ขั้นตอนการซื้อบ้านกับธนาคาร

บ้านมือสองมีขั้นตอนการซื้อ ที่กระบวนการค่อนข้างเยอะ หากซื้อกับคนทั่วไปจะต้องดำเนินการขั้นตอนยุ่งยากทั้งหมดเอง เพราะไม่มีเจ้าหน้าที่คอยอำนวยความสะดวกทุกขั้นตอนให้เหมือนที่บางกอก แอสเซทฯ แต่เราสรุปคู่มือการซื้อบ้านมือสองสั้นๆ 10 ขั้นตอนมาฝากทุกคนด้วยครับ

Show

1. ประเมินความพร้อมด้านการเงิน (กู้ได้เท่าไหร่/ผ่อนไหวมั้ย)

ก่อนที่จะวางแผนซื้อบ้านหรือคอนโดฯมือนั้นต้องประเมิณความสามารถในการกู้ และผ่อนไหวเท่าไหนเป็นอันดับแรก 

เกณฑ์ทั่วไปที่ใช้ก็คือเงินงวดที่ผ่อนชำระค่าบ้านต่อเดือนกำหนดไว้ 35-40% ของรายได้สุทธิ (ส่วนใหญ่ไม่เกิน 1 ใน 3 ของรายได้สุทธิ) เช่น ถ้ามีรายได้ 40,000 บาทต่อเดือน ศักยภาพในการผ่อนชำระคือ 16,000-17,000 บาทต่อเดือน และค่ากลางในการคำนวณอัตราผ่อนชำระก็คือวงเงิน 1 ล้านบาท จะมีอัตราผ่อนชำระประมาณ 7,000-8,000 บาทต่อเดือน ดังนั้นถ้ามีรายได้ 40,000 บาท วงเงินสินเชื่อที่จะได้โดยประมาณก็คือ 17,000÷7,000 = 2.5 ล้านบาท

กรณีวงเงินที่ได้รับน้อยกว่าที่ต้องการ ทางเลือกที่พอทำได้คือต้องหาผู้กู้ร่วม หรือไม่ก็ต้องหาเงินส่วนตัวมาเพิ่ม

หลังจากรู้ว่าเรามีความสามารถกู้และผ่อนไหวเท่าไหร่แล้ว เรื่องสำคัญถัดมาคือเงินออมอย่างน้อย 20% ของราคาบ้านที่ต้องการ และควรเผื่อค่าปรับปรุงบ้านไว้ส่วนหนึ่งด้วย 

*แต่ถ้าซื้อบ้านกับบางกอก แอสเซทฯ คุณจะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆในการรีโนเวทบ้าน เพราะเราทำมาให้เหมือนบ้านใหม่พร้อมอยู่

3.เลือกซื้อบ้านมือสองจากที่ไหนบ้าง

3.1 ซื้อบ้านจาก “เจ้าของขายเอง” 

กรณีซื้อจากเจ้าของโดยตรงนั้นเราจะต่อรองราคาได้ทันทีมีการติดต่อที่ง่าย ไม่ต้องคุยหลายส่วนให้เสียเวลา 

3.2 ซื้อบ้านจากธนาคาร (NPA)

ทรัพย์สินรอการขายของธนาคารหมายถึงบ้านที่ยึดมาจากลูกหนี้เดิมที่ผิดชำระ ในกรณีนี้บ้านจะมีราคาถูกว่าทั่วไป เพราะธนาคารผู้เป็นเจ้าหนี้ก็อยากได้คนที่ต้องการบ้านนั้นมาเป็นลูกหนี้รายต่อไปไวๆ 

สิ่งที่ต้องระวัง ตรวจสอบก่อนว่าเจ้าของเดิมย้ายออกหรือยัง ถ้ายังธนาคารต้องเป็นฝ่ายจัดการให้เราก่อน 

3.3 เข้าประมูลทรัพย์จากกรมบังคับคดี 

นอกจากทรัพย์จากธนาคารที่ราคาถูกแล้วยังมีจากกรมบังคับคดี อีกทางเลือกที่คนยังเข้าถึงไม่เยอะ เพราะเป็นบ้านที่อยู่ในคดีฟ้องร้อง  

สิ่งที่ต้องระวัง เช่นเดียวกับการซื้อจากธนาคารคือการตรวจสอบว่ามีคนอาศัยอยู่หรือเปล่า มีคดีค้างคาอยู่ในลำดับไหนแล้วเราต้องรู้ที่มาที่ไปทั้งหมดก่อน

3.4 ซื้อบ้านจากนายหน้า (Agent, Broker)

ถ้าติดต่อผ่านนายหน้า หรือตัวแทนขายที่เป็นบริษัทเช่นที่บางกอก แอสเซทฯ จะมีข้อมูลบ้านหลายหลังอยู่ในมืออยู่แล้ว มีโอกาสได้บ้านที่ถูกใจ ประหยัดเวลาไปได้เยอะ เพราะตัวแทนมีการดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมทั้งนิติกรรมด้วย 

สิ่งที่ต้องระวัง คือการยืนยันตัวของนายหน้าและเจ้าของบ้านตัวจริง วันที่ทำสัญญาต้องดูให้ดีว่าโฉนดนั้นชื่อตรงกับคยที่เราคุยไหม ถ้าตรงถึงจะทำสัญญา 

4. เลือกโครงการ (จากทำเล ราคา แบบบ้าน งบประมาณ)

ต้องเลือกว่าจะซื้อที่อยู่อาศัยประเภทไหน เช่น คอนโดฯ ทาวน์เฮ้าส์ บ้านแฝด หรือบ้านเดี่ยว โดยให้เลือกไว้เป็นตัวเลือกอย่างน้อย 3-4 โครงการเพื่อเปรียบเทียบ แล้วเลือกจากโครงการที่ถูกใจที่สุดและเหมาะสมที่สุด

หลังจากเลือกบ้านหรือคอนโดฯได้แล้ว ให้นัดติดต่อขอดูบ้านจากเจ้าของหรือตัวแทนขาย จากนั้นคุยเรื่องการต่อรองราคา

ขอดูเอกสารหลักฐานการถือครองกรรมสิทธิ์หลักทรัพย์ เช่น โฉนดที่ดิน หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์อาคารชุด ควรตรวจสอบชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ พร้อมบัตรประชาชน ก่อนการจัดทำสัญญา

ถ้าเป็นบ้านสร้างเองบนที่ดินส่วนบุคคล ควรตรวจสอบให้ดีว่า บ้านกับที่ดินเป็นชื่อบุคคลเดียวกันไหม ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างได้ถูกต้องหรือไม่

7. ตรวจสอบข้อมูลทางกฏหมาย 

ตรวจสอบเรื่องการเวนคืนที่ดิน ถ้าอยู่ในเขตเสี่ยง เช่น อยู่ใกล้พื้นที่ของหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ กรมทางหลวง ถนนสายใหม่ๆ เป็นต้น 

ตรวจดูข้อมูลว่าติดภาระจำนองหรือไม่ เพราะการซื้อบ้านมือสองส่วนใหญ่จะติดจำนองจากธนาคารเดิม ต้องทำการไถ่ถอนจำนองมาก่อน แล้วค่อยโอนกรรมสิทธิ์ ซึ่งในส่วนนี้บางกอก แอสเซทฯ มีเจ้าหน้าที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้ทุกขั้นตอนตั้งแต่แรกจนถึงวันโอนฯ เลยครับ  

การเลือกซื้อบ้านนอกจากจะต้องดูเรื่องทำเลที่อยู่อาศัย หรือสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างครบครันเพื่อตอบโจทย์ความต้องการด้านไลฟ์สไตล์ชีวิตแล้ว การคำนึงถึงงบประมาณและค่าใช้จ่ายต่างๆ เกี่ยวกับบ้านก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน ดังนั้น สำหรับใครที่ตัดสินใจกู้ซื้อบ้านล่ะก็ เพื่อให้คุณได้มีการเตรียมตัวที่ดี เพื่อให้ผ่านขั้นตอนการกู้ซื้อบ้านอย่างราบรื่น การเตรียมความพร้อมตั้งแต่เนิ่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการหาข้อมูลสินเชื่อ จัดระเบียบบัญชีสำหรับให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ และสิ่งอื่นๆ ที่ควรรู้ จะช่วยเพิ่มความมั่นใจว่าการกู้ซื้อบ้านในครั้งนี้จะผ่านไปได้ด้วยดีอย่างแน่นอน

 

ขั้นตอนการซื้อบ้านกับธนาคาร

หาข้อมูลสินเชื่อสำหรับการเลือกซื้อบ้าน

ในการซื้อบ้านต้องเตรียมอะไรบ้างนั้น อย่างแรกเลยก็คือการหาข้อมูลสินเชื่อเพื่อการกู้เงิน เนื่องจากสินเชื่อบ้านเป็นเงินกู้ที่สถาบันการเงินจะเป็นผู้มอบให้เพื่อใช้สำหรับการซื้อบ้านหลังนั้นๆ โดยเมื่อคุณได้วงเงินดังกล่าวแล้ว จะต้องมีการแบ่งชำระออกเป็นงวดๆ พร้อมดอกเบี้ยตามที่สถาบันการเงินเป็นผู้กำหนดไว้

จากที่กล่าวในข้างต้นนี้เอง จึงเป็นสาเหตุที่ว่าทำไมสินเชื่อถึงมีความสำคัญต่อการกู้ซื้อบ้าน เพราะหากมีการเตรียมตัวที่ดีทั้งในด้านข้อมูลหรือเอกสารต่างๆ จะทำให้การกู้ซื้อบ้านเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น

 

ข้อดี-ข้อเสียของสินเชื่อ

สินเชื่อบ้านเป็นสิ่งที่สำคัญและมีผลต่อการกู้เพื่อการเลือกซื้อบ้านอย่างยิ่ง ดังนั้น การทำความเข้าใจถึงข้อดีและข้อเสียอย่างละเอียด และครบถ้วนจะทำให้คุณรู้เท่าทัน เพื่อพร้อมรับมือกับทุกเหตุการณ์ในการขอสินเชื่อได้เป็นอย่างดี

 

ข้อดี

  • เมื่อสถาบันการเงินได้รับเรื่องและทำการตรวจสอบอนุมัติวงเงินแล้ว ก็สามารถรับเงินและนำไปใช้ได้ทันที
  • สามารถผ่อนชำระเป็นงวดๆ ได้ ตามที่ผู้กู้และสถาบันการเงินมีการตกลงกันตามสัญญา
  • มีการระบุดอกเบี้ยอย่างชัดเจน ไม่ต้องกังวลว่าจะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

ข้อเสีย

  • หากคุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อไม่ผ่าน จะทำให้ไม่สามารถทำเรื่องเพื่อขอรับเงินอนุมัติกับสถาบันการเงินนั้นๆ ได้อีก และอาจมีการบันทึกประวัติของการขอสินเชื่อว่าเพราะเหตุใดจึงไม่ผ่านการอนุมัติ ซึ่งจุดนี้อาจจะส่งผลต่อการขอกู้สินเชื่อกับสถาบันการเงินอื่นๆ ได้
  • เนื่องจากแต่ละสถาบันการเงินมีอัตราดอกเบี้ยที่ไม่เท่ากัน จึงควรศึกษาอย่างละเอียดก่อนการตัดสินใจกู้
  • ถ้าไม่สามารถชำระเงินได้ทันตามที่กำหนดในสัญญา อาจโดนปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยได้

ประเภทดอกเบี้ยของสินเชื่อ

อีกหนึ่งขั้นตอนก่อนการกู้สินเชื่อเพื่อซื้อบ้านที่ต้องให้ความสำคัญคือ ควรทำการศึกษารายละเอียดของดอกเบี้ยที่จะต้องชำระ ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยก็จะมีหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัว หรืออัตราดอกเบี้ยแบบผสม ซึ่งแต่ละประเภทจะเป็นอย่างไรบ้าง ต้องไปดูกันเลย

●      อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่

อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่เป็นอัตราที่ถูกกำหนดไว้แล้วว่าจะต้องชำระเท่าไรในแต่ละงวด โดยจะมียอดชำระแบบตายตัว จึงทำให้คุณจ่ายอัตราดอกเบี้ยในยอดจำนวนที่เท่าเดิมอยู่เสมอ ผลดีก็คือ จะทำให้ระยะเวลาในการผ่อนชำระหมดลงอย่างรวดเร็ว

●      อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัว

อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัวเป็นประเภทดอกเบี้ยที่มีการปรับขึ้นลงตามที่สถาบันการเงินเป็นผู้กำหนด เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้ไม่สามารถคาดการณ์ถึงยอดชำระดอกเบี้ยได้เลย ยกตัวอย่างเช่น หากในงวดนั้นๆ มีการปรับดอกเบี้ยลดลง ก็จะทำให้ค่าใช้จ่ายเบาลง แต่หากมีการปรับดอกเบี้ยขึ้น ก็จำเป็นที่จะต้องชำระเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

●      อัตราดอกเบี้ยแบบผสม

หากคุณสามารถชำระค่างวดบ้านพร้อมดอกเบี้ยได้อย่างสม่ำเสมอ อัตราดอกเบี้ยแบบผสมถือเป็นตัวเลือกที่ดีอย่างยิ่ง เพราะอัตราดอกเบี้ยประเภทดังกล่าว จะกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำในช่วงแรก เพื่อให้ผู้ขอสินเชื่อสามารถชำระได้อย่างรวดเร็ว สามารถลดภาระหนี้สินอย่างว่องไว แต่หากปล่อยค้างชำระไว้นานแล้วล่ะก็ อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจะปรับเพิ่มสูงขึ้น จนกระทั่งอาจสร้างปัญหาในภายหลังได้เลย

เปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของแต่ละธนาคาร

สำหรับคำถามที่ว่า หากคุณจะซื้อบ้านต้องเตรียมตัวหาข้อมูลอะไรบ้างนั้น ก็คงหนีไม่พ้นเรื่องการเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของแต่ละธนาคาร เพื่อให้ได้รับข้อเสนอที่ดีที่สุด ซึ่งหากคุณเลือกอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ไม่สูงมาก ส่งผลให้ไม่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายที่สูงเกินไป และสามารถผ่อนชำระได้เร็วมากขึ้น

 

ขั้นตอนการซื้อบ้านกับธนาคาร

เตรียมตัวจัดระเบียบบัญชี เคลียร์หนี้ให้พร้อม

เมื่อหาข้อมูลสินเชื่อและทำความเข้าใจกับอัตราดอกเบี้ยในแต่ละประเภทเป็นอย่างดีแล้ว ขั้นตอนถัดไปก็คือการเตรียมตัวจัดระเบียบบัญชีให้พร้อมสำหรับการเลือกซื้อบ้านนั่นเอง เนื่องจากในการกู้เงินซื้อบ้านจะต้องมีการวางแผนและเตรียมความพร้อมในหลายๆ ด้าน เพื่อให้การกู้เป็นไปได้ด้วยดี ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสภาพคล่องทางการเงิน การคำนวณค่าใช้จ่ายต่างๆ การประเมินความสามารถในการชำระเงินของตนเอง ตลอดจนการจัดระเบียบรายการเดินบัญชีไว้สำหรับการยื่นเรื่องกับทางสถาบันการเงิน

 

ขั้นตอนการซื้อบ้านกับธนาคาร

●  เคลียร์หนี้สินที่มี ให้เกิดสภาพคล่องทางการเงิน

การขอสินเชื่อจะเป็นไปได้ยาก หากมีปัญหาหนี้สินหรือยอดชำระค้างอยู่ เนื่องจากทางสถาบันการเงินอาจประเมินและคาดการณ์ได้ว่าคุณกำลังมีปัญหาเรื่องการเงินอยู่ ดังนั้นแล้ว การเคลียร์หนี้สินที่มีอยู่ให้หมดไป จะทำให้เกิดสภาพคล่องทางการเงินมากขึ้น ส่งผลให้ขั้นตอนการกู้ซื้อบ้านเป็นไปได้ด้วยดี

 

ขั้นตอนการซื้อบ้านกับธนาคาร

●  ออมเงินสำหรับค่าส่วนต่าง และค่าใช้จ่ายต่างๆ

นอกจากการเคลียร์หนี้สินแล้ว การออมเงินไว้ใช้สำหรับค่าใช้จ่ายต่างๆ ก็มีส่วนช่วยให้เกิดสภาพคล่องทางการเงินได้เช่นกัน เพราะเมื่อคุณมีเงินสำรองจ่ายสำหรับเงินดาวน์บ้าน ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายต่างๆ อย่างน้อยร้อยละ 20 จากเงินออมทั้งหมด ที่จะช่วยให้คุณได้รู้สึกอุ่นใจมากยิ่งขึ้น

 

ขั้นตอนการซื้อบ้านกับธนาคาร

●  เงินเดือนเท่านี้ กู้ได้เท่าไร

ในการเลือกซื้อบ้านสิ่งที่สำคัญเป็นอันดับแรกคือการประเมินเงินเดือน และความสามารถในการกู้ของตนเอง เพราะในความเป็นจริงแล้ว ธนาคารส่วนใหญ่มักกำหนดให้ผู้กู้มีหนี้สินได้สูงสุดร้อยละ 40 ของรายได้เท่านั้น ส่งผลให้คุณต้องเลือกราคาบ้านที่เหมาะสม สอดคล้องกับรายรับรายจ่าย ซึ่งจะทำให้คุณไม่ต้องมีปัญหากับค่าใช้จ่ายที่เกินตัว

 

ขั้นตอนการซื้อบ้านกับธนาคาร

●   จัดระเบียบรายการเดินบัญชี

หากคุณเป็นผู้มีรายได้จากเงินเดือนที่ทำประจำ การจัดระเบียบรายการเดินบัญชีก็อาจจะไม่ยุ่งยากสักเท่าไหร่ เพราะมีหนังสือรับรองจากทางบริษัท แต่สำหรับผู้ที่มีอาชีพรับจ้างอิสระหรือฟรีแลนซ์ ก็อาจจะจำเป็นที่จะต้องทำเอกสารและจัดระเบียบรายการเดินบัญชีขึ้นมา เพื่อใช้เป็นหลักฐานในขั้นตอนกู้ซื้อบ้านด้วยตนเอง

 

ขั้นตอนการซื้อบ้านกับธนาคาร

ขั้นตอนการกู้ซื้อบ้านกับธนาคาร ที่ควรรู้

การกู้สินเชื่อกับสถาบันการเงินอย่างธนาคารเป็นแหล่งกู้ที่น่าเชื่อถือ เพราะสามารถตรวจสอบข้อมูล มีการทำสัญญาอย่างถูกต้อง แต่ถึงอย่างไรก็ตามขั้นตอนการกู้ซื้อบ้านกับธนาคารจำเป็นต้องเตรียมเอกสารค่อนข้างเยอะ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบและประเมินก่อนอนุมัติวงเงิน ซึ่งจะมีขั้นตอนในการกู้สินเชื่อ ดังนี้

1. เตรียมเอกสารกู้เงิน

ให้คุณได้ผ่านขั้นตอนการกู้ซื้อบ้านได้แบบผ่านฉลุยด้วยการเตรียมเอกสารต่างๆ ที่จำเป็น ดังนี้

  • สำเนาบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทาง
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สำเนารับรองสถานภาพสมรส โสด หรือหย่าร้าง
  • สำเนาเปลี่ยนชื่อ (หากมี)
  • หนังสือรับรองเงินเดือน
  • สมุดบัญชีเงินฝากหรือเอกสารแสดงรายได้อื่นๆ
  • ข้อมูลโครงการบ้านที่เลือกซื้อ

2. ส่งเอกสารกู้เงินและรอฟังผล

ถ้าคุณรวบรวมเอกสารสำหรับขั้นตอนการกู้ซื้อบ้านเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้ทำการส่งเอกสารกู้เงินกับทางธนาคารที่เลือกไว้และรอฟังผล จนกระทั่งเจ้าหน้าที่ประเมินเรียบร้อยดีแล้วก่อนอนุมัติวงเงินกู้

3. เจ้าหน้าที่ประเมินเพื่ออนุมัติ

โดยส่วนใหญ่แล้ว ในขั้นตอนการอนุมัติ ทางเจ้าหน้าที่จะประเมินและแจ้งผลให้ผู้ยื่นขอสินเชื่อภายใน 7 วันทำการก่อนจะนำไปสู่การทำเอกสารสัญญากู้เงินและจดจำนองซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้าย

4. ทำเอกสารสัญญากู้เงินและจดจำนอง

เมื่อได้รับการอนุมัติแล้ว ทางเจ้าหน้าที่ธนาคารจะทำการเรียกผู้ยื่นสินเชื่อเพื่อทำเอกสารสัญญาเงินกู้พร้อมชี้แจงเรื่องการจดจำนอง หรือหลักประกันที่ใช้สำหรับการกู้ ซึ่งการจดจำนองจะคิดเป็นจำนวน 1% ของวงเงินที่กู้มา

 

ขั้นตอนการซื้อบ้านกับธนาคาร

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนการเลือกซื้อบ้าน

เรียกได้ว่ากว่าจะยื่นเอกสารกู้เงินจนผ่านการอนุมัติ จำเป็นที่จะต้องผ่านขั้นตอนต่างๆ มากมาย ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องคำนึงถัดมาก็คือจะซื้อบ้านต้องดูอะไรบ้าง ซึ่งคุณสามารถพิจารณาได้จากโครงการบ้าน ประเภทบ้าน หรือทำเลที่ต้องการ เพื่อตอบสนองกับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตตามที่คุณต้องการ

●  โครงการตอบโจทย์การใช้ชีวิต

เติมเต็มไลฟ์สไตล์ชีวิตด้วยโครงการบ้านที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่างๆ อย่างครบถ้วน เช่น ในด้านฟังก์ชันการใช้งานที่ตอบโจทย์ความต้องการของเจ้าของบ้านและผู้อยู่อาศัย เพื่อให้มีความสุขในทุกๆ วัน หรือจะเป็นการบริการของโครงการในด้านความปลอดภัยเองที่ทำให้ผู้อยู่อาศัยอุ่นใจและรู้สึกปลอดภัย

●  ประเภทบ้านที่อยากได้

นอกจากจะเลือกจากโครงการที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตแล้ว การเลือกประเภทของบ้านที่อยู่อาศัยก็สำคัญเช่นกัน เพื่อให้รองรับจำนวนผู้อาศัยได้อย่างพอดีพอเหมาะ สอดคล้องกับรูปแบบการใช้ชีวิตที่ต้องทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อเติมเต็มทุกความสุขให้กับทุกคนในบ้าน

●  ทำเลที่ต้องการ

เวลาเลือกซื้อบ้านหลายๆ คนมักจะเลือกทำเลที่ต้องการก่อนเป็นสิ่งแรก เนื่องจากว่าในปัจจุบัน ด้วยโครงการและประเภทของบ้านที่มีให้เลือกหลากหลายแบบ จึงทำให้ผู้ที่ต้องการซื้อบ้านมองว่า การได้บ้านทำเลดี ใกล้ห้างสรรพสินค้าหรือรถไฟฟ้า และสถานที่อื่นๆ เป็นสิ่งที่จำเป็นมากกว่า เพื่อการเดินทางที่สะดวกสบาย ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตนั่นเอง

สำหรับขั้นตอนต่างๆ ที่ได้ลิสต์มาให้แล้วนั้น ทุกคนควรที่จะศึกษาและทำความเข้าใจเพิ่มเติมก่อนที่จะทำการเลือกซื้อบ้าน รวมถึงเช็กให้เรียบร้อยว่าจะกู้สินเชื่อเพื่อซื้อบ้านต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง เพื่อให้มีความพร้อมในการยื่นกู้ และที่สำคัญอย่างยิ่ง การกู้ซื้อบ้านจะต้องไม่เป็นภาระต่อผู้ซื้อ เพราะไม่อย่างนั้นแล้ว แม้ว่าจะมีบ้านเป็นของตัวเองได้ แต่ก็สร้างภาระค่าใช้จ่ายที่มากเกินไปและอาจส่งผลเสียต่อประวัติทางการเงินของเราอีกด้วย

ซื้อบ้านกับธนาคารยังไง

4 Steps กู้ซื้อบ้านอย่างไรให้ผ่านฉลุย.
1. เตรียมเอกสารการกู้เงิน ... .
2. หาอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมเปรียบเทียบของแต่ละธนาคาร ... .
3. ยื่นเอกสาร รอฟังผลกับทางธนาคารและเลือกธนาคารที่ตรงกับความต้องการ ... .
4. ตรวจรับโอนบ้านและจดจำนอง.

ขั้นตอนการซื้อบ้านมีอะไรบ้าง

5 ขั้นตอนซื้อบ้านใหม่แบบง่ายๆ.
1.เลือกโครงการ ... .
2.จอง ทำสัญญาและผ่อนดาวน์ ... .
3.ยื่นกู้ ... .
4.ตรวจรับงานก่อสร้าง ... .
5.โอนกรรมสิทธิ์.

ผ่อนบ้านกับธนาคารไหนดี

5 อันดับดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าน แบงก์ไหนถูกสุด !.
1. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) : ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรก 2.77% ต่อปี ... .
2. ธนาคารทหารไทย : ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรก 2.89% ต่อปี ... .
3. ธนาคารออมสิน : ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรก 2.90% ต่อปี ... .
4. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา : ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรก 2.90% ต่อปี.

ซื้อบ้านหลังแรกต้องทํายังไงบ้าง

ซื้อบ้านหลังแรก เลือกอย่างไรให้คุ้มค่า.
1. ตรวจสอบระบบ HVAC ภายในตัวบ้าน ... .
2. ดีไซน์ของตัวบ้าน และการตกแต่งภายใน ... .
3. พยายามอย่าคิดเล็กคิดน้อย ... .
4. ใส่ใจเพื่อนบ้านรอบข้างด้วย ... .
5. ความน่าเชื่อถือของโครงการ ... .
6. อย่าหลงคำเซลส์ ... .
7. เช็กเครดิตเรื่องการเงินดีหรือยัง.