ถอนฟัน แล้ว ปวด เส้นประสาท

คนที่มารพ.ด้วยอาการปวดฟัน ส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่มีฟันผุค่อนข้างมาก และอาจผุทะลุไปยังโพรงประสาทฟัน ซึ่งในฟันเราก็มีเส้นประสาทอยู่ในนั้น เมื่อฟันผุเป็นรูแบคทีเรียก็สามารถเล็ดลอดเข้าไปในช่องนั้นได้ พอแบคทีเรียไปโดนเส้นประสาทฟัน หรือตอนกินข้าวกินน้ำแล้วไปโดน เราจึงปวดฟันจากสาเหตุนี้แหละ

จริงอยู่ที่ว่าการถอนฟันผุออก ก็จะช่วยให้อาการบาดเจ็บลดลงไปได้แบบทันทีทันใด แต่การถอนฟันในซี่ที่ยังมีอาการปวด บวม ติดเชื้อรุนแรง หรือมีหนองร่วมด้วยนั้น การฉีดยาชาลงไปบริเวณที่มีการอักเสบก่อนถอนฟัน อาจจะทำให้ยาชาออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่ พอยาชาไม่ทำงาน ก็ไม่ต่างอะไรกับการถอนฟันสดๆ นี่แหละ ความเจ็บไม่ต้องพูดถึง แค่นึกก็เสียวฟันตามไปด้วยแล้ว

แนวทางการรักษาส่วนใหญ่ คุณหมอจึงมักจะแนะนำให้คนไข้ทานยาเพื่อบรรเทาอาการปวดไปก่อน พออาการปวดฟันลดลงแล้วจึงค่อยกลับมาถอนอีกที ยาชาจะได้ทำงานได้เต็มที่ เก็บแรงไว้เจ็บหลังถอนทีเดียวนั่นเอง

ดังนั้นคนที่เป็นฟันผุ แล้วหมอไม่ยอมรีบถอนฟันให้แต่เนิ่นๆ ก็อยากให้เข้าใจแนวทางการรักษาแบบนี้กันด้วยนะ

รวมถึงคนที่ฟันผุไม่มาก หมอก็อาจทำการรักษาแค่การอุดฟันก็เพียงพอแล้ว ใช่ว่าเอะอะจับถอนฟันทุกซี่ที่ไหนกัน ฟันซี่ไหนที่ยังใช้งานได้ก็เก็บไว้อย่างนั้นแหละ เพราะฟันเราเมื่อเอาออกไปแล้วไม่สามารถงอกมาใหม่ได้เหมือนหางจิ้งจกนะ ดังนั้นถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ไม่มีหมอคนไหนอยากถอนฟันเราพร่ำเพรื่อหรอก

ส่วนกรณีเคสที่ฟันผุมากๆ ดังกล่าว หากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษา อาจเกิดการลุกลามของเชื้อจากตัวฟันไปยังกระดูกขากรรไกร และลามไปยันบริเวณใบหน้าและลำคอได้ ซึ่งอาจทำให้มีอาการปวดมากขึ้น หรือมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา ทำให้การรักษายิ่งยากมากขึ้นตามไปอีก

ดังนั้น ถ้าเรามีอาการปวดฟันที่รบกวนชีวิตประจำวันเมื่อไหร่ ก็แนะนำให้รีบมาพบทันตแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุอาการปวดฟันแต่เนิ่นๆ จะได้ไม่เสี่ยงมาตอนเป็นหนักแล้ว ทั้งรักษายาก ค่าใช้จ่ายแพง แถมเจ็บตัวนานอีกด้วย

บางคนกลัวการถอนฟันอย่างมาก เพราะการถอนฟันอาจมีผลต่อเส้นประสาท อีกทั้งยังกลัวความเจ็บปวดจากการถอนฟัน ถึงแม้จะปวดฟันอย่างไรก็อดทนไว้ไม่ยอมไปพบทันตแพทย์เพื่อถอนฟัน

 ปกติแล้ว ในตัวฟันทุกซี่จะมีเส้นประสาทอยู่ โดยเป็นแขนงของเส้นประสาทรับความรู้สึกที่แยกออกมาจากเส้นประสาทใหญ่ของร่างกาย การถอนฟันเป็นการดึงและตัดเส้นประสาทส่วนที่อยู่ปลายรากฟันที่เป็นแขนงเล็กออกไปเท่านั้น ดังนั้น จึงไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายหรือเส้นประสาทใหญ่แต่อย่างใด

ในกรณีความเจ็บปวดจากการถอนฟัน ทันตแพทย์จะต้องฉีดยาชา เพื่อทำให้บริเวณฟันที่จะถอนไม่มีความรู้สึกก่อน โดยฟันล่างจะฉีดยาชาบริเวณต้นทางเข้าของเส้นประสาทฟันที่อยู่ด้านในของขากรรไกรล่าง ส่วนฟันบนจะฉีดยาชารอบๆฟัน ทั้งด้านนอกและด้านใน ซึ่งการฉีดยาชาอาจทำให้เจ็บเส็กน้อยในบางคน การฉีดยาชาเป็นเทคนิคที่จะต้องนำยาชาเข้าไปในตำแหน่งที่ปลอดภัย ไม่โดนเส้นประสาท จึงไม่เป็นอันตรายใดๆต่อเส้นประสาท

ฉีดยาชา ... เจ็บไหม

คนไข้บางคนกลัวการฉีดยาชา ไม่ต้องกลัวแล้วค่ะ เพราะปัจจุบันมียาชาชนิดทา ซึ่งจะทาไปที่บริเวณเหงือกก่อนฉีดยาชา อีกทั้งเข็มฉีดยามีขนาดเล็กมากๆ เพราะฉะนั้นตอนฉีดยาชา คนไข้จะรู้สึกเจ็บเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

หลังจากฉีดยาชาสักครู่หนึ่ง จะมีความรู้สึกชา เช่น ริมฝีปากจะรู้สึกหนาหรือปลายลิ้นชา อาจบังคับริมฝีปากลำบาก หรืออื่นๆ

ในบางคนไม่เคยฉีดยาชา ความรู้สึกดังกล่าวอาจรู้สึกว่าไม่ปกติ จึงทำให้เกิดความกังวลมาก กลัวว่าเป็นปัญหา แท้ที่จริงไม่ใช่ความผิดปกติ ดังนั้นจึงไม่ควรกังวลว่าการถอนฟันทำให้ประสาทเสีย และการถอนฟันจะไม่เกิดความเจ็บปวดด้วย

1. กัดผ้าก๊อสให้แน่น ประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วคายผ้าทิ้ง ให้รับประทานยาแก้ปวดหลังคายผ้าทิ้ง 1-2 เม็ดตามที่สั่ง

ฟันคุด คือ ฟันซี่สุดท้ายที่ไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติ อาจจะมีกระดูก เหงือกมาปิดบังหรือกรีดขวางการขึ้น โดยฟันคุดมักจะพบที่ตำแหน่งฟันกรามซี่ในสุดท้าย หรือบางครั้งเกิดบริเวณตำแหน่งของฟันเขี้ยว บางคนปล่อยทิ้งไว้โดยไม่เคย X-RAY ภาพใหญ่ ก็จะไม่เห็นว่าเรามีฟันคุดซ้อนอยู่ในลักษณะไหน เช่น ฟันเอียงข้างใดข้างหนึ่ง ฟันเอียงไปชนกับฟันซี่ข้างหน้า ฟันตั้งตรง หรือฟันนอนราบ

ถอนฟัน แล้ว ปวด เส้นประสาท

ลักษณะดังกล่าวอาจจะสร้างอาการปวดและสร้างความรำคาญอยู่ตลอดเวลา ถ้าฟันคุดจะพยายามขึ้นเองแต่ไม่สามารถขึ้นเองได้ หากไม่ตัดสินใจผ่าฟันคุดออก อาจเกิดปัญหาและเป็นอันตรายได้ในอนาคต

ฟันคุดเราควรจะตรวจเช็คในช่วงอายุ 15-20 ปี เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการตรวจประเมินร่วมกับการเอกซเรย์ ว่ามีฟันกรามซี่สุดท้ายพัฒนาขึ้นในขากรรไกรหรือไม่ และมีแนวโน้มจะเป็นฟันคุดจะสามารถขึ้นตั้งตรงมาได้ หรือมีกระดูก หรือแนวฟันจะสามารถขึ้นเองโดยไม่ต้องผ่าออก จากภาพในการถ่าย X-RAY จะบอกได้ถึงปัจจัย และความเสี่ยงในการที่มีฟันคุดอยู่ แนะนำให้เอาฟันคุดออก เพื่ออนาคตฟันคุดซี่นี้จะไม่ทำให้เรามีปัญหาตามมาภายหลัง


อ่านข้อมูลเพิ่มเติม : ศัลยกรรมช่องปาก ถอนฟัน ผ่าฟันคุด ปลูกถ่ายกระดูก (คลิก)

ข้อเสียของการมีฟันคุด

  • มีอาการปวดฟัน เนื่องจากฟันคุดดันฟันขึ้น
  • ฟันเกฟันล้ม หรือรากฟันข้างเคียงถูกทำลาย จากการดันตัวของฟันคุดที่พยายามดันขึ้นมา  
  • เกิดความผิดปกติของเนื้อเยื้อ
  • อาจจะก่อให้เกิดซีสต์ และเนื้องอกบริเวณรอบ ๆ ฟันคุด
  • จะเกิดฟันผุ หรือ เหงือกอักเสบ ได้ง่ายถ้ามีเศษอาหารติดที่ซอกฟันเพราะตำแหน่งตรงนี้การแปรงฟันอาจจะไม่ทั่วถึง

เลือกถอนฟันคุดแทนการผ่าฟันคุดได้ไหม


ขึ้นอยู่กับการประเมินของทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แนะนำให้มีการถ่าย X-RAY ร่วมกับการวางแผน หากทันตแพทย์ประเมินว่าฟันคุดโผล่ออกมามากพอที่จะสามารถถอนแบบธรรมดาได้ การถอนฟันคุดก็จะเจ็บและระบมน้อยกว่าการผ่าฟันคุด แต่ถ้าฟันยังขึ้นไม่สมบูรณ์เอียงหรือฟันยังฝังอยู่ในกระดูกลักษณะแบบนี้ ก็จะต้องเป็นวิธีการผ่าฟันคุด ไม่ว่าจะถอนฟันคุดหรือผ่าฟันคุดจะทำภายใต้ยาชา

ขั้นตอนการผ่าฟันคุด

  • ทันตแพทย์จะทำการเอกเรย์ช่องปากก่อน เพื่อจะได้วางแผนตำแหน่งของการเอาฟันออก
  • ผู้ช่วยทันตแพทย์จะเตรียมชุดในการใช้ใน ผ่าตัดและและทันตแพทย์ จะทำการใส่ยาชา และรอจนยาออกฤทธิ์
  • ขั้นตอนการผ่าตัด การผ่าตัดเปิดเหงือก การถอนฟันคุดออก การเย็บปิดปากแผลระยะเวลาใช้ในการผ่าขึ้นกับความยากง่ายไม่เกิน 1 ชั่วโมงโดยประมาณ
  • ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลรักษาหลังการผ่าฟันคุดและการทานยา

ถอนฟัน แล้ว ปวด เส้นประสาท

โปรโมชั่นทำฟัน | ราคาผ่าฟันคุด | ถอนฟัน

ค่ารักษาทันตกรรมมาตรฐาน การตรวจสุขภาพฟัน และช่องปาก ราคาผ่าฟันคุด ถอนฟันที่คลินิกทันตกรรม สไมล์ ซิกเนเจอร์

ดูราคา และโปรโมชั่นทีนี่

ฟันคุด ไม่ผ่าได้ไหม ??

ถอนฟัน แล้ว ปวด เส้นประสาท

ฟันคุด เป็นฟันที่จะสร้างปัญหาให้เราอาจจะยังไม่ใช่ตอนนี้ และถ้าปล่อยไว้ก็จะมีการอักเสบ หรือฟันคุดพยายามจะดันฟันแท้ ทำให้เราเกิดความเจ็บปวด และอาจส่งผลกระทบต่อฟันซี่ข้างเคียงอาจจะทำให้ฟันผุ หรือบางท่านเคยปวด เคยบวม หรือทานยาจนหายแล้วปล่อยทิ้งไว้นานจะเกิดการติดเชื้อและมีถุงหนองถุงน้ำขึ้นมาจากบริเวณฟันคุด แต่ถ้าฟันคุดขึ้นมาเต็มซี่เคสนี้จะเป็นการถอนฟันคุดธรรมดา

การผ่าฟันคุดจำเป็น ต้องใช้ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่จบสาขาโดยตรงเกี่ยวกับการถอนฟันคุด ผ่าตัดฟันคุด เนื่องจากฟันคุดมักจะปรากฏอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ปกติ เช่น บริเวณขากรรไกรหรือบริเวณที่อยู่ใกล้กับเส้นประสาท

ดังนั้น หากมีการถอนฟัน หรือผ่าฟันคุดที่ผิดพลาดจะส่งผลกระทบอาจทำให้เส้นประสาทในบริเวณนั้นได้รับการกระทบกระเทือนจนส่งผลให้เกิดอาการชาหลังทำหรือมีผลต่อการรับความรู้สึกต่าง ๆ ได้


ปรึกษาปัญหา – สอบถาม ข้อมูลฟันคุด กับเราที่นี่

ถอนฟัน แล้ว ปวด เส้นประสาท


ทีมทันตแพทย์ของสไมล์ ซิกเนเจอร์ ได้รับการรับรองจากสถาบันต่าง ๆ ในความชำนาญฉพาะแต่ละสาขา เพื่อจะให้บริการได้ครบวงจรในทางทันตกรรม ดูรายชื่อทันตแพทย์ประจำ คลินิกทันตกรรม สไมล์ ซิกเนเจอร์ (คลิกที่นี่)

หลังผ่าฟันคุดเจ็บกี่วัน ?


การผ่าฟันคุดไม่ได้เจ็บอย่างที่คิด เพราะในขั้นตอนการผ่าฟันคุด ทันตแพทย์จะฉีดยาชา หลังผ่าตัดเสร็จก็จะล้างทำความสะอาดแผลและเย็บปิดแผล เเต่คนไข้จะมีอาการปวดบ้างหลังยาชาหมดฤทธิ์ คุณหมอจะให้ยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการกลับไปทานที่บ้าน และแนะนำขั้นตอนการดูแลหลังจากการหายชา กัดผ้าก๊อซแน่น ๆ ประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อห้ามเลือด

หลังจากที่ผ่าฟันคุด อาจจะมีอาการปวดและบวมบริเวณแก้มด้านที่ทำการผ่าตัด ประมาณ 3-5 วัน ซึ่งเป็นปกติและจะหายไปได้เองสามารถควบคุมอาการปวดได้โดยยาแก้ปวด รวมถึงการประคบเย็นช่วง 3 วันแรก และประคบอุ่นเพื่อลดอาการบวม ซึ่งปกติแผลผ่าฟันคุดจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ขึ้นไป แผลจึงจะหายโดยสมบูรณ์หลังจากผ่าฟันคุด

เคล็ดลับการดูแลรักษาหลังถอนฟันคุด และผ่าฟันคุด

ถอนฟัน แล้ว ปวด เส้นประสาท


หลังการถอนฟันคุดและผ่าฟันคุด จะแนะนำให้กัดผ้าก๊อสห้ามเลือดเอาไว้ประมาณชั่วโมงกว่า หรือจนกว่ายาชาจะหมดฤทธิ์ หากมีเลือดมีน้ำลาย แนะนำให้กลื่นเลือดจะแข็งตัวเร็ว และเลือดจะหลุดไหล