ในการกำหนดเอฟเฟคให้กับข้อความโดยใช้คำสั่ง hide after animation หมายถึง

นอกจากการสร้างงานพรีเซนเตชั่น  และการตกแต่งสไลด์ให้ดูสวยงาม  และน่าติดตาม  โดยใช้ภาพ  ข้อความ  และกราฟ  ยังจะต้องพิจารณารายละเอียดในการนำเสนองานพรีเซนเตชั่นด้วย  โดยเมื่อลองทดลองนำเสนอ  งานดูก็จะเห็นว่าสไลด์นั้นถูกนำเสนอแบบเรียบๆ  ซึ่งหากต้องการทำให้งานพรีเซนเตชั่นนั้นดูน่าสนใจกว่านี้  ก็สามารถเพิ่มลูกเล่นหรือเอฟเฟคควบคุมการแสดงภาพองค์ประกอบต่างๆ  ที่เป็นข้อความ  ภาพ  กราฟ  บนสไลด์ได้  และเพิ่มเสียง  หรือภาพยนตร์ที่เร้าใจน่าติดตามได้

1. ใส่ลูกเล่นให้กับวัตถุด้วย  Animation  Schemes

                ในสไลด์ที่ประกอบด้วยวัตถุต่างๆ  ที่เป็นข้อความ  ภาพ  และกราฟนั้น  เราสามารถใส่เอฟเฟคให้วัตถุเหล่านี้แสดงเคลื่อนไหวออกมาได้อย่างน่าตื่นเต้น  โดยจะใช้  Animation schemes  ซึ่งเป็นคำสั่งสำเร็จรูปที่ช่วยกำหนดการเคลื่อนไหวให้กับวัตถุในสไลด์ทั้งแผ่น  โดยที่เราไม่ต้องเสียเวลากำหนดเอฟเฟคให้กับวัตถุทีละตัว

1. Click  mouse  เลือกสไลด์ที่ต้องการกำหนดเอฟเฟคให้กับวัตถุ

2. เลือกคำสั่ง  Slide  Show>Animation  schemes  (นำเสนอภาพนิ่ง>โครงร่างภาพเคลื่อนไหว)  จะปรากฏรูปแบบลูกเล่นต่างๆ  ให้เลือก

3. Click  mouse  เลือกเอาเอฟเฟคการเคลื่อนไหว  ซึ่งแต่ละเอฟเฟคนอกจากจะมีการเคลื่อนไหวแล้วยังอาจมีเสียงประกอบด้วย

4. Click  mouse  ปุ่ม  Play  เพื่อดูผลลัพธ์การใส่เอฟเฟคให้กับวัตถุ

2. กำหนดลูกเล่นให้กับวัตถุด้วยตนเอง

            ถ้าเทคนิคการแสดงวัตถุที่มีใน  PowerPoint  นั้นยังไม่ถูกใจ  นักพรีเซนที่มีจินตนาการ  และมีความคิดที่สร้างสรรค์ก็สามารถออกแบบรูปแบบการแสดงของแต่ละวัตถุได้เอง  นอกจากนั้นยังสามารถเพิ่มความตื่นเต้นด้วยการใช้เสียงประกอบในระหว่างการแสดงวัตถุได้อีกด้วย  ดังขั้นตอนต่อไปนี้
1. Click  mouse  ปุ่มขวาเลือกวัตถุที่ต้องการกำหนดเอฟเฟค

2. เลือกคำสั่ง  Custom  Animation  (การเคลื่อนไหวที่กำหนดเอง…)

3. Click  mouse  ปุ่มไอคอน  Add  Effect  แล้วเลือกเอฟเฟคที่ต้องการ

4. เลือกวิธีการสั่งให้สไลด์เริ่มต้นแสดงเอฟเฟค  จากตัวเลือกในช่อง  Start  โดย

5. กำหนดทิศทางที่จะให้วัตถุปรากฏออกมาได้จาก  Direction  ซึ่งจะขึ้นกับชนิดของเอฟเฟคที่เราเลือก  เช่น  Horizontal  ปรากฏในทางแนวนอน  หรือ  Vertical  ปรากฏในทางแนวตั้ง

6. Click  mouse  กำหนดความเร็วในการแสดงเอฟเฟค  จากช่อง  Speed

7. Click  mouse  เลือก  Effect  Options  (เพื่อกำหนดค่าต่างๆและเสียงประกอบเอฟเฟค)

8. Click  mouse  เลือกเสียงประกอบในการแสดงวัตถุ  จากช่อง  Sound

9. กำหนดสิ่งที่ทำหลังจากแสดงเอฟเฟคเรียบร้อยแล้วจากช่อง After  animation 

10. Click  mouse  ปุ่ม  OK

11. Click  mouse  ปุ่ม  Play  เพื่อดูตัวอย่างที่ได้จากการกำหนดค่า

3. เทคนิคการเปลี่ยนแผ่นสไลด์

          ในขณะที่มีการเปลี่ยนแผ่นสไลด์จากแผ่นหนึ่งไปอีกแผ่นหนึ่ง  สามารถกำหนดเอฟเฟคพิเศษที่เรียกว่า  Transition  เพื่อให้งานพรีเซนดูน่าติดตามได้  เช่น  ให้สไลด์แผ่นใหม่เลื่อนมาทับสไลด์แผ่นเดิมจากด้านบนของจอภาพ  หรือให้สไลด์แผ่นใหม่ค่อยๆ  ปรากฏทับแผ่นเดิม  เป็นต้น  นอกจากนั้นยังสามรถกำหนดให้มีเสียงประกอบได้อีกด้วย  โดยจะกำหนดช่วงเวลาในการเปลี่ยนแผ่นสไลด์แบบอัตโนมัติหรือให้เปลี่ยนแผ่นสไลด์  เมื่อ  Click  mouse  ที่สไลด์ก็ได้
1.  Click  mouse  ปุ่ม  ไอคอนตัวเรียงลำดับภาพนิ่ง  เพื่อเข้าสู่มุมมอง  Slide  Sorter  View

2.  เลือกสไลด์ที่ต้องการกำหนดเอฟเฟคในการเปลี่ยนแผ่นสไลด์  โดยถ้าต้องการเลือกสไลด์มากกว่า  1  แผ่น  ให้กดปุ่ม  Click  mouse  เลือกสไลด์ที่ต้องการ

3.  เลือกคำสั่ง  Slide  Show>Slide  Transition…  (นำเสนอภาพนิ่ง>การเปลี่ยนภาพนิ่ง)  หรือ  Click  mouse  ปุ่ม  Transition

4.  ในกรอบ  Apply  to  selected  slides  (เลือกลักษณะพิเศษ)  ให้เลือเอฟเฟคในการเปลี่ยนสไลด์ได้จากรายการ

5.  ในกรอบ  Speed  เป็นการกำหนดความเร็วในการเปลี่ยนแผ่นสไลด์  โดยเลือกได้  3  ระดับ

6.  ในกรอบ  Sound  (เสียง)  ให้เลือกเสียงประกอบในขณะเปลี่ยนแผ่นสไลด์  (ถ้าต้องการให้เล่นเสียงต่อเนื่อง  Click  ให้มีเครื่องหมายถูกในช่อง  Loop  until  next  sound  (วนรอบจนถึงเสียงถัดไป)  ด้วย  มิฉะนั้นจะเสียงจะถูกเล่นเพียงครั้งเดียว)

7.  กำหนดว่าต้องการให้เปลี่ยนแผ่นสไลด์เป็นแบบอัตโนมัติหรือไม่  ในกรอบ  Advance  slide  (เลื่อนภาพนิ่ง)

8.  Click  mouse  ปุ่ม  Apply  to  All  Slides  ถ้าจะกำหนด  Transition  นี้ให้มีผลกับสไลด์ทุแผ่น  หรือ  Click  mouse  บางสไลด์เพื่อเลือกกำหนดลักษณะเฉพาะอย่างก็ได้

ถ้าเราต้องการเห็นผลลัพธ์ของ  Transition  ขณะทำการเปลี่ยนสไลด์  ให้  Click  mouse  ปุ่ม  Slide  Show  เพื่อแสดงสไลด์ในมุมมอง  Slide  Show