การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยรถเข็น

การดูแลผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกทางกายภาพบำบัด เพื่อเป็นการกระตุ้นกล้ามเนื้อที่อ่อนแรงของผู้ป่วยให้ฟื้นตัว โดยฝึกให้มีการเคลื่อนไหวเพื่อให้คืนสู่สภาพเดิมมากที่สุด     การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอัมพาตครึ่งควรเคลื่อนย้ายไปข้างที่ดีเสมอ และต้องอยู่ภายใต้การช่วยเหลือของพยาบาล นักกายภาพบำบัด หรือญาติผู้ป่วย จนกว่าจะแน่ใจว่าผู้ป่วยสามารถปฏิบัติเองได้ และมีการตัดสินใจที่ถูกต้อง  

Show

2) การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วย/ผู้ทีความเสี่ยง

     1.การลุกขึ้นนั่งจากท่านอนหงายของผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก

1. ผู้ป่วยใช้มือข้างที่ปกติจับมือข้างที่อ่อนแรงข้ามลำตัวมาด้านที่ปกติ

2. ผู้ป่วยพลิกตะแคงตัว ถ้าผู้ป่วยยังไม่สามารถพลิกตะแคงตัวเองได้ ก็ให้ผู้ดูแลผู้ป่วยทำการพลิกตะแคงตัว โดยจับที่สะโพกและหัวไหล่ของผู้ป่วยแล้วพลิกตัวมา

3. ผู้ป่วยใช้เท้าข้างที่ปกติสอดใต้ข้อเข่าข้างที่อ่อนแรง แล้วใช้ขาข้างที่ปกติเกี่ยวขาข้างที่อ่อนแรงลงมาข้างเตียง

4. ผู้ป่วยใช้แขนข้างที่ปกติดันตัวลุกขึ้นมาสู่ท่านั่ง ขณะที่ดันตัวลุกขึ้นนั่งนั้นให้ผู้ป่วยใช้เท้าข้างปกติเกี่ยวเท้าข้างที่อ่อนแรงลงมาให้เท้าทั้งสองอยู่ในท่านั่งห้อยเท้า ถ้าผู้ป่วยยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ให้ผู้ดูแลใช้มือหนึ่งสอดเข้าที่บริเวณใต้บ่าและสะบักของผู้ป่วย อีกมือหนึ่งดันเท้าทั้งสองข้างของผู้ป่วยลงมาข้างเตียงพร้อมกับยกผู้ป่วยขึ้นนั่ง ผู้ป่วยก็จะอยู่ในท่านั่งห้อยเท้าได

     2.การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก จากเตียงไปรถเข็นนั่ง 

1.1 วางรถเข็นข้างด้านปกติ (เมื่ออยู่ในท่านั่ง)ทำมุม 45 องศากับขอบเตียง ล็อคล้อรถเข็นและพับที่วางเท้าของรถเข็นขึ้น จากนั้นให้ผู้ป่วยลุกขึ้นมานั่งห้อยเท้าที่ขอบเตียง ขยับรถเข็นเข้าใกล้ผู้ป่วย ผู้ดูแลยืนอยู่ข้างที่อ่อนแรงของผู้ป่วย มือจับเข็มขัดหรือสายคาดเอวทางด้านหลังของผู้ป่วยเพื่อช่วยประคองตัวผู้ป่วย   จากนั้นผู้ป่วยขยับตัวเข้าใกล้รถเข็นใช้มือข้างที่ปกติจับที่วางแขนของรถเข็นด้านที่อยู่ไกลตัวแล้วลุกขึ้นยืน ค่อยๆหมุนตัวลงไปนั่งในรถเข็น     3.การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก จากรถเข็นนั่งไปเตียง 

2.1 วางรถเข็นข้างด้านปกติของผู้ป่วยทำมุม 45 องศากับขอบเตียง  ล็อคล้อรถเข็นแล้วนำเท้าผู้ป่วยวางลงบนพื้นพร้อมกับพับที่วางเท้าของรถเข็นขึ้น

2.2 ผู้ดูแลยืนอยู่ข้างที่อ่อนแรงของผู้ป่วย มือจับสายคาดเอวทางด้านหลังของผู้ป่วยเพื่อช่วยประคองตัวผู้ป่วย จากนั้นให้ผู้ป่วยใช้มือข้างที่ปกติจับที่วางแขนของรถเข็นหรือจับที่ขอบเตียงพร้อมกับดันตัวลุกขึ้นยืน

2.3 ผู้ป่วยค่อยๆหมุนตัวลงนั่งบนขอบเตียง จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งห้อยเท้าที่ขอบเตียง หรือให้ผู้ป่วยนอนลงบนเตียงแล้วแต่กรณี

     4.การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก จากรถเข็นนั่งไปเก้าอี้

3.1 นำรถเข็นที่ผู้ป่วยนั่งอยู่ตั้งทำมุม 90 องศากับเก้าอี้ โดยให้ด้านที่ปกติของผู้ป่วยอยู่ชิดกับเก้าอี้

3.2 ผู้ป่วยใช้มือข้างที่ปกติจับที่วางแขนของเก้าอี้ด้านที่อยู่ใกล้ตัว แล้วลุกขึ้นยืน

3.3 ผู้ป่วยใช้มือข้างที่ปกติเปลี่ยนมาจับที่วางแขนของเก้าอี้ด้านที่อยู่ไกลตัว

3.4 ผู้ป่วยก้าวเท้าข้างที่ปกติไปข้างหน้าหนึ่งก้าว แล้วค่อยๆหมุนตัวลงนั่งบนเก้าอี้  ถ้าผู้ป่วยยังไม่สามารถเคลื่อนย้ายตัวได้ด้วยตนเองคนเดียว ให้ผู้ปฏิบัติช่วยเหลือโดยยืนอยู่ข้างที่อ่อนแรงของผู้ป่วย มือจับเข็มขัดหรือสายคาดเอวทางด้านหลังของผู้ป่วยเพื่อช่วยประคองตัวผู้ป่วย

     5.การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก จากเก้าอี้ไปรถเข็นนั่ง                                

4.1 นำรถเข็นตั้งทำมุม 90 องศากับเก้าอี้ โดยให้รถเข็นอยู่ทางด้านที่ปกติของผู้ป่วย

4.2 ผู้ป่วยใช้มือข้างที่ปกติจับที่วางแขนของรถเข็นด้านที่อยู่ไกลตัว แล้วลุกขึ้นยืน

4.3 ผู้ป่วยก้าวเท้าข้างที่ปกติไปข้างหน้าหนึ่งก้าวแล้วค่อยๆหมุนตัวลงนั่งบนรถเข็น เมื่อผู้ป่วยนั่งเรียบร้อยแล้วให้ดันที่วางเท้าของรถเข็นลงพร้อมกับวางเท้าผู้ป่วยลงบนที่วางเท้า

     6.การเดิน

ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักต้องใช้เครื่องช่วยในการเดิน อาจเป็นไม้เท้าขาเดียว ไม้เท้าสามขา ไม้เท้าสี่ขา หรืออาจไม่ใช้เครื่องช่วยเดินก็ได้ แล้วแต่ความมั่นคงของการเดินในผู้ป่วยแต่ละรายไป

ใครที่อยู่ในวัยที่ต้องดูแลคุณพ่อคุณแม่วัยเกษียน และต้องเดินทางพาพวกท่านไปหาคุณหมอที่โรงพยาบาล จะเข้าใจดีว่าการอุ้มผู้สูงวัยขึ้นลงจากรถ หรือเข้าออกจากรถเข็น ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ 

ไหนจะความทุลักทุเลในการเคลื่อนย้ายคนไข้ขึ้นลงจากรถ 

ไหนจะความกังวลกลัวท่านพลัดตกจากการอุ้ม

ไหนจะความปวดหลังที่เกิดขึ้นจากการอุ้ม และถ้าอุ้มไม่ดี ก็อาจทำให้คนที่ถูกอุ้มบาดเจ็บได้ 

ทุกท่านคงจะเคยคิดอยู่ในใจว่า จะดีกว่าไหมนะ ถ้ามีอุปกรณ์ที่ช่วยให้การอุ้มเป็นเรื่องง่ายๆและปลอดภัย

วันนี้ Goodnite จึงอยากมาแบ่งปัน 6 อุปกรณ์ดีดีที่ช่วยทำให้การดูแลคนไข้กลายเป็นเรื่องง่ายๆ และที่สำคัญที่สุดคือ ไม่ต้องอุ้ม 

1.รถเข็นเคลื่อนย้ายผู้ป่วย 

รถเข็นเคลื่อนย้ายผู้ป่วย  คือรถเข็นอเนกประสงค์ที่ออกแบบมาให้สามารถเปิดข้างได้ ทำให้ผู้ดูแลสามารถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากเตียงไปรถเข็นง่ายๆโดยไม่ต้องอุ้ม เพียงแค่สอดที่นั่งเข้าไปใต้ก้นของผู้ป่วย ก็สามารถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปนั่งบนรถเข็นได้ รถเข็นตัวนี้สามารถใช้งานเป็นรถเข็นนั่งถ่าย รถเข็นอาบน้ำ หรือรถเข็นนั่งเล่นในบ้านได้ จึงเหมาะมากสำหรับบ้านที่มีผู้ดูแลเพียงคนเดียว

รถเข็นเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจะเหมาะกับผู้ป่วยที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง และยังสามารถให้ความร่วมมือกับผู้ดูแลโดย

ผู้ป่วยควรจะสามารถนั่งได้เอง และสามารถยกก้นได้ด้วยตัวเอง เพราะตอนที่ผู้ดูแลสอดที่นั่งเข้าไปใต้กัน หากผู้ป่วยยกก้นไม่ได้เลน ที่นั่งจะติดก้นผู้ป่วย ไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ หากใช้งานผู้ป่วยประเภทนี้แนะนำว่าควรผู้ดูแลเพิ่มอย่างน้อย 1-2  คน เพื่อช่วยประคองเวลาเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

เหมาะสำหรับผู้ป่วยแบบไหน

ผู้ป่วยที่พอช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง , ผู้ป่วยพักฟื้นหลังผ่าตัด, ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง,ผู้ป่วยอัมพาต 

เหมาะสำหรับกรณีไหน

เคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากเตียงไปรถเข็น, พาผู้ป่วยเข้าห้องน้ำ ไปอาบน้ำหรือขับถ่าย, พาผู้ป่วยนั่งพักผ่อนในบ้าน

หาซื้อที่ไหน

https://kaigosensei.com/Product-detail/Moving-Chair

2.  ผ้ายกตัวผู้ป่วย, เบาะยกตัวผู้ป่วย 

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยรถเข็น

วิธีต่อมาเหมาะสำหรับคนไข้ที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง(Partially Dependent) คนไข้ที่ผู้ดูแลสามารถประคองให้อยู่ในท่านั่งได้ และสามารถให้ความร่วมมือกับผู้ดูแลได้ (Cooperative) 

เหมาะสำหรับกรณีไหน

เคลื่อนย้ายคนไข้จากเตียงไปรถเข็น , จากรถเข็นขึ้นลงรถ

เหมาะสำหรับผู้ป่วยแบบไหน

ผู้ป่วยที่พอช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง , ผู้ป่วยพักฟื้นหลังผ่าตัด, ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง,ผู้ป่วยอัมพาต

การใช้งาน


  จากเตียงไปรถเข็น 

1.จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนหันข้าง และ ม้วนผ้ายกตัวครึ่งหนึ่งสอดเข้าไปใต้ผู้ป่วย

2.พลิกตัวผู้ป่วยไปอีกข้าง พร้อมทั้งคลี่อีกครึ่งซีกที่เหลือ

3. จัดท่าให้ผู้ป่วย หันไปด้านหน้า ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้ป่วยนั่งอยู่ในตำแหน่งกึ่งกลางผ้ายกตัวยก และกระชับกับผ้า ก่อนที่จะยกผู้ป่วยขึ้น

 จากรถเข็นขึ้นรถ 

1.จัดท่าให้ผู้ป่วยนั่งในตำแหน่งกึ่งกลาง ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผ้ายกตัวผู้ป่วยกระชับกับตัวผู้ป่วย ก่อนจะทำการยกตัวผู้ป่วยขึ้น

2.ยกตัวผู้ป่วยขึ้น โดยจัดตำแหน่งให้ผู้ป่วยหันไปด้านหน้า

3.หมุนผู้ป่วยให้อยู่ในท่านั่งบนรถที่เหมาะสม

** คำแนะนำ เวลายกผู้ป่วยขึ้นรถ ควรยกผู้ป่วยให้นั่งอยู่เบาะรถด้านหน้า ข้างคนขับ และก่อนก่อนยกทุกครั้งควรเลื่อนเบาะรถไปข้างหลังให้สุด จะช่วยเพิ่มพื้นที่ในการเคลื่อนย้ายและเคลื่อนย้ายได้สะดวกมากขึ้น 

3.  Pivot Disc แป้นหมุนเคลื่อนย้ายผู้ป่วย 

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยรถเข็น

(Source : https://perfecthomecare.net/patient-transfer-techniques/pivot-transfer/) 

วิธีที่สามใช้ Pivot Disc หรือแผ่นหมุนเคลื่อนย้ายผู้ป่วย วิธีนี้เหมาะสำหรับคนไข้ที่ยังพอช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง (Partially Dependent)และสามารถให้ความร่วมมือกับผู้ดูแลได้ (Cooperative)

เหมาะสำหรับกรณีไหน

เคลื่อนย้ายคนไข้จากเตียงไปเก้าอี้  , เก้าอี้ไปเก้าอี้ หรือจากรถเข็นขึ้นรถ

การใช้งาน


วางแผ่นเคลื่อนย้าย (Pivot Disc ) ไว้บนพื้น และใช้เป็นตัวหมุนในการเปลี่ยนตำแหน่งคนไข้ 90 องศา

ตำแหน่งเท้าของคนไข้ควรอยู่ในจุดศูนย์กลางของแผ่น ไม่อยู่นอกแผ่น และเมื่อต้องการที่จะเคลื่อนย้ายให้คนไข้ทิ้งน้ำหนักลงบนแผ่น และใช้แผ่นเป็นจุดหมุนเพื่อเคลื่อนย้าย (Reposition) สามารถใช้เข็มขัดพยุงตัวผู้ป่วย เป็นตัวช่วยในการเคลื่อนย้ายคนไข้

คำแนะนำ เราสามารถใช้ Pivot Disc ร่วมกับ เข็มขัดพยุงตัวผู้ป่วยได้สำหรับคนไข้บางรายที่ต้องการให้คนช่วยพยุง โดยผู้ดูแลสามารถใช้เข็มขัดพยุงตัว ช่วยพยุงตัวคนไข้จากตำแหน่งนั่ง มาตำแหน่งยืน และใช้ Pivot Disc เป็นตัวเปลี่ยนตัำแหน่ง (Reposition) คนไข้ 

วิธีนี้จะไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยที่มีน้ำหนักมาก , ผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้