วรรณยุกต์แบ่งออกเป็น 4 รูปได้แก่

วรรณยุกต์แบ่งออกเป็น 4 รูปได้แก่
วรรณยุกต์แบ่งออกเป็น 4 รูปได้แก่

                วรรณยุกต์หรือวรรณยุต หมายถึง ระดับเสียงหรือเครื่องหมายแทนระดับเสียง ที่กำกับพยางค์ของคำในภาษา เสียงวรรณยุกต์หนึ่งอาจมีระดับเสียงต่ำ เสียงสูงเพียงอย่างเดียว หรือเป็นการทอดเสียงจากระดับเสียงหนึ่ง ไปยังอีกระดับเสียงหนึ่งก็ได้ ภาษาในโลกนี้มีทั้งที่ใช้วรรณยุกต์และไม่ใช้วรรณยุกต์ เสียงวรรณยุกต์หนึ่งๆอาจเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อมีการประสมคำ หรือเปลี่ยนตำแหน่งการเน้นเสียง
               วรรณยุกต์แบ่งเป็น รูปวรรณยุกต์ ๔ รูป และเสียงวรรณยุกต์ ๕ เสียง ได้แก่ สามัญ เอก โท ตรี และจัตวา การวางรูปวรรณยุกต์ จะวางไว้บนพยัญชนะต้นของคำ
            ภาษาไทยมาตรฐานมีเสียงวรรณยุกต์ ๕ เสียง ซึ่งมีชื่อเรียกตามหนังสือไวยากรณ์ไทยทั่วไปว่าเสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี และเสียงจัตวา เราอาจแบ่งเสียงทั้ง ๕ นี้ออกเป็น ๒ กลุ่ม ตามลักษณะระดับเสียงคือ
                  ๑. เสียงคงระดับ หมายถึง เสียงวรรณยุกต์ที่ระดับเสียงเมื่อเริ่มต้นกับระดับเสียง เมื่อจบไม่ต่างกันมากจนเป็นคนละเสียง
                         ๒. เสียงเปลี่ยนระดับ เป็นเสียงที่ระดับเสียง เมื่อเริ่มต้นกับเมื่อจบต่างกันมากจนเป็นคนละเสียง
             ภาษาไทยมาตรฐานมีเสียงวรรณยุกต์ ๕ เสียง แต่ใช้ระดับเสียงเพียง ๓ ระดับเท่านั้น คือ สูง กลาง และต่ำ ลักษณะเสียงวรรณยุกต์ทั้ง ๕ มีดังนี้ คือ
 
วรรณยุกต์แบ่งออกเป็น 4 รูปได้แก่

              ๑. เสียงสามัญ เป็นเสียงระดับกลางโดยประมาณ ตัวอย่างคำที่มีเสียงระดับกลาง เช่น มา ไป ดู วัน ดาว กิน ปี เดือน เรือ
               ๒. เสียงเอก เป็นเสียงที่มีระดับต่ำ ตัวอย่างคำที่มีเสียงระดับต่ำ เช่น ไก่ ไข่ เบื่อ หย่า ป่าน ห่าง อย่าง สิบ ปาก
               ๓. เสียงตรี เป็นเสียงที่มีระดับสูง ตัวอย่างคำที่มีเสียงระดับสูง เช่น ช้าง น้อง รัก ไว้ คั้น ฆ้อง ซ้าย นก มุข
 
วรรณยุกต์แบ่งออกเป็น 4 รูปได้แก่

              ๔. เสียงโท เริ่มต้นเป็นเสียงระดับสูงและเลื่อนลง จบด้วยเสียงระดับต่ำ ตัวอย่างคำที่มีเสียงโท เช่น ถ้า ข้าม ให้ เสื้อ เชื่อ พ่อ ลาภ มาก ยาก
              ๕. เสียงจัตวา เริ่มต้นด้วยเสียงระดับต่ำแล้วเลื่อนสูงขึ้นและจบด้วยเสียงระดับสูง ตัวอย่างคำที่มีเสียงจัตวา เช่น สี ฝน ของ ถาม หาย ผัน ฉาย เสือ เผา

         ตัวอย่าง การจำแนกคำตามเสียงวรรณยุกต์
                       เสียงสามัญ = กา ปู ลำไย ชาม เรือ ยาดี
                       เสียงเอก = ปั่น กบ ประดู่ หาด แหย่ ขัด
                       เสียงโท = ตู้ ท่อง อ้ำ สู้ ห้า ยั่ว
                       เสียงตรี = น้อง ง้าง เกี๊ยว นก ร้อน รัก
                       เสียงจัตวา = หาม ขาว เดี๋ยว หัว หมู ป๋า

          ข้อสังเกต บางคำอาจมีรูปวรรณยุกต์ไม่ตรงกับเสียง เช่น
                   หัก ไม่มีรูปวรรณยุกต์ แต่ออกเสียงเป็น เสียงเอก
                   เล่า มีรูปวรรณยุกต์เอก เเต่ออกเสียงเป็น เสียงโท

วรรณยุกต์แบ่งออกเป็น 4 รูปได้แก่

           การผันวรรณยุกต์ คือ การเปลี่ยนเสียงของคำไปตามเสียงวรรณยุกต์ต่างๆ เเละทำให้ความหมายของคำเปลี่ยนไปจากเดิม การผันวรรณยุกต์กับอักษรสามหมู่หรือไตรยางศ์ ผันได้ ดังนี้
                   ๑. การผันวรรณยุกต์กับอักษรกลาง ผันได้ครบ ๕ เสียง
                   ๒. การผันวรรณยุกต์กับอักษรสูง ผันได้ ๓ เสียง ใช้รูปวรรณยุกต์ได้ ๒ รูป
                             รูป   อ่   เป็นเสียง เอก
                             รูป   อ้   เป็นเสียง โท
                             ไม่มีรูป เป็นเสียง จัตวา
                   ๓. การผันวรรณยุกต์กับอักษรต่ำ ผันได้ ๓ เสียง ใช้รูปวรรณยุกต์ได้ ๒ รูป
                             รูป  อ่  เป็นเสียง โท
                             รูป  อ้  เป็นเสียง ตรี
                             ไม่มีรูป เป็นเสียง สามัญ

       ตัวอย่าง การผันวรรณยุกต์
                            ไตรยางศ์      สามัญ      เอก      โท      ตรี      จัตวา
                            อักษรกลาง      เกา        เก่า      เก้า     เก๊า       เก๋า
                            อักษรสูง          -          เข่า      เข้า      -         เขา
                            อักษรต่ำ        เลา          -        เล่า     เล้า         -

           ในการผันวรรณยุกต์กับอักษรสูงและอักษรต่ำ จะผันได้ ๓ เสียง แต่ก็สามารถผันให้ครบ ๕ เสียงเหมือนอักษรกลางได้ โดยใช้อักษรต่ำคู่

วรรณยุกต์แบ่งออกเป็น 4 รูปได้แก่

                     อักษรต่ำคู่ หมายถึง อักษรต่ำที่มีเสียงคู่กับอักษรสูง อักษรต่ำที่มีเสียงคู่กับอักษรสูง ได้แก่

อักษรต่ำคู่อักษรสูง                        ค  ฆ                            ข  ช  ฌ   ฉ   ซ    ศ  ษ  ส     ฑ  ฒ  ท  ธ     ฐ  ถ      พ  ภ      ผ        ฟ      ฝ        ฮ      ห

       ตัวอย่าง การผันวรรณยุกต์กับอักษรต่ำคู่

คำสามัญเอกโทตรีจัตวาเขาเขาเถ่าเท่า  เถ้าเท้าเถาเชาเชาเฉ่า  เช่า  เฉ้า  เช้าเฉา       เคา               เคา        เข่า   เค่า  เข้า      เค้า   เขา

วรรณยุกต์แบ่งออกเป็น 4 รูปได้แก่

            อักษรต่ำเดียว หมายถึง อักษรต่ำที่ไม่มีเสียงคู่กับอักษรสูง อักษรต่ำเดียว มี ๑๐ ตัว ได้แก่ ง ญ ณ น ม ร ล ว ฬ ซึ่งอักษรต่ำเดี่ยวสามารถผันวรรณยุกต์ให้ครบ ๕ เสียงได้ โดยใช้ อ หรือ ห นำ
             ตัวอย่าง การผันวรรณยุกต์กับอักษรเดี่ยว

คำสามัญเอกโทตรีจัตวายายา อย่า  หย่า  ย่า  หย้า  ย้าหยามีมีหมี่ มี่  หมี้  มี้หมี   ลอ           ลอ        หล่อ ล่อ  หล้อ   ล้อ  หลอ

วรรณยุกต์แบ่งออกเป็น 4 รูปได้แก่

     https://th.wikipedia.org/wiki/วรรณยุกต์
     http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/1696-00/

วรรณยุกต์แบ่งออกเป็น 4 รูปได้แก่

เสียงวรรณยุกต์จัตวามีอะไรบ้าง

อักษรสูง เป็นพยัญชนะที่มีเสียงวรรณยุกต์เป็นเสียงจัตวา มี 11 ตัว ได้แก่ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส และ ห

เสียงวรรณยุกต์มีกี่เสียงได้แก่อะไรบ้าง

เสียงวรรณยุกต์ หมายถึง เสียงที่มีทำนองสูง- ต่ำ ตามอักษร ๓ หมู่ (ไตรยางศ์) คำไทยทุกคำจะ มีเสียงวรรณยุกต์ โดยที่เสียงวรรณยุกต์นั้นจะมีเสียง๑ คือ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี เสียงจัตวา

การผันอักษรหมู่ใดใช้รูปวรรณยุกต์ครบทั้ง 4 รูป

อักษรกลางเป็นพยัญชนะเพียงหมู่เดียวที่สามารถผันวรรณยุกต์ได้ครบทั้ง ๕ เสียง ได้แก่ เสียงสามัญ, เสียงเอก, เสียงโท, เสียงตรี และเสียงจัตวา รวมทั้งมีรูปวรรณยุกต์ครบทั้งรูป ตรงกับเสียงของวรรณยุกต์ได้แก่รูปไม้เอก, ไม้โท, ไม้ตรีและไม้จัตวา ดังตัวอย่างต่อไปนี้

เสียงวรรณยุกต์เป็นแบบไหน

1. เสียงวรรณยุกต์ ไม่สามารถเกิดตามลำพัง จะเกิดพร้อมกับเสียงสระ 2. เสียงสระเป็นเสียงก้อง จึงช่วยทำให้เสียงวรรณยุกต์เกิดระดับสูงต่ำคล้ายเสียงดนตรี ถ้าเส้นเสียงสั่นสะเทือนมาก จะมีเสียงสูง เส้นเสียงสั่นสะเทือนน้อย จะมีเสียงต่ำ 3. เสียงวรรณยุกต์ ทำให้คำมีความหมายแตกต่างกันออกไป เช่น ปา ป่า ป้า ป๊า ป๋า, เสือ เสื่อ เสื้อ