Maslow Hierarchy of Needs คือ

ทฤษฎีความต้องการของมนุษย์ของมาสโลว์ พยายามอธิบายโดยการศึกษาคน และพยายามจัดชั้นความต้องการ เบื้องต้นแบ่งออกมาเป็นห้าระดับ ผมขออนุญาตลอกมาจากในเนท ซึ่งผมคิดว่าอธิบายได้ดี เลยเอามาใส่เก็บไว้เป็นความรู้

Maslow Hierarchy of Needs คือ

 

NEEDS THEORY  ความต้องการ 5 ระดับของมนุษย์ (ซึ่งถ้าแบ่งละเอียดจริงๆจะมีอยู่ 7 ระดับค่ะ โดยในขั้นที่ 4 จะมีซ่อนอยู่ 2 ระดับ)

…ตาคนนี้เค้าบอกว่าภายในความต้องการของมนุษย์มีความกลัวซ่อนอยู่ค่ะู่ จึงก่อให้เกิดความขัดแย้ง โดยเริ่มจากความขัดแย้งในตัวเอง และ ขัดแย้งกับบุคคลอื่น (เราเป็นพวกถึงแม้จะสงบ เราก็รบไม่ขาดน่ะค่ะ)

ประเด็นสำคัญของ MASLOW ก็คือ เมื่อมนุษย์ได้รับความพอใจจากแต่ละขั้นแล้วก็ยังไม่หยุด แต่ยังมีความต้องการในระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างไม่หยุดยั้ง..

หลายคนอาจเชื่อ MASLOW นะคะ เพราะทฤษฎีนี้กว้างขวางมากเลย แม้แต่ในหลักการของการตลาด ก็ยังเอ่ยอ้างอยู่บ่อยไป ..คุณความดีอันหนึ่งที่เ็ห็นชัดในเรื่องของการตลาดก็คือทฤษฎีนี้ทำให้เรา รู้ว่ายังมีอีกหลายๆช่องทางเหลือเกินในการเล่นกับความต้องการของมนุษย์ น่ะค่ะ ^ ^

แต่ถ้าเราดูสังคมปัจจุบันแล้วจะเห็นว่ายังมีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่มีความต้องการอย่างไม่เป็นไปตามขั้นตอนของมาสโลว์เสมอไปนะคะ เพราะเรามีความต้องการหลายขั้นตอนในเวลาเดียวกันอย่างน่าปวดหัวเชียวล่ะค่ะ และสนองตอบได้ยากเย็นกว่าสถานการณ์ที่เป็นไปตาม แบบที่ คุณ MASLOW ท่านเคยว่าไว้..

เอาเรื่องแฟชั่นนะคะ..มนุษย์ตามแฟชั่น ก็เพราะความต้องการการยอมรับ (Esteem needs) และต้องการการเป็นส่วนหนึ่งเช่นเดียวกับคนอื่นๆ (BELONGINGNESS) ตลอดจนการต้องการความรัก (LOVE NEEDS) .. เพราะเมื่อเราใช้สินค้าแฟชั่นที่ผู้คนเขานิยมใช้กัน เราก็กลายเป็นพวกเดียวกันกับเค้า..ซึ่ง เท่ากับเราได้รับการยอมรับ..นอกจากนี้ เพศตรงข้ามก็ยังนิยมคนในรูปแบบเดียวกันอีก.. ดังนั้น จึงมีโอกาสนำไปสู่ความรักได้เช่นเดียวกันค่ะ

ความต้องการของเราคงไม่ได้เป็นเส้นตรงตามหลักปิระมิดของท่านมาสโลว์เสมอไปมั้งคะ ^ ^

Reference: 

…………………………………..

ในปี 1970 ซึ่งเป็นช่วงปีสุดท้ายในชีวิตของมาสโลว์ ท่านตีพิมพ์บทความแก้ไขโมเดลความต้องการของมนุษย์เดิม โดยต่อยอดขึ้นมาอีกสองชั้น คือ ความต้องการเกี่ยวกับการรับรู้/การเข้าใจ (cognitive needs) และ ความต้องการเกี่ยวกับสุนทรียภาพ (aesthetic needs)

ความต้องการในระดับที่หก (cognitive needs) เป็นความต้องการที่ไม่เกี่ยวกับกายภาพ เป็นเรื่องของจิตใจล้วนๆ เมื่อตัวตนไม่มี มนุษย์เริ่มมองหาจุดมุ่งหมายของชีวิต เป็นการมองย้อนกลับมาในจิตใจของตน ผมคิดว่าเป็นระดับของปรัชญาและอภิปรัชญา เป็นเรื่องของธรรมชาติ คือเรื่องของความจริง เป็นการ “บรรลุ” ทางโลก ซึ่งในบางครั้ง ทำให้เข้าใจถึงศักยภาพที่แท้จริงของมนุษยชาติ ซึ่งมาสโลว์บรรยายไว้ใน The Farther Reaches of Human Nature ซึ่งตีพิมพ์หลังจากที่ท่านเสียชีวิตไปแล้ว

ส่วนความต้องการในระดับสุดท้ายที่มาสโลว์เสนอไว้คือความต้องการ(เสพ)สุนทรียภาพ (aesthetic needs) เป็นเรื่องเกี่ยวกับความสวยงาม ความละเมียดละไม ไม่มีเชื้อชาติ ความแตกต่างใดๆ สิ่งต่างๆ จะดีหรือไม่ดี มีความสมบูรณ์ในตัวของตัวเอง ไม่ขึ้นกับผู้สร้างสรรค์ ไม่ขึ้นกับว่าผลจะตกอยู่กับใครหรือทำให้ใคร ทำงานเพื่องาน ทำดีเพื่อให้เกิดสิ่งดี ทำสิ่งสวยงามเพราะความสวยงาม

ทฤษฎีอันโด่งดังทางด้านจิตวิทยาที่มีมานานที่เกี่ยวกับแรงจูงใจของมนุษย์ (Motivation) กับแนวคิดที่เกี่ยวกับลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ (Hierarchy of Needs) ได้ถูกตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในปีค.ศ. 1943 ในเอกสารที่ชื่อทฤษฎีแรงจูงใจของมนุษย์ (A Theory of Human Motivation) โดยเรามักจะคุ้นหูในชื่อว่า “ลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (Maslow’s Hierarchy of Needs) ถือเป็นแนวคิดที่ถูกทำมาปรับใช้กับการทำการตลาดให้กับสินค้าหรือบริการ การทำธุรกิจในแบบต่างๆอย่างแพร่หลาย รวมถึงนำมาปรับใช้กับวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ซึ่งถือว่ายังเป็นแนวคิดที่สำคัญที่ยังสามารถนำมาใช้ได้ในยุคปัจจุบัน

ทฤษฎี Hierarchy of Needs ที่ Maslow คิดค้นเพื่อเติมเต็มความต้องการของมนุษย์ โดยมีความเชื่อว่าเมื่อมนุษย์สนองความต้องการในระดับแรกแล้ว (Physiological) มนุษย์จะมีความต้องการเพิ่มขึ้นในระดับต่อ ๆ ไปจนถึงขั้นสุดท้าย (Self-Actualization) ทฤษฎีนี้จึงถูกนำมาใช้ในการตลาดเพื่อดูพฤติกรรมและสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างดี

Hierarchy of needs มีทั้งหมด 5 ระดับด้วยกัน

  1. Physiological needs
    ในขั้นแรกจะเป็นพื้นฐานความต้องการของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็น 4 ปัจจัยหลักในการดำรงชีพประกอบด้วย อาหาร น้ำ ยา เครื่องนุ่งห่ม จึงเรียกได้ว่าเป็นความต้องการพื้นฐานที่สำคัญที่สุด
  2. Safety needs
    ในขั้นที่สองจะเพิ่มเติมขึ้นมาเรื่องของความปลอดภัยที่ควรจะได้รับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเงิน สุขภาพ อุบัติเหตุและการโดนทำร้ายร่างกาย หรือแม้แต่ความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจก็ตาม
  3. Love and Belonging
    ในขั้นที่สามจะเพิ่มเรื่องสังคมเข้ามาและการเป็นที่ยอมรับทั้งในสังคม กลุ่มเพื่อน ครอบครัว ความสัมพันธ์ องค์กร หรือการมีความสัมพันธ์กับผู้อื่นที่ทำให้เขารู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคม จึงเรียกได้ว่าเป็นความต้องการด้านความรู้สึกนั่นเอง
  4. Esteem
    ในขั้นที่สี่จะเพิ่มความเคารพตัวเองและการได้รับความเคารพ ความยินดีจากคนรอบตัว เพื่อเป็นแรงกระตุ้นและผลักดัน ทั้งนี้ Maslow ยังได้กล่าวว่าเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับเด็กอีกด้วย
  5. Self-actualization
    ในขั้นสุดท้ายนี้จะเป็นความต้องการสูงสุด คือการเติมเต็มความฝันของตนเองประกอบกับความสามารถที่มี ทั้งนี้มีหลายปัจจัยที่สามารถทำให้คนเติมเต็มความฝันตัวเองได้ ในขั้นนี้จึงอยู่สูงสุดของยอดพีระมิดนั่นเอง

ทั้งนี้แต่ละคนมีความต้องการไม่เท่ากันและเรียงเป็นลำดับขั้นโดยไล่จากระดับแรก (Physiological) ไปยังระดับสุดท้าย (Actualization) โดยมีแรงจูงใจจาก Hierarchy of Needs ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้กับธุรกิจโดยดูว่าความต้องการของผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มลูกค้าของเรานั้นอยู่ที่ระดับใด เพื่อที่จะพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคและสนองความต้องการของเขาได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ