อริยสัจ 4 เป็นหลักธรรมที่ใช้สําหรับ

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่บังเกิดขึ้นเพื่อช่วยเหลือมนุษย์ในโลกนี้  ให้หลุดพ้นจากความทุกข์  เพราะมนุษย์ต้องอยู่เป็นกลุ่มในสังคมที่ทุกคนยอมรับว่าเป็นสังคมที่มีความเจริญรุ่งเรือง  เพียบพร้อมไปด้วยอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสบายในการดำรงชีพ   แต่ขณะเดียวกันก็เกิดความไม่สงบขาดความมั่นคงด้าน

จิตใจ  ขาดหลักที่พึ่งทางใจทำให้มีปัญหาต่อการดำรงชีวิตของตนเองและส่วนรวม

            หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าจึงมุ่งที่สอนให้มนุษย์มีหลักที่พึ่งทางใจ  และมีแนวทางการประพฤติปฏิบัติที่จะทำให้เกิดมงคลแก่ชีวิต  อันจะทำให้มนุษย์สามารถอยู่รวมกันในสังคมด้วยความสงบสุขและเจริญก้าวหน้า

/พุทธธรรมเพื่อชีวิตและสังคม

            พุทธธรรมเป็นเครื่องนำทางในการดำเนินชีวิตธรรมทุกข้อหากปฏิบัติตามอย่างจริงจังจะเป็นประโยชน์แก่ชีวิตอย่างมากทั้งสิ้น  พุทธธรรมนั้นสอนทั้งการดำเนินชีวิตที่จะทำให้ชีวิตตนมีค่าหรือเป็นชีวิตที่ประเสริฐ  ชีวิตที่อยู่กับความเจริญและคุณธรรมและสอนการดำเนินชีวิตให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างสามัคคี สงบ และเกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม

            หลักธรรมทางพระพุทธศาสนามีเป็นจำนวนมาก  หลักธรรมที่จัดว่าเป็นแม่บทของพุทธธรรมทั้งหมดได้แก่  อริยสัจ ๔ ซึ่งจะช่วยให้เรามีความเข้าใจความเป็นจริงของธรรมชาติ  และรู้จักชีวิตของตนเองอย่างแท้จริง

     .  อริยสัจ ๔ :  ความจริงอันประเสริฐ ๔ อย่าง

            อริยสัจ แปลว่า  ความจริงอันประเสริฐ  หรือความจริงของพระอริยบุคคล  หมายความว่า ถ้าผู้ใดสามารถรู้ อริยสัจ ๔ ด้วยปัญญา  ผู้นั้นก็จะเป็นพระอริยบุคคลและที่ทำให้เป็นผู้ประเสริฐนั้นก็เพราะในขณะที่รู้ อริยสัจ ๔  กิเลสทั้งหลายก็ถูกทำลายหายไปจากจิตของผู้นั้นด้วย คือ จิตจะมีสภาพใสสะอาด บริสุทธิ์ พ้นจากสภาพสามัญชนกลายเป็นพระอริยบุคคล  หรือเป็นบุคคลที่ประเสริฐอริยสัจดังกล่าวนี้  เจ้าชายสิทธัตถะทรงเป็นผู้ค้นพบหรือได้ตรัสรู้เป็นบุคคลแรกในโลกจึงทำให้พระองค์กลายเป็นพระพุทธเจ้า  หรือเป็นบุคคลผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

             อริยสัจ ๔  จัดเป็นหมวดธรรมที่สำคัญมากของพระพุทธศาสนา  เพราะเป็นที่สรุปรวมของพระธรรมคำสั่งสอนทั้งหมด  หมายความว่า พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ในพระไตรปิฎกทั้ง ๓ คือ พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎกนั้น  ก็จะสรุปรวมลงในอริยสัจ ๔ ทั้งสิ้น

            ความหมายของอริยสัจ ๔ แต่ละข้อ เพื่อจำง่ายจึงเป็นตารางได้ดังนี้      

อริยสัจ ๔

คำแปล

คำขยายความ

.  ทุกข์

.  สมุทัย

.  นิโรธ

.  มรรค

ความไม่สบายกายไม่สบายใจ

เหตุให้ทุกข์เกิด

ความดับทุกข์

ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

ที่จัดว่าเป็นทุกข์เพราะมีลักษณะเบียดเบียน บีบคั้น ทนได้ยาก

ได้แก่ ตัณหาความอยาก  ๓ อย่าง

ได้แก่ การดับตัณหาให้สิ้นไป

ได้แก่  มรรค  ๘ ประการ

            .  ทุกข์  :  ความทุกข์

                  ทุกข์ คือ สิ่งที่เบียดเบียนบีบคั้นทำให้เกิดความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ อันเกิดจากร่างกายหรือจิตใจ ถูกเบียดเบียนแล้ว  ทนได้ยาก  หรือทนไม่ได้ จึงทำให้เกิดเป็นทุกข์ ยกตัวอย่าง เช่น เมื่อนักเรียนเจ็บไข้ได้ป่วย ปวดหัว ปวดฟัน ปวดท้องอย่างรุนแรงจนทนไม่ได้ ทนไม่ไหว จึงเกิดเป็นทุกข์ทางกาย

                  ในบางครั้ง นักเรียนเกิดอารมณ์เศร้า หดหู่ หรือเกิดอาการกระวนกระวายใจ  เพราะถูกด่าบ้าง เพราะผิดหวังที่ทำอะไรไม่ได้ตามใจบ้าง  จึงเกิดเป็นทุกข์ทางใจ

                  ความทุกข์ทางกายและความทุกข์ทางใจทั้ง ๒ ประการนี้  จัดเป็นความทุกข์ขั้นพื้นฐานที่เกิดขึ้นประจำวัน  ซึ่งทุกคนต่างก็รู้จักดีและเคยประสบกันมาแล้ว  แต่ความทุกข์ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบในทุกข์อริยสัจนั้น  ยังมีความหมายกว้าง ครอบคลุมไปถึงลักษณะไม่คงที่  มีความแปรปรวนในสิ่งที่ทั้งปวงด้วย  ซึ่งท่านได้แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้ คือ

                  .  สภาวทุกข์  คือ ทุกข์ประจำสภาวะ หมายถึง ความทุกข์ที่มีประจำอยู่ในสภาพร่างกายของคนเรา เริ่มตั้งแต่เกิดมามีชีวิต จนถึงตาย ซึ่งมีอยู่ ๓ อย่าง ดังนี้ คือ

                        .  ชาติทุกข์ แปลว่า ความเกิดเป็นทุกข์ หมายถึง  การทนทุกข์ทรมานตั้งแต่อยู่ในครรภ์

จนถึงคลอด  ซึ่งแสดงให้เห็นว่า  การเกิดมามีชีวิตได้นั้น ต้องผ่านอันตรายมาได้โดยยากจึงจัดว่าเป็นทุกข์เพราะการเกิด

                        .  ชราทุกข์  แปลว่า  ความแก่ชราเป็นทุกข์  หมายถึง สภาพร่างกายแก่ชราคร่ำครวญทรุดโทรม  แม้จะนั่งจะนอน จะเดินไปมาก็ลำบาก  จึงจัดว่าเป็นความทุกข์เพราะความแก่ชรา

                        .  มรณทุกข์  แปลว่า  ทุกข์คือความตาย  หมายถึง ความตายนั้นเป็นสิ่งที่มาทำลายชีวิตหรือตัดรอนชีวิตของเราให้สิ้นไป  จึงจัดเป็นความทุกข์เพราะความตาย

                  .  ปกิณณกทุกข์  แปลว่า  ทุกข์เล็กๆ น้อยๆ  หมายถึง  ความทุกข์ที่จรมาจากที่อื่นโดยเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว ตามเหตุการณ์และสิ่งแวดล้อมของชีวิต  มีน้อยบ้างมากบ้าง ผลัดเปลี่ยนกันไปในแต่ละบุคคล ซึ่งมีอยู่ถึง ๘ อย่าง คือ

                        .  โสกะ   ความเศร้าใจ ความเสียใจ

                        .  ปริเทวะ  ความรำพึงรำพรรณบ่นท้อ 

                        .  ทุกขะ   ความไม่สบายกายเพราะเจ็บป่วย

                        .  โทมนัสสะ  ความน้อยใจ ความไม่สบายใจ

                        .  อุปายาสะ  ความคับใจ ความตรอมใจ

                        .  อัปปิยสัมปโยคะ  ประสบสิ่งไม่เป็นที่รักแล้วไม่ชอบใจ

                        .  ปิยวิปปโยคะ  ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก

                        .  อิจฉตาลาภะ  ความผิดหวังไม่ได้สิ่งที่ตนอยากได้

                  อาการทั้งหมดนี้จัดเป็นทุกข์  ความเดือดร้อน  ซึ่งเกิดขึ้นแก่ทุกคน  ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่  และเกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกโอกาส  การที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนให้ชาวพุทธได้รู้จักกับตัวความทุกข์เหล่านั้น มิได้หมายความว่าพระองค์ทรงสอนให้เรามองโลกในแง่ร้าย  แต่ทรงสั่งสอนให้มองโลกตามความเป็นจริง คือ ให้รู้จักกับความเป็นจริงของโลก เพื่อประสงค์จะให้ชาวพุทธไม่ประมาทพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับความเป็นจริงนั้น  และสามารถที่จะหาวิธีแก้ไขปัญหาชีวิตของตนได้ทุกโอกาส

            .  สมุทัย  :  เหตุให้ทุกข์เกิด

                  สมุทัย  แปลว่า เหตุให้ทุกข์เกิด  หมายความว่า  ความทุกข์ทั้งหมดในอริยสัจข้อที่    เหล่านั้นมิได้เกิดขึ้นมาลอยๆ  จะต้องมีสาเหตุบางอย่างที่ทำให้ทุกข์เกิดขึ้น  พระพุทธองค์นอกจากจะทรงรู้จักตัวความทุกข์อย่างแจ่มแจ้งแล้ว  ยังทรงรู้สึกถึงสาเหตุอันแท้จริงที่ทำให้เกิดความทุกข์นั้นด้วยโดยพระพุทธองค์ทรงชี้ว่า ตัณหา คือความอยากเกินพอดีที่มีอยู่ในจิตใจนั่นเอง  เป็นตัวเหตุให้เกิดความทุกข์ ตัณหา นั้นมีอยู่ ๓ ประการ คือ

                  .  กามตัณหา  คือ ความอยากได้อย่างโน้นอย่างนี้ ซึ่งเกิดจากตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เช่น ตาเห็นรูปสวยงาม ก็เกิดความอยากได้  อยากได้บ้านสวยๆ ราคาแพง อยากได้เสื้อผ้าสวยๆ อยากได้รถยนต์คันงาม เป็นต้น ความอยากทำนองนี้เป็นความอยากในสิ่งที่รักใคร่  และน่าพอใจ เป็นความอยากที่ไม่รู้จบ  เมื่อไม่ได้ตามความประสงค์ก็จะเกิดทุกข์

                  .  ภวตัณหา  คือ  ความยากเป็นอย่างโน้นอย่างนี้  เป็นความอยากได้ในตำแหน่งฐานะที่สูงขึ้นตามที่ตนรักใคร่และพอใจ เช่น อยากเป็นข้าราชการในตำแหน่งสูงๆ  อยากเป็นมหาเศรษฐีและอยากเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง เป็นต้น  เมื่อไม่ได้ดังใจปรารถนาก็เป็นทุกข์

                  .  วิภวตัณหา  คือ ความอยากไม่เป็นความอยากไม่มี  จัดเป็นความอยากที่ประกอบกับความเบื่อหน่ายในสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน  โดยต้องการจะหลีกหนีให้พ้นจากสภาพนั้นไป เช่น อยากไม่เป็นคนโง่ อยากไม่เป็นคนพิการ และอยากไม่เป็นคนยากจน เป็นต้น  ซึ่งความอยากไม่เป็นนี้  ถ้าไม่เป็นไปตามที่ตนต้องการแล้วก็จะทำให้เกิดทุกข์ เช่นเดียวกัน

                  ตัณหา คือ ความอยากทั้ง ๓ ประการนี้ ถ้าอยากจนเกินพอดี คือ ไม่ได้คำนึงถึงความเป็นไปได้ หรือเป็นไปไม่ได้ ควรหรือไม่ควร เป็นต้น ย่อมทำให้เกิดเป็นทุกข์ทั้งสิ้น

            .  นิโรธ  :  ความดับทุกข์

                  นิโรธ  แปลว่า  ความดับทุกข์  หมายถึง ความรู้หรือปัญญาที่ทำให้จิตใจของบุคคลสามารถละตัณหาได้  หรือสามารถทำลายตัณหาให้หมดไปจากจิตใจและจิตที่บรรลุนิโรธแล้ว  จะมีลักษณะสงัดจากกิเลส ไม่ยึดมั่นในตัวตน  รวมไปถึงไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลงอีกด้วย  คงเหลือแต่ธรรมชาติของความสงบสุขอย่างยิ่ง  ซึ่งทางพระพุทธศาสนาเรียกสภาวะอย่างนี้ว่า  นิพพาน

            .  มรรค  :  ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

                  มรรค  แปลว่า  ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์  หมายถึง  อริยมรรค  หรือทางอันประเสริฐซึ่งประกอบด้วยองค์ ๘ ประการคือ

                  .  ความเห็นชอบ(สัมมาทิฏฐิ)  หมายถึง  การรู้เห็นในอริยสัจ ๔  อย่างถูกต้อง  ชัดเจนด้วยปัญญา เช่นรู้ว่าทุกข์อย่างไร รู้ว่าตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์อย่างไร รู้ว่าจะดับทุกข์ได้เพราะการดับตัณหา และรู้ว่าอริยมรรค คือทางให้ถึงการดับตัณหาได้

                  .  ความดำริชอบ  (สัมมาสังกัปปะ)  หมายถึง ความคิดชอบ เช่น มีความคิดหาหนทางที่จะหลีกออกจากกาม ไม่ลุ่มหลงมัวเมาอยู่กับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส มีความคิดที่จะไม่พยาบาทปองร้ายผู้อื่น  และไม่คิดทำร้ายเบียดเบียนผู้อื่น

                  .  การพูดชอบ  (สัมมาวาจา)  หมายถึง เว้นจากการพูดเท็จ เว้นจากการพูดส่อเสียดเว้นจากการพูดคำหยาบ และเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อเหลวไหลไร้สาระ

                  .  การกระทำชอบ  (สัมมกัมมันตะ)  หมายถึง  เว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม

                  .  การเลี้ยงชีวิตชอบ  (สัมมาอาชีวะ)  หมายถึง  มีความเพียรระวังไม่ผิดกฎหมายและศีลธรรม

                  .  ควรเพียรชอบ  (สัมมาวายามะ)  หมายถึง  มีความเพียรระวังไม่ให้ความชั่วเกิดขึ้นในตน เพียรละความชั่วที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป  พากเพียรทำความดีให้เกิดขึ้น  และเพียรพยายามรักษาความดีทีมีอยู่แล้วให้คงอยู่

                  .  ความระลึกชอบ  (สัมมาสติ)  หมายถึง ความมีสติระลึกถึงความเป็นไปได้ของสภาพร่างกาย  ระลึกถึงความเป็นไปของเวทนา (ขณะมีอารมณ์)  ว่าเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉยๆ ระลึกถึงความเป็นไปของจิตว่าเศร้าหมองเพราะกิเลสชนิดใด  จิตที่ผ่องใสเพราะเหตุใด  รวมไปถึงการระลึกถึงความดี ความชั่ว หรือความไม่ดีไม่ชั่วที่เกิดขึ้นในจิตของตน

                  .  การตั้งจิตให้ชอบ  (สัมมาสมาธิ)  หมายถึง การทำจิตให้เป็นสมาธิ  เริ่มตั้งแต่การทำจิตให้สงบชั่วขณะ  (ขณิกสมาธิ)  การทำจิตให้สงบเกือบจะแน่วแน่ (อุปจารสมาธิ)  และทำจิตให้สงบในขั้นแน่วแน่  (อัปปนาสมธิ)  หรือขั้นเข้าฌานสมาบัติ

อริยสัจ 4 เป็นหลักธรรมที่ใช้สําหรับอะไร

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านได้ทรงมอบหลักธรรมแห่งการดับทุกข์เอาไว้ให้เรา น าไปใช้กัน ซึ่งนั่นก็คือ หลักอริยสัจ 4 ซึ่งแปลว่า ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ อันประกอบ ด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค กล่าวคือหากเกิดทุกข์ขึ้นมาเมื่อใด ก็ให้เรานั้นใช้ หลัก อริยสัจ 4 เป็นตัวรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นให้จงได้ ในเรื่องของ ...

อริยสัจ 4 เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร

อริยสัจ 4 : อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ อันเป็นหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา มีดังนี้ 1) ทุกข์ คือ ความจริงที่ว่าด้วยความทุกข์ 2) สมุทัย คือ ความจริงที่ว่าด้วยเหตุให้เกิดทุกข์ 3) นิโรธ คือ ความจริงที่ว่าด้วยความดับทุกข์

ตัณหาจัดเป็นอะไรในอริยสัจ 4

ตามคำสั่งสอนในอริยสัจ 4 พระพุทธเจ้าตรัสว่า สาเหตุของความทุกข์คือ ตัณหา ซึ่งหมายถึงความทะยานอยาก ตัณหาแบ่งออกเป็น 3 อย่างได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา และ วิภวตัณหา อย่างไรก็ตาม ตัณหาก็คือ ลักษณะอย่างหนึ่งกิเลส ซึ่งอยู่ภายในจิตใจของมนุษย์ฉะนั้นจึง กล่าวได้ว่า กิเลส คือ สาเหตุของความทุกข์ทั้งปวง

อริยสัจ 4 ในข้อใดเปรียบได้กับพระนิพพาน

นิพพานก็อยู่ใน อริยสัจ 4 ด้วย คือเป็นจุดหมายของพระพุทธศาสนา ได้แก่ อริยสัจข้อ 3 ที่เรียกว่า "นิโรธ" คำว่านิโรธนี้เป็น ไวพจน์ คือใช้แทนกันได้กับ "นิพพาน" พระไตรปิฎกเล่ม 31 ระบุว่าอริยสัจ 4 ทั้งหมดซึ่งรวมทั้งนิโรธ คือนิพพาน ด้วยนั้น เป็นอนัตตา ดังนี้ อนตฺตฏฺเฐน จตฺตาริ สจฺจานิ เอกปฏิเวธานิ . . .