เดือดร้อน เรื่อง เงิน ทํา ไง ดี

เป็นเรื่องปกติที่ไม่อยากจะให้เกิดขึ้นเลยจริงๆ นะคะ แต่จากการสอบถามพนักงานเงินเดือนทั้งหลายแล้ว ทำให้ได้ข้อสรุปวิธีแก้ไขเรื่องเงินช็อตมาฝากกันค่ะ แบ่งเป็น 5 อันดับแล้วกันนะคะ

Show

 

เดือดร้อน เรื่อง เงิน ทํา ไง ดี

อันดับ 1 ยืมเพื่อนๆ พ่อแม่ พี่น้อง ญาติๆ คนข้างๆ ฯลฯ
ขอปรบมือให้กับวิธีที่นิยมที่สุด หากคุณเดือนร้อนเรื่องเงิน เชื่อเลยว่า ไม่มีใครปฏิเสธว่าไม่เคยยืมเงินเพื่อน พ่อแม่ พี่น้อง แฟน หรือกระทั่งเจ้านายแสนดี จะยืมมากยืมน้อย หากกระเป๋าแบนจริงๆ ก็ต้องแบมือทั้ง 2 ข้าง ขอกันตรงๆ เลยทีเดียว ซึ่งบุคคลเหล่านี้ เชื่อว่าเต็มใจให้คุณยืม หากคุณเป็นลูกหนี้ชั้นดี การันตีโดยคนที่ถูกยืมมาก่อนแล้วล่ะก็... ง่ายมาก และที่สำคัญ ยืมแล้วก็ต้องรีบคืน ยิ่งคืนเร็วเท่าไหร่ยิ่งดี ภาษีดีกว่าคืนช้า เพราะคราวหน้าคราวหลังอาจจะอดได้

 

เดือดร้อน เรื่อง เงิน ทํา ไง ดี

อันดับ 2 บัตรเครดิตช่วยคุณได้
อันที่จริงแล้ว พนักงานออฟฟิศอย่างเราๆ มีจำนวนมากกว่าครึ่งที่มีบัตรเครดิตอยู่ในกระเป๋าแทนเงินสด เพราะมันสามารถใช้จ่ายได้สะดวก ไม่ต้องใช้เงินสดของตัวเอง (เงินสดตรงนี้ เผื่อค่าเดินทาง ค่าอาหารสำหรับระหว่างการทำงาน) เพราะฉะนั้นแล้ว เวลาเดือนร้อนเรื่องเงินก็หยิบบัตรนี้ขึ้นมาจ่ายไปก่อนเท่านั้นเอง ซึ่งมันคือการสร้างวินัยในการใช้จ่ายของคุณไปในตัว โดยคุณอาจจะคิดว่า คุณสามารถเก็บเงินสดได้ แต่จริงๆ แล้ว คุณได้ใช้เงิน (อนาคต) ไปหมดแล้วนั่นเอง แต่ถือว่ามาเป็นอันดับ 2 เพราะมันช่วยจ่ายได้จริงๆ

 

เดือดร้อน เรื่อง เงิน ทํา ไง ดี

อันดับ 3 บัตรกดเงินสด เอาแบงค์สีๆ ออกมาจ่ายก่อนได้เลย
ตามมาติดๆ สำหรับบัตรกดเงินสด หากเงินในกระเป๋าหมดแล้ว ก็แค่เดินไปกดเงินสดในบัตรออกมาใช้เท่านั้น ตามวงเงินที่คุณได้รับ ซึ่งวิธีนี้เหมาะกับพนักงานออฟฟิศกินเงินเดือนไม่น้อยเลย เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่เงินสด (เงินเดือน) หมด คุณก็สามารถยืมเงินจากบัตรนี้ได้ แทนที่จะไปขอยืมกับคนอื่นๆ ซึ่งมันต่างกันแค่เรื่องของการจ่ายดอกเบี้ยที่ต้องมีเพิ่ม เพราะยืมคนที่บ้านไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย แต่ยืมบัตรกดเงินสดต้องเสียดอกเบี้ยอย่างแน่นอน แต่มันก็ดีตรงที่ว่า ทำให้เราต้องบังคับตัวเองว่าอย่ายืม ใช้ให้พอ อย่าใช้เยอะนั่นเอง

 

เดือดร้อน เรื่อง เงิน ทํา ไง ดี

อันดับ 4 ทุบกระปุก แกะเอาเงินสดสำรองมาใช้
หลายๆ คนคงมีเงินออมเผื่อฉุกเฉินอยู่อีกบัญชีที่แยกเอาไว้อยู่แล้ว อาจจะมาในรูปแบบของการฝากประจำ เก็บเป็นเงินสดสำรองจ่าย หรือการซื้อทองคำเก็บ เราก็นับรวมว่ามันเป็นเงินฉุกเฉิน ซึ่งหากไม่พอจ่ายจริงๆ เงินส่วนนี้ก็จะถูกดึงออกมาใช้จ่ายแทนไปก่อน เดือนถัดไปก็ค่อยนำมาทบคืน

 

เดือดร้อน เรื่อง เงิน ทํา ไง ดี

อันดับ 5 หาเงินเพิ่มในช่องทางอื่นๆ
วิธีง่ายๆ หากตังค์หมด ก็คือการหาเพิ่ม ซึ่งแต่ละคนก็มีวิธีการหาเพิ่มที่ต่างกัน หากต้องการเร็วหน่อยก็แค่เปิดตู้เสื้อผ้า รื้อค้นเสื้อผ้าสภาพดีไม่ค่อยได้ใส่ ขนไปขายตามตลาดนัดเปิดท้าย เช่น ตลาดปัฐวิกรณ์ หรือไปซื้อเครื่องประดับผู้หญิงราคาเบาๆ จากสำเพ็งมาขาย แม้กระทั่งการขายของออนไลน์ก็ทำได้ไม่ยากและได้เงินเร็ว ไม่ต้องเสียเวลา ไม่ต้องลงทุนมาก (เพราะแทบไม่มีให้ลงทุนอยู่แล้ว) ก็ได้เงินมาหมุนในเดือนนั้น แต่ระหว่างรอเงิน อาจจะต้องทนอาการแห้งไปก่อน แต่วิธีนี้อาจจะต่อยอดกลายเป็นธุรกิจที่สองในอนาคตได้

เดือดร้อน เรื่อง เงิน ทํา ไง ดี

ทางที่ดีก็คือ ควบคุมรายจ่ายให้ดีๆ อย่าใช้เกินงบประมาณที่ตัวเองตั้งไว้ในแต่ละเดือน ต้องรู้จักการควบคุมรายจ่าย ท่องไว้ว่า สิ้นเปลือง สิ้นเปลือง ให้ซื้อเฉพาะของจำเป็นเท่านั้น หากจะเลือกซื้อของใหญ่เข้าบ้าน ก็เลือกวิธีการกู้เงินหรือเลือกทำบัตรผ่อนสินค้า โดยเฉพาะสินค้าที่มีราคามากกว่า 3 แสนบาทขึ้นไป ก็จะเป็นหนทางที่ทำให้คุณสามารถวางแผนการใช้เงินในแต่ละเดือนได้อย่างรัดกุมขึ้น และไม่ต้องมากังวลว่าเดือนนี้กระเป๋าจะแบนก่อนสิ้นเดือน เพราะใกล้สิ้นเดือน ก็เหมือนจะสิ้นใจกันไปอย่างนั้น

เป็นหนี้เครดิตค่ะ แย่มากๆไม่รู้จะทำไงดี อยากจะกู้นอกระบบ ก็กลัวดอกเบี้ยโหด กลัวเวลาพลัดเค้าไปงวดหน้าแล้้วเค้าจะมาทำร้ายเหมือนในข่าวในละคร กลัวไปหมด กู้ธนาคารก็ยังไม่ได้ เพราะบ้านและรถยังผ่อนไม่หมดเลย.. นั่งเครียดกับแฟนมาเป็นอาทิตย์แล้วค่ะ เราสงสารแฟนมาก ตอนนี้สุขภาพจิตไม่ค่อยจะดีเลย อีกทั้งยังไม่สบายอีก ไม่รู้จะบากหน้าไปหยิบยืมใคร.. เพราะญาติๆก็แย่พอกัน ช่วงนี้ขาลงสุดๆ เพื่อนๆเราก็ไม่กล้าไปยืม เพราะวันนั้นมันเพิ่งมาบ่นให้เราฟังเราตังค์ ตอนนี้มืดแปดด้านแล้ว ครบกำหนดวันสุดท้ายคือวันที่ 20 เดือนนี้ เราควรทำไงดีค่ะ หรือต้องทำใจบากหน้าไปขอกู้นอกระบบจริงๆ.. คือเราไม่ค่อยรู้เรื่องที่กู้สักเท่าไหร่ ไม่รู้ว่าต้องใช้อะไรค้ำรึเปล่า จะกู้เอาประมาณห้าหมื่นอ่ะค่ะ ขอโทษด้วยนะค่ะ ถ้ากระทู้นี้ไร้สาระไปหน่อย..

FCCPageContent1

เดือดร้อน เรื่อง เงิน ทํา ไง ดี

          เชื่อว่าหลายคนต้องเคยเห็นโฆษณาจูงใจตามใบปลิวหรือนามบัตรที่ติดอยู่ตามเสาไฟฟ้า ป้ายรถเมล์ ห้องน้ำ หรือแม้กระทั่งในโลกออนไลน์ในทำนองว่า "ได้เงินทันใช้ กู้สะดวก ไม่ตรวจบูโร รีบโทร. หาเราที่ 09-XXXX-XXXX" ที่ช่างดึงดูดให้คนร้อนเงินหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาเพื่อติดต่อไปขอกู้แทบจะในทันที

          สารพัดสาเหตุที่ทำให้คนหลงเข้าไปอยู่ในวงจรของหนี้นอกระบบ ไม่ว่าจะเป็นมีเรื่องให้ต้องใช้เงินฉุกเฉิน เงินไม่พอใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ต้องลงทุนค้าขาย หมุนเงินไปจ่ายหนี้เดิม หรือกู้เงินในระบบไม่ได้เนื่องจากมีคุณสมบัติไม่ตรงตามที่ธนาคารกำหนดหรือมีหนี้ในระบบมากมายจนกู้เพิ่มไม่ได้ สุดท้ายแล้วหลายคนก็พบว่า หนี้นอกระบบไม่ได้เป็นตัวช่วยอย่างที่คิดแต่กลับถูกดอกเบี้ยสร้างภาระอันหนักอึ้งให้แทน ยิ่งถ้าเป็นประเภทดอกลอยยิ่งทวีคูณความโหดขึ้นไปอีก เพราะเป็นเงินกู้ที่ลูกหนี้จ่ายแต่ดอกเบี้ยทุกวันไปเรื่อย ๆ ไม่เคยตัดเงินต้น จนกว่าจะมีเงินก้อนมาจ่ายเงินต้นทั้งหมดจึงหมดหนี้ จากเงินกู้ไม่กี่พันบาทอาจกลายเป็นต้องจ่ายเงินเพื่อใช้หนี้ไปเป็นหลักหมื่นหรือหลักแสน สุดท้ายไม่สามารถหลุดออกจากวงจรหนี้ได้

            ส่วนดอกเบี้ยหนี้นอกระบบที่บอกเราว่าน้อย ๆ แบบรายวัน แต่ถ้าคิดออกมาเป็นรายปีแล้วมักเจอความจริงที่แสนรันทดใจว่ามันสูงจนน่าสะพรึงกลัว มาดูกันสัก 1 ตัวอย่างว่าเจ้าหนี้นอกระบบคิดดอกเบี้ยสูงสักแค่ไหน

เดือดร้อน เรื่อง เงิน ทํา ไง ดี

เดือดร้อน เรื่อง เงิน ทํา ไง ดี

เดือดร้อน เรื่อง เงิน ทํา ไง ดี

เดือดร้อน เรื่อง เงิน ทํา ไง ดี
เดือดร้อน เรื่อง เงิน ทํา ไง ดี

          สมมติกู้เงิน 10,000 บาท จ่ายคืนวันละ 150 บาท เป็นเวลา 3 เดือน จริง ๆ แล้วเค้าคิดดอกเบี้ยเราเท่าไหร่ คำนวณคร่าว ๆ ได้ตามขั้นตอน ดังนี้

1. ขั้นแรกต้องคำนวณหาจำนวนเงินที่ต้องจ่ายคืนทั้งหมดก่อน


     เงินที่ต้องจ่ายคืนทั้งหมด = จำนวนเงินจ่ายคืนรายวัน x จำนวนวันใน 1 เดือน x จำนวนเดือน

                              = 150 × 30 x 3 = 13,500 บาท


2. เมื่อได้เงินที่ต้องจ่ายคืนทั้งหมดแล้ว ให้นำไปลบจำนวนเงินที่กู้เพื่อหาจำนวนดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายทั้งหมด


     ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายทั้งหมด = เงินที่ต้องจ่ายคืนทั้งหมด – จำนวนเงินกู้

                       = 13,500 – 10,000 = 3,500 บาท


3. นำดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายทั้งหมดมาคำนวณหาอัตราดอกเบี้ยจ่ายตามระยะเวลาที่กู้เงิน (3 เดือน)


4. ขั้นสุดท้ายให้นำไปหาอัตราดอกเบี้ยจ่ายต่อปี เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบกับสินเชื่ออื่น ๆ ได้


จะเห็นได้ว่าเงินกู้ตามตัวอย่างข้างต้นที่จ่ายคืนเป็นรายวันในจำนวนไม่มากนักนั้น เราจะต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงถึง 140% ต่อปีเลยทีเดียว

เมื่อติดกับดักหนี้นอกระบบ หลายคนมักเลือกหาทางออกด้วยการหนีหนี้ แต่การเผชิญหน้าและแก้ปัญหาน่าจะเป็นทางออกที่ดีกว่า จึงขอเสนอ 3 วิธีดังต่อไปนี้


  1. 1. หาเงินมาปิดหนี้

  2.           เริ่มต้นด้วยการลดรายจ่ายไม่จำเป็นลง เช่น ค่าชอปปิง ค่าอาหารมื้อพิเศษ ค่ากาแฟ ค่าเหล้า ค่าบุหรี่ ค่าหวย หารายได้เพิ่มเติมจากความถนัดหรืองานอดิเรกของตัวเอง และลองรวบรวมข้อมูลทรัพย์สินที่มีอยู่ว่ามีอะไรที่น่าจะมีคนสนใจซื้อและขายออกไปได้บ้าง เพื่อนำเงินไปใช้หนี้ ซึ่งการตัดใจขายทรัพย์สิน  คนส่วนใหญ่คงบอกว่าทำใจลำบาก แต่เมื่อผ่านสถานการณ์นี้ไปได้ค่อยทยอยเก็บเงินซื้อทรัพย์สินใหม่ก็ยังไม่สายเกินไป


  3. 2. หาแหล่งเงินกู้ในระบบ

  4.           สอบถามธนาคารของรัฐ เช่น ธนาคารออมสิน ธ.ก.ส. และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ซึ่งอาจมีโครงการสินเชื่อเพื่อช่วยลดปัญหาหนี้นอกระบบออกมาเป็นระยะ หรือขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินต่าง ๆ เช่น สินเชื่อส่วนบุคคลซึ่งมีทั้งแบบที่ไม่มีหลักประกันและมีหลักประกัน (เช่น บ้านหรือทะเบียนรถ) นอกจากนี้ ยังมีสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์และสินเชื่อพิโกพลัส ซึ่งดอกเบี้ยของสินเชื่อเหล่านี้น้อยกว่าดอกเบี้ยของหนี้นอกระบบ มีสัญญาชัดเจน และมีหน่วยงานทางการกำกับดูแลอีกด้วย

  1. 3. หาคนกลางมาช่วยไกล่เกลี่ยประนอมหนี้

          ติดต่อสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (สคช.) สำนักงานอัยการสูงสุด สายด่วน 1157 โดยคณะอนุกรรมการไกล่เกลี่ยประนอมหนี้นอกระบบประจำจังหวัดจะช่วยเป็นตัวกลางในการเจรจาไกล่เกลี่ยประนอมหนี้ระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้นอกระบบให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทั้ง 2 ฝ่าย (ที่มา : https://bit.ly/3aojiur) สำหรับลูกหนี้ที่มีความสามารถในการชำระหนี้น้อย จะมีคณะอนุกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการหารายได้ของลูกหนี้นอกระบบในทุกจังหวัดช่วยฝึกอบรมอาชีพ ฝีมือแรงงาน และให้ความรู้ทางการเงิน


นอกจากนี้ ลูกหนี้นอกระบบสามารถขอคำปรึกษาและร้องเรียนปัญหาหนี้นอกระบบได้ที่หน่วยงานราชการดังต่อไปนี้ 

  • ศูนย์รับแจ้งการเงินนอกระบบ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง โทร. 1359
  • ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด และศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ กระทรวงมหาดไทย โทร. 1567
  • ศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้และประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม กระทรวงยุติธรรม โทร. 0 2575 3344

ไม่ว่าอดีตที่ผ่านมาจะจำเป็น หลวมตัว หรือจำใจจนต้องเป็นหนี้นอกระบบ ถึงเวลาสะสางหนี้ให้หมดไป พร้อมกับเริ่มต้นปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางการเงินใหม่ให้ไฉไลกว่าเดิม ด้วยการได้เงินมาแล้วให้เก็บออมทันทีก่อนใช้ ถ้ายังไม่มีเงินออมเผื่อฉุกเฉิน ให้รีบตั้งเป้าหมายและลงมือออมเงินเพื่อเป้าหมายนี้เป็นอย่างแรกเพื่อปิดทางสู่อบายภูมิทางการเงินเมื่อเกิดเรื่องไม่คาดฝันที่ต้องใช้เงินแก้ปัญหา ใช้เงินน้อยกว่าที่หาได้ และไม่ก่อหนี้เกินตัว จะได้ไม่ต้องกลับไปสู่วังวนของหนี้นอกระบบอีก