น้ำทิ้งจากพื้นที่การเกษตรในปัจจุบันมีมลพิษสูง เพราะเหตุใด

สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหามลภาวะทางน้ำในแม่น้ำลำคลอง

น้ำทิ้งจากพื้นที่การเกษตรในปัจจุบันมีมลพิษสูง เพราะเหตุใด

  • Hits: 22199
  • Print
  • Bookmark

สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหามลภาวะทางน้ำในแม่น้ำลำคลอง

น้ำทิ้งจากพื้นที่การเกษตรในปัจจุบันมีมลพิษสูง เพราะเหตุใด

สวัสดีครับผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ ผม Dr.UBA จะพาทุกท่าน มาเรียนรู้ถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหามลภาวะทางน้ำในแม่น้ำลำคลองกันครับ เรามาเรียนรู้ไปพร้อมๆกันเลยครับ ว่าสาเหตุของน้ำเสียในแม่น้ำลำคลอง มีอะไรบ้าง

1. น้ำเสียจากบ้าน ร้านค้าและอาคารที่ทำการ ชุมชนที่มีบ้านเรือนที่อยู่อาศัยหลายๆหลังคาเรือน ย่านการค้าหรืออาคารที่ทำการ ล้วนจำเป็นต้องใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และใช้สอยในจุดประสงค์อื่นๆ น้ำที่ใช้นี้จะมีปริมาณหนึ่งซึ่งเป็นปริมารส่วนใหญ่กลายเป็นน้ำทิ้งออกมา น้ำทิ้งส่วนมากจะเป็นน้ำจากส้วมและจากการชำระล้าง ซึ่งประกอบไปด้วยสารอินทรีย์ สบู่ ผงซักฟอก เศษอาหาร ไขมัน สารอนินทรีย์ และสิ่งปฏิกูลอื่นๆ เจือปนอยู่ สารเหล่านี้เมื่อไหลลงสู่แม่น้ำลำคลอง จะเกิดผลเสีย 2 ประการใหญ่ๆคือ ประการแรกช่วยเพิ่มสารอาหารเสริมแก่พืชน้ำและสัตว์น้ำ ทำให้พืชน้ำและสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น เมื่อพืขน้ำและสัตว์น้ำตายไป จะทำให้เกิดสารอินทรีย์ในน้ำเพิ่มขึ้น สารอินทรีย์ที่มาจากน้ำทิ้งและที่เกิดเพิ่มขึ้นนี้ ถ้ามีจำนวนมากเมื่อถูกย่อยสบายโดยแอโรบิกบักเตรีที่มีอยู่ในน้ำ ก็จะนำเอาออกซิเจนละลายน้ำมาใช้ในอัตราที่สูงกว่าอัตราที่ออกซิเจนในอากาศละลายลงในน้ำ ทำให้เกิดสภาพขาดออกซิเจนขึ้น อันเป็นสภาวะแวดล้อมที่เหมาะกับแอนแอโรบิกบัคเตรีให้ย่อยสลายสารอินทรีย์ต่อไป ทำให้น้ำกลายเป็นสีดำมีกลิ่นเหม็นส่วนสารอื่นๆ ที่ปนมา เช่น สารอนินทรีย์จะเพิ่มปริมาณสูงขึ้น ทำให้คุณภาพน้ำทิ้งไม่ได้มาตรฐานและเสียประโยชน์ใช้สอยไป นอกจากนี้ถ้าน้ำทิ้งมีเชื้อโรคชนิดต่างๆที่เป็นอันตราย เช่น บัคเตรี และไวรัส ก็จะทำให้เกิดโรคได้

น้ำทิ้งจากพื้นที่การเกษตรในปัจจุบันมีมลพิษสูง เพราะเหตุใด

2. น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม น้ำเสียจากโรงงานอุตสากรรม ได้แก่ น้ำทิ้งจากระบบการผลิต ระบบการหล่อเย็น อาคารที่อยู่อาศัยและที่ทำการ ร้านค้าและโรงอาหาร สารที่ปะปนมาอาจจะเป็นสารอินทรีย์ สารอนินทรีย์ กรดด่าง โลหะหนัก สารเคมีต่างๆ สารกัมมันตรังสี สารพิษ ดินทรายและสิ่งปฏิกูลอื่นๆ ซึ่งเมื่อทิ้งลงในแม่น้ำลำคลอง จะทำให้เพิ่มปริมาณสารเหล่านั้นหรือเกิดการเป็นพิษกับสิ่งมีชีวิตในน้ำ เกิดการเน่าเหม็น เกิดสี กลิ่น และความไม่น่าดู

3. ปุ๋ยที่ใช้ในการเกษตร ปุ๋ยหลักที่ใช้ในการเกษตร ได้แก่ สารไนโตรเจนและฟอสฟอรัส ฟอสฟอรัสที่อยู่ในรุปของฟอสเฟตสามารถยึดติดกับดินได้ จึงมีส่วนน้อยที่ไหลไปกับน้ำ ดังนั้นสารที่ทำให้เกิดปัญหาคือ ไนโตรเจน การใช้ปุ๋ยส่วนใหญ่มักใส่กันมากเกินกว่าที่พืชจะนำไปใช้ได้หมด เมื่อฝนตก น้ำฝนจะชะเอาไนโตรเจนไหลไปตามผิวดิน ลงสู่แม่น้ำลำคลอง ช่วยให้สาหร่ายเจริญเติบโตได้ดีเป็นจำนวนมาก ทำให้น้ำเกิดสี กลิ่น และรส เมื่อสาหร่ายเหล่านี้ตายลง ก็จะทำให้น้ำเน่าเหม็นและมีฟีนอลสูงขึ้น เกิดฝ้าขาวลอยอยู่ตามผิวน้ำ

น้ำทิ้งจากพื้นที่การเกษตรในปัจจุบันมีมลพิษสูง เพราะเหตุใด

4. ผิวดินที่พังทลาย ในพื้นที่รับน้ำบางแห่ง เช่น อ่างเก็บน้ำที่เสื่อมสภาพและมีการพังทลายของหน้าดิน จะทำให้น้ำมีความขุ่นสูง เกิดสี กลิ่น และรสได้

5. การเลี้ยงปศุสัตว์ ถ้าสัตว์เลี้ยงกินหญ้าที่คลุมหน้าดินมากเกินไปจะทำให้หน้าดินถูกน้ำกัดเซาะเมื่อฝนตก เเละเมื่อไหลลงไปในแหล่งรับน้ำก็จะเกิดปัญหาเช่นเดียวกับในข้อ 4 นอกจากนี้มูลสัตว์ก็จะไหลบงไปในลำน้ำทำให้มีสารอินทรีย์ ไนโตรเจน และฟอสฟอรัสสูง เกิดปัญหาเช่นเดียวกับข้อ 1 และ 3

6. ยาฆ่าแมลงและยากำจัดวัชพืช ส่วนมากเป็นสารเคมีที่บางครั้งก็เป็นสารมีพิษ เมื่อถูกชะล้างลงไปในน้ำ ก็จะเป็นพิษแก่พืชและสัตว์ที่อยู่ในแหล่งน้ำ หากเรานำน้ำไปใช้ก็จะได้รับอันตรายจากสารพิษนั้นด้วย

7. ไฟป่า ถ้าเกิดไฟป่าในบริเวณพื้นที่ที่เป็นแหล่งต้นกำเนิดน้ำจะทำให้มีขยะ เถ้าถ่าน ตะกอนทราย รวมทั้งสารมลพิษต่างๆ ไหลลงไปในแหล่งน้ำเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะส่งผลเสียต่อคุณภาพของน้ำที่นำไปใช้สอย อีกทั้งอาจจะทำให้อ่างเก็บน้ำหรือเเม่น้ำตื้นเขินเนื่องจากการสะสมของเถ้าถ่านและตะกอนต่างๆ

8. การใช้ที่ดินที่ขาดการควบคุม การใช้ที่ดินสองข้างหรือรอบๆแหล่งน้ำ ที่ขาดการควบคุมหรือการกำหนด จะทำให้เกิดผลเสียต่อคุณภาพของน้ำได้ ดังนั้น จึงควรกำหนดเขตหรือห้ามการขยายชุมชนหรือการตั้งโรงงานตามริมน้ำที่นำน้ำมาไปใช้ประโยชน์ในการทำประปา

ขอขอบคุณ
ที่มา ของบทความ จาก : http://www.nectec.or.th
รูปประกอบ จาก : pulitzercenter.org, http://switchboard.nrdc.org, http://www.greenpeace.org

Tags: Untagged

    น้ำทิ้งจากพื้นที่การเกษตรในปัจจุบันมีมลพิษสูง เพราะเหตุใด

    Super User has not set their biography yet

    หน้าหลัก >> Knowledge >> น้ำ >> จำนวนผู้เข้าชม: 77,474 การป้องกันน้ำเสีย

    คลังความรู้ น้ำ : การป้องกันน้ำเสีย

    น้ำทิ้งจากพื้นที่การเกษตรในปัจจุบันมีมลพิษสูง เพราะเหตุใด

    น้ำสะอาดตามปกติ จะมีปริมาณออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำปริมาณหรือค่า DO(DISSOLVED OXYGEN) ปริมาณ7-8 มิลลิกรัมต่อลิตร ถ้ามีมากกว่านี้ก็จะซึมไปในบรรยากาศ ถ้ามีน้อยกว่านี้ ออกซิเจน ในบรรยากาศก็จะซึมเข้าไปในน้ำ ทั้งนี้การจะซึมเข้าไปได้เร็วหรือช้า ก็ขึ้นอยู่กับการกกระเพื่อมของผิวน้ำ ออกซิเจนในน้ำเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ปลาหรือสัตว์น้ำอาศัยอยู่ได้ ต้นน้ำลำธารของประเทศไทยนั้น น้ำยังคงใสสะอาด แต่เมื่อไหลผ่านแหล่งชุมชนก็จะเสื่อมโทรมเพิ่มมากขึ้น เพราะชุมชนเหล่านั้นได้เพิ่มปริมาณความสกปรกเข้าสู่แหล่งน้ำนั่นเอง ท่านก็เป็นคนหนึ่งใช่หรือไม่ที่อยากเห็นแม่น้ำลำคลองของไทยใสสะอาด

    น้ำเน่า

    สารอินทรีย์ต่างๆ ที่ย่อยสลายได้เมื่อถูกทิ้งลงไปในแหล่งน้ำ จะถูกจุลินทรีย์ในน้ำย่อยสลาย ในกระบวนการย่อยสลายของจุลินทรีย์นั้นจะต้องใช้ออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ หากมีสารอินทรีย์มากก็จะใช้ออกซิเจนทำการย่อยสลายมาก ทำให้ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลงเรื่อยๆ และจะทำให้สิ่งมีชีวิตในน้ำเช่น ปลา กุ้ง หรือสัตว์น้ำบางชนิดไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ ยิ่งเมื่อออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำหมดไป แต่ยังมีสารอินทรีย์เหลืออยู่ จุลินทรีย์อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่ใช้ออกซิเจนในการย่อยสลายเข้ามาทำหน้าที่แทนซึ่งจะทำให้เกิดก๊สซมีเทน ก๊าซไฮโดนเจนซัลไฟล์ หรือก๊าซไข่เน่าที่มีกลิ่นเหม็นและทำให้น้ำมีสีดำสกปรก ต่อไปท่านคงไม่ทิ้งสิ่งของต่างๆ ลงไปในแหล่งน้ำอีกแล้วนะ

    สารพิษในน้ำ

    น้ำเน่าที่เราเห็นตามปกตินั้น นอกจากจะเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในน้ำนั้น แล้วยังทำให้น่าขยะแขยงไม่น่าดู แต่น้ำบางแห่งอาจจะดูไม่เน่าเหม็น ก็อาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำและสิ่งมีชีวิตโดยรอบรวมทั้งคนเราได้เหมือนกัน ซึ่งก็คือน้ำที่มีสารพิษเจือปน เช่น สารปรอท สารตะกั่ว หรือแคตเมี่ยมโดยสารพิษพวกนี้ ส่วนใหญ่เกิดจากการแอบปล่อยออกจากโรงงานทั้งเล็กและใหญ่ นอกจากนั้นน้ำจากไร่นาที่ระบายลงสู่แม่น้ำลำคลอง ก็ยังจะพาเอาสารเคมีที่ใช้ในไร่นาเหล่านั้นลงมาพร้อมกันด้วย ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำในบริเวณนั้นและ ต่อคนที่นำน้ำไปใช้อีกด้วย อย่างนี้เรียกว่าเกิดมลพิษทางน้ำขึ้นแล้ว เราต้องช่วยกันเป็นหูเป็นตา เห็นใครแอบปล่อยต้องรีบแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องทราบโดยเร็ว

    ของเสียที่ทำให้เกิดมลพิษทางน้ำ

    • สารอินทรีย์ที่ละลายน้ำได้ เช่น น้ำแกง น้ำล้างในครัว น้ำเชื่อม ปัสสาวะ อุจจาระ เป็นต้น
    • สารอินทรีย์ที่ไม่ละลายในน้ำ เช่น กระดาษ เศษเนื้อ เศษผัก ใบตอง เป็นต้น
    • สารอินทรีย์ที่ละลายในน้ำได้ เช่น สารปรอท ตะกั่ว สังกะสี แคตเมี่ยม สารเคมีจากอุตสาหกรรมต่างๆ
    • สารอินทรีย์ที่ไม่ละลายน้ำ เช่น ท่อนเหล็ก ท่อนไม้ ตะกรัน โลหะและของแข็งชนิดต่างๆ

    น้ำเสียจากชุมชน

    น้ำเสียที่ระบายลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาตินั้น โดยทั่วไปน้ำเสียจากชุมชนมีปริมาณที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่มาจากบ้านเรือน โรงแรม โรงพยาบาล คอนโดมิเนียม ร้านอาหารและตลาดเป็นต้น ส่วนใหญ่มักเป็นสารอินทรีย์และสิ่งสกปรกต่างๆ เช่น น้ำจากส้วม น้ำจากครัวและไขมันต่างๆ นอกจากนั้นน้ำเสียจากโรงพยาบาลที่ไมีมการบำบัดก่อนปล่อยทั้งก็จะมีเชื้อโรคและพยาธิปะปนอยู่ด้วย เนื่องจากการขับถ่ายของผู้ป่วยหรือกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย

    น้ำเสียจากอุตสาหกรรม

    น้ำทิ้งจากการอุตสาหกรรมนั้นมาจากขบวนการต่างๆ ในโรงงาน เช่น ขบวนการผลิตโดยตรง จากขบวนการล้างต่างๆ หรือจาการหล่อเย็นซึ่งแต่ละโรงงานจะมีชนิดและปริมาณแตกต่างกันออกไปเช่น อุตสาหกรรมทางการเกษตร เช่น โรงงานแปรรูปผลผลิตารเกษตรน้ำทิ้งจะเป็นประเภทมีสารอินทรีย์มากความสกปรกสูงทำให้ออกซิเจนในน้ำลดลง อุตสาหกรรมโลหะต่างๆ จะมีสารพิษจำพวกโลหะหนักปะปนออกมา อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เช่น การผลิตยา ปุ๋ย กระดาษ สีเป็นต้น จะมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างสูง อาจมีสารพิษปะปนมา บางชนิดทำให้สี รส หรือกลิ่นของน้ำเปลี่ยนแปลงไป อุตสาหกรรมสิ่งทอ ส่วนใหญ่เกิดจากการฟอกย้อมสี ซึ่งมีการใช้สารเคมีทำให้น้ำเน่าเปลี่ยนสีเป็นการทำลายสภาพแหล่งน้ำและอาจมีโลหะหนักปะปนมาก

    น้ำเสียจากเกษตรกรรม

    • น้ำเสียจากการเพาะปลูก จะประกอบด้วยปุ๋ยส่วนมาก เมื่อไหลลงสู่แแหล่งน้ำจะทำให้พืชที่ขึ้นในน้ำนั้น เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น สาหร่ายต่างๆ และผักตบชวา นอกจากสารเคมีที่ใช้กำจัดศัตรูพืชที่เข้มข้น อาจทำให้สัตว์น้ำต่างๆ ตายและสูญพันธ์ได้
    • น้ำเสียจากกิจกรรมปศุสัตว์โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟาร์มสุกร ซึ่งมีมูลสัตว์ เศษอาหารและน้ำล้างคอกจะมีค่าความสกปรกสูงและมีปริมาณมาก
    • น้ำเสียจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ซึ่งมักนิยมทำให้ใกล้ๆ แหล่งน้ำและระบายอินทรียพ์วัตถุที่เกิดจากอาหารที่ใช้เลี้ยง และของเสียที่สัตว์ถ่ายออกมาก็จะทำให้ ค่าออกซิเจนในน้ำลดต่ำลงเรื่อยๆ ถ้าไม่เร่งให้มีการผลิตมากๆ และลดการใช้สารเคมีทั้งหลายจริง ก็จะเป็นการช่วยรักษา แหล่งน้ำให้มีคุณภาพดีต่อไปนานๆ

    การรักษาแหล่งน้ำโดยใช้ถังดักไขมันประจำบ้านและร้านอาหาร

    คราบไขมันจากการทำอาหารต่างๆ คือ ตัวการสำคัญที่ทำให้ผิวน้ำถูกบดบังและทำให้อากาศ ไม่สามารถซึมผ่านลงไปในน้ำได้ เมื่อในน้ำขาดออกซิเจนแหล่งน้ำนั้นก็จะเน่าเสีย บ่อดักไขมันเป็นเครื่องมือการบำบัดขั้นต้น โดยนำน้ำที่ใช้แล้วจากครัวจะไหลผ่านตะแกรงดักเศษอาหารต่างๆ ออกก่อนแล้วผ่านเข้าไปในบ่อดักไขมัน ซึ่งเมื่อทิ้งไว้ในระยะหนึ่ง ไขมันจะลอยตัวขึ้นมาสะสมกันบนผิวน้ำแล้วจึงตักออกไปกำจัดโดยทิ้งในรถเก็บขยะหรือนำไปฝังดินหรือไปทำปุ๋ยได้

    การรักษาแหล่งน้ำโดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมีมากเกินไป

    การใช้ปุ๋ยเคมีในปริมาณมาเกินความจำเป็นของต้นไม้มีเพาะปลูก จะทำให้ปุ๋ยส่วนเกินไหลลงสู่แหล่งน้ำทำให้น้ำ มีแร่ธาตุมากเกินไป พืชน้ำทั้งเล็กและใหญ่จะแพร่พันธุ์และเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว เช่น แพลงด์ตอนในน้ำ จอก แหน และผักตบชวา ซึ่งจะมีผลต่อการแย่งใช้ออกซิเจนระหว่างพืชกับสัตว์น้ำ

    น้ำทิ้งจากพื้นที่การเกษตรในปัจจุบันมีมลพิษสูง เพราะเหตุใด