ปัสสาวะค้างในกระเพาะปัสสาวะ

Knowledge


ปัสสาวะค้างในกระเพาะปัสสาวะ

อ.นพ.วิศัลย์  อนุตระกูลชัย

ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ

รหัสเอกสาร SD-HA-IMC-146-R-00

อนุมัติวันที่ 27 เมษายน 2559

ต่อมลูกหมาก (Prostate) คือ อวัยวะหนึ่งในระบบสืบพันธุ์เพศชาย อยู่บริเวณรอบท่อปัสสาวะส่วนต้นใต้ท่อกระเพาะปัสสาวะ ทำหน้าที่สร้างน้ำหล่อเลี้ยงตัวอสุจิ

         โดยต่อมลูกหมากโตมักจะเริ่มพบได้ตั้งแต่อายุ 40 ปีและมักจะไม่มีอาการใดๆ ส่วนใหญ่จะเริ่มแสดง อาการเมื่ออายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป และอุบัติการณ์ของต่อมลูกหมากโตจะเพิ่มสูงขึ้นตามอายุที่มากขึ้น จาก การที่ต่อมลูกหมากอยู่รอบท่อปัสสาวะ เมื่อมีการโตขึ้นของต่อมลูกหมาก ทำให้เกิดการกดเบียดท่อปัสสาวะ ได้ ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยเวลาปัสสาวะจะมีปัญหาปัสสาวะขัด ปัสสาวะต้องใช้แรงเบ่งมากขึ้น ในบางรายที่มี อาการรุนแรงมาก อาจจะทำให้ปัสสาวะไม่ออกได้

สาเหตุของโรคต่อมลูกหมากโต

         ยังไม่มีหลักฐานการยืนยันถึงสาเหตุที่แท้จริงของโรคต่อมลูกหมากโต แต่คาดว่าจะสัมพันธ์กับระดับของฮอร์โมนเพศชาย

อาการของโรคต่อมลูกหมากโต

         โดยอาการแสดงของโรคต่อมลูกหมากโต จะเกิดจากการที่ต่อมลูกหมากมีการกดเบียดท่อปัสสาวะ ทำให้เกิดอาการที่เกี่ยวข้องกับการปัสสาวะ ซึ่งจะแบ่งได้เป็น กลุ่มอาการ คือ

1. อาการระคายเคืองทางเดินปัสสาวะ (Irritative symptoms)

          อาการปัสสาวะบ่อย (Frequency)

          อาการปัสสาวะเร่งรีบ (Urgency) มีการปวดปัสสาวะแล้วต้องรีบไปปัสสาวะ โดยไม่สามารถปฏิเสธหรือเลื่อนการปัสสาวะครั้งนั้นไปได้ ซึ่งในผู้ป่วยบางคนอาจจะมีปัญหาปัสสาวะเล็ดราดร่วมด้วยได้    (Urge urinary incontinence)

          อาการที่ต้องตื่นมาปัสสาวะตอนกลางคืน (Nocturia) คือ ขณะนอนหลับมีการตื่นมาปัสสาวะมากกว่า ครั้งต่อคืน

2. อาการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ (Obstructive symptoms)

          ปัสสาวะไม่พุ่ง (Decreased force of urination) ผู้ป่วยอาจจะบอกว่าปัสสาวะไม่พุ่งหรือมีลำปัสสาวะเล็กลง เนื่องจากอาการจะค่อยเป็นค่อยไปอย่างช้าๆ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงมักจะไม่ใส่ใจ

          ปัสสาวะออกช้า (Urinary hesitancy) คือ เวลาจะปัสสาวะตอนเริ่มต้นออกช้า ต้องใช้เวลาสักพัก ปัสสาวะถึงจะออกมาได้ ซึ่งโดยปกติในการขับปัสสาวะหลังจากที่มีการคลายหูรูดแล้ว ปัสสาวะก็จะออกมาทันที

          ลำปัสสาวะสะดุด (Intermittency) ลำปัสสาวะมีการขาดหรือสะดุดเป็นช่วงๆ

          ปัสสาวะหยดตอนท้าย (Postvoid dribbling) การที่มีปัสสาวะหยดออกมาหลังจากปัสสาวะเสร็จ มักเกิดจากมีปัสสาวะค้างอยู่ในท่อปัสสาวะ

          เบ่งปัสสาวะ (Staining) มีการใช้แรงดันจากช่องท้องในการปัสสาวะ ซึ่งโดยปกติเวลาปัสสาวะจะไม่ใช้แรงดันจากช่องท้อง     

          ปัสสาวะค้าง (Incomplete emptying) อาการที่ยังรู้สึกว่าปัสสาวะไม่สุด รู้สึกว่ามีปัสสาวะค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ

การวินิจฉัยโรคต่อมลูกหมากโต

          ซักประวัติคนไข้โดยละเอียด

          ตรวจร่างกาย โดยรวมไปถึงการตรวจทางทวารหนัก (Digital Rectal Examination) เพื่อตรวจและประเมินขนาดของต่อมลูกหมากว่าผิดปกติหรือไม่ โดยแพทย์จะใช้นิ้วสอดเข้าไปในทวารหนักและตรวจคลำต่อมลูกหมาก

          ตรวจปัสสาวะ เพื่อตรวจดูว่ามีการอักเสบติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ หรือมีเลือดปนมาในปัสสาวะหรือไม่

          ตรวจเพาะเชื้อจากปัสสาวะ ในกรณีที่มีการอักเสบติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ

          นอกจากนี้ อาจจะทำการทดสอบเพื่อวัดอัตราการไหลของปัสสาวะและปริมาณปัสสาวะที่สามารถปัสสาวะออกมาได้ รวมไปถึงวัดปริมาณปัสสาวะที่ค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ

          การตรวจคัดกรองหามะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA)

          การส่องกล้องผ่านทางท่อปัสสาวะ เพื่อประเมินขนาดของต่อมลูกหมากที่มากดเบียดท่อปัสสาวะ

การรักษาโรคต่อมลูกหมากโต

          หากแพทย์ประเมินอาการแล้วพบว่ามีอาการเพียงเล็กน้อย ไม่จำเป็นต้องรักษาหรืออาจจะใช้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ได้แก่ หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำมากเกินไป โดยเฉพาะช่วงก่อนเข้านอน งดดื่มชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากเป็นสาเหตุที่ทำให้ปัสสาวะบ่อยได้ หลีกเลี่ยงการกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานๆ หลีกเลี่ยงอาการท้องผูก

         รักษาโดยการใช้ยา ซึ่งยาที่นำมาใช้รักษาจะมีอยู่ กลุ่มได้แก่

         ยาคลายกล้ามเนื้อเรียบในต่อมลูกหมากให้คลายตัวลง (alpha-blockers)

         ยาช่วยลดขนาดต่อมลูกหมาก (5-alpha reductase inhibitor)

        • ยาในกลุ่มสมุนไพร

        • รักษาโดยการผ่าตัด ในกรณีที่มีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด ได้แก่

        • ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา

        • ปัสสาวะไม่ออกหลายครั้ง (Refractory urinary retention)

        • ปัสสาวะเป็นเลือดซ้ำซาก (Recurrent hematuria)

        • ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะซ้ำซาก (Recurrent urinary tract infection)

        • เกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (Vesical calculi)

        • เกิดภาวะไตวายซึ่งส่งผลมาจากต่อมลูกหมากโต

        ซึ่งการผ่าตัดที่ถือว่าเป็นมาตรฐานในปัจจุบัน คือ การผ่าตัดด้วยการส่องกล้องคว้านต่อมลูกหมาก    (TransUrethral Resection of Prostate : TURP) เพื่อตัดเอาเนื้อต่อมลูกหมากที่มีการกดเบียดท่อปัสสาวะออก โดยศัลยแพทย์ผู้ทำการผ่าตัดจะสอดกล้องผ่านท่อปัสสาวะเข้าสู่ตำแหน่งของต่อมลูกหมาก โดยที่ปลายกล้องจะมีเครื่องมือผ่าตัด ลักษณะเป็นเส้นลวดไฟฟ้า ใช้สำหรับตัดเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากส่วนที่กดเบียดท่อปัสสาวะเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วล้างเอาชิ้นเนื้อนั้นออกมาส่งตรวจ

         ในกรณีที่ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่มาก ศัลยแพทย์อาจจำเป็นต้องใช้วิธีการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง ซึ่งจะมีความเสี่ยงในการเสียเลือดมากขึ้น

การป้องกันการเกิดโรคต่อมลูกหมากโต

        • ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดในการป้องกันการเกิดต่อมลูกหมากโต

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
Call Center : 0-5393-6900-1 / คลินิกศัลยกรรม : 0-5393-6826
Line iD : @sriphat
หรือ เพิ่มเพื่อนใน LINE ด้วยคิวอาร์โค้ด 



ปัสสาวะค้างในกระเพาะปัสสาวะ



Facebook : SriphatMedicalCenter