โปรแกรม open source ที่ไม่นิยม

รวมรีวิวซอฟต์แวร์ทดแทน

อาศัยช่วงที่กระแสโอเพนซอร์สยังไม่ตก มาทำอะไรเล่นสนุกๆ ได้ประโยชน์กันดีกว่าครับ

ปัญหาใหญ่อันหนึ่งของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สคือมีเยอะมากจนเลือกไม่ถูก บางโปรแกรมก็ดีเวอร์ บางโปรแกรมก็เด็กหัดเขียน ดังนั้นถ้าเรามีข้อมูลของโปรแกรมที่ลองใช้แล้ว เฮ้ย เข้าท่าว่ะ ก็จะมีประโยชน์ต่อคนอื่นที่กำลังหาโปรแกรมประเภทเดียวกัน

อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนอาจคิดว่า Blognone จะมีรีวิวโปรแกรมขนานใหญ่ เข้าใจถูกต้องแล้วครับ เพียงต่อตอนนี้ยังไม่มีรีวิวที่ว่า เพราะคนรีวิวก็คือคนอ่านของเราน่ะเอง 1 คน 1 โปรแกรม จะรีวิวซอฟต์แวร์ได้แค่ไหนกันเชียว

อัพเดต มีคนเสนอว่าไม่น่าจะจำกัดแพลทฟอร์มของโปรแกรม เลยแก้กติกาเป็นโปรแกรมบนระบบปฏิบัติการอะไรก็ได้ หรือจะเป็น web-based ก็ได้แล้วครับ

กติกา

  • รีวิวซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สหรือฟรีแวร์ตัวไหนก็ได้ โดยใช้ฟอร์แมตตามตัวอย่างข้างล่าง
  • 1 คน 1 โปรแกรม ไม่เกิน ไม่ซ้ำ

ฟอร์แมต

ชื่อโปรแกรม ชนิด (เว็บ - ใส่ลิงก์ได้ใช้ html a ปกติ) [license]

เขียนบรรยายารายละเอียดของโปรแกรม ไม่เกิน 4 บรรทัด

ตัวอย่าง

Mozilla Firefox เว็บเบราว์เซอร์ (เว็บไซต์) [Open Source - MPL/GPL]

Firefox เป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างสูง ข้อดีของโปรแกรมคือโหลดหน้าเว็บได้รวดเร็ว ทนทานต่อไวรัสและสปายแวร์ สามารถดูเว็บเป็นแท็บได้ และปรับแต่งความสามารถของโปรแกรมได้จาก Add-ons จำนวนมากมาย

Get latest news from Blognone Follow @twitterapi

Open-Source Software คืออะไร ?

คำว่า "โอเพ่นซอร์ส" (Open Source) เป็นคำที่อยู่คู่วงการซอฟต์แวร์มานาน แต่ความหมายที่แท้จริงของคำนี้คืออะไร Source ในที่นี้หมายถึงอะไร ทำไมต้องเป็นคำว่า "โอเพ่น (Open)" หรือที่แปลว่า "เปิด" มาค้นหาคำตอบกันใน บทความนี้ จากเมนูสารบัญด้านล่างนี้ได้เลย

บทความเกี่ยวกับ Software License อื่นๆ

ความหมายของคำว่า Open-Source Software

โอเพ่นซอร์สซอฟต์แวร์ (Open Source Software) จริงๆ แล้วมันคือ ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ หรือ แอปพลิเคชัน ที่ทางผู้พัฒนารายแรกของซอฟต์แวร์นั้นๆ เปิดเผยที่มา หลักการของซอฟต์แวร์นั้นให้บุคคลภายนอก ผู้ใช้งาน ผู้พัฒนารายอื่นได้ใช้งาน รวมถึงการนำ รหัสต้นฉบับ หรือ ซอร์สโค้ด (Source Code) ของซอฟต์แวร์ไปแจกจ่าย ทำซ้ำ ศึกษา ดัดแปลง พัฒนาต่อยอดได้อีก โดยไม่ผิดกฏหมาย หรือกฏการใช้แต่อย่างใด

นิยามของ Open-Source Software จะต้องมีลักษณะอย่างไร ?

  1. ไม่จำกัดการแจกจ่ายเฉพาะกลุ่มบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
  2. ไม่จำกัดการแจกจ่าย Source Code ส่วนใดส่วนหนึ่ง จะต้องเปิดเผยทั้งหมด
  3. ต้องแจกจ่ายทั้งโปรแกรมต้นฉบับและ Source Code มีช่องทางการแจกจ่ายให้เข้าถึงง่าย
  4. มีเงื่อนไข Open-Source License กำกับ เช่น GPL, BSD

โปรแกรม open source ที่ไม่นิยม

ตัวอย่างกระบวนการพัฒนา Open-Source Software
ภาพจาก : https://commons.wikimedia.org/wiki/File:OSSD_process_data_diagram.png

จากเดิมที่ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ถูกเขียนโปรแกรมซับซ้อน สร้างขึ้นด้วยรหัสต่าง ๆ จำนวนมาก ถูกตั้งค่าให้เป็นระบบปิดและรักษาความลับโดยเจ้าของซอฟต์แวร์นั้น ๆ แต่หลักของ Open-Source Software นั้นจะแตกต่างจากซอฟต์แวร์ทั่วไปโดยสิ้นเชิง ทุกคนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึง Source Code ได้ มีความยืดหยุ่นมากกว่าในการปรับแต่ง และผู้พัฒนาเหล่านี้นี่เองที่จะช่วยเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ หรือเจอปัญหาใด ๆ ในซอฟต์แวร์

ประวัติความเป็นมาของ Open-Source Software

Open-Source Software เดิมทีนั้น มีชื่อว่า "ซอฟต์แวร์เสรี" (Free Software) เกิดขึ้นครั้งแรกครั้งแรกในปี ค.ศ. 1983 (พ.ศ. 2526) จนกระทั่งปี ค.ศ. 1988 (พ.ศ. 2531) ได้นำคำว่า Open Source มาใช้แทน ซึ่งชุดรหัสต้นฉบับ หรือ ซอร์สโค้ด (Source Code) ชุดแรก ๆ ในยุคนั้นก็คือ The Linux Kernel และ Unix Kernel ในปี ค.ศ. 1992 (พ.ศ. 2535) แม้จะไม่ได้ถูกเผยแพร่ในฐานะซอฟต์แวร์ฟรี แต่นี่ก็ถือเป็นชุด Source Code ชุดแรก ๆ เลยก็ว่าได้

และหลังจากนั้น ในปี ค.ศ. 1998 (พ.ศ. 2541) คำว่า "โอเพ่นซอร์ส (Open Source)" ได้ถูกเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ภายในงานอีเวนต์ "Open Source Summit" โดยกลุ่มทีมงานจากบริษัท Netscape และทีมงานชั้นนำ

Open-Source Software ไม่ได้มีแค่ในซอฟต์แวร์ประยุกต์

ถึงแม้คำว่า Open Source จะเป็นภาพจำว่า สิ่งที่เป็น Open Source จะมีแต่ซอฟต์แวร์เท่านั้น แต่จริง ๆ แล้ว ยังมีอีกหลายอย่างที่เป็น Open Source เช่น ระบบปฏิบัติการ หรือ Operation System อย่างที่หลายคนคุ้นเคยก็น่าจะเป็นระบบปฏิบัติการ Linux ที่พัฒนามาจากระบบ Unix รองรับหลายภาษา เช่น PHP, Ruby, Python ฯลฯ เป็นระบบปฏิบัติการที่เปิดกว้าง รองรับการปรับแต่งจากนักพัฒนา (Developer) ใช้งานเป็นส่วนประกอบพื้นฐานร่วมกับ Windows ได้

ถึงแม้ว่า โอเพ่นซอร์สซอฟต์แวร์ (Open-Source Software), ฟรีแวร์ (Freeware) และ แชร์แวร์ (Shareware) สามารถใช้งานได้ฟรีเหมือนกัน แต่มีเงื่อนไขที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง หลัก ๆ คือเงื่อนไขการใช้งานที่มากน้อยและการแจกจ่ายซอฟต์แวร์ต่อนั่นเอง

Freeware Shareware Open-Source Software
  • อนุญาตให้ผู้ใช้งานดาวน์โหลด ติดตั้ง ใช้งานฟรีตลอดชีพ
  • ไม่อนุญาตให้ใช้งานในเชิงพาณิชย์
  • ไม่อนุญาตให้จำหน่าย แจกจ่ายต่อ
  • มีเงื่อนไขการใช้งานตาม สัญญาอนุญาตซอฟต์แวร์ (Software License) ของแต่ละโปรแกรม
  • อนุญาตให้ทดลองใช้งานฟรี
  • มีระยะเวลาทดลองใช้งานที่จำกัด
  • มีเงื่อนไขอื่น ๆ ตามมา เช่น หาต้องการ License จะมีค่าใช้จ่ายหรือต้องบริจาค
  • ซอฟต์แวร์ Shareware บางชนิด บางรุ่นมีโฆษณาในตัว หรือลายน้ำของซอฟต์แวร์นั้น ๆ 
  • อนุญาตให้ดาวน์โหลด ติดตั้ง ใช้งานฟรี
  • ปรับแต่งซอฟต์แวร์ผ่าน Source Code ได้
  • สามารถแจกจ่าย เผยแพร่ต่อได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขของซอฟต์แวร์ต้นฉบับ

ตัวอย่าง Open-Source Software ที่หลายคนอยู่จัก

ส่วน Open-Source Software ในชีวิตประจำวันนั้นมีเยอะมาก ๆ บางคนอาจไม่ทราบเลยด้วยซ้ำไปว่า โปรแกรมที่ใช้งานเป็นประจำเป็น Open Source แม้จะไม่ได้นำโปรแกรมไปปรับแต่งโค้ดหรือทำอะไรเพิ่มเติม แต่รู้ไว้ใช่ว่าก็ไม่น่าเสียหาย

โปรแกรม LibreOffice

โปรแกรม open source ที่ไม่นิยม

ภาพจาก : https://libreoffice.th.uptodown.com/windows

โปรแกรม LibreOffice เป็นโปรแกรมจัดการเอกสาร Open Source แต่นอกเหนือจากการปรับแต่ง Source Code แล้ว การใช้งานจัดการเอกสารก็อยู่ในระดับที่น่าพอใจ มีเครื่องมือให้ใช้งานแบบครบครัน ไม่ว่าจะเป็น Documents, Spreadsheet, Presentations หรือจะเป็น LibreOffice Dictionaries, LibreOffice Translator ที่เป็นผลงานการปรับแต่งเพิ่มเติมจาก Source Code

ดาวน์โหลดโปรแกรม LibreOffice ได้ที่ :

  • https://software.thaiware.com/10239-LibreOffice-Download.html

โปรแกรม VLC Media Player

โปรแกรม open source ที่ไม่นิยม

ภาพจาก : https://libreoffice.th.uptodown.com/windows

คงไม่มีใครไม่รู้จัก โปรแกรมดูหนังฟังเพลงสามัญประจำเครื่อง อย่าง โปรแกรม VLC Media Player  ที่มีฟีเจอร์ให้เลือกแบบครบ ๆ ไม่ว่าจะในแง่ของการแสดงภาพ เสียง ซับไตเติล (Subtitle) รองรับสกุลไฟล์ภาพและเสียงที่หลากหลาย ใช้งานได้บนแทบทุกระบบปฏิบัติการ เรียกได้ว่ามีโปแกรมเดียวก็ไม่ต้องดาวน์โหลดอะไรเพิ่มเติมอีกแล้ว

ดาวน์โหลดโปรแกรม VLC Media Player ได้ที่ :

  • https://software.thaiware.com/10062-VLC-Media-Player-Download.html

เบราว์เซอร์ Mozilla Firefox 

โปรแกรม open source ที่ไม่นิยม

ภาพจาก : https://blog.mozilla.org/ux/2021/06/content-design-considerations-for-the-new-firefox/

และที่ขาดไม่ได้เลยก็คือเบราว์เซอร์สำหรับท่องโลกอินเทอร์เน็ตอย่าง Mozilla Firefox เป็นอีกเบราว์เซอร์ที่ครองใจชาวไทยมานานแสนนาน แน่นอนว่ายังพัฒนาจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะในแง่ฟีเจอร์การใช้งาน การทำงานของเบราว์เซอร์ที่รวดเร็ว มีระบบความปลอดภัยในการป้องกันมัลแวร์ (Malware) สปายแวร์ (Spyware) และอันตรายอื่น ๆ เรียกได้ว่าเป็นเบราว์เซอร์ที่พัฒนาในทุกด้านอยู่เสมอจริง ๆ

ดาวน์โหลดเบราว์เซอร์ Mozilla Firefox ได้ที่ :

  • https://software.thaiware.com/5809-Mozilla-Firefox-Thai-Download.html

โปรแกรม FileZilla

โปรแกรม open source ที่ไม่นิยม

ภาพจาก : https://filezilla-project.org/client_screenshots.php

โปรแกรม FileZilla เป็นโปรแกรม FTP Client สำหรับรับส่งไฟล์ระหว่างเครื่องลูกข่ายกับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ใช้งานง่าย ๆ เพียงลากไฟล์ที่ต้องการและวางในโปรแกรม  (Drag & Drop) และยังมีความพิเศษในหลาย ๆ ด้าน เช่น ระบบ TimeOut Detection ตรวจสอบปัญหาการรับส่งข้อมูล, สนับสนุนการเชื่อมต่อผ่าน Firewall และรวมไปถึง โปรโตคอล ด้านความปลอดภัย (Security Protocol) ต่างๆ อาทิ SSL หรือแม้แต่ SFTP (Secure File Transfer Protocol)

ดาวน์โหลดโปรแกรม FileZilla ได้ที่

  • https://software.thaiware.com/3723-FileZilla-Download.html

Open-Source Software มีประโยชน์อย่างไร ?

Open Source เป็นประเภทซอฟต์แวร์ฟรีที่สามารใช้งาน แจกจ่ายเปิดให้ผู้พัฒนาเข้าไปปรับแต่งโค้ดได้ จึงทำให้ซอฟต์แวร์ต้นฉบับเดิม ๆ ถูกพัฒนาเพิ่มจากเดิม มีการแก้ไขข้อบกพร่อง โดยทั้งหมดนี้ยังอยู่ในเงื่อนไข "ฟรี" และถือว่ามีต้นทุนที่ต่ำเมื่อเทียบกับการพัฒนาซอฟต์แวร์ระบบปิด

นอกจากนี้ Open-Source Software ในปัจจุบันมีความปลอดภัยที่มากขึ้น เสถียร เนื่องจากได้รับพัฒนาความปลอดภัยจากผู้ใช้งานส่วนมาก และไม่ต้องซอฟต์แวร์อัปเดตครั้งใหญ่ เพราะใคร ๆ ก็เข้าไปปรับแต่งซอฟต์แวร์ได้ตลอดเวลา

นอกจากนี้ แม้บางบริษัทจะปิดตัวหรือยุติการพัฒนาซอฟต์แวร์บางรุ่น แต่ตัว Source Code จะยังคงอยู่และถูกพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ โดยผู้ใช้และนักพัฒนาคนอื่น ๆ และยังเป็นประเภทของซอฟต์แวร์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ ด้วยรูปแบบการอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ที่ไม่ซับซ้อน และไม่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ใด ๆ อีกด้วย

ที่มา : opensource.com , www.lenovo.com , www.thebalancecareers.com , www.synopsys.com , www.computer.org , cloudtweaks.com , www.thailibrary.in.th

โปรแกรม open source ที่ไม่นิยม

เขียนโดย

โปรแกรม open source ที่ไม่นิยม
    Thaiware

Web Content Editor ท่านหนึ่ง นิยมการเล่นมือถือเป็นชีวิตจิตใจ

ทำไม Open Source ไม่ได้รับความนิยม

โปรแกรม open source จุดอ่อนคือไม่มีการพัฒนาหรือพัฒนาที่ล่าช้า ช่องโหว่เยอะโดนโจมตี้ง่ายเพราะเปิดเผย แต่ก็มี กฏหมายของ open source หลายอย่างที่ทำให้นักพัฒนาไม่อยากเอาไปพัฒนาต่อ เช่น หากเอาโค๊ตโปรแกรมไป คุณต้องเปิดเผยโค๊ตด้วย หรือไม่ต้องจ่ายเงิน

โปรแกรมโอเพนซอร์สที่รู้จักมีอะไรบ้าง

ตัวอย่างโปรแกรมที่เป็น Open Source ก็อย่างเช่น PHP, MySQL, OpenOffice เป็นต้น นอกจากโปรแกรมแล้ว ยังมีระบบปฏิบัติการ OpenSource อย่างระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนามาใช้ทดแทนวินโดวส์ของไมโครซอฟต์นั่นเอง

Freeware กับ Open Source ต่างกันอย่างไร

Open-Source Software แตกต่างจาก Freeware และ Shareware อย่างไร ? ถึงแม้ว่า โอเพ่นซอร์สซอฟต์แวร์ (Open-Source Software), ฟรีแวร์ (Freeware) และ แชร์แวร์ (Shareware) สามารถใช้งานได้ฟรีเหมือนกัน แต่มีเงื่อนไขที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง หลัก ๆ คือเงื่อนไขการใช้งานที่มากน้อยและการแจกจ่ายซอฟต์แวร์ต่อนั่นเอง Freeware.

โปรแกรมท่องอินเทอร์เน็ตใดเป็นโปรแกรมที่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์

โปรแกรมท่องอินเทอร์เน็ต (Web Browser) โปรแกรมที่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ เช่น Internet Explorer (IE) Open Source / Freeware เช่น Mozilla Firefox, Opera, Safari, Maxthon, Google Chrome.