หน่วยงานใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในประเทศไทย

อุตสาหกรรม ท่องเที่ยวได้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ขยายตัวไปทุกส่วนของโลก การท่องเที่ยวเป็นกิจกรรมที่มีบทบาทสำคัญต่อสังคม ความเป็นอยู่ เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมทั้งระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับโลก องค์การที่กำกับดูแลและตัดการทางด้านการท่องเที่ยวก่อขึ้นโดยภาครัฐและเอกชน เพื่อร่วมมือกันพัฒนาการท่องเที่ยวให้ยั่งยืนและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมให้ มากที่สุด

   องค์การระหว่างประเทศที่ดำเนินงานโดยภาครัฐบาลแบ่งได้เป็น 3 ระดับคือ องค์การระดับโลก องค์การระดับภูมิภาค และองค์การระดับอนุภูมิภาค

1. องค์การระหว่างประเทศที่ดำเนินงานโดยภาครัฐบาลในระดับโลก ได้แก่

(1.1) องค์การท่องเที่ยวโลก (World Tourism Organization – WTO) เป็นองค์การที่มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวนานาชาติ เริ่มก่อตั้งเมื่อ 1925 ในชื่อ International Union of Tourist Publicity Organization และปรับปรุงองค์การเรื่อยมาจนกลายเป็น WTO ซึ่งเป็นองค์การในระดับรัฐบาลมีสมาชิกทั่วโลกมากว่า 480 ราย เป็นองค์การระหว่างประเทศที่ดำเนินการด้านเทคนิค ด้านการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ตามแนวทาง 6 ประการคือ

1) การให้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนา

2) การให้ความรู้และฝึกอบรม

3) ด้านสิ่งแวดล้อมและการวางแผน

4) ด้านสถิติและการวิจัยตลาด

5) ด้านคุณภาพในการให้บริการทางการท่องเที่ยว

6) การเป็นผู้ประสานงานและการให้ข้อมูล

(1.2) องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization – ICAO)  เป็นองค์การชำนาญพิเศษของสหประชาชาติ ก่อตั้งขึ้นตามอนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศซึ่งทำขึ้นที่เมืองชิคาโก เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 1944 โดยมีความมุ่งหมายที่จะพัฒนาหลักการ และเทคนิคของการเดินอากาศระหว่างประเทศ  และทำนุบำรุงการวางแผนพัฒนาการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศทั่วโลก ปัจจุบันประกอบด้วยสมาชิก 134 ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินการดังนี้

1) ปรับปรุงมาตรฐานและกำหนดกฏเกณฑ์ในการปฎิบัติเกี่ยวกับน่านฟ้าให้เป็นสากล

2) ให้คำแนะนำเรื่องอุปกรณ์ เครื่องมือที่เกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกในเรื่องกานบินของประเทศสมาชิก

3) กำหนดแผนงานเพื่อลดกฎระเบียบ พิธีการทางศุลกากรและตรวจคนเข้าเมือง

4) วางแผนเรื่องความปลอดภัย และการขายขอบเขตของการบินพลเรือนระหว่างประเทศให้กระจายไปทั่วโลก

5) พัฒนาเส้นทางการบิน สนามบิน และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการบินเพื่อนำไปสู่มาตรฐานการบินระหว่างประเทศ

6) ดำเนินการต่อต้านการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม

7) ดูแลเรื่องสิทธิประโยชน์แก่ประเทศสมาชิก และเปิดโอกาสที่ทัดเทียมกันในการดำเนินงานด้านสายการบินระหว่างประเทศสมาชิก

8) กระตุ้นให้มีการออกแบบเครื่องบิน ดูแลเรื่องความปลอดภัย กฎระเบียบ ประสิทธิภาพและความประหยัดในด้านการขนส่งทางอากาศ

9) ส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกมีการดำเนินงานโดยเน้นวัตถุประสงค์ด้านสันติภาพร่วมกัน

10) ส่งเสริมการพัฒนาในทุกด้านของการขนส่งทางอากาศ

2. องค์การ ระหว่างประเทศที่ดำเนินงานโดยภาครัฐบาลในระดับภูมิภาค   องค์การระหว่างประเทศที่ดำเนินงานโดยภาครัฐบาลระดับภูมิภาค คือ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และวิชาการเพื่อการพัฒนา (Organization of Economic and Cooperation for Development – OECD) ก่อตั้งขึ้นภายใต้การประชุมในกรุงปารีส เมื่อ ธันวาคม ปี ค.ศ. 1960 โดยมีวัตถุประสงค์ในการกำหนดนโยบาย เศรษฐกิจ การค้า และการท่องเที่ยว

3. องค์การ ระหว่างประเทศที่ดำเนินงานโดยรัฐบาลในระดับอนุภูมิภาค ซึ่งเป็นองค์การที่ให้ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ โดยมีการท่องเที่ยวเป็นสาระสำคัญอยู่ด้วย ได้แก่

1) โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Economic Cooperation in the Greater Mekong Subregion- GMS)

2) โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอนุทวีป บังคลาเทศ อินเดีย พม่า ศรีลังกา ไทย (Bangladesh-India-myanmar-Sri lanka-Thailand Economic Cooperation – BIMST-EC)

3) โครงการความร่วมมือลุ่มน้ำโขง คงคา (Mekong – Ganga Cooperation)

4) โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเชีย-มาเลยเซีย-ไทย (IMT-GT)

องค์การระหว่างประเทศที่ดำเนินงานโดยภาคเอกชน 

  องค์การระหว่างประเทศที่ดำเนินงานโดยภาคเอกชน แบ่งได้ 2 ระดับ คือ องค์การระดับโลก และองค์การระดับภูมิภาค

1. องค์การระหว่างประเทศที่ดำเนินงานโดยภาคเอกชนระดับโลกได้แก่

(1.1) สภาการเดินทางและการท่องเที่ยวโลก (World Travel and Tourism Council – WTTC) เป็นองค์การที่เกิดจากการรวมตัวของธุรกิจทุกประเภทในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยพอสรุปภารกิจหลักๆ ขององค์การได้ 3 ประการคือ

1) กระตุ้นให้รัฐกำหนดนโยบายให้เหมาะสมกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาด้านเศรษฐกิจต่อประชาชาติอย่างแท้จริง

2) ส่งเสริมการขยายตัวของตลาดการท่องเที่ยวให้เกิดสมดุลกับสิ่งแวดล้อม

3) ช่วยขจัดอุปสรรคต่างๆ ที่จะปิดกั้นการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

(1.2) สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (International Air Transport Association – IATA) เป็นองค์การระดับโลก ก่อตั้งขึ้นในปี 1945 ในกรุงฮาวานา ประเทศคิวบา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้มีการขนส่งทางอากาศที่ปลอดภัยสม่ำเสมอ และถูกต้องตามหลักเศรษฐกิจ หาทางให้มีการร่วมมือกันระหว่างวิสาหกิจด้านการขนส่งทางอากาศของประเทศ สมาชิก ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกรวมกันมากว่า 112 สายการบิน  โดย IATA มีหน้าที่หลักดังนี้

1) ช่วยอำนวยความสะดวกในการขนส่งผู้โดยสารและสินค้า เชื่อมโยงกันโดยถือตั๋วใบเดียวด้วยคุณภาพเดียวกันทั้งหมด

2) ส่งเสริมด้านความปลอดภัย และการขนส่งทางอากาศอย่างประหยัด

3) สนับสนุนการบินพาณิชย์ รวมทั้งกฎระเบียบต่างๆ ของการขนส่งทางอากาศ

4) ศึกษาถึงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม  และร่วมกันแก้ไปปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น

5) มี ส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องของการกำหนดนโยบายเรื่องตั๋วโดยสาร ให้เป็นมาตรฐานทั้งในด้านราคา การชั่งน้ำหนัก การตรวจสอบสัมภาระ และการดูแลด้านเอกสารประกอบอื่นๆ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก

2. องค์การระหว่างประเทศที่ดำเนินงานโดยภาคเอกชนในระดับภูมิภาค ได้แก่

(2.1) สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค (The Pacific Asia Travel Association – PATA) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1952 ที่เมืองฮอนโนลูลู มลรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นองค์การที่ไม่หวังผลกำไร ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นองค์การการท่องเที่ยวของรัฐ สายการบิน บริษัทท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร และธุรกิจเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวอื่นๆ ทั่วโลกมากว่า 2,200 หน่วยงาน ใน 44 ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการส่งเสริมการท่องเที่ยวในภูมิภาคแปซิฟิก

(2.2) สำนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยวกลุ่มประเทศ แคริบเบียน (Caribbean Tourism Association – CTA) ตั้งขึ้นมาเพื่อช่วยกระตุ้นและช่วยเหลือให้เกิดการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศแคริบเบียน

(2.3) สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภาคเอเชียตะวันออก (East Asia Travel Association – EATA) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1966 เพื่อรวบรวมประเทศที่อยู่ในเส้นทางบินตะวันออกไกลเข้าด้วยกัน 8 ประเทศ  โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และอำนวยความสะดวก ตลอดจนพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวระหว่างประเทศสมาชิก

(2.4) สมาคมส่งเสริมการประชุมระหว่างประเทศ (International Congress and Convention Association – ICCA ) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1964 ณ กรุงอัมส์เตอรดัมส์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ สมาชิกประกอบด้วย บริษัทนำเที่ยว สายการบิน ผู้ดำเนินธุรกิจในการจัดประชุมและนิทรรศการ บริษัทขนส่ง โรงแรม และผู้ประกอบการอื่นๆที่เกี่ยวกับการประชุม โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการจักการประชุม นิทรรศการระหว่างประเทศ และเป็นตัวกลางในการอำนวยความสะดวกในการจัดการ

(2.5) สมาคมการท่องเที่ยวอาเซียน  (ASEAN Tourism Association – ASEANTA ) ประกอบด้วยการรวมตัวของสมาคมธุรกิจท่องเที่ยว สมาคมโรงแรม และสายการบินแห่งชาติอาเซียน ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1971 โดยมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริม ให้ความร่วมมือ กระตุ้น ประสานงาน และให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกในด้านการท่องเที่ยวระหว่างกัน

องค์การภาครัฐที่มีบทบาทต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย

   อุตสาหกรรม การท่องเที่ยวไทย เป็นอุตสาหกรรมที่นำรายได้สู่ประเทศเป็นจำนวนมากในแต่ละปีทั้งยังเป็น อุตสาหกรรมที่มีความหลากหลายในด้านสินค้าและบริการ ดังนั้น การกำกับดูแล พัฒนา และส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากองค์กรทุก ฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งนี้แต่ละองค์การจะมีบทบาทความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่อง เที่ยวแตกต่างกันตามลักษณะการดำเนินงานของแต่ละองค์การ

องคค์การภาครัฐที่มีบทบาทต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย สามารถแบ่งได้ดังนี้

1) องค์การภาครัฐที่ทำหน้าที่กำกับดูแลและส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยตรง

2) องค์การภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในทางอ้อม

1. องค์การภาครัฐที่ทำหน้าที่กำกับดูแลและส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยตรง

  องค์การ ภาครัฐที่ทำหน้าที่กำกับดูแล และส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยตรง คือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดตั้งขึ้นตามพระรามชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว พ.ศ. 2502 เรียกว่า องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว อสท.ต่อมาจึงเปลี่ยนชือเป็นการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Tourism Authority of Thailand (TAT) ถือ เป็นหน่วยงานหลักที่ได้รับมอบหมายภารกิจสำคัญจากรัฐบาล ทำหน้าที่ดูแลการบริหาร อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศโดยเฉพาะในเรื่องของการนำรายได้ในรูปเงิน ตราต่างประเทศเข้าสู่ประเทศ

  นโยบายหลักการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

1) ส่ง เสริม ชักจูงให้นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย เพื่อให้ได้มาซึ่งรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศ เข้าเพิ่มพูนเศรษฐกิจส่วนรวมโดยรีบด่วน

2) ขยายแหล่งท่องเที่ยวให้กระจายไปในท้องถิ่น เพื่อเป็นการกระจายรายได้จากการท่องเที่ยวให้ถึงประชากรในทุกภูมิภาค

3) อนุรักษ์ ฟื้นฟูสมบัติวัฒนธรรม ทรัพยากร ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมเพื่อคงความเป็นเอกลักษณ์ของไทยไว้ด้วยดีที่สุด

4) พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการด้านการท่องเที่ยวให้มีมาตรฐานที่ดี เพื่อสร้างความประทับใจแก่นักท่องเที่ยวที่มาเยือนให้มากขึ้น

5) เพิ่ม ความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยวทั้งชายไทยและชาวต่างประเทศให้สามารถเดินทาง ไปสู่จุดหมายปลายทางในประเทศไทย ด้วยความมั้นใจในความปลอดภัยในร่างการและทรัพย์สินของตนและหมู่คณะ

6) ส่ง เสริมการเดินทางท่องเที่ยวของคนไทยภายในประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อย และเยาวชน เพื่อเป็นการเพิ่มสวัสดิการด้านการท่องเที่ยวแก่คนไทย

7) เสริมกำลังคนที่เป็นคนไทยเข้าทำงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้มากที่สุด

8) ส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมอันเกี่ยวกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างกว้างขวาง

2. องค์การภาครัฐที่ทำหน้าที่กำกับดูแลและส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยอ้อม

  องค์การภาครัฐที่เกี่ยวข้องกันการท่องเที่ยวโดยอ้อมมีหลายองค์การ แต่ละองค์การมีหน้าที่รับผิดชอบและช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวโดย แบ่งตามภารกิจดังนี้

(2.1) องค์การของรัฐที่กำกับดูแลด้านแหล่งท่องเที่ยว

1) กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

2) กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

3) องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

4) กระทรวงวัฒนธรรม

5) สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

6) กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

(2.2) องค์การของรัฐที่กำกับดูแลด้านสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว

1) กรมการบินพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม

2) กรมทางหลวง  กระทรวงคมนาคม

3) กรมการขนส่งทางบก  กระทรวงคมนาคม

4) กรมเจ้าท่า  กระทรวงคมนาคม

5) การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย  กระทรวงคมนาคม

6) บริษัทการบินไทย จำกัด มหาชน  กระทรวงคมนาคม

7) บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย  กระทรวงคมนาคม

8) การสื่อสารแห่งประเทศไทย  กระทรวงคมนาคม

9) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้านครหลวง กระทรวงมหาดไทย

10) การประปาส่วนภูมิภาค และการประปานครหลวง กระทรวงมหาดไทย

11)  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

(2.3) องค์การของรัฐที่กำกับดูแลด้านสินค้าทางการท่องเที่ยว

1) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

2) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม  กระทรวงอุตสาหกรรม

3) สถาบันรับรองมาตรฐาน ไอเอสโอ  กระทรวงอุตสาหกรรม

4) สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม  กระทรวงอุตสาหกรรม

5) กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์

6) กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง

(2.4) องค์การของรัฐที่กำกับดูแลด้านบริการทางการทองเที่ยว

1) สำนักงานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์

2) กองบังคับการตำรวจท่องเที่ยว (บก.ทท.)

3) ศูนย์ช่วยเหลือนักท่องเที่ยว (ศช.ทท.)

4) กระทรวงสาธารณสุข

5) ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว (ศบท.)

6) ธนาคารและสถาบันการเงิน

7) กรมสรรพากร

(2.5) องค์การของรัฐทึ่กำกับดูแลด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

1) ทบวงมหาวิทยาลัย

2) กระทรวงศึกษาธิการ

3) กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม

องค์การภาคเอกชนที่มีบทบาทต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวไท

  ใน ประเทศไทยมีองค์การภาคเอกชนหลายแห่งที่ดำเนินการ เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว โดยให้ความร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หน่วยงานรัฐและหน่วยงานเอกชนด้วยกันเองหรือส่งเสริมให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยว เติบโตอย่างมีทิศทาง และยั่งยืน องค์การภาคเอกชนเหล่านี้มีรูปแบบของการรวมตัวในลักษณะต่างๆ ดังนี้

1. องค์การ ภาคเอกชนที่ดำเนินธุรกิจประเภทเดียวกัน เป็นการรวมตัวของกลุ่มธุรกิจที่ดำเนินงานประเภทเดียวกัน เพี่อร่วนกันแก้ไขปรับปรุงและพัฒนางานในธุรกิจประเภทนั้นๆ รวมทั้งเพิ่มความเข้มแข็งในการต่อรอกกับภาครัฐบาลด้วย แบ่งได้ ดังนี้

1) สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (Association of Thai Travel Agents – ATTA) เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของบริษัทนำเที่ยว และเป็นเป็นศูนย์กลางของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวที่เน้นทางด้านภายในประเทศ (Inbound)

2) สมาคมไทยบริการท่องเที่ยว (Thai Travel Agents Association – TTAA) เป็นการรวมตัวของบริษัทจำหน่ายตั๋วเครื่องบินและบริษัทนำทัวร์ออกนอกประเทศ

3) สมาคมผู้ประกอบการนำเที่ยวไทย สนท. (The Association of Thai Tour Operators – ATTO) เกิดจากการรวมตัวของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวในประเทศไทยสำหรับคนไทย

4) สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพ สมอ.

5) สมาคมโรงแรมไทย

6) สมาคมภัตตาคารไทย

7) สมาคมสวนสนุกและพักผ่อนหย่อนใน สพจ.

8) สมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ

9) สมาคมรถโดยสารไม่ประจำทาง

10) ชมรมผ่ายสำรองที่นั่งและบัตรโดยสารการบินในกรุงเทพฯ

2. องค์การ ภาคเอกชนที่ดำเนินธุรกิจเฉพาะด้านหรือเฉพาะที่ เป็นการรวมตัวของกลุ่มธุรกิจที่มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว เฉพาะด้านหรือเฉพาะพื้นที่ แบ่งได้ดังนี้

1) สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย

2) สมาคมพาต้าไทย (PATA Thailand Chapter)

3) ไซท์ไทยแลนด์ แชพเตอร์ (Association of Incentive & Travel Executive – SITE)

4) สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวในจังหวัดต่างๆ

3. องค์การเอกชนที่เกิดจากการรวมตัวของสมาคมการท่องเที่ยวได้แก่

1) สมาพันธ์ธุรกิจท่องเที่ยวส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย สทภท.

2) สถาบันอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย

  องค์การภาคเอกชนที่มีบทบาทต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย

  ใน ประเทศไทยมีองค์การภาคเอกชนหลายแห่งที่ดำเนินการ เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว โดยให้ความร่วมมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หน่วยงานรัฐและหน่วยงานเอกชนด้วยกันเองหรือส่งเสริมให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยว เติบโตอย่างมีทิศทาง และยั่งยืน องค์การภาคเอกชนเหล่านี้มีรูปแบบของการรวมตัวในลักษณะต่างๆ ดังนี้

1. องค์การ ภาคเอกชนที่ดำเนินธุรกิจประเภทเดียวกัน เป็นการรวมตัวของกลุ่มธุรกิจที่ดำเนินงานประเภทเดียวกัน เพี่อร่วนกันแก้ไขปรับปรุงและพัฒนางานในธุรกิจประเภทนั้นๆ รวมทั้งเพิ่มความเข้มแข็งในการต่อรอกกับภาครัฐบาลด้วย แบ่งได้ ดังนี้

1) สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (Association of Thai Travel Agents – ATTA) เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของบริษัทนำเที่ยว และเป็นเป็นศูนย์กลางของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวที่เน้นทางด้านภายในประเทศ (Inbound)

2) สมาคมไทยบริการท่องเที่ยว (Thai Travel Agents Association – TTAA) เป็นการรวมตัวของบริษัทจำหน่ายตั๋วเครื่องบินและบริษัทนำทัวร์ออกนอกประเทศ

3) สมาคมผู้ประกอบการนำเที่ยวไทย สนท. (The Association of Thai Tour Operators – ATTO) เกิดจากการรวมตัวของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวในประเทศไทยสำหรับคนไทย

4) สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพ สมอ.

5) สมาคมโรงแรมไทย

6) สมาคมภัตตาคารไทย

7) สมาคมสวนสนุกและพักผ่อนหย่อนใน สพจ.

8) สมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ

9) สมาคมรถโดยสารไม่ประจำทาง

10) ชมรมผ่ายสำรองที่นั่งและบัตรโดยสารการบินในกรุงเทพฯ

2. องค์การ ภาคเอกชนที่ดำเนินธุรกิจเฉพาะด้านหรือเฉพาะที่ เป็นการรวมตัวของกลุ่มธุรกิจที่มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว เฉพาะด้านหรือเฉพาะพื้นที่ แบ่งได้ดังนี้

1) สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย

2) สมาคมพาต้าไทย (PATA Thailand Chapter)

3) ไซท์ไทยแลนด์ แชพเตอร์ (Association of Incentive & Travel Executive – SITE)

4) สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวในจังหวัดต่างๆ

3. องค์การเอกชนที่เกิดจากการรวมตัวของสมาคมการท่องเที่ยวได้แก่

1) สมาพันธ์ธุรกิจท่องเที่ยวส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย สทภท.

2) สถาบันอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย

หน่วยงานใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในประเทศไทย