ความหลากหลายของระบบนิเวศ หมายถึง

ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biopersity = Bio + persity) หมายถึง ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆในการดำเนินอยู่ในแหล่งที่อยู่อาศัยเดียวกันหรือแตกต่างกัน

ความหลากหลายทางชีวภาพ ที่มีการแบ่งเป็น 3 ระดับ ดังนี้

1) ความหลากหลายทางพันธุกรรม (genetic persity)

2) ความหลากหลายทางชนิดพันธุกรรม (species persity)

3) ความหลากหลายทางระบบนิเวศ (ecosystem persity)


1) ความหลากหลายทางพันธุกรรม(genetic persity)

- เป็นสิ่งที่อาจจะมาปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนจากลักลักษณะภายนอก

-เช่น พืช 2 ต้น มีลักษณะภายนอกเหมือนกันแทบทุกอย่าง แต่ความจริงมีพันธุกรรมต่างกันมาก ลูกแมวที่เกิดจากคอกเดียวกัน น่าจะมีลักษณะเหมือนกันทุกอย่าง แต่ในความเป็นจริงมีพันธุกรรมแตกต่างกัน จึงทำให้สีขนต่างกัน

ความหลากหลายของระบบนิเวศ หมายถึง

สาเหตุที่ทำให้เกิดความหลากหลายทางพันธุกรรม

(1) การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมทีเกิดขึ้นโดยวิธีธรรมชาติ

- ผิดพลาดในกระบวนการแบ่งเซลล์ของโคโมโทรม หรือจากสิ่งแวดล้อมภายนอก

- เช่น ต้นไม้ที่ขึ้นในบริเวณน้ำท่วมบ่อยๆ จะมีการสร้างยีนที่สามารถทนต่อสภาวะน้ำท่วมได้

แมลงที่ได้รับสารเคมีบ่อยๆ จะมีการปรับตัว สร้างยีนที่สามารถทนต่อสารเคมีนั้นได้

(2) การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้นโดยมนุษย์

- การปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้ได้พันธ์ใหม่ที่ดีกว่าเดิม

- การใช้เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่

2) ความหลากหลายทางพันธุกรรม(species persity)

- เป็นความหลากหลายที่สามารถ พบเห็นได้ชัดเจน

เช่น แมลงในกลุ่มด้วง ซึ่งมีทั้ง แมลงทับ หิ่งห้อย ด้วงกว่าง ด้วงมูลสัตว์ และอื่นๆ อีกมากมาย

ความหลากหลายของระบบนิเวศ หมายถึง

- เป็นความหลากหลายที่เกี่ยวกับจำนวนชนิดของสิ่งมีชีวิต

โดยบริเวณใดที่อุดมสมบูรณ์จะมีสิ่งมีชีวิติจำนวนมาก เช่น Great barrier reef

3) ความหลากหลายทางระบบนิเวศ

ระบบนิเวศ หมายถึง ระบบความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่แหล่งใดแหล่งหนึ่ง ซึ่งมีปัจจัยทางกายภาพและชีวภาพ ที่เหมาะสมกับสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดในระบบนิเวศนั้น

ความหลากหลายของระบบนิเวศ

ระบบนิเวศแต่ละระบบเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตมากมาย หลายชนิด โดยมีสภาวะที่เหมาะสมกับสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด  โดยที่ระบบนิเวศจะมีความหลากหลายที่สามารถแยกออกได้ 3 ลักษณะ คือ
                  1. ความหลากหลายของถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติ (habitat diversity)

                              ตัวอย่างความหลากหลายของถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติ เช่น ในผืนป่าทางตะวันตกของ
ไทยที่มีลำน้ำใหญ่ไหลผ่าน จะพบถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติมากมายคือ ลำน้ำ หาดทราย พรุซึ่งมีน้ำขัง  ฝั่งน้ำ หน้าผา  ถ้ำ ป่าบนที่ดอนซึ่งมีหลายประเภท แต่ละถิ่นกำเนิดจะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่แตกต่างกันไป เช่น ลำน้ำพบควายป่า หาดทรายมีนกยูงไทย หน้าผามีเลียงผา ถ้ำมีค้างคาว เป็นต้น เมื่อแม่น้ำใหญ่ถูกเปลี่ยนเป็นทะเลสาบขนาดใหญ่ ภายหลังการสร้างเขื่อนความหลากหลายของถิ่นกำเนิดก็ลดน้อยลง โดยทั่วไปแล้วที่ใดที่มีถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติหลากหลายที่นั้นจะมีชนิดสิ่งมีชีวิตหลากหลายตามไปด้วย

               2. ความหลากหลายของการทดแทน ( successional diversity)

                                ในป่านั้นมีการทดแทนของสังคมพืชกล่าวคือ เมื่อป่าถูกทำลายจะโดยวิธีใดก็ตาม เช่น ถูกแผ้วถางพายุพัดไม้ป่าหักโค่น เกิดไฟป่า น้ำท่วม หรือแผ่นดินถล่ม เกิดเป็นที่โล่ง  ต่อมาจะมีพืชขึ้นใหม่เรียกว่า พืชเบิกนำ เช่น มีหญ้าคา สาบเสือ กล้วยป่า และเถาวัลย์เกิดขึ้นในที่โล่งนี้ เมื่อกาลเวลาผ่านไปก็มีต้นไม้เนื้ออ่อนโตเร็วเกิดขึ้น เช่น กระทุ่มน้ำ ปอหูช้าง ปอตองแตบ นนทรี เลี่ยน เกิดขึ้นและหากปล่อยไว้โดยไม่มีการรบกวน ป่าดั้งเดิมก็จะกลับมาอีกครั้งเราเรียกกระบวนการนี้ว่า การทดแทนทางนิเวศวิทยา ( ecological succession ) สิ่งมีชีวิตบางชนิดปรับตัวให้เข้ากับยุคต้น ๆ ของการทดแทน บางชนิดก็ปรับตัวให้เข้ากับยุคสุดท้ายซึ่งป่าบริสุทธิ์ ( virgin forest)
               3. ความหลากหลายของภูมิประเทศ ( land scape diversity)

                 ในท้องที่บางแห่งมีถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติมากมาย เช่น ลำน้ำ บึง หาดทราย ถ้ำ หน้าผา ภูเขา ลานหิน และมีสังคมพืชในหลาย ๆ ยุคของการทดแทน มีทุ่งหญ้าป่าโปร่งและป่าทึบ พื้นที่เช่นนี้จะมีสรรพสิ่งมีชีวิตมากมายผิดกับเมืองหนาวที่มีต้นไม้ชนิดเดียวขึ้นอยู่บนเนื้อที่หลายร้อยไร่ มองไปก็เจอต้นไม้สนเพียงชนิดเดียว


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที

คือ คำจำกัดความของการมีสิ่งมีชีวิตนานาชนิดบนโลกใบนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดำรงอยู่ของพืช สัตว์ แบคทีเรีย เชื้อรา หรือมนุษย์ ต่างล้วนอาศัยอยู่ในถิ่นฐานเฉพาะของตนตามภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก ดำเนินชีวิตอยู่ภายในระบบนิเวศที่มีสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย จากการสะสม ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ตลอดจนถึงการวิวัฒนาการ เพื่อความอยู่รอดตลอดระยะเวลาหลายล้านปีที่ผ่านมา ทำให้การคงอยู่ของความแตกต่างในสิ่งมีชีวิตแต่ละสายพันธุ์และความหลากหลายภายในชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้น กลายเป็นองค์ประกอบและพื้นฐานสำคัญของธรรมชาติและระบบนิเวศของโลก

ความหลากหลายของระบบนิเวศ หมายถึง
ความหลากหลายของระบบนิเวศ หมายถึง

ความหลากหลายทางชีวภาพ สามารถจำแนกออกเป็น 3 ระดับ คือ

ความหลากหลายทางพันธุกรรม (Genetic Diversity) หมายถึง ความแปรผันทางพันธุกรรมที่เกิดขึ้นภายในประชากรของสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน เป็นความแตกต่างของสารพันธุกรรมภายในสิ่งมีชีวิตแต่ละชีวิตที่ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษผ่านทางหน่วยพันธุกรรมหรือ “ยีน” (Gene) ซึ่งส่งผลให้เกิดความเป็นเอกลักษณ์ ลักษณะเด่น หรือความแตกต่างขึ้นภายในประชากรของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ๆ เช่น การมีสีสันและลวดลายที่หลากหลายของหอยทาก “โกลฟว์ สเนล” (Grove Snail) รวมถึงการมีสีของเส้นผม สีของผิวหนัง และสีของนัยน์ตาแตกต่างกันออกไปในประชากรของมนุษย์ 

ความหลากหลายของระบบนิเวศ หมายถึง
ความหลากหลายของระบบนิเวศ หมายถึง
แม้จะเป็นหอยทากชนิดเดียวกัน แต่มีสีสันที่แตกต่างกัน เนื่องจากมีพันธุกรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว

 

ความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ (Species Diversity) หมายถึง ความแปรผันทางชนิดพันธุ์ (Species) ที่เกิดขึ้นในระดับกลุ่มของสิ่งมีชีวิต ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากความหลากหลายทางพันธุกรรมที่ผ่านการสะสมและการวิวัฒนาการมาอย่างยาวนาน ซึ่งความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ถือเป็นผลจากกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (Natural Selection) ที่ทำให้เกิดทั้งการสูญพันธุ์และการก่อกำเนิดของสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่ เป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อความอยู่รอดท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปของโลก

ความหลากหลายของระบบนิเวศ หมายถึง
ความหลากหลายของระบบนิเวศ หมายถึง

 

ความหลากหลายทางระบบนิเวศ (Ecological Diversity) หมายถึง การดำรงอยู่ของระบบนิเวศแต่ละประเภทบนโลก ไม่ว่าจะเป็นระบบนิเวศบนบก (Terrestrial Ecosystems) และระบบนิเวศในน้ำ (Aquatic Ecosystems) เช่น ป่าดงดิบ ทุ่งหญ้า ป่าชายเลน ทะเลสาบ หรือ ชายหาดและแนวปะการัง ตลอดจนระบบนิเวศเมือง (Urban Ecosystems) ที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งความหลากหลายทางระบบนิเวศนั้น เป็นผลจากความแตกต่างทางสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมในแต่ละพื้นที่ของโลก อีกทั้ง ยังนับเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิดเอกลักษณ์และลักษณะเด่นของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด ซึ่งภายในระบบนิเวศแต่ละประเภท ล้วนมีสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกันออกไปอาศัยอยู่

ความหลากหลายของระบบนิเวศ หมายถึง

ความหลากหลายของระบบนิเวศ หมายถึง

ความหลากหลายของระบบนิเวศ หมายถึง

โลก จึงประกอบขึ้นจากระบบนิเวศอันหลากหลายกระจายตัวอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก ความหลากหลายทางพันธุกรรม ความหลากหลายทางชนิดพันธุ์และความหลากหลายทางระบบนิเวศ จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพที่ก่อให้เกิดสมดุลของโลก

ความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพและสถานการณ์ปัจจุบัน

ความหลากหลายทางชีวภาพจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถดำรงอยู่ได้ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมโลกในทุกยุคทุกสมัย ถึงแม้โลกจะเผชิญกับความแห้งแล้ง ความหนาวเย็น หรือโรคระบาด ความหลากหลายทางชีวภาพถือเป็นเครื่องการันตีความอยู่รอดของทุกชีวิต อีกทั้งยังเป็นรากฐานสำคัญของระบบนิเวศที่ให้กำเนิด “นิเวศบริการ” (Ecological Services) ซึ่งสร้างทรัพยากรและคุณประโยชน์มากมายต่อทุกชีวิต

แต่ในปัจจุบันนี้ ทุกๆ ปี มีสิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์ราว 10,000 ชนิดทั่วโลก ซึ่งถือเป็นอัตราที่รวดเร็วเกิดกว่าการสูญพันธุ์ในยุคก่อนที่มนุษย์ถือกำเนิดขึ้นหลายร้อยเท่า แม้ว่าการสูญพันธุ์จะเป็นหนึ่งในกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ แต่การอัตราการสูญเสียที่เกิดขึ้น ณ ขณะนี้ ถือเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่ามนุษย์ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการเติบโตของประชากรและการพัฒนาของสังคมเมืองที่นำไปสู่การทำลายถิ่นฐานที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ การรุกรานเพื่อแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ รวมไปถึงปลดปล่อยของเสียและมลพิษ ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมโลกครั้งยิ่งใหญ่

ความหลากหลายของระบบนิเวศ หมายถึง
ความหลากหลายของระบบนิเวศ หมายถึง

นอกเหนือจากการสูญพันธุ์ไปของสิ่งมีชีวิตบางชนิด การเสื่อมโทรมลงของระบบนิเวศเป็นผลกระทบที่ไม่อาจลีกเลี่ยงเช่นเดียวกัน ซึ่งหากสถานการณ์ในปัจจุบันยังคงดำเนินต่อไปโดยปราศจากการเปลี่ยนแปลงใด ๆ สิ่งมีชีวิตกว่าร้อยละ 20 ชนิดทั่วโลกอาจจะสูญเสียพันธุ์ไปอย่างถาวรภายในอีก 30 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะพื้นที่ซึ่งมีความสำคัญทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Hotspot) ที่มีชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตซึ่งเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ (Endangered Species) และมี “สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น” (Endemic Species) อาศัยอยู่อย่างหนาแน่น

ถึงแม้พื้นที่ซึ่งมีความสำคัญทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพเหล่านี้ จะคิดเป็นเพียงร้อยละ 2.3 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด แต่กว่าร้อยละ 44 ของพืชพรรณในโลกล้วนดำรงอยู่ในพื้นที่เฉพาะเหล่านี้ ซึ่งในอีกความหมายหนึ่ง คือพืชเหล่านี้เป็นชนิดพันธุ์ที่ไม่สามารถพบเห็นได้ในพื้นที่อื่นๆ ของโลก เช่น สิ่งมีชีวิตบนเกาะนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นพื้นที่ซึ่งมีความสำคัญทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพของโลก โดยกว่าร้อยละ 90 ของชนิดพันธุ์แมลงและกว่าร้อยละ 80 ของชนิดพันธุ์พืชที่มีท่อลำเลียง (Vascular Plants) ล้วนเป็นสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นที่ไม่ปรากฏบนส่วนไหนของโลกใบนี้อีกแล้ว และการสูญเสียสิ่งมีชีวิตบนเกาะแห่งนี้ หมายถึงการสูญพันธุ์จากโลกไปอย่างถาวร

สืบค้นและเรียบเรียง

คัดคณัฐ ชื่นวงศ์อรุณ และณภัทรดนัย


ข้อมูลอ้างอิง

National Geographic Society – https://www.nationalgeographic.org/encyclopedia/biodiversity/

National Geographic – https://www.nationalgeographic.com/environment/2019/05/ipbes-un-biodiversity-report-warns-one-million-species-at-risk/

ความหลากหลายทางระบบนิเวศสำคัญอย่างไร

ความแตกต่างหลากหลายระหว่างระบบนิเวศ ทำให้โลกมีถิ่นที่อยู่อาศัยเหมาะสมสำหรับสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ระบบนิเวศแต่ละประเภทให้ประโยชน์แก่การดำรงชีวิตของมนุษย์แตกต่างกัน หรืออีกนัยหนึ่งให้ 'บริการทางสิ่งแวดล้อม' (environmental service) ต่างกันด้วย อาทิ ป่าไม้ทำหน้าที่ดูดซับน้ำ ไม่ให้เกิดน้ำท่วมและการพังทลายของดิน ส่วนป่าชายเลน ...

เพราะเหตุใดจึงมีความหลากหลายของระบบนิเวศ

ปัจจัยที่ทำให้เกิดความหลากหลายของกลุ่มประชากรสัตว์ ในระบบนิเวศป่าชายเลน มีดังนี้.
การปรับตัวให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงความเค็ม ... .
การปรับตัวต่อสภาวะอุณหภูมิสูง และสภาวะการสูญเสียน้ำจากตัว ... .
การปรับตัวเรื่องการหายใจ ... .
การปรับตัวด้านการกินอาหารและการหาอาหาร ... .
การปรับตัวด้านการสืบพันธุ์.

ความหลากหลายทางพันธุกรรมหมายถึงอะไร

1.ความหลากหลายทางพันธุกรรม ( Genetic diversity) หมายถึง ความหลากหลายทางพันธุกรรมที่สิ่งมีชีวิตแต่ละชีวิตได้รับการถ่ายทอดมาจากรุ่นพ่อแม่และส่งต่อไปยังรุ่นต่อไปเช่น ลักษณะความหลากหลายของลวดลายและสีของหอยทาก Cepaea nemoralls (อธิบายเพิ่มเติม ) ความหลากหลายของสีสันของ emerald tree boas Corallus canius (อธิบายเพิ่มเติม ) ...

ความหลากหลายทางชีวภาพ มีอะไรบ้าง

ความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity) เเบ่งเป็น 3 ระดับ คือ.
การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต (classification).
การตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิต (nomenclature).
การระบุชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตหรือหน่อยอนุกรมวิธานของสิ่งมีชีวิต (identification).