จุด ประสงค์ ของการวิจารณ์งานศิลปะ

คือ การแสดงความคิดเห็น ซึ่งความคิดเห็นนั้นจะต้องกลั่นกรองมาจากความรู้ รวมทั้งประสบการณ์อันมีต่อผลงานทางศิลปะในหลากหลายรูปแบบ เช่น การวิจารณ์ งานจิตรกรรม , ประติมากรรม , สถาปัตยกรรม รวมทั้งงานศิลปะทางด้านอื่นๆ เพื่อให้ผู้สร้างงานเกิดข้อคิด กำลังใจ ได้นำคำวิจารณ์ไปปรับปรุงพัฒนาผลงานของตัวเองให้ดียิ่งขึ้น

ประโยชน์ของการวิจารณ์งานศิลปะ

เพื่อนำมาเป็นวิธีช่วยประกอบการตัดสินใจในการประเมินผลของการเรียนการสอน , การให้กำลังใจผู้สร้างผลงาน , ช่วยในการประกอบการตัดสินใจของการประกวดงานศิลปะ , ทำให้ผู้สร้างผลงานรู้ถึงข้อดี – ข้อเสียของงานตัวเอง จะได้เน้นในข้อดีและแก้ไขในจุดด้อยเองตัวเอง ให้เกิดการพัฒนายิ่งๆขึ้นไป

การวิเคราะห์วิจารณ์งานทัศนศิลป์ ทั้งของตนเองและผู้อื่น ภายในชิ้นงานที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว โดยผ่านการวิเคราะห์, สังเคราะห์ , ผ่านการตีความหมายของผลงานนั้นๆ ซึ่งผู้เขียนต้องการจะสื่อให้ผู้ชมรับรู้ , ผ่านการรวบรวมข้อมูลอันเกี่ยวกับผลงานให้ได้มากที่สุด แล้วนำมาตกผลึกกลั่นกรอง ให้กลายเป็นคำวิจารณ์เชิงสร้างสรรค์ เพื่อเป็นข้อคิดในการนำผลงานไปปรับปรุง ให้ผู้สร้างสรรค์ผลงานเกิดความรู้ ความเข้าใจ ในทักษะรวมทั้งกระบวนการคิดการสร้างงานศิลปะ เพื่อให้ทั้งผู้ชมและจิตรกรมีจิตสำนึกทางด้านบวก ช่วยกันอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมต่อไป นอกจากนี้ยังเป็นการฝึกให้ผู้สร้างสรรค์ผลงานและผู้ชม ได้แสดงความคิดเห็นร่วมกัน รู้จักเคารพในความคิดเห็นผู้อื่น เรียนรู้ข้อดี – ข้อด้อยของตัวเอง เป็นการเห็นต่างในทางที่ทำให้ศิลปินมีผลงานดีขึ้น

การวิเคราะห์วิจารณ์งานทัศนศิลป์ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

การวิจารณ์ตามความรู้สึก

การวิจารณ์ในข้อนี้ เป็นการวิจารณ์งานศิลปะที่ผู้แสดงทัศนะแสดงออกว่าชอบหรือไม่ชอบ มีความรู้สึกอย่างไรก็พรรณนาไปตามนั้น ซึ่งเป็นการวิจารณ์เน้นความรู้สึกส่วนตัวเป็นอย่างมาก โดยขาดทฤษฏีมารองรับจึงขาดความน่าเชื่อถือ จึงไม่ค่อยได้รับความนิยม

การวิจารณ์ตามเนื้อหาสาระ

เป็นการวิจารณ์อันแสดงออกถึงการวิเคราะห์อันผ่านกระบวนการคิด การตีความหมาย รวมทั้งการประเมินค่าอย่างมีหลักการเป็นที่ตั้ง ด้วยวิธีการวิจารณ์ในรูปแบบนี้จึงมีความน่าเชื่อถือค่อนข้างมาก อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมพัฒนาสุนทรียภาพ เนื่องจากอิงมาทฤษฏีบวกกับประสบการณ์ของผู้วิจารณ์จึงเป็นที่ยอมรับค่อนข้างมาก

การวิจารณ์ตามความรู้สึกผสมกับหลักทฤษฏี

เป็นการวิจารณ์ซึ่งผสมผสานระหว่างความรู้สึก ความชอบส่วนตัว กับหลักทฤษฏีที่มีความน่าเชื่อถือ หรือเนื้อหาสาระที่ได้รับการเขียนเป็นหนังสือ และได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในวงการศิลปะ การผนวกรวมกันในรูปแบบนี้เป็นการวิจารณ์ที่สร้างความสนุกสนาน แถมยังช่วยให้ผู้ชมคนอื่นๆสามารถเข้าถึงผลงานนั้นได้ง่ายดายยิ่งขึ้น แน่นอนว่าเป็นวิธีวิจารณ์ที่ได้รับความนิยมมาก เพราะผู้ฟังสามารถเข้าถึงได้หลายมิติ หรือแม้แต่คนที่ไม่รู้เรื่องในเรื่องราวของศิลปะมากนัก ก็สามารถเข้าใจได้เป็นอย่างดี

การวิเคราะห์งานศิลปะ คือ การพิจารณาอย่างถี่ถ้วนเพื่อศึกษางานศิลปะซึ่งมีการแบ่งออกเป็นส่วนๆ ไม่ว่าจะทางด้านทัศนธาตุ , องค์ประกอบศิลป์ รวมทั้งความสัมพันธ์ต่างๆ โดยนำข้อมูลในหลายปัจจัย ในหลายองค์ประกอบ มาประเมินผลงานทางด้านศิลปะว่ามีคุณค่าทางด้านใดบ้าง

การวิจารณ์งานศิลปะ คือ การแสดงความคิดเห็นทางด้านศิลปะ ที่ศิลปินได้รังสรรค์ขึ้นมา เป็นการแสดงทัศนะทางด้านสุนทรียศาสตร์ รวมทั้งสาระอื่นๆ เพื่อให้ได้นำไปปรับปรุงในผลงานชิ้นต่อไป หรือ ใช้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการตัดสินผลงาน อีกทั้งยังเป็นการฝึกวิธีวิเคราะห์ ให้เห็นความแตกต่างทางด้านคุณค่าในผลงานชิ้นนั้นๆ

คุณสมบัติที่นักวิจารณ์พึงมี

  • ต้องมีความรู้เกี่ยวกับศิลปะแบบกว้างขว้าง ในหลายด้าน
  • ต้องมีความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของศิลปะ
  • ต้องมีความรู้เกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์
  • ต้องมีวิสัยทัศน์กว้างขวาง มั่นใจในตนเอง
  • กล้าแสดงออกตามหลักวิชาการและตามความรู้สึกที่สั่งสมมาจากประสบการณ์

ทฤษฎีการสร้างงานศิลปะ สามารถแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ ได้แก่…

  • เลียนแบบ – เกิดจากการประจักษ์ในความงามในธรรมชาติ ศิลปินจึงได้ลอกเลียนแบบมา ให้มีความเหมือนทั้งรูปร่าง , รูปทรง และสีสัน
  • สร้างรูปทรงสวยงาม – คือ การสร้างสรรค์รูปทรงใหม่ ให้เกิดความสวยงาม และประกอบไปด้วยทัศนธาตุ ได้แก่ เส้น , รูปทรง , สี , น้ำหนัก , บริเวณว่าง รวมทั้งเทคนิคสร้างสรรค์ผลงาน
  • แสดงอารมณ์ – คือ สร้างงานให้มีความรู้สึก
  • แสดงจินตนาการ – คือ แสดงภาพจินตนาการให้ผู้ชมได้สัมผัส

แนวทางประเมินคุณค่าของงานศิลปะ

สำหรับการประเมินคุณค่างานศิลปะ จะมีการวิเคราะห์จาก 3 ด้าน ได้แก่…

ด้านความงาม

คือ การวิเคราะห์รวมทั้งประเมินคุณค่าทางด้านทักษะฝีมือ รวมทั้งการใช้ทัศนธาตุทางศิลปะ ตลอดจนการจัดองค์ประกอบศิลป์ เป็นการวิเคราะห์ว่าผลงานชิ้นนี้ มีการเปล่งประกายทางด้านความงดงามของศิลปะได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งทำให้ผู้ดูเกิดความเข้าใจในในสุนทรียภาพ โดยลักษณะของการแสดงออกทางด้านความงามในศิลปะ จะเต็มไปด้วยความหลากหลายซึ่งจะมีความแตกต่างกันออกไปตามแต่รูปแบบของยุคสมัย เพราะฉะนั้นเมื่อสรุปการวิเคราะห์ ตลอดจนการวิเคราะห์งานศิลปะทางด้านความงาม ซึ่งก็จะมีการตัดสินในเรื่องรูปแบบต่างๆ

ด้านสาระ

คือ การวิเคราะห์ เพื่อพิจารณาคุณค่าของผลงานศิลปะว่า มีคุณธรรม , จริยธรรม รวมทั้งแสดงให้เห็นถึงจุดประสงค์ทางด้านจิตวิทยารวมทั้งให้สิ่งใดต่อผู้ชมบ้าง โดยจะเป็นสาระที่เกี่ยวกับสิ่งใดก็ได้ไม่ว่าจะเป็น ธรรมชาติ , สังคม , ศาสนา , การเมือง , ความฝัน และอื่นๆ อีกมากมาย

 ด้านอารมณ์ความรู้สึก

คือ การประเมินคุณค่าทางด้านคุณสมบัติ ซึ่งเป็นการกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึก อีกทั้งยังเป็นการสื่อความหมายได้อย่างมีนัยยะสำคัญซ่อนอยู่ โดยเป็นผลของการใช้เทคนิคซึ่งแสดงออกให้เห็นถึงความคิด , พลัง ตลอดจนความรู้สึกที่ปรากฏอยู่ในผลงาน

จุดประสงค์ของการวิจารณ์งานทัศนศิลป์คือข้อใด

เป้าหมายของการวิจารณ์ผลงานงานทัศนศิลป์ 1. เพื่อให้ผู้วิจารณ์ได้แสดงออกทางความคิดเห็น และติชม ต่อผลงาน 2. เพื่อให้ผู้วิจารณ์มีข้อมูลและความพร้อมในการวิจารณ์ผลงานทางทัศนศิลป์ทุกสาขา 3. เพื่อเป็นการถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ของผู้วิจารณ์ให้กับผู้ที่สนใจได้อย่างถูกต้อง

การวิจารณ์งานศิลปะ มีอะไรบ้าง

กระบวนการวิจารณ์งานศิลปะตามหลักการและวิธีการ.
ขั้นระบุข้อมูลของผลงาน เป็นข้อมูลรายละเอียดสังเขปเกี่ยวกับประเภทของงาน ชื่อผลงาน ชื่อศิลปิน ขนาด วัสดุ เทคนิค วิธีการ สร้างเมื่อ พ.ศ.ใด ปัจจุบันติดตั้งอยู่ที่ไหน รูปแบบการสร้างสรรค์เป็นแบบใด.
ขั้นตอนการพรรณนาผลงาน ... .
ขั้นวิเคราะห์ ... .
ขั้นตีความ ... .
ขั้นประเมินผล.

เป้าหมายของการวิจารณ์ผลงานทัศนศิลป์ มีกี่ข้อ อะไรบ้าง

เป้าหมายของการวิจารณ์ผลงานงานทัศนศิลป์.
เพื่อให้ผู้วิจารณ์ได้แสดงออกทางความคิดเห็น และติชม ต่อผลงาน.
เพื่อให้ผู้วิจารณ์มีข้อมูลและความพร้อมในการวิจารณ์ผลงานทางทัศนศิลป์ทุกสาขา.
เพื่อเป็นการถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ของผู้วิจารณ์ให้กับผู้ที่สนใจได้อย่างถูกต้อง.

ประโยชน์ของการวิจารณ์มีอะไรบ้าง

ทำให้ทราบถึงความเคลื่อนไหวของวงการศิลปะ และสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน.
ทำให้เกิดปัญญาที่สามารถรู้หรือให้เหตุผลที่ถูกต้อง.
มีความละเอียดประณีตอยู่ในส่วนลึกของจิตใจ.
มีเหตุผล มีความเที่ยงธรรม.
ทำให้เป็นผู้แสวงหาความรู้อยู่เสมอ.