ผู้ที่ต้องการค้นคว้าให้ได้ความรู้ในพระไตรปิฎกอย่างถูกต้อง


รายการในหน้านี้

  • วิธีใช้งานพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • โครงสร้างของสารบัญพระไตรปิฎก
  • ที่มาของข้อมูล
  • ข้อมูลพื้นฐานพระไตรปิฎก
    • พระไตรปิฎกมีกี่เล่มกี่ฉบับแตกต่างกันอย่างไร
    • ความแตกต่างของพระไตรปิฎกแต่ละฉบับ
  • คุณค่าของพระไตรปิฎก
    • พระไตรปิฎกมีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนาอย่างไร
  • พระไตรปิฎกคืออะไร
  • ส่วนประกอบเนื้อหาในพระไตรปิฎก
  • นวังคสัตถุศาสน์ พุทธพจน์มีองค์ประกอบ 9 อย่าง
  • คำแนะนำการศึกษาพระไตรปิฎก
  • รายละเอียดของพระไตรปิฎกคัมภีร์ต่างๆ
  • สารบัญพระไตรปิฎก

วิธีใช้งานพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

การเลือกเล่มพระไตรปิฎกทำได้ 2 ทางนะครับ คือ

Show
  1. ใช้เครื่องมือค้นหาข้อมูลที่ด้านบนของหน้า (เป็นบริการ custom search engine ของ google) เพื่อหาว่าเรื่องหรือคำที่ต้องการนั้นอยู่ในพระไตรปิฎกเล่มใด และเมื่อเปิดพระไตรปิฎกเล่มนั้นขึ้นมาแล้ว ก็ค้นหาตำแหน่งของคำที่ต้องการในเล่มนั้นโดยใช้คำสั่งค้นหาในหน้าเว็บ (find in page) ของโปรแกรมที่ใช้ดูเว็บอีกทีนะครับ ซึ่งถ้าเป็นคอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติการ Windows ก็กดปุ่ม [ctrl]+f หรือคลิกเมนูแล้วเลือก find... หรือ find in page ถ้าเป็น smart phone ก็เปิดเมนูคำสั่งของโปรแกรมแล้วหาคำสั่งพวก ค้นหาในหน้าเว็บ find หรือ find in page หรืออะไรทำนองนี้ดูนะครับ สำหรับอุปกรณ์อื่นก็ทำนองเดียวกันนะครับ

    *** ตรงนี้มีข้อควรระวังเล็กน้อยนะครับ คือในพระไตรปิฎกนั้นใช้เลขไทยทั้งหมด ถ้าค้นด้วยเลขอารบิคจะค้นไม่เจอนะครับ ***


  2. เลือกเปิดจากสารบัญพระไตรปิฎกโดยตรง ซึ่งจะเป็นการเลือกเล่มที่จะเปิดด้วยตัวเองจากรายชื่อในสารบัญนะครับ ทำได้หลายทางคือ

    1. เพื่อความสะดวกในการใช้งาน ทางเว็บจึงได้ทำเมนูลอยตรึงเอาไว้ที่มุมล่างขวาของทุกหน้า ไม่ว่าท่านจะอยู่ในตำแหน่งใดของหน้าใดในเว็บนี้ก็สามารถคลิกเรียกสารบัญจากเมนูลอยนี้ได้เลยครับ เมื่อคลิกแล้วหน้าต่างสารบัญก็จะแสดงออกมาโดยที่หน้าจอหลักยังอยู่ตำแหน่งเดิม นอกจากจะไม่ต้องเสียเวลาเลื่อนหน้าไปหาเมนูที่ด้านบนแล้วยังเหมาะมากสำหรับท่านที่อ่านแล้วเจอศัพท์ที่ไม่เข้าใจ ก็สามารถเปิดพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ได้จากเมนูลอยนี้ซึ่งจะเปิดพจนานุกรมขึ้นมาในหน้าใหม่โดยที่หน้าเดิมยังอยู่ในตำแหน่งเดิมรอให้ท่านกลับมาอ่านได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วยครับ

    2. นอกจากนี้ท่านยังสามารถคลิกเปิดสารบัญได้จากแถบสารบัญที่อยู่ด้านบนสุดและด้านล่างสุดของทุกหน้าครับ ซึ่งก็จะมีสารบัญย่อยขึ้นมาให้ท่านเลือกต่อไป

    3. และที่หน้าหลัก (คือหน้าที่ท่านกำลังอ่านอยู่นี้) ก็มีสารบัญ (เฉพาะส่วนของพระไตรปิฎก) อยู่ด้านล่างของหน้าเช่นกันครับ ท่านก็สามารถเลื่อนลงไปดูสารบัญได้เช่นกันครับ

โครงสร้างของสารบัญพระไตรปิฎก

เนื่องจากพระไตรปิฎกแต่ละเล่มมีข้อมูลเป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นการลดภาระของเครื่องในการโหลดข้อมูลมาดูจึงได้แบ่งพระไตรปิฎกแต่ละเล่มเป็นเล่มย่อยอีกทีนะครับ และเพื่อความสะดวกในการดูสารบัญจึงได้ทำสารบัญเอาไว้เป็น 3 ระดับ คือ

  1. ระดับบนสุดใช้ชื่อว่าสารบัญพระไตรปิฎก โดยจะมีแยกเป็นพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก เมื่อคลิกเลือกปิฎกที่ต้องการแล้ว ก็จะกระโดดไปสารบัญระดับที่ 2 ที่อยู่ด้านล่างลงไปอีก คือสารบัญเล่มพระไตรปิฎก ในตำแหน่งของปิฎกที่เลือกนะครับ

  2. สารบัญระดับที่ 2 คือสารบัญเล่มพระไตรปิฎก จะแยกเป็น 45 เล่ม ตามแบบพระไตรปิฎกที่เป็นเล่มหนังสือจริงๆ นะครับ เมื่อคลิกเลือกเล่มพระไตรปิฎกเล่มใดก็จะกระโดดไปที่สารบัญระดับที่ 3 ที่อยู่ด้านล่างสุดคือสารบัญเล่มย่อยพระไตรปิฎก ในตำแหน่งของเล่มหนังสือที่เลือกนะครับ

  3. สารบัญระดับล่างสุดคือสารบัญเล่มย่อยพระไตรปิฎก จะแยกเล่มพระไตรปิฎกเป็นเล่มย่อยอีกทีเพื่อลดขนาดข้อมูลที่เรียกดูแต่ละครั้งลง เมื่อคลิกเลือกเล่มย่อยเล่มใดก็จะเรียกเปิดพระไตรปิฎกเล่มย่อยนั้นขึ้นมาโดยตรงนะครับ ซึ่งการแบ่งหน้าและเลขหน้าที่แสดงจะตรงกับในพระไตรปิฎกที่เป็นเล่มหนังสือจริงๆ เลยนะครับ ถ้าต้องการไปที่พระสูตรไหนหรือหน้าอะไรก็ใช้คำสั่งค้นหาในหน้าเว็บแบบเดียวกับที่ได้อธิบายไว้ในวิธีใช้งานข้อ 1. ได้นะครับ

ที่มาของข้อมูล :

โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยMCUTRAI Version 1.0

ขอขอบพระคุณไว้ ณ โอกาสนี้ด้วยนะครับ

ข้อมูลพื้นฐานพระไตรปิฎก :

พระไตรปิฎกมีกี่เล่มกี่ฉบับแตกต่างกันอย่างไร

พระไตรปิฎกภาษาไทยที่เป็นเล่มหนังสือที่มีแพร่หลายอยู่ในปัจจุบันนั้นมี 2 ฉบับนะครับ (แถมอีก 1 ที่หายากแล้ว) ซึ่งแต่ละฉบับก็มีจำนวนเล่มแตกต่างกัน คือ

  1. พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย แบ่งเป็น 45 เล่ม ตามมาตรฐานนะครับ

  2. พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย แบ่งเป็น 91 เล่มครับ

  3. พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง แบ่งเป็น 45 เล่มตามมาตรฐานเช่นกันครับ

ความแตกต่างของพระไตรปิฎกแต่ละฉบับ :

พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีจำหน่ายที่ร้านหนังสือมหาจุฬาบรรณาคาร ท่าพระจันทร์ ข้างวัดมหาธาตุฯ ใกล้ๆ สนามหลวงนะครับ พระไตรปิฎกฉบับนี้มีจุดเด่นคือใช้ภาษาที่เป็นสำนวนไทยปัจจุบัน ทำให้อ่านและทำความเข้าใจได้ง่ายที่สุดเมื่อเทียบกับฉบับอื่นๆ ทั้งหมด และมีเชิงอรรถที่ด้านล่างของแต่ละหน้าเพื่อขยายความเนื้อพระไตรปิฎกในส่วนที่เข้าใจยากด้วยครับ ซึ่งพระไตรปิฎกฉบับนี้เป็นต้นฉบับของพระไตรปิฎกออนไลน์ในเว็บนี้ครับ

พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย มีจำหน่ายที่ร้านหนังสือของมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ตรงข้ามวัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร บางลำพูนะครับ พระไตรปิฎกฉบับนี้มีจุดเด่นคือมีอรรถกถาของพระไตรปิฎก (การขยายความพระไตรปิฎกโดยภิกษุสมัยหลังพุทธกาล ส่วนมากจะเป็นพระพุทธโฆษาจารย์ ผู้รจนาคัมภีร์วิสุทธิมรรค พ.ศ. 900 กว่า) พิมพ์ต่อท้ายพระไตรปิฎกแต่ละสูตรเลย ทำให้เข้าใจพระไตรปิฎกได้ง่ายขึ้น แต่เนื่องจากฉบับนี้ใช้สำนวนแบบสมัยเก่าทำให้ผู้ที่ไม่คุ้นเคยรู้สึกว่าเข้าใจยากเพราะต้องแปลไทยเป็นไทยอีกทีครับ และด้วยอรรถกถาที่เพิ่มเข้าไปทำให้พระไตรปิฎกฉบับนี้มีจำนวนถึง 91 เล่มเลยครับ

พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง

มีอีกฉบับซึ่งน่าจะหายากแล้ว เพราะเป็นฉบับเก่ามากคือพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง ใช้สำนวนสมัยเก่าเช่นกันครับ ทำให้ไม่น่าสนใจเท่า 2 ฉบับข้างบนซึ่งมีจุดเด่นที่ต่างกัน

คุณค่าของพระไตรปิฎก :

พระไตรปิฎกมีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนาอย่างไร

หากจะถามว่าพระไตรปิฎกมีความสำคัญอย่างไร ก็ตอบได้ว่าพระไตรปิฎกเป็นคัมภีร์ที่สำคัญที่สุดของพระพุทธศาสนาเพราะเป็นคัมภีร์ที่รวบรวมเอาคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธเจ้า รวมทั้งพระสาวกสำคัญต่างๆ เอาไว้ และเนื่องจากพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทเป็นฝ่ายที่เป็นอนุรักษ์นิยมที่สุดในบรรดาพุทธศาสนานิกายต่างๆ เพราะพระอรหันต์ทั้ง 500 รูป ที่ร่วมกันทำสังคายนาพระธรรมวินัยตั้งแต่ครั้งที่ 1 ที่มีพระมหากัสสปะเป็นประธานหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน 3 เดือน (การสังคายนาครั้งนั้นใช้เวลาทั้งสิ้น 7 เดือน) เพื่อรวบรวมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และจัดเป็นหมวดหมู่ จนกลายมาเป็นพระไตรปิฎกในปัจจุบันนั้นได้มีมติร่วมกันว่าจะไม่เพิกถอนสิ่งต่างๆ ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติเอาไว้ และจะไม่บัญญัติสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาอีก จึงทำให้คำสอนของฝ่ายเถรวาทสามารถรักษาคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธเจ้าเอาไว้ได้มากที่สุด ต่างจากฝ่ายมหายานที่ปรับตัวไปตามยุคสมัยจึงมีการปรับเปลี่ยนคำสอนไปเรื่อยๆ โดยมุ่งเน้นให้พระพุทธศาสนาแพร่หลายไปมากที่สุด จึงทำให้หาร่องรอยของคำสอนดั้งเดิมได้ยากกว่าฝ่ายเถรวาท

ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าถ้าต้องการทราบคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้าก็ต้องอ่านพระไตรปิฎกของเถรวาทนะครับ

พระไตรปิฎกคืออะไร

คำว่าไตรแปลว่า 3 คำว่าปิฎกแปลว่าตะกร้าหรือกระจาด พระไตรปิฎกคือคัมภีร์หรือหนังสือที่รวบรวมคำสอนของพระพุทธเจ้ารวมถึงพระสาวกสำคัญต่างๆ เอาไว้ โดยแบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ หรือ 3 ปิฎก และในแต่ละปิฎกก็แบ่งเป็นคัมภีร์ย่อยๆ อีกที ดังรายละเอียดด้านล่างนะครับ

เนื้อหาในพระไตรปิฎก :

พระไตรปิฎกประกอบด้วย 3 ส่วนหรือ 3 ปิฎก คือ

  1. พระวินัยปิฎก เป็นส่วนที่รวบรวมเรื่องพระวินัยหรือศีลเอาไว้ มี 21,000 พระธรรมขันธ์ (ข้อธรรม)
  2. พระสุตตันตปิฎก หรือพระสูตร เป็นส่วนที่รวบรวมพระธรรมคำสั่งสอนต่างๆ ของพระพุทธเจ้ารวมถึงพระสาวกสำคัญๆ เอาไว้ในลักษณะของการเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นในขณะนั้นว่าใครทำอะไรที่ไหนอย่างไรพระพุทธเจ้าตรัสว่าอย่างไร มี 21,000 พระธรรมขันธ์
  3. พระอภิธรรมปิฎก เป็นคำสอนที่ไม่กล่าวถึงตัวบุคคลแต่จะกล่าวถึงสภาวธรรมล้วนๆ เช่น จิตมีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีลักษณะอย่างไร มีอะไรเป็นส่วนประกอบบ้าง เกิดจากสาเหตุใด ดับไปเพราะอะไร เป็นต้น มีทั้งสิ้น 42,000 พระธรรมขันธ์

เมื่อรวมทั้ง 3 ปิฎก จึงมีคำสอนหรือพระธรรมวินัยทั้งสิ้น 84,000 พระธรรมขันธ์นะครับ

นวังคสัตถุศาสน์

พระพุทธวจนะ หรือ พุทธพจน์มีองค์ประกอบ 9 อย่าง

ลักษณะหรือรูปแบบการแสดงคำสั่งสอนของพระศาสดามี 9 รูปแบบ ที่เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์ หรือเขียนอย่างบาลีเป็น นวังคสัตถุสาสน์ หรือบางแห่งใช้คำว่า พุทธพจน์มีองค์ประกอบ 9 อย่าง หรือ พระพุทธวจนะ หรือ พระไตรปิฏก อันประกอบด้วยองค์ 9 ก็คือส่วนประกอบ 9 อย่างที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้านั่นเองครับ ประกอบด้วย

สุตตะ คือพระสูตรทั้งหลาย รวมทั้งพระวินัยปิฎกและนิทเทส ได้แก่ อุภโตวิภังค์ นิทเทส ขันธกะ ปริวาร พระสูตรต่างๆ

เคยยะ คือความที่มีร้อยแก้วและร้อยกรองผสมกัน ได้แก่ พระสูตรที่ประกอบด้วยคาถาทั้งหลาย

เวยยากรณะ (ไวยากรณ์) คือความร้อยแก้วล้วน ได้แก่ พระอภิธรรมปิฏกทั้งหมด พระสูตรที่ไม่มีคาถา และพุทธวจนะที่ไม่ได้จัดเข้าในองค์ 8 ที่เหลือได้ชื่อว่าเวยยากรณะทั้งหมด

คาถา คือความร้อยกรองล้วน ได้แก่ พระธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา และคาถาล้วนๆ ที่ไม่มีชื่อว่าสูตรในสุตตนิบาต

อุทาน คือพระคาถาพุทธอุทาน ได้แก่ พระสูตร 82 สูตร ที่พระพุทธเจ้าทรงเปล่งด้วยโสมนัสญาณ

อิติวุตตกะ คือพระสูตรที่เรียกว่าอิติวุตตกะ ได้แก่ พระสูตร 110 สูตร ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า “ข้อนี้สมจริงดังคำที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้”

ชาตกะ คือชาดก เป็นการแสดงเรื่องในอดีตชาติของพระพุทธเจ้า มีทั้งหมด 550 เรื่อง

อัพภูตธรรม คือเรื่องอัศจรรย์ หรือ พระสูตรที่กล่าวถึงข้ออัศจรรย์ต่างๆ ได้แก่ พระสูตรที่ประกอบพร้อมด้วยอัจฉริยอัพภูตธรรมทั้งหมด

เวทัลละ คือพระสูตรแบบถามตอบที่ผู้ถามเกิดความรู้แจ้งและความยินดีพอใจ แล้วซักถามยิ่งๆ ขึ้นไป เช่น จูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร เป็นต้น

คำแนะนำการศึกษาพระไตรปิฎก

ในที่นี้จะขออนุญาตแนะนำท่านที่ยังใหม่ต่อพระไตรปิฎกอยู่นะครับ สำหรับผู้สนใจทั่วไปควรจะเริ่มอ่านจากพระสุตตันตปิฎกหรือพระสูตรก่อนนะครับ พระสูตรมีทั้งสิ้น 5 คัมภีร์ ซึ่งจะได้อธิบายรายละเอียดต่อไป โดยเมื่อตัดสินใจจะอ่านคัมภีร์ไหนก็ควรจะอ่านตั้งแต่หน้าแรกของคัมภีร์นั้นเลยนะครับ เพราะส่วนใหญ่ในตอนหลังๆ ของคัมภีร์เมื่อมีเนื้อหาซ้ำกับตอนแรกๆ ก็จะละข้อความเหล่านั้นเอาไว้ ไม่กล่าวรายละเอียดซ้ำอีก ดังนั้นท่านที่ข้ามตอนแรกๆ ไป ก็จะไม่เห็นรายละเอียดที่ละเอาไว้นั้นครับ

สำหรับพระภิกษุสามเณรก็คงต้องตัดสินใจก่อนนะครับว่าควรจะเริ่มศึกษาจากพระวินัยหรือพระสูตรก่อนดี เพราะมีความสำคัญต่อท่านทั้ง 2 อย่างในต่างแง่มุมกัน และทั้ง 2 ส่วนก็เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน เพราะพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระวินัยก็เพื่อเกื้อหนุนพัฒนาการของจิต ศีลที่ด่างพร้อย ไม่บริสุทธิ์ย่อมทำให้จิตเศร้าหมอง ฟุ้งซ่าน ไม่สงบระงับ ยากแก่การปฏิบัติสมาธิและวิปัสสนา ศีลที่บริสุทธิ์ย่อมทำให้จิตใจปลอดโปร่ง เบาสบาย ไร้กังวล และประณีตขึ้นโดยลำดับ ส่งผลให้การปฏิบัติธรรมเจริญก้าวหน้าได้โดยง่าย ความก้าวหน้าของการปฏิบัติธรรมย่อมทำให้จิตใจสงบระงับ ไม่ฟุ้งซ่าน กิเลสรบกวนน้อยลงไป ก็ย่อมทำให้การรักษาศีลทำได้โดยง่ายเช่นกัน โดยความเห็นส่วนตัวแล้วคิดว่าท่านควรจะศึกษาพระวินัยแบบเร่งรัดก่อน คือศึกษาจากหนังสือวินัยมุข หรือถ้ารวบรัดกว่านั้นก็หนังสือนวโกวาท (ซึ่งน่าจะรวบรัดเกินไปนะครับ) และถ้าสงสัยพระวินัยเรื่องไหนเป็นการเฉพาะก็ถึงมาอ่านพระวินัยปิฎกเรื่องนั้นให้กระจ่างแจ้ง จะได้หมดความกังวลใจนะครับ และเมื่อศึกษาพระวินัยแบบรวบรัดจนสบายใจแล้ว ก็มาทุ่มเทกับพระสูตรให้เต็มที่ก่อน เมื่อศึกษาพระสูตรจบแล้วก็ค่อยกลับไปอ่านพระวินัยปิฎกให้ละเอียดอีกที หรือจะอ่านพระอภิธรรมปิฎกก่อนก็ตามสะดวกครับ

สำหรับท่านที่คิดว่าพระไตรปิฎกมีเนื้อหามากเกินเวลาที่ท่านมีอยู่ หรือท่านที่มีพื้นฐานไม่มากพอที่จะทำความเข้าใจพระไตรปิฎกได้โดยง่าย อยากจะแนะนำให้ท่านได้อ่านธรรมะในส่วนของธัมมโชติ-เรียนลัดพระไตรปิฎกก่อนนะครับ (คลิกที่สารบัญได้เลยครับ ทั้งที่เมนูลอยที่มุมขวาล่างและที่แถบสารบัญที่ด้านบนสุดและล่างสุดของทุกหน้า) ในส่วนธัมมโชติ-เรียนลัดพระไตรปิฎกนั้นได้รวบรวมพระไตรปิฎกเรื่องที่คนทั่วไปควรจะรู้เอาไว้ โดยแยกเป็น 7 หมวด คือ หมวดทาน หมวดศีล สมถกรรมฐาน (สมาธิ) วิปัสสนา (ปัญญา) ธรรมทั่วไป บทวิเคราะห์ ตัวอย่างการบรรลุธรรม เพื่อให้ง่ายในการเลือกอ่านครับ ซึ่งจะมีทั้งเอาพระไตรปิฎกมาลงไว้โดยตรงพร้อมคำอธิบายประกอบ และการสรุปความมาจากพระไตรปิฎกหลายๆ สูตรอีกที เมื่ออ่านในส่วนของธัมมโชติ-เรียนลัดพระไตรปิฎกจบแล้ว เชื่อว่าท่านจะมีพื้นฐานมากพอที่จะสามารถอ่านพระไตรปิฎกได้ด้วยตัวท่านเองครับ

รายละเอียดของพระไตรปิฎกคัมภีร์ต่างๆ

พระวินัยปิฎก มี 5 คัมภีร์ คือ

  1. มหาวิภังค์ คือศีล 227 ข้อสำหรับภิกษุ ที่มีในพระปาฏิโมกข์
  2. ภิกขุนีวิภังค์ คือศีล 311 ข้อสำหรับภิกษุณี ที่มีในภิกขุนีปาฏิโมกข์
  3. มหาวรรค เป็นศีลนอกพระปาฏิโมกข์ที่มีเนื้อความยาวๆ เช่น เรื่องวิธีการอุปสมบท เรื่องน้ำปานะที่ทรงอนุญาต เรื่องข้อปฏิบัติเกี่ยวกับจีวร เป็นต้น
  4. จุลวรรค เป็นศีลนอกพระปาฏิโมกข์ที่มีเนื้อความสั้นๆ เช่น เรื่องการเข้าปริวาส การระงับอธิกรณ์ เรื่องเสนาสนะ เป็นต้น
  5. ปริวาร เป็นการวิเคราะห์ สังเคราะห์พระวินัย เช่น พระวินัยที่เกิดที่เมืองไหนมีกี่ข้อ พระวินัยเกี่ยวกับเรื่องอะไรมีกี่ข้อ เป็นต้น

พระสุตตันตปิฎกหรือพระสูตร มี 5 คัมภีร์ คือ

  1. ทีฆนิกาย เป็นพระสูตรที่มีเนื้อหายาว (ทีฆะแปลว่ายาว) เช่น เรื่องการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า มหาสติปัฏฐานสูตรซึ่งเป็นพระสูตรที่แสดงการเจริญวิปัสสนากรรมฐานอย่างละเอียดที่สุด เรื่องพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นต้น อ่านเพลินและดื่มด่ำในบรรยากาศเหมือนได้อยู่ในเหตุการณ์ด้วยเลยครับ
  2. มัชฌิมนิกาย เป็นพระสูตรที่มีเนื้อหาความยาวปานกลาง เช่น ข้อปฏิบัติเพื่อขัดเกลากิเลส ธรรมของสัตบุรุษและธรรมของอสัตบุรุษ ทีฆนขสูตรที่พระสารีบุตรบรรลุเป็นพระอรหันต์ เป็นต้น
  3. สังยุตตนิกาย เป็นพระสูตรที่รวมเนื้อหาไว้เป็นหมวดตามสิ่งที่เกี่ยวข้อง เช่น เทวดาสังยุตจะรวมเรื่องที่พระพุทธเจ้าตอบปัญหาเทวดา โกสลสังยุตรวมเรื่องเกี่ยวกับพระเจ้าปเสนทิโกศล ขันธสังยุตรวมเรื่องเกี่ยวกับขันธ์ 5 โพชฌังคสังยุตรวมเรื่องเกี่ยวกับโพชฌงค์ (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้) เป็นต้น เป็นการอ่านธรรมะแต่ละอย่างเช่นเรื่องขันธ์ 5 ในหลายแง่มุม (หลายสูตรในหมวดเดียวกัน) ทำให้เข้าใจเรื่องนั้นอย่างแตกฉานเลยครับ
  4. อังคุตตรนิกาย เป็นพระสูตรที่รวมหมวดไว้ตามจำนวนองค์ประกอบ เช่น จตุกกนิบาต (หมวด 4) ก็จะเป็นพระสูตรพวกความเพียร 4 ประการ อคติ (ความลำเอียง) 4 ประการ วิปลาส 4 สังคหวัตถุ 4 เป็นต้น
  5. ขุททกนิกาย เป็นพระสูตรที่มีเนื้อความสั้น เช่น มงคลสูตร คาถาธรรมบท ชาดก เปตวัตถุรวมเรื่องเปรต วิมานวัตถุรวมเรื่องวิมานและบุญที่ทำให้ได้วิมานของเทวดานางฟ้า อปทานรวมเรื่องอดีตชาติของพระพุทธเจ้าและพระสาวกที่สำคัญ เป็นต้น

พระอภิธรรมปิฎก มี 7 คัมภีร์ คือ

  1. ธัมมสังคนี เป็นคัมภีร์ที่อธิบายรายละเอียดของสภาวธรรมต่างๆ ซึ่งนับว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญมากของการศึกษาธรรมะให้เข้าใจลึกซึ้งและถูกต้อง เช่น ลักษณะและองค์ประกอบของจิตแต่ละประเภท เช่น กามาวจรมหากุศลจิตมี 8 ประเภท อกุศลจิตที่มีความโลภเป็นมูลมี 8 ประเภท อกุศลจิตที่มีความโกรธเป็นมูลมี 2 ประเภท อกุศลจิตที่มีความหลงเป็นมูลมี 2 ประเภท แต่ละประเภทมีลักษณะอย่างไร มีอะไรเป็นองค์ประกอบบ้าง เป็นต้น
  2. วิภังค์ เป็นคัมภีร์ที่จำแนกธรรมเป็นข้อๆ แล้วอธิบายรายละเอียดแต่ละข้ออย่างละเอียดมากๆ หลายแง่หลายมุม นับว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญมากของการศึกษาธรรมะให้เข้าใจลึกซึ้งและถูกต้องอีกคัมภีร์หนึ่ง เช่น ขันธวิภังค์ ก็อธิบายเรื่องขันธ์ 5 แต่ละขันธ์อย่างละเอียดเป็นข้อๆ อย่างวิจิตรพิสดาร ธรรมะในหมวดอื่นๆ ก็เช่นเดียวกันครับ
  3. ธาตุกถา เป็นคัมภีร์ที่เป็นการนำความรู้เรื่องสภาวธรรมพื้นฐานมาอธิบายให้สลับซับซ้อนขึ้นในแง่ความเข้ากันได้หรือเข้ากันไม่ได้ เป็นพวกเดียวกันหรือคนละพวกของสภาวธรรมในหมวดต่างๆ คล้ายกับเรื่องเซ็ต สับเซ็ต ยูเนี่ยน อินเตอร์เซ็กชั่นในวิชาคณิตศาสตร์นะครับ ซึ่งจะทำให้เข้าใจสภาวธรรมต่างๆ ได้ทะลุปรุโปร่งขึ้น เช่น "รูปขันธ์สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร - รูปขันธ์สงเคราะห์เข้าได้กับขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๑ และธาตุ ๑๑ - สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ อายตนะ และธาตุเท่าไร - สงเคราะห์เข้าไม่ได้กับขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ และธาตุ ๗" ตรงนี้ขออธิบายเพิ่มเติมนะครับ ขันธ์ ๑ = รูปขันธ์, อายตนะ ๑๑ = ตา, รูป, หู, เสียง, จมูก, กลิ่น, ลิ้น, รส, กาย, โผฏฐัพพะ, ธัมมายตนะ หรือธัมมารมณ์เฉพาะในส่วนที่เป็นรูป (ธัมมารมณ์ หรือธัมมายตนะ หรือธัมมธาตุ ประกอบด้วยเวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์, รูปที่เห็นไม่ได้และกระทบไม่ได้ ซึ่งนับเนื่องในธัมมายตนะ (คือรูปที่เกิดขึ้นทางใจ หรือรูปละเอียด เช่น สภาวะความเป็นหญิง ชาย เป็นต้น) และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง คือนิพพาน), ธาตุ ๑๑ = เหมือนอายตนะ ๑๑, ขันธ์ ๔ = เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์, วิญญาณขันธ์, อายตนะ ๑ = มนายตนะ (ใจ), ธาตุ ๗ = จักขุวิญญาณธาตุ, โสตวิญญาณธาตุ, ฆานวิญญาณธาตุ, ชิวหาวิญญาณธาตุ, กายวิญญาณธาตุ, มโนธาตุ, มโนวิญญาณธาตุ
  4. ปุคคลบัญญัติ เป็นคัมภีร์ที่จำแนกบุคคลออกเป็นประเภทต่างๆ โดยเริ่มตั้งแต่หมวดหนึ่ง หมวดสอง ... จนถึงหมวดสิบ ในส่วนแรกจะแสดงอุทเทสคือหัวข้อก่อน แล้วอธิบายรายละเอียดในส่วนนิทเทสซึ่งอยู่ถัดไปนะครับ ยกตัวอย่างเช่น หมวดสี่ เช่น บุคคลผู้เป็นธรรมกถึก ๔ จำพวก, บุคคลเปรียบเหมือนอสรพิษ ๔ จำพวก หมวดห้า เช่น ภิกษุผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ๕ จำพวก, ภิกษุผู้ถือผ้าไตรจีวรเป็นวัตร ๕ จำพวก
  5. กถาวัตถุ เป็นคัมภีร์ที่รจนาโดยพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานสองร้อยกว่าปีนะครับ ในสมัยนั้นมีทิฏฐินอกศาสนาเข้ามาปลอมปนในพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระจึงได้รจนาคัมภีร์นี้ขึ้นมาเพื่อโต้แย้งทิฏฐิเหล่านั้น โดยรูปแบบจะเป็นการโต้วาทีกันระหว่างฝ่ายที่มีทิฏฐิแบบเถรวาท กับฝ่ายที่มีทิฏฐิที่ปลอมปนเข้ามา เช่น โต้แย้งกันเรื่องบุคคลเป็นเพียงสมมุติบัญญัติคือไม่มีอยู่จริง เป็นอนัตตา สุญญตา หรือเป็นปรมัตถ์คือเป็นสภาวะที่มีอยู่จริง ไม่ใช่เป็นเพียงรูปกับนาม
  6. ยมก เป็นคัมภีร์ที่อธิบายสภาวธรรมเป็นคู่ๆ ในลักษณะการถามและตอบคำถาม เช่น "อนุ. จักขุนทรีย์ของบุคคลใดกำลังเกิด โสมนัสสินทรีย์ของบุคคลนั้นก็จักเกิดใช่ไหม วิ. ปัจฉิมภวิกบุคคลผู้กำลังอุบัติในปัญจโวการภูมิและบุคคลเหล่าใดผู้มีจักขุเกิดได้มีอุเบกขาจักอุบัติแล้วปรินิพพาน บุคคลเหล่านั้นกำลังอุบัติ จักขุนทรีย์ของบุคคลเหล่านั้นกำลังเกิด แต่โสมนัสสินทรีย์ไม่ใช่จักเกิด บุคคลนอกนี้ผู้มีจักขุเกิดได้กำลังอุบัติ จักขุนทรีย์ของบุคคลเหล่านั้นกำลังเกิดและโสมนัสสินทรีย์ก็จักเกิด"
  7. ปัฏฐาน เป็นคัมภีร์ที่แสดงเรื่องเหตุปัจจัยประเภทต่างๆ อย่างละเอียด ที่พระสวดว่า "เหตุปจฺจโย อารมฺมณปจฺจโย อธิปติปจฺจโย อนนฺตรปจฺจโย..." คือสภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นเหตุ สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นอารมณ์ สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นอธิบดี สภาวธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความติดต่อกันไม่มีระหว่างคั่น... นะครับ ซึ่งเป็นธรรมะที่ทำให้เข้าใจเรื่องอนัตตาได้อย่างแจ่มชัด คือทุกสิ่งล้วนเกิดจากเหตุปัจจัย เมื่อมีเหตุให้เกิดก็เกิด เมื่อมีเหตุให้ตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ เมื่อมีเหตุให้ดับก็ดับไป เมื่อไม่มีเหตุให้เกิดก็ไม่เกิด ทุกสิ่งล้วนเป็นไปตามกระแสของเหตุปัจจัย ไม่มีอำนาจเฉพาะตนที่จะบังคับให้สิ่งใดเป็นไปตามที่ใครปรารถนาได้ ทำได้ก็แค่เพียงสร้างเหตุปัจจัยเท่านั้น ซึ่งก็เป็นเพียงเหตุปัจจัยส่วนน้อยในกระแสของเหตุปัจจัยที่ส่งผลอยู่ ดังนั้นตราบใดที่ยังมีการเกิดอยู่จึงไม่มีใครที่พ้นจากทุกข์ไปได้ เพราะความไม่เที่ยง ความทุกข์ ความเป็นอนัตตาเป็นกระแสปัจจัยหลักของวัฏสงสาร

*** ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ลิ้งค์นี้นะครับ

สารบัญพระไตรปิฎก

  • พระวินัยปิฎก
  • พระสุตตันตปิฎก
  • พระอภิธรรมปิฎก

สารบัญเล่มพระไตรปิฎก

พระวินัยปิฎก

  • พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๑ วินัยปิฎกที่ ๐๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ [กลับด้านบน]
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๒ วินัยปิฎกที่ ๐๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๓ วินัยปิฎกที่ ๐๓ ภิกขุนีวิภังค์
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๔ วินัยปิฎกที่ ๐๔ มหาวรรค ภาค ๑
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๕ วินัยปิฎกที่ ๐๕ มหาวรรค ภาค ๒
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๖ วินัยปิฎกที่ ๐๖ จุลวรรค ภาค ๑
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๗ วินัยปิฎกที่ ๐๗ จุลวรรค ภาค ๒
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๘ วินัยปิฎกที่ ๐๘ ปริวาร

พระสุตตันตปิฎก

  • พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๙ สุตตันตปิฎกที่ ๐๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [กลับด้านบน]
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ สุตตันตปิฎกที่ ๐๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ สุตตันตปิฎกที่ ๐๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ สุตตันตปิฎกที่ ๐๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎกที่ ๐๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎกที่ ๐๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ สุตตันตปิฎกที่ ๐๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ สุตตันตปิฎกที่ ๐๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ สุตตันตปิฎกที่ ๐๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎกที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎกที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ สุตตันตปิฎกที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอกก ทุก ติกนิบาต
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ สุตตันตปิฎกที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎกที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก ฉักกนิบาต
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ สุตตันตปิฎกที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก อัฏฐก นวกนิบาต
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ สุตตันตปิฎกที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก เอกาทสกนิบาต
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ สุตตันตปิฎกที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ ธรรมบท อุทาน
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ สุตตันตปิฎกที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน เปตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ สุตตันตปิฎกที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ สุตตันตปิฎกที่ ๒๐ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ สุตตันตปิฎกที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ สุตตันตปิฎกที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ สุตตันตปิฎกที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ สุตตันตปิฎกที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ สุตตันตปิฎกที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ พุทธวงศ์ จริยาปิฎก

พระอภิธรรมปิฎก

  • พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๑ ธัมมสังคนี [กลับด้านบน]
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๒ วิภังค์
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๖ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๓ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๔ กถาวัตถุ
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๘ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๕ ยมก ภาค ๑
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๙ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๖ ยมก ภาค ๒
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๐ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๗ ปัฏฐาน ภาค ๑
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๑ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๘ ปัฏฐาน ภาค ๒
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๒ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๙ ปัฏฐาน ภาค ๓
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๓ อภิธรรมปิฎกที่ ๑๐ ปัฏฐาน ภาค ๔
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๔ อภิธรรมปิฎกที่ ๑๑ ปัฏฐาน ภาค ๕
  • พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๕ อภิธรรมปิฎกที่ ๑๒ ปัฏฐาน ภาค ๖

สารบัญเล่มย่อยพระไตรปิฎก

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๑ วินัยปิฎกที่ ๐๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ [กลับด้านบน]

  • เล่มที่ ๐๑-๑ หน้า ๑ - ๕๔
  • เล่มที่ ๐๑-๒ หน้า ๕๕ - ๑๐๘
  • เล่มที่ ๐๑-๓ หน้า ๑๐๙ - ๑๖๑
  • เล่มที่ ๐๑-๔ หน้า ๑๖๒ - ๒๑๕
  • เล่มที่ ๐๑-๕ หน้า ๒๑๖ - ๒๖๙
  • เล่มที่ ๐๑-๖ หน้า ๒๗๐ - ๓๒๒
  • เล่มที่ ๐๑-๗ หน้า ๓๒๓ - ๓๗๖
  • เล่มที่ ๐๑-๘ หน้า ๓๗๗ - ๔๓๐
  • เล่มที่ ๐๑-๙ หน้า ๔๓๑ - ๔๘๔

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๒ วินัยปิฎกที่ ๐๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ [กลับด้านบน]

  • เล่มที่ ๐๒-๑ หน้า ๑ - ๖๑
  • เล่มที่ ๐๒-๒ หน้า ๖๒ - ๑๒๒
  • เล่มที่ ๐๒-๓ หน้า ๑๒๓ - ๑๘๔
  • เล่มที่ ๐๒-๔ หน้า ๑๘๕ - ๒๔๕
  • เล่มที่ ๐๒-๕ หน้า ๒๔๖ - ๓๐๖
  • เล่มที่ ๐๒-๖ หน้า ๓๐๗ - ๓๖๘
  • เล่มที่ ๐๒-๗ หน้า ๓๖๙ - ๔๒๙
  • เล่มที่ ๐๒-๘ หน้า ๔๓๐ - ๔๙๐
  • เล่มที่ ๐๒-๙ หน้า ๔๙๑ - ๕๕๒
  • เล่มที่ ๐๒-๑๐ หน้า ๕๕๓ - ๖๑๔
  • เล่มที่ ๐๒-๑๑ หน้า ๖๑๕ - ๖๗๖
  • เล่มที่ ๐๒-๑๒ หน้า ๖๗๗ - ๗๓๗

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๓ วินัยปิฎกที่ ๐๓ ภิกขุนีวิภังค์ [กลับด้านบน]

  • เล่มที่ ๐๓-๑ หน้า ๑ - ๖๗
  • เล่มที่ ๐๓-๒ หน้า ๖๘ - ๑๓๔
  • เล่มที่ ๐๓-๓ หน้า ๑๓๕ - ๒๐๐
  • เล่มที่ ๐๓-๔ หน้า ๒๐๑ - ๒๖๗
  • เล่มที่ ๐๓-๕ หน้า ๒๖๘ - ๓๓๔
  • เล่มที่ ๐๓-๖ หน้า ๓๓๕ - ๔๐๑

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๔ วินัยปิฎกที่ ๐๔ มหาวรรค ภาค ๑ [กลับด้านบน]

  • เล่มที่ ๐๔-๑ หน้า ๑ - ๔๔
  • เล่มที่ ๐๔-๒ หน้า ๔๕ - ๘๘
  • เล่มที่ ๐๔-๓ หน้า ๘๙ - ๑๓๑
  • เล่มที่ ๐๔-๔ หน้า ๑๓๒ - ๑๗๕
  • เล่มที่ ๐๔-๕ หน้า ๑๗๖ - ๒๑๙
  • เล่มที่ ๐๔-๖ หน้า ๒๒๐ - ๒๖๒
  • เล่มที่ ๐๔-๗ หน้า ๒๖๓ - ๓๐๖
  • เล่มที่ ๐๔-๘ หน้า ๓๐๗ - ๓๕๐
  • เล่มที่ ๐๔-๙ หน้า ๓๕๑ - ๓๙๓

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๕ วินัยปิฎกที่ ๐๕ มหาวรรค ภาค ๒ [กลับด้านบน]

  • เล่มที่ ๐๕-๑ หน้า ๑ - ๔๒
  • เล่มที่ ๐๕-๒ หน้า ๔๓ - ๘๔
  • เล่มที่ ๐๕-๓ หน้า ๘๕ - ๑๒๕
  • เล่มที่ ๐๕-๔ หน้า ๑๒๖ - ๑๖๗
  • เล่มที่ ๐๕-๕ หน้า ๑๖๘ - ๒๐๙
  • เล่มที่ ๐๕-๖ หน้า ๒๑๐ - ๒๕๐
  • เล่มที่ ๐๕-๗ หน้า ๒๕๑ - ๒๙๑
  • เล่มที่ ๐๕-๘ หน้า ๒๙๒ - ๓๓๒
  • เล่มที่ ๐๕-๙ หน้า ๓๓๓ - ๓๗๔

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๖ วินัยปิฎกที่ ๐๖ จุลวรรค ภาค ๑ [กลับด้านบน]

  • เล่มที่ ๐๖-๑ หน้า ๑ - ๖๑
  • เล่มที่ ๐๖-๒ หน้า ๖๒ - ๑๒๒
  • เล่มที่ ๐๖-๓ หน้า ๑๒๓ - ๑๘๔
  • เล่มที่ ๐๖-๔ หน้า ๑๘๕ - ๒๔๖
  • เล่มที่ ๐๖-๕ หน้า ๒๔๗ - ๓๐๘
  • เล่มที่ ๐๖-๖ หน้า ๓๐๙ - ๓๖๙

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๗ วินัยปิฎกที่ ๐๗ จุลวรรค ภาค ๒ [กลับด้านบน]

  • เล่มที่ ๐๗-๑ หน้า ๑ - ๔๗
  • เล่มที่ ๐๗-๒ หน้า ๔๘ - ๙๔
  • เล่มที่ ๐๗-๓ หน้า ๙๕ - ๑๔๐
  • เล่มที่ ๐๗-๔ หน้า ๑๔๑ - ๑๘๗
  • เล่มที่ ๐๗-๕ หน้า ๑๘๘ - ๒๓๔
  • เล่มที่ ๐๗-๖ หน้า ๒๓๕ - ๒๘๐
  • เล่มที่ ๐๗-๗ หน้า ๒๘๑ - ๓๒๗
  • เล่มที่ ๐๗-๘ หน้า ๓๒๘ - ๓๗๔
  • เล่มที่ ๐๗-๙ หน้า ๓๗๕ - ๔๒๐

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๘ วินัยปิฎกที่ ๐๘ ปริวาร [กลับด้านบน]

  • เล่มที่ ๐๘-๑ หน้า ๑ - ๖๐
  • เล่มที่ ๐๘-๒ หน้า ๖๑ - ๑๒๐
  • เล่มที่ ๐๘-๓ หน้า ๑๒๑ - ๑๘๐
  • เล่มที่ ๐๘-๔ หน้า ๑๘๑ - ๒๔๐
  • เล่มที่ ๐๘-๕ หน้า ๒๔๑ - ๓๐๐
  • เล่มที่ ๐๘-๖ หน้า ๓๐๑ - ๓๖๐
  • เล่มที่ ๐๘-๗ หน้า ๓๖๑ - ๔๒๐
  • เล่มที่ ๐๘-๘ หน้า ๔๒๑ - ๔๘๐
  • เล่มที่ ๐๘-๙ หน้า ๔๘๑ - ๕๔๐
  • เล่มที่ ๐๘-๑๐ หน้า ๕๔๑ - ๖๐๐
  • เล่มที่ ๐๘-๑๑ หน้า ๖๐๑ - ๖๖๐
  • เล่มที่ ๐๘-๑๒ หน้า ๖๖๑ - ๗๒๑

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๐๙ สุตตันตปิฎกที่ ๐๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [กลับด้านบน]

  • เล่มที่ ๐๙-๑ หน้า ๑ - ๔๑
  • เล่มที่ ๐๙-๒ หน้า ๔๒ - ๘๒
  • เล่มที่ ๐๙-๓ หน้า ๘๓ - ๑๒๓
  • เล่มที่ ๐๙-๔ หน้า ๑๒๔ - ๑๖๔
  • เล่มที่ ๐๙-๕ หน้า ๑๖๕ - ๒๐๕
  • เล่มที่ ๐๙-๖ หน้า ๒๐๖ - ๒๔๗

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ สุตตันตปิฎกที่ ๐๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค [กลับด้านบน]

  • เล่มที่ ๑๐-๑ หน้า ๑ - ๔๑
  • เล่มที่ ๑๐-๒ หน้า ๔๒ - ๘๒
  • เล่มที่ ๑๐-๓ หน้า ๘๓ - ๑๒๔
  • เล่มที่ ๑๐-๔ หน้า ๑๒๕ - ๑๖๕
  • เล่มที่ ๑๐-๕ หน้า ๑๖๖ - ๒๐๖
  • เล่มที่ ๑๐-๖ หน้า ๒๐๗ - ๒๔๘
  • เล่มที่ ๑๐-๗ หน้า ๒๔๙ - ๒๘๙
  • เล่มที่ ๑๐-๘ หน้า ๒๙๐ - ๓๓๐
  • เล่มที่ ๑๐-๙ หน้า ๓๓๑ - ๓๗๒

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ สุตตันตปิฎกที่ ๐๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค [กลับด้านบน]

  • เล่มที่ ๑๑-๑ หน้า ๑ - ๔๙
  • เล่มที่ ๑๑-๒ หน้า ๕๐ - ๙๘
  • เล่มที่ ๑๑-๓ หน้า ๙๙ - ๑๔๖
  • เล่มที่ ๑๑-๔ หน้า ๑๔๗ - ๑๙๕
  • เล่มที่ ๑๑-๕ หน้า ๑๙๖ - ๒๔๔
  • เล่มที่ ๑๑-๖ หน้า ๒๔๕ - ๒๙๒
  • เล่มที่ ๑๑-๗ หน้า ๒๙๓ - ๓๔๑
  • เล่มที่ ๑๑-๘ หน้า ๓๔๒ - ๓๙๐
  • เล่มที่ ๑๑-๙ หน้า ๓๙๑ - ๔๓๘

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ สุตตันตปิฎกที่ ๐๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [กลับด้านบน]

  • เล่มที่ ๑๒-๑ หน้า ๑ - ๔๖
  • เล่มที่ ๑๒-๒ หน้า ๔๗ - ๙๒
  • เล่มที่ ๑๒-๓ หน้า ๙๓ - ๑๓๙
  • เล่มที่ ๑๒-๔ หน้า ๑๔๐ - ๑๘๕
  • เล่มที่ ๑๒-๕ หน้า ๑๘๖ - ๒๓๑
  • เล่มที่ ๑๒-๖ หน้า ๒๓๒ - ๒๗๘
  • เล่มที่ ๑๒-๗ หน้า ๒๗๙ - ๓๒๔
  • เล่มที่ ๑๒-๘ หน้า ๓๒๕ - ๓๗๐
  • เล่มที่ ๑๒-๙ หน้า ๓๗๑ - ๔๑๖
  • เล่มที่ ๑๒-๑๐ หน้า ๔๑๗ - ๔๖๒
  • เล่มที่ ๑๒-๑๑ หน้า ๔๖๓ - ๕๐๘
  • เล่มที่ ๑๒-๑๒ หน้า ๕๐๙ - ๕๕๔

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ สุตตันตปิฎกที่ ๐๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [กลับด้านบน]

  • เล่มที่ ๑๓-๑ หน้า ๑ - ๕๑
  • เล่มที่ ๑๓-๒ หน้า ๕๒ - ๑๐๒
  • เล่มที่ ๑๓-๓ หน้า ๑๐๓ - ๑๕๓
  • เล่มที่ ๑๓-๔ หน้า ๑๕๔ - ๒๐๔
  • เล่มที่ ๑๓-๕ หน้า ๒๐๕ - ๒๕๕
  • เล่มที่ ๑๓-๖ หน้า ๒๕๖ - ๓๐๖
  • เล่มที่ ๑๓-๗ หน้า ๓๐๗ - ๓๕๗
  • เล่มที่ ๑๓-๘ หน้า ๓๕๘ - ๔๐๘
  • เล่มที่ ๑๓-๙ หน้า ๔๐๙ - ๔๖๐
  • เล่มที่ ๑๓-๑๐ หน้า ๔๖๑ - ๕๑๑
  • เล่มที่ ๑๓-๑๑ หน้า ๕๑๒ - ๕๖๒
  • เล่มที่ ๑๓-๑๒ หน้า ๕๖๓ - ๖๑๔

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎกที่ ๐๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [กลับด้านบน]

  • เล่มที่ ๑๔-๑ หน้า ๑ - ๔๒
  • เล่มที่ ๑๔-๒ หน้า ๔๓ - ๘๔
  • เล่มที่ ๑๔-๓ หน้า ๘๕ - ๑๒๗
  • เล่มที่ ๑๔-๔ หน้า ๑๒๘ - ๑๖๙
  • เล่มที่ ๑๔-๕ หน้า ๑๗๐ - ๒๑๑
  • เล่มที่ ๑๔-๖ หน้า ๒๑๒ - ๒๕๔
  • เล่มที่ ๑๔-๗ หน้า ๒๕๕ - ๒๙๗
  • เล่มที่ ๑๔-๘ หน้า ๒๙๘ - ๓๔๐
  • เล่มที่ ๑๔-๙ หน้า ๓๔๑ - ๓๘๒
  • เล่มที่ ๑๔-๑๐ หน้า ๓๘๓ - ๔๒๕
  • เล่มที่ ๑๔-๑๑ หน้า ๔๒๖ - ๔๖๘
  • เล่มที่ ๑๔-๑๒ หน้า ๔๖๙ - ๕๑๐

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ สุตตันตปิฎกที่ ๐๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [กลับด้านบน]

  • เล่มที่ ๑๕-๑ หน้า ๑ - ๖๖
  • เล่มที่ ๑๕-๒ หน้า ๖๗ - ๑๓๒
  • เล่มที่ ๑๕-๓ หน้า ๑๓๓ - ๑๙๘
  • เล่มที่ ๑๕-๔ หน้า ๑๙๙ - ๒๖๔
  • เล่มที่ ๑๕-๕ หน้า ๒๖๕ - ๓๓๐
  • เล่มที่ ๑๕-๖ หน้า ๓๓๑ - ๓๙๖

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ สุตตันตปิฎกที่ ๐๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [กลับด้านบน]

  • เล่มที่ ๑๖-๑ หน้า ๑ - ๕๗
  • เล่มที่ ๑๖-๒ หน้า ๕๘ - ๑๑๔
  • เล่มที่ ๑๖-๓ หน้า ๑๑๕ - ๑๗๐
  • เล่มที่ ๑๖-๔ หน้า ๑๗๑ - ๒๒๗
  • เล่มที่ ๑๖-๕ หน้า ๒๒๘ - ๒๘๔
  • เล่มที่ ๑๖-๖ หน้า ๒๘๕ - ๓๔๐

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ สุตตันตปิฎกที่ ๐๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [กลับด้านบน]

  • เล่มที่ ๑๗-๑ หน้า ๑ - ๔๕
  • เล่มที่ ๑๗-๒ หน้า ๔๖ - ๙๐
  • เล่มที่ ๑๗-๓ หน้า ๙๑ - ๑๓๖
  • เล่มที่ ๑๗-๔ หน้า ๑๓๗ - ๑๘๑
  • เล่มที่ ๑๗-๕ หน้า ๑๘๒ - ๒๒๖
  • เล่มที่ ๑๗-๖ หน้า ๒๒๗ - ๒๗๒
  • เล่มที่ ๑๗-๗ หน้า ๒๗๓ - ๓๑๗
  • เล่มที่ ๑๗-๘ หน้า ๓๑๘ - ๓๖๒
  • เล่มที่ ๑๗-๙ หน้า ๓๖๓ - ๔๐๘

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎกที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [กลับด้านบน]

  • เล่มที่ ๑๘-๑ หน้า ๑ - ๕๕
  • เล่มที่ ๑๘-๒ หน้า ๕๖ - ๑๑๐
  • เล่มที่ ๑๘-๓ หน้า ๑๑๑ - ๑๖๕
  • เล่มที่ ๑๘-๔ หน้า ๑๖๖ - ๒๒๐
  • เล่มที่ ๑๘-๕ หน้า ๒๒๑ - ๒๗๕
  • เล่มที่ ๑๘-๖ หน้า ๒๗๖ - ๓๓๐
  • เล่มที่ ๑๘-๗ หน้า ๓๓๑ - ๓๘๕
  • เล่มที่ ๑๘-๘ หน้า ๓๘๖ - ๔๔๐
  • เล่มที่ ๑๘-๙ หน้า ๔๔๑ - ๔๙๖

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ สุตตันตปิฎกที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [กลับด้านบน]

  • เล่มที่ ๑๙-๑ หน้า ๑ - ๕๕
  • เล่มที่ ๑๙-๒ หน้า ๕๖ - ๑๑๐
  • เล่มที่ ๑๙-๓ หน้า ๑๑๑ - ๑๖๔
  • เล่มที่ ๑๙-๔ หน้า ๑๖๕ - ๒๑๙
  • เล่มที่ ๑๙-๕ หน้า ๒๒๐ - ๒๗๔
  • เล่มที่ ๑๙-๖ หน้า ๒๗๕ - ๓๒๘
  • เล่มที่ ๑๙-๗ หน้า ๓๒๙ - ๓๘๓
  • เล่มที่ ๑๙-๘ หน้า ๓๘๔ - ๔๓๘
  • เล่มที่ ๑๙-๙ หน้า ๔๓๙ - ๔๙๓
  • เล่มที่ ๑๙-๑๐ หน้า ๔๙๔ - ๕๔๘
  • เล่มที่ ๑๙-๑๑ หน้า ๕๔๙ - ๖๐๓
  • เล่มที่ ๑๙-๑๒ หน้า ๖๐๔ - ๖๕๘

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ สุตตันตปิฎกที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอกก ทุก ติกนิบาต [กลับด้านบน]

  • เล่มที่ ๒๐-๑ หน้า ๑ - ๔๖
  • เล่มที่ ๒๐-๒ หน้า ๔๗ - ๙๒
  • เล่มที่ ๒๐-๓ หน้า ๙๓ - ๑๓๗
  • เล่มที่ ๒๐-๔ หน้า ๑๓๘ - ๑๘๓
  • เล่มที่ ๒๐-๕ หน้า ๑๘๔ - ๒๒๙
  • เล่มที่ ๒๐-๖ หน้า ๒๓๐ - ๒๗๔
  • เล่มที่ ๒๐-๗ หน้า ๒๗๕ - ๓๒๐
  • เล่มที่ ๒๐-๘ หน้า ๓๒๑ - ๓๖๖
  • เล่มที่ ๒๐-๙ หน้า ๓๖๗ - ๔๑๑

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ สุตตันตปิฎกที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [กลับด้านบน]

  • เล่มที่ ๒๑-๑ หน้า ๑ - ๔๓
  • เล่มที่ ๒๑-๒ หน้า ๔๔ - ๘๖
  • เล่มที่ ๒๑-๓ หน้า ๘๗ - ๑๓๐
  • เล่มที่ ๒๑-๔ หน้า ๑๓๑ - ๑๗๔
  • เล่มที่ ๒๑-๕ หน้า ๑๗๕ - ๒๑๘
  • เล่มที่ ๒๑-๖ หน้า ๒๑๙ - ๒๖๑
  • เล่มที่ ๒๑-๗ หน้า ๒๖๒ - ๓๐๕
  • เล่มที่ ๒๑-๘ หน้า ๓๐๖ - ๓๔๙
  • เล่มที่ ๒๑-๙ หน้า ๓๕๐ - ๓๙๒

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ สุตตันตปิฎกที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก ฉักกนิบาต [กลับด้านบน]

  • เล่มที่ ๒๒-๑ หน้า ๑ - ๕๔
  • เล่มที่ ๒๒-๒ หน้า ๕๕ - ๑๐๘
  • เล่มที่ ๒๒-๓ หน้า ๑๐๙ - ๑๖๑
  • เล่มที่ ๒๒-๔ หน้า ๑๖๒ - ๒๑๕
  • เล่มที่ ๒๒-๕ หน้า ๒๑๖ - ๒๖๙
  • เล่มที่ ๒๒-๖ หน้า ๒๗๐ - ๓๒๒
  • เล่มที่ ๒๒-๗ หน้า ๓๒๓ - ๓๗๖
  • เล่มที่ ๒๒-๘ หน้า ๓๗๗ - ๔๓๐
  • เล่มที่ ๒๒-๙ หน้า ๔๓๑ - ๔๘๓
  • เล่มที่ ๒๒-๑๐ หน้า ๔๘๔ - ๕๓๗
  • เล่มที่ ๒๒-๑๑ หน้า ๕๓๘ - ๕๙๑
  • เล่มที่ ๒๒-๑๒ หน้า ๕๙๒ - ๖๔๔

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ สุตตันตปิฎกที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก อัฏฐก นวกนิบาต [กลับด้านบน]

  • เล่มที่ ๒๓-๑ หน้า ๑ - ๔๗
  • เล่มที่ ๒๓-๒ หน้า ๔๘ - ๙๔
  • เล่มที่ ๒๓-๓ หน้า ๙๕ - ๑๔๑
  • เล่มที่ ๒๓-๔ หน้า ๑๔๒ - ๑๘๘
  • เล่มที่ ๒๓-๕ หน้า ๑๘๙ - ๒๓๕
  • เล่มที่ ๒๓-๖ หน้า ๒๓๖ - ๒๘๒
  • เล่มที่ ๒๓-๗ หน้า ๒๘๓ - ๓๒๙
  • เล่มที่ ๒๓-๘ หน้า ๓๓๐ - ๓๗๖
  • เล่มที่ ๒๓-๙ หน้า ๓๗๗ - ๔๒๓
  • เล่มที่ ๒๓-๑๐ หน้า ๔๒๔ - ๔๗๐
  • เล่มที่ ๒๓-๑๑ หน้า ๔๗๑ - ๕๑๗
  • เล่มที่ ๒๓-๑๒ หน้า ๕๑๘ - ๕๖๔

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ สุตตันตปิฎกที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก เอกาทสกนิบาต [กลับด้านบน]

  • เล่มที่ ๒๔-๑ หน้า ๑ - ๕๐
  • เล่มที่ ๒๔-๒ หน้า ๕๑ - ๑๐๐
  • เล่มที่ ๒๔-๓ หน้า ๑๐๑ - ๑๔๙
  • เล่มที่ ๒๔-๔ หน้า ๑๕๐ - ๑๙๙
  • เล่มที่ ๒๔-๕ หน้า ๒๐๐ - ๒๔๙
  • เล่มที่ ๒๔-๖ หน้า ๒๕๐ - ๒๙๙
  • เล่มที่ ๒๔-๗ หน้า ๓๐๐ - ๓๔๙
  • เล่มที่ ๒๔-๘ หน้า ๓๕๐ - ๓๙๙
  • เล่มที่ ๒๔-๙ หน้า ๔๐๐ - ๔๔๙

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ สุตตันตปิฎกที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ ธรรมบท อุทาน [กลับด้านบน]

  • เล่มที่ ๒๕-๑ หน้า ๑ - ๖๕
  • เล่มที่ ๒๕-๒ หน้า ๖๖ - ๑๓๐
  • เล่มที่ ๒๕-๓ หน้า ๑๓๑ - ๑๙๖
  • เล่มที่ ๒๕-๔ หน้า ๑๙๗ - ๒๖๑
  • เล่มที่ ๒๕-๕ หน้า ๒๖๒ - ๓๒๖
  • เล่มที่ ๒๕-๖ หน้า ๓๒๗ - ๓๙๒
  • เล่มที่ ๒๕-๗ หน้า ๓๙๓ - ๔๕๗
  • เล่มที่ ๒๕-๘ หน้า ๔๕๘ - ๕๒๒
  • เล่มที่ ๒๕-๙ หน้า ๕๒๓ - ๕๘๘
  • เล่มที่ ๒๕-๑๐ หน้า ๕๘๙ - ๖๕๓
  • เล่มที่ ๒๕-๑๑ หน้า ๖๕๔ - ๗๑๘
  • เล่มที่ ๒๕-๑๒ หน้า ๗๑๙ - ๗๘๔

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ สุตตันตปิฎกที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน เปตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา [กลับด้านบน]

  • เล่มที่ ๒๖-๑ หน้า ๑ - ๕๓
  • เล่มที่ ๒๖-๒ หน้า ๕๔ - ๑๐๖
  • เล่มที่ ๒๖-๓ หน้า ๑๐๗ - ๑๖๐
  • เล่มที่ ๒๖-๔ หน้า ๑๖๑ - ๒๑๓
  • เล่มที่ ๒๖-๕ หน้า ๒๑๔ - ๒๖๖
  • เล่มที่ ๒๖-๖ หน้า ๒๖๗ - ๓๒๐
  • เล่มที่ ๒๖-๗ หน้า ๓๒๑ - ๓๗๓
  • เล่มที่ ๒๖-๘ หน้า ๓๗๔ - ๔๒๖
  • เล่มที่ ๒๖-๙ หน้า ๔๒๗ - ๔๘๐
  • เล่มที่ ๒๖-๑๐ หน้า ๔๘๑ - ๕๓๓
  • เล่มที่ ๒๖-๑๑ หน้า ๕๓๔ - ๕๘๖
  • เล่มที่ ๒๖-๑๒ หน้า ๕๘๗ - ๖๔๐

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ สุตตันตปิฎกที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑ [กลับด้านบน]

  • เล่มที่ ๒๗-๑ หน้า ๑ - ๕๓
  • เล่มที่ ๒๗-๒ หน้า ๕๔ - ๑๐๖
  • เล่มที่ ๒๗-๓ หน้า ๑๐๗ - ๑๕๙
  • เล่มที่ ๒๗-๔ หน้า ๑๖๐ - ๒๑๒
  • เล่มที่ ๒๗-๕ หน้า ๒๑๓ - ๒๖๕
  • เล่มที่ ๒๗-๖ หน้า ๒๖๖ - ๓๑๘
  • เล่มที่ ๒๗-๗ หน้า ๓๑๙ - ๓๗๑
  • เล่มที่ ๒๗-๘ หน้า ๓๗๒ - ๔๒๔
  • เล่มที่ ๒๗-๙ หน้า ๔๒๕ - ๔๗๗
  • เล่มที่ ๒๗-๑๐ หน้า ๔๗๘ - ๕๓๐
  • เล่มที่ ๒๗-๑๑ หน้า ๕๓๑ - ๕๘๓
  • เล่มที่ ๒๗-๑๒ หน้า ๕๘๔ - ๖๓๖

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ สุตตันตปิฎกที่ ๒๐ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒ [กลับด้านบน]

  • เล่มที่ ๒๘-๑ หน้า ๑ - ๖๒
  • เล่มที่ ๒๘-๒ หน้า ๖๓ - ๑๒๔
  • เล่มที่ ๒๘-๓ หน้า ๑๒๕ - ๑๘๖
  • เล่มที่ ๒๘-๔ หน้า ๑๘๗ - ๒๔๘
  • เล่มที่ ๒๘-๕ หน้า ๒๔๙ - ๓๑๐
  • เล่มที่ ๒๘-๖ หน้า ๓๑๑ - ๓๗๓
  • เล่มที่ ๒๘-๗ หน้า ๓๗๔ - ๔๓๕
  • เล่มที่ ๒๘-๘ หน้า ๔๓๖ - ๔๙๗
  • เล่มที่ ๒๘-๙ หน้า ๔๙๘ - ๕๖๐

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ สุตตันตปิฎกที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส [กลับด้านบน]

  • เล่มที่ ๒๙-๑ หน้า ๑ - ๕๒
  • เล่มที่ ๒๙-๒ หน้า ๕๓ - ๑๐๔
  • เล่มที่ ๒๙-๓ หน้า ๑๐๕ - ๑๕๕
  • เล่มที่ ๒๙-๔ หน้า ๑๕๖ - ๒๐๗
  • เล่มที่ ๒๙-๕ หน้า ๒๐๘ - ๒๕๙
  • เล่มที่ ๒๙-๖ หน้า ๒๖๐ - ๓๑๐
  • เล่มที่ ๒๙-๗ หน้า ๓๑๑ - ๓๖๒
  • เล่มที่ ๒๙-๘ หน้า ๓๖๓ - ๔๑๔
  • เล่มที่ ๒๙-๙ หน้า ๔๑๕ - ๔๖๕
  • เล่มที่ ๒๙-๑๐ หน้า ๔๖๖ - ๕๑๗
  • เล่มที่ ๒๙-๑๑ หน้า ๕๑๘ - ๕๖๙
  • เล่มที่ ๒๙-๑๒ หน้า ๕๗๐ - ๖๒๐

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ สุตตันตปิฎกที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [กลับด้านบน]

  • เล่มที่ ๓๐-๑ หน้า ๑ - ๕๖
  • เล่มที่ ๓๐-๒ หน้า ๕๗ - ๑๑๒
  • เล่มที่ ๓๐-๓ หน้า ๑๑๓ - ๑๖๗
  • เล่มที่ ๓๐-๔ หน้า ๑๖๘ - ๒๒๓
  • เล่มที่ ๓๐-๕ หน้า ๒๒๔ - ๒๗๙
  • เล่มที่ ๓๐-๖ หน้า ๒๘๐ - ๓๓๔
  • เล่มที่ ๓๐-๗ หน้า ๓๓๕ - ๓๙๐
  • เล่มที่ ๓๐-๘ หน้า ๓๙๑ - ๔๔๖
  • เล่มที่ ๓๐-๙ หน้า ๔๔๗ - ๕๐๒

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ สุตตันตปิฎกที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [กลับด้านบน]

  • เล่มที่ ๓๑-๑ หน้า ๑ - ๕๑
  • เล่มที่ ๓๑-๒ หน้า ๕๒ - ๑๐๒
  • เล่มที่ ๓๑-๓ หน้า ๑๐๓ - ๑๕๒
  • เล่มที่ ๓๑-๔ หน้า ๑๕๓ - ๒๐๓
  • เล่มที่ ๓๑-๕ หน้า ๒๐๔ - ๒๕๔
  • เล่มที่ ๓๑-๖ หน้า ๒๕๕ - ๓๐๔
  • เล่มที่ ๓๑-๗ หน้า ๓๐๕ - ๓๕๕
  • เล่มที่ ๓๑-๘ หน้า ๓๕๖ - ๔๐๖
  • เล่มที่ ๓๑-๙ หน้า ๔๐๗ - ๔๕๗
  • เล่มที่ ๓๑-๑๐ หน้า ๔๕๘ - ๕๐๘
  • เล่มที่ ๓๑-๑๑ หน้า ๕๐๙ - ๕๕๙
  • เล่มที่ ๓๑-๑๒ หน้า ๕๖๐ - ๖๑๐

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ สุตตันตปิฎกที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ [กลับด้านบน]

  • เล่มที่ ๓๒-๑ หน้า ๑ - ๕๙
  • เล่มที่ ๓๒-๒ หน้า ๖๐ - ๑๑๘
  • เล่มที่ ๓๒-๓ หน้า ๑๑๙ - ๑๗๖
  • เล่มที่ ๓๒-๔ หน้า ๑๗๗ - ๒๓๕
  • เล่มที่ ๓๒-๕ หน้า ๒๓๖ - ๒๙๔
  • เล่มที่ ๓๒-๖ หน้า ๒๙๕ - ๓๕๒
  • เล่มที่ ๓๒-๗ หน้า ๓๕๓ - ๔๑๑
  • เล่มที่ ๓๒-๘ หน้า ๔๑๒ - ๔๗๐
  • เล่มที่ ๓๒-๙ หน้า ๔๗๑ - ๕๒๘
  • เล่มที่ ๓๒-๑๐ หน้า ๕๒๙ - ๕๘๗
  • เล่มที่ ๓๒-๑๑ หน้า ๕๘๘ - ๖๔๖
  • เล่มที่ ๓๒-๑๒ หน้า ๖๔๗ - ๗๐๔

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ สุตตันตปิฎกที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ พุทธวงศ์ จริยาปิฎก [กลับด้านบน]

  • เล่มที่ ๓๓-๑ หน้า ๑ - ๖๕
  • เล่มที่ ๓๓-๒ หน้า ๖๖ - ๑๓๐
  • เล่มที่ ๓๓-๓ หน้า ๑๓๑ - ๑๙๔
  • เล่มที่ ๓๓-๔ หน้า ๑๙๕ - ๒๕๙
  • เล่มที่ ๓๓-๕ หน้า ๒๖๐ - ๓๒๔
  • เล่มที่ ๓๓-๖ หน้า ๓๒๕ - ๓๘๘
  • เล่มที่ ๓๓-๗ หน้า ๓๘๙ - ๔๕๓
  • เล่มที่ ๓๓-๘ หน้า ๔๕๔ - ๕๑๘
  • เล่มที่ ๓๓-๙ หน้า ๕๑๙ - ๕๘๓
  • เล่มที่ ๓๓-๑๐ หน้า ๕๘๔ - ๖๔๘
  • เล่มที่ ๓๓-๑๑ หน้า ๖๔๙ - ๗๑๓
  • เล่มที่ ๓๓-๑๒ หน้า ๗๑๔ - ๗๗๘

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๔ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๑ ธัมมสังคนี [กลับด้านบน]

  • เล่มที่ ๓๔-๑ หน้า ๑ - ๔๓
  • เล่มที่ ๓๔-๒ หน้า ๔๔ - ๘๖
  • เล่มที่ ๓๔-๓ หน้า ๘๗ - ๑๒๙
  • เล่มที่ ๓๔-๔ หน้า ๑๓๐ - ๑๗๒
  • เล่มที่ ๓๔-๕ หน้า ๑๗๓ - ๒๑๕
  • เล่มที่ ๓๔-๖ หน้า ๒๑๖ - ๒๕๘
  • เล่มที่ ๓๔-๗ หน้า ๒๕๙ - ๓๐๑
  • เล่มที่ ๓๔-๘ หน้า ๓๐๒ - ๓๔๔
  • เล่มที่ ๓๔-๙ หน้า ๓๔๕ - ๓๘๘

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๒ วิภังค์ [กลับด้านบน]

  • เล่มที่ ๓๕-๑ หน้า ๑ - ๕๗
  • เล่มที่ ๓๕-๒ หน้า ๕๘ - ๑๑๔
  • เล่มที่ ๓๕-๓ หน้า ๑๑๕ - ๑๗๒
  • เล่มที่ ๓๕-๔ หน้า ๑๗๓ - ๒๒๙
  • เล่มที่ ๓๕-๕ หน้า ๒๓๐ - ๒๘๖
  • เล่มที่ ๓๕-๖ หน้า ๒๘๗ - ๓๔๔
  • เล่มที่ ๓๕-๗ หน้า ๓๔๕ - ๔๐๒
  • เล่มที่ ๓๕-๘ หน้า ๔๐๓ - ๔๖๐
  • เล่มที่ ๓๕-๙ หน้า ๔๖๑ - ๕๑๗
  • เล่มที่ ๓๕-๑๐ หน้า ๕๑๘ - ๕๗๕
  • เล่มที่ ๓๕-๑๑ หน้า ๕๗๖ - ๖๓๓
  • เล่มที่ ๓๕-๑๒ หน้า ๖๓๔ - ๖๙๐

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๖ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๓ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ [กลับด้านบน]

  • เล่มที่ ๓๖-๑ หน้า ๑ - ๓๙
  • เล่มที่ ๓๖-๒ หน้า ๔๐ - ๗๘
  • เล่มที่ ๓๖-๓ หน้า ๗๙ - ๑๑๖
  • เล่มที่ ๓๖-๔ หน้า ๑๑๗ - ๑๕๕
  • เล่มที่ ๓๖-๕ หน้า ๑๕๖ - ๑๙๔
  • เล่มที่ ๓๖-๖ หน้า ๑๙๕ - ๒๓๒

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๔ กถาวัตถุ [กลับด้านบน]

  • เล่มที่ ๓๗-๑ หน้า ๑ - ๖๓
  • เล่มที่ ๓๗-๒ หน้า ๖๔ - ๑๒๖
  • เล่มที่ ๓๗-๓ หน้า ๑๒๗ - ๑๘๙
  • เล่มที่ ๓๗-๔ หน้า ๑๙๐ - ๒๕๒
  • เล่มที่ ๓๗-๕ หน้า ๒๕๓ - ๓๑๕
  • เล่มที่ ๓๗-๖ หน้า ๓๑๖ - ๓๗๘
  • เล่มที่ ๓๗-๗ หน้า ๓๗๙ - ๔๔๑
  • เล่มที่ ๓๗-๘ หน้า ๔๔๒ - ๕๐๔
  • เล่มที่ ๓๗-๙ หน้า ๕๐๕ - ๕๖๗
  • เล่มที่ ๓๗-๑๐ หน้า ๕๖๘ - ๖๓๐
  • เล่มที่ ๓๗-๑๑ หน้า ๖๓๑ - ๖๙๓
  • เล่มที่ ๓๗-๑๒ หน้า ๖๙๔ - ๗๕๖
  • เล่มที่ ๓๗-๑๓ หน้า ๗๕๗ - ๘๑๙
  • เล่มที่ ๓๗-๑๔ หน้า ๘๒๐ - ๘๘๒
  • เล่มที่ ๓๗-๑๕ หน้า ๘๘๓ - ๙๔๖

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๘ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๕ ยมก ภาค ๑ [กลับด้านบน]

  • เล่มที่ ๓๘-๑ หน้า ๑ - ๕๗
  • เล่มที่ ๓๘-๒ หน้า ๕๘ - ๑๑๔
  • เล่มที่ ๓๘-๓ หน้า ๑๑๕ - ๑๗๐
  • เล่มที่ ๓๘-๔ หน้า ๑๗๑ - ๒๒๗
  • เล่มที่ ๓๘-๕ หน้า ๒๒๘ - ๒๘๔
  • เล่มที่ ๓๘-๖ หน้า ๒๘๕ - ๓๔๑
  • เล่มที่ ๓๘-๗ หน้า ๓๔๒ - ๓๙๘
  • เล่มที่ ๓๘-๘ หน้า ๓๙๙ - ๔๕๕
  • เล่มที่ ๓๘-๙ หน้า ๔๕๖ - ๕๑๒
  • เล่มที่ ๓๘-๑๐ หน้า ๕๑๓ - ๕๖๙
  • เล่มที่ ๓๘-๑๑ หน้า ๕๗๐ - ๖๒๖
  • เล่มที่ ๓๘-๑๒ หน้า ๖๒๗ - ๖๘๓
  • เล่มที่ ๓๘-๑๓ หน้า ๖๘๔ - ๗๔๐
  • เล่มที่ ๓๘-๑๔ หน้า ๗๔๑ - ๗๙๗
  • เล่มที่ ๓๘-๑๕ หน้า ๗๙๘ - ๘๕๔

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๙ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๖ ยมก ภาค ๒ [กลับด้านบน]

  • เล่มที่ ๓๙-๑ หน้า ๑ - ๕๔
  • เล่มที่ ๓๙-๒ หน้า ๕๕ - ๑๐๘
  • เล่มที่ ๓๙-๓ หน้า ๑๐๙ - ๑๖๒
  • เล่มที่ ๓๙-๔ หน้า ๑๖๓ - ๒๑๖
  • เล่มที่ ๓๙-๕ หน้า ๒๑๗ - ๒๗๐
  • เล่มที่ ๓๙-๖ หน้า ๒๗๑ - ๓๒๔
  • เล่มที่ ๓๙-๗ หน้า ๓๒๕ - ๓๗๘
  • เล่มที่ ๓๙-๘ หน้า ๓๗๙ - ๔๓๒
  • เล่มที่ ๓๙-๙ หน้า ๔๓๓ - ๔๘๖
  • เล่มที่ ๓๙-๑๐ หน้า ๔๘๗ - ๕๔๐
  • เล่มที่ ๓๙-๑๑ หน้า ๕๔๑ - ๕๙๔
  • เล่มที่ ๓๙-๑๒ หน้า ๕๙๕ - ๖๔๙

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๐ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๗ ปัฏฐาน ภาค ๑ [กลับด้านบน]

  • เล่มที่ ๔๐-๑ หน้า ๑ - ๖๐
  • เล่มที่ ๔๐-๒ หน้า ๖๑ - ๑๒๐
  • เล่มที่ ๔๐-๓ หน้า ๑๒๑ - ๑๘๑
  • เล่มที่ ๔๐-๔ หน้า ๑๘๒ - ๒๔๑
  • เล่มที่ ๔๐-๕ หน้า ๒๔๒ - ๓๐๑
  • เล่มที่ ๔๐-๖ หน้า ๓๐๒ - ๓๖๒
  • เล่มที่ ๔๐-๗ หน้า ๓๖๓ - ๔๒๓
  • เล่มที่ ๔๐-๘ หน้า ๔๒๔ - ๔๘๔
  • เล่มที่ ๔๐-๙ หน้า ๔๘๕ - ๕๔๔
  • เล่มที่ ๔๐-๑๐ หน้า ๕๔๕ - ๖๐๕
  • เล่มที่ ๔๐-๑๑ หน้า ๖๐๖ - ๖๖๖
  • เล่มที่ ๔๐-๑๒ หน้า ๖๖๗ - ๗๒๖
  • เล่มที่ ๔๐-๑๓ หน้า ๗๒๗ - ๗๘๗
  • เล่มที่ ๔๐-๑๔ หน้า ๗๘๘ - ๘๔๘
  • เล่มที่ ๔๐-๑๕ หน้า ๘๔๙ - ๙๐๘

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๑ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๘ ปัฏฐาน ภาค ๒ [กลับด้านบน]

  • เล่มที่ ๔๑-๑ หน้า ๑ - ๕๖
  • เล่มที่ ๔๑-๒ หน้า ๕๗ - ๑๑๒
  • เล่มที่ ๔๑-๓ หน้า ๑๑๓ - ๑๖๗
  • เล่มที่ ๔๑-๔ หน้า ๑๖๘ - ๒๒๓
  • เล่มที่ ๔๑-๕ หน้า ๒๒๔ - ๒๗๙
  • เล่มที่ ๔๑-๖ หน้า ๒๘๐ - ๓๓๔
  • เล่มที่ ๔๑-๗ หน้า ๓๓๕ - ๓๙๐
  • เล่มที่ ๔๑-๘ หน้า ๓๙๑ - ๔๔๖
  • เล่มที่ ๔๑-๙ หน้า ๔๔๗ - ๕๐๑
  • เล่มที่ ๔๑-๑๐ หน้า ๕๐๒ - ๕๕๗
  • เล่มที่ ๔๑-๑๑ หน้า ๕๕๘ - ๖๑๓
  • เล่มที่ ๔๑-๑๒ หน้า ๖๑๔ - ๖๖๘

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๒ อภิธรรมปิฎกที่ ๐๙ ปัฏฐาน ภาค ๓ [กลับด้านบน]

  • เล่มที่ ๔๒-๑ หน้า ๑ - ๕๓
  • เล่มที่ ๔๒-๒ หน้า ๕๔ - ๑๐๖
  • เล่มที่ ๔๒-๓ หน้า ๑๐๗ - ๑๖๐
  • เล่มที่ ๔๒-๔ หน้า ๑๖๑ - ๒๑๔
  • เล่มที่ ๔๒-๕ หน้า ๒๑๕ - ๒๖๘
  • เล่มที่ ๔๒-๖ หน้า ๒๖๙ - ๓๒๑
  • เล่มที่ ๔๒-๗ หน้า ๓๒๒ - ๓๗๕
  • เล่มที่ ๔๒-๘ หน้า ๓๗๖ - ๔๒๙
  • เล่มที่ ๔๒-๙ หน้า ๔๓๐ - ๔๘๒

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๓ อภิธรรมปิฎกที่ ๑๐ ปัฏฐาน ภาค ๔ [กลับด้านบน]

  • เล่มที่ ๔๓-๑ หน้า ๑ - ๕๔
  • เล่มที่ ๔๓-๒ หน้า ๕๕ - ๑๐๘
  • เล่มที่ ๔๓-๓ หน้า ๑๐๙ - ๑๖๑
  • เล่มที่ ๔๓-๔ หน้า ๑๖๒ - ๒๑๕
  • เล่มที่ ๔๓-๕ หน้า ๒๑๖ - ๒๖๙
  • เล่มที่ ๔๓-๖ หน้า ๒๗๐ - ๓๒๓
  • เล่มที่ ๔๓-๗ หน้า ๓๒๔ - ๓๗๗
  • เล่มที่ ๔๓-๘ หน้า ๓๗๘ - ๔๓๑
  • เล่มที่ ๔๓-๙ หน้า ๔๓๒ - ๔๘๕
  • เล่มที่ ๔๓-๑๐ หน้า ๔๘๖ - ๕๓๙
  • เล่มที่ ๔๓-๑๑ หน้า ๕๔๐ - ๕๙๓
  • เล่มที่ ๔๓-๑๒ หน้า ๕๙๔ - ๖๔๗

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๔ อภิธรรมปิฎกที่ ๑๑ ปัฏฐาน ภาค ๕ [กลับด้านบน]

  • เล่มที่ ๔๔-๑ หน้า ๑ - ๕๖
  • เล่มที่ ๔๔-๒ หน้า ๕๗ - ๑๑๒
  • เล่มที่ ๔๔-๓ หน้า ๑๑๓ - ๑๖๘
  • เล่มที่ ๔๔-๔ หน้า ๑๖๙ - ๒๒๔
  • เล่มที่ ๔๔-๕ หน้า ๒๒๕ - ๒๘๐
  • เล่มที่ ๔๔-๖ หน้า ๒๘๑ - ๓๓๖
  • เล่มที่ ๔๔-๗ หน้า ๓๓๗ - ๓๙๒
  • เล่มที่ ๔๔-๘ หน้า ๓๙๓ - ๔๔๘
  • เล่มที่ ๔๔-๙ หน้า ๔๔๙ - ๕๐๔
  • เล่มที่ ๔๔-๑๐ หน้า ๕๐๕ - ๕๖๐
  • เล่มที่ ๔๔-๑๑ หน้า ๕๖๑ - ๖๑๖
  • เล่มที่ ๔๔-๑๒ หน้า ๖๑๗ - ๖๗๒
  • เล่มที่ ๔๔-๑๓ หน้า ๖๗๓ - ๗๒๘
  • เล่มที่ ๔๔-๑๔ หน้า ๗๒๙ - ๗๘๔
  • เล่มที่ ๔๔-๑๕ หน้า ๗๘๕ - ๘๔๐

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๕ อภิธรรมปิฎกที่ ๑๒ ปัฏฐาน ภาค ๖ [กลับด้านบน]

  • เล่มที่ ๔๕-๑ หน้า ๑ - ๖๑
  • เล่มที่ ๔๕-๒ หน้า ๖๒ - ๑๒๒
  • เล่มที่ ๔๕-๓ หน้า ๑๒๓ - ๑๘๒
  • เล่มที่ ๔๕-๔ หน้า ๑๘๓ - ๒๔๓
  • เล่มที่ ๔๕-๕ หน้า ๒๔๔ - ๓๐๔
  • เล่มที่ ๔๕-๖ หน้า ๓๐๕ - ๓๖๕
  • เล่มที่ ๔๕-๗ หน้า ๓๖๖ - ๔๒๖
  • เล่มที่ ๔๕-๘ หน้า ๔๒๗ - ๔๘๗
  • เล่มที่ ๔๕-๙ หน้า ๔๘๘ - ๕๔๘
  • เล่มที่ ๔๕-๑๐ หน้า ๕๔๙ - ๖๐๙
  • เล่มที่ ๔๕-๑๑ หน้า ๖๑๐ - ๖๗๐
  • เล่มที่ ๔๕-๑๒ หน้า ๖๗๑ - ๗๓๑

[กลับด้านบน]