สงครามระหว่างไทยกับพม่าในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

สงคราม ๙ ทัพ กับสงครามสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์

ISBN: 9786164370302

ผู้แต่ง : ชาดา นนทวัฒน์

ผู้แปล : -

สำนักพิมพ์ : ศรีปัญญา

ปีที่พิมพ์ : 2561

จำนวนหน้า : 200

ราคาพิเศษ ฿187.00 ราคาปรกติ ฿220.00

“ถ้าหากจะพูดถึงบรรดาสงครามที่กองทัพไทยต้องสู้รบกับกองทัพพม่า ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สงคราม ๙ ทัพ นับว่าเป็นศึกที่ยิ่งใหญ่และถูกล่าวถึงมากที่สุดครั้งหนึ่ง…

            สงครามครั้งนี้นับเป็นบทหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์การสงครามระหว่างไทยกับพม่าที่สมควรสนใจศึกษาและหาความรู้ให้ละเอียด ทั้งนี้เพราะนอกเหนือจากชัยชนะที่ได้รับรู้กันมาแล้วอย่างดี ยังมีเรื่องราวรายละเอียดปลีกย่อยที่น่าสนใจอยู่อีกมาก ไม่ว่า เรื่องราวพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ รวมไปถึงพระราชอนุชาของพระองค์คือสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาถ หรือบรรดาแม่ทัพนายกองต่างๆ ที่ได้เข้าร่วมในสงครามครั้งนี้ ซึ่งต่อมา ก็มาเป็นกำลังหลักในการพัฒนาและสร้างสรรค์กรุงรัตนโกสินทร์ให้มีความสถาวรยิ่งใหญ่มาจนถึงทุกวันนี้”

  • สารบัญ
  • การรีวิวสินค้า

“ถ้าหากจะพูดถึงบรรดาสงครามที่กองทัพไทยต้องสู้รบกับกองทัพพม่า ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สงคราม ๙ ทัพ นับว่าเป็นศึกที่ยิ่งใหญ่และถูกล่าวถึงมากที่สุดครั้งหนึ่ง… สงครามครั้งนี้นับเป็นบทหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์การสงครามระหว่างไทยกับพม่าที่สมควรสนใจศึกษาและหาความรู้ให้ละเอียด ทั้งนี้เพราะนอกเหนือจากชัยชนะที่ได้รับรู้กันมาแล้วอย่างดี ยังมีเรื่องราวรายละเอียดปลีกย่อยที่น่าสนใจอยู่อีกมาก ไม่ว่า เรื่องราวพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ รวมไปถึงพระราชอนุชาของพระองค์คือสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาถ หรือบรรดาแม่ทัพนายกองต่างๆ ที่ได้เข้าร่วมในสงครามครั้งนี้ ซึ่งต่อมา ก็มาเป็นกำลังหลักในการพัฒนาและสร้างสรรค์กรุงรัตนโกสินทร์ให้มีความสถาวรยิ่งใหญ่มาจนถึงทุกวันนี้”

เขียนรีวิวสินค้าของคุณเอง

ไทย-พม่ารบกันมากว่า ๓๐๐ ปี สั่งเสียครั้งสุดท้ายสมัย ร.๔! ตีเชียงตุงหวังได้สิบสองปันนา!!

เผยแพร่: 26 ก.ค. 2562 11:14   โดย: โรม บุนนาค


ในสมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นยุคที่เราเปิดประเทศต้อนรับตะวันตกทุกชาติ แต่กระนั้นก็ยังมีสงครามระหว่างไทย-พม่าอีกจนได้ ซึ่งเป็นสงครามเดียวในรัชกาลนี้ เป็นสงครามครั้งที่ ๔๔ ระหว่างไทยกับพม่า และเป็นครั้งสุดท้ายที่รบราฆ่าฟันกันตลอดมากว่า ๓๐๐ ปี

สงครามครั้งนี้ไม่ใช่พม่าเป็นฝ่ายบุกเข้ามาเหมือนส่วนใหญ่ที่รบกัน แต่ไทยบุกขึ้นไปเหนือสุดจนถึงเมืองเชียงตุง ตามคำขอของราชวงศ์เชียงรุ้งที่อพยพหนีพม่ามาขอความช่วยเหลือจากไทยในสมัยรัชกาลที่ ๓ ครั้งนั้นประเทศราชในมณฑลพายัพพากันอาสาไปตีเชียงตุง จึงโปรดให้กองทัพเชียงใหม่ ลำปาง และลำพูนยกขึ้นไปในปี ๒๓๙๒ แต่ยกไปไม่พร้อมกันทั้งยังขาดเสบียงจึงต้องเลิกทัพกลับมา จนพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯเสด็จสวรรคต เรื่องตีเมืองเชียงตุงจึงค้างอยู่
เมื่อขึ้นรัชกาลที่ ๔ เจ้าฟ้าแสนหวีได้มีสาส์นมากราบทูลว่า การจลาจลวุ่นวายในเมืองเชียงรุ้งนั้นสงบลงแล้ว ขอพระราชทานอนุญาตให้เจ้านายเชียงรุ้งที่มารอฟังข่าวอยู่ที่กรุงเทพฯถึง ๓ ปี และมีครอบครัวมาคอยอยู่ที่เมืองน่านและเมืองหลวงพระบางซึ่งอยู่ในความปกครองของไทยก็มีมาก ให้กลับคืนบ้านเมือง และเจ้าเมืองเชียงรุ้งจะถวายเครื่องราชบรรณาการ ๓ ปีครั้งอย่างประเทศราชอื่นต่อไป

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯมีพระราชดำรัสว่า ราชวงศ์เชียงรุ้งกับบริวารหนีภัยมาพึ่ง เมื่อบ้านเมืองเรียบร้อยแล้วใครประสงค์จะกลับไปก็ตามใจสมัคร ส่วนการจะตีเมืองเชียงตุงและเรื่องที่จะผูกพันกับเชียงรุ้งต่อไปอย่างไรนั้น ก็โปรดฯให้เสนาบดีปรึกษาหารือกันนำความขึ้นกราบบังคมทูล ซึ่งเหตุที่พระองค์ไม่ทรงบัญชาเรื่องนี้ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเห็นว่า การทำศึกสงครามเป็นวิชาที่พระองค์ไม่มีโอกาสได้ทรงศึกษามาเลย

ส่วนเรื่องเมืองเชียงรุ้งนั้น คงทรงเห็นเหมือนพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโหล ซึ่งเคยมีพระราชดำริมาก่อนว่า เมืองลื้อสิบสองปันนาเคยขึ้นกับพม่าและจีน และอาศัยไทยเป็นที่พึ่งเมื่อถูกพม่าหรือจีนเบียดเบียน แต่ก็ยากที่ไทยจะไปช่วยได้ เพราะหนทางไกลกันและกันดารมาก แต่จะทรงปฏิเสธก็ยาก

เผอิญในตอนนั้นอังกฤษตีเมืองพม่าเป็นครั้งที่ ๒ เห็นว่าพม่าคงจะมาช่วยเชียงตุงไม่ได้ เสนาบดีทั้งหลายจึงกราบทูลให้ถือโอกาสไปตีเชียงตุง เมื่อได้เชียงตุงแล้วก็จะได้สิบสองปันนาด้วยไม่ยาก แต่การตีครั้งนี้ควรให้มีกองทัพกรุงเทพฯขึ้นไปควบคุมกองทัพมณฑลพายัพด้วย

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯจึงทรงบัญชาตามมติคณะเสนาบดี ให้เกณฑ์คนหัวเมืองพายัพ ๑๐,๐๐๐ จัดเป็น ๒ ทัพ ให้เจ้าพระยายมราช (นุช บุณยรัตพันธ์) คุมทัพหน้าไปทางเชียงใหม่ ๑ กองทัพ กับกรมหลวงวงศาธิราชสนิท เป็นจอมพล คุมทัพหลวงไปทางเมืองน่านอีกทาง สมทบกันเข้าตีเชียงตุง กองทัพที่ยกไปครั้งนี้ตีหัวเมืองรายทางได้ตลอด จนเข้าล้อมเมืองเชียงตุง แต่ก็ฝ่ากำแพงเมืองเข้าไปไม่ได้ จนขาดแคลนเสียงอาหาร ต้องถอยทัพกลับมาตั้งหลักที่เชียงแสน

ในขณะนั้นได้มีการจัดทัพแบบยุโรปขึ้นในกรุงเทพฯแล้ว คณะเสนาบดีเห็นว่าเชียงตุงอ่อนกำลังลงแล้ว ควรจะเพิ่มกำลังทัพพร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์เข้าตีเชียงตุงให้ได้ในฤดูแล้งปี ๒๓๙๖ แต่ตอนนั้นพม่าสงบศึกกับอังกฤษแล้วจึงส่งกำลังมาเสริมทางเชียงตุง แต่ฝ่ายไทยไม่รู้ อีกทั้งกองทัพเจ้าพระยายมราชยังยกไปไม่ทันกำหนด กองทัพของกรมหลวงวงศาธิราชสนิทเลยต้องเผชิญกับกองทัพพม่าที่มีกำลังมากกว่า ต้องถอยทัพกลับมา สงครามไทย-พม่าที่ยืดเยื้อมากว่า ๓๐๐ ปีจึงสิ้นสุดลงในครั้งนี้

กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงให้ความเห็นที่ไทยตีเมืองเชียงตุงไม่สำเร็จ ก็เพราะไปทำสงครามในดินแดนของข้าศึก ซึ่งไทยไม่รู้จักภูมิประเทศ ทั้งยังประมาทไม่ขวนขวายในการสืบสวนหาข้อมูลให้สมกับกระบวนพิชัยสงคราม แต่ถึงแม้จะตีเมืองเชียงตุงได้ก็คงรักษาไว้ไม่อยู่ ด้วยเป็นดินแดนที่ห่างไทยแต่ใกล้พม่ามากกว่านั่นเอง

สงครามระหว่างไทยกับพม่าในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น