทบประกันสังคมได้ 3 รูปแบบ ได้แก่ ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบ 70 บาท/เดือน, ทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน และ ทางเลือกที่ 3 จ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือน