บริเวณ ที่ สร้าง พระราชวัง แต่ เดิม เป็น ของ ผู้ ใด

เดิมเพื่อให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนนายเรือ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานให้ตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2443 โดยทรงมีพระราชกระแสให้รักษาซ่อมแซมสิ่งที่ปลูกสร้างที่มีมาแต่เดิม ได้แก่ ท้องพระโรง, ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, พระตำหนักของสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และศาลศีรษะปลาวาฬ

โรงเรียนนายเรือตั้งอยู่ที่พระราชวังเดิมเรื่อยมาจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2487 จึงได้ย้ายไปอยู่ที่สัตหีบชั่วคราวในช่วงเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 และในปี พ.ศ. 2489 ได้ย้ายไปอยู่ที่เกล็ดแก้วก่อนจะย้ายมาตั้งที่สมุทรปราการ ในปี พ.ศ. 2495 จนถึงปัจจุบัน ส่วนอาคารเดิมของโรงเรียนนายเรือที่พระราชวังเดิมนั้น

กองทัพเรือได้ดัดแปลงเป็นอาคารแบบทรงไทย แล้วใช้เป็นที่ตั้งของกองบัญชาการกองทัพเรือจนถึงปัจจุบัน สำหรับโบราณสถานที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน ได้แก่ ท้องพระโรง พระตำหนักเก๋งคู่ ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, พระตำหนักสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และป้อมวิไชยประสิทธิ์ ซึ่งได้รับการบูรณะ ครั้งล่าสุดตั้งแต่ปี พ.ศ.2538 และเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ.2545 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2545

พาชมโบราณสถานสำคัญของฝั่งธนบุรี พระราชวังกรุงธนบุรี หรือ พระราชวังเดิม พระราชวังแห่งเดียวในสมัยธนบุรี พระราชวังหลวงของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สถานที่ประทับพระบรมวงศานุวงศ์ที่ได้โปรดเกล้าฯ และสถานที่ที่พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี 3 พระองค์ ทรงมีพระราชสมภพ

ภายหลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้เอกราชจากพม่าได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2310 พระองค์ได้ทรงเลือกกรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่แทนกรุงศรีอยุธยาที่เสียหายจากสงคราม โดยโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังหลวง ขึ้นทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา อาณาเขตของพระราชวังในสมัยนั้นมีพื้นที่ตั้งแต่ป้อมวิไชยประสิทธิ์ขึ้นมาจนถึงคลองเหนือวัดอรุณราชวราราม โดยรวมวัดอรุณราชวราราม และ วัดโมลีโลกยาราม เข้าไปในเขตพระราชวัง ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ได้ทรงย้ายราชธานีมาอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา และได้ทรงสร้างพระบรมมหาราชวังขึ้นเป็นที่ประทับ ดังนั้นพระราชวังกรุงธนบุรีจึงได้รับการเรียกว่า “พระราชวังเดิม” รัชกาลที่ 1 ทรงกำหนดเขตของพระราชวังเดิมให้แคบกว่าเดิม โดยให้วัดทั้งสองอยู่ภายนอกพระราชวัง และโปรดเกล้าฯ ให้พระราชวงศ์ชั้นสูง ที่ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัย มาประทับที่พระราชวังเดิม เนื่องจากพระราชวังเดิมและกรุงธนบุรีมีความสำคัญทางด้านยุทธศาสตร์ จึงจำเป็นต้องมีผู้ดูแลรักษา พระราชวังเดิมยังเป็นสถานที่ที่พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี 3 พระองค์ ทรงมีพระราชสมภพ ซึ่งทุกพระองค์เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (ขณะยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร) ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พื้นที่แห่งนี้เป็นพระราชวังเรื่อยมา เมื่อถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชวังเดิมให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนนายเรือ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของกองทัพเรือ

โบราณสถานสำคัญของพระราชวังเดิม

ประตูโรงเรียนนายเรือ หรือ ประตูสามสมอ ซุ้มสีขาวขนาดใหญ่ ตัดกับประตูไม้สีน้ำตาล ตั้งอยู่ด้านหลังของอนุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราช เหตุที่ได้ชื่อ ประตูสามสมอ เนื่องจากมีสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนนายเรือที่วาดอยู่บนประตู คือรูปสมอ 3 ตัวที่คล้องรวมไว้ด้วยห่วงสมอ โดยมีจักรอยู่ด้านหลัง

บริเวณ ที่ สร้าง พระราชวัง แต่ เดิม เป็น ของ ผู้ ใด

บริเวณ ที่ สร้าง พระราชวัง แต่ เดิม เป็น ของ ผู้ ใด

บริเวณ ที่ สร้าง พระราชวัง แต่ เดิม เป็น ของ ผู้ ใด

ด้านข้างบริเวณประตูโรงเรียนนายเรือมีแผ่นจารึกลายพระหัตถเลขาของรัชกาลที่ 5 กล่าวถึงการยกเขตพระราชฐานให้เป็นโรงเรียนนายเรือว่า มีความปลื้มใจซึ่งได้เหนการทหารเรือมีรากหยั่งลงแล้ว จะเปนที่มั่นสืบไปในภายหน้า

บริเวณ ที่ สร้าง พระราชวัง แต่ เดิม เป็น ของ ผู้ ใด

เมื่อเดินผ่านประตูโรงเรียนนายเรือเข้ามาในเขตพระราชวังเดิม แนะนำให้เดินไปยัง เรือนเขียว เพื่อรับชมวิดีทัศน์แนะนำเกี่ยวกับพระราชวังเดิม เรือนเขียวหลังนี้ ตั้งอยู่ข้างเนินดินที่คนในบริเวณเรียกกันว่า เขาดิน เรือนเขียวเคยเป็นห้องพยาบาล ซึ่งตั้งขึ้นหลังจากวังเดิมกลายเป็นโรงเรียนนายเรือแล้ว เพราะเมื่อมีโรงเรียนทหาร ก็ต้องมีห้องรักษาพยาบาลเตรียมไว้เผื่อบาดเจ็บ ตัวอาคารเรือนเขียวทำจากไม้ทั้งหมด ทาด้วยสีเขียว จึงเรียกว่า เรือนเขียว

บริเวณ ที่ สร้าง พระราชวัง แต่ เดิม เป็น ของ ผู้ ใด

บริเวณ ที่ สร้าง พระราชวัง แต่ เดิม เป็น ของ ผู้ ใด

เดินออกจาก เรือนเขียว เดินเลียบมายังฝั่งตรงข้ามเพื่อชม เก๋งทรงอเมริกันสูง 2 ชั้น ที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว แสดงนิทรรศการเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเป็นผู้บัญชาการทหารเรือคนแรก รวมถึงทรงเป็นผู้คิดตำราปืนใหญ่ของไทย อาคารหลังนี้ตกแต่งด้วยสีเขียวอ่อน เพราะเป็นสีของความสูงศักดิ์ในสมัยนั้น บนหน้าจั่วมีสัญลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวประดับอยู่ ถือเป็นอาคารแบบตะวันตกหลังแรกสร้างขึ้นในสมัยรัตโกสินทร์

บริเวณ ที่ สร้าง พระราชวัง แต่ เดิม เป็น ของ ผู้ ใด

บริเวณ ที่ สร้าง พระราชวัง แต่ เดิม เป็น ของ ผู้ ใด

ข้างเก๋งทรงอเมริกันสูง 2 ชั้น คือ ท้องพระโรง สิ่งปลูกสร้างที่เก่าแก่ที่สุดในพระราชวังเดิม สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. 2310 พร้อมกับการสร้างพระราชวังแห่งนี้ ภายในประกอบด้วยลานของท้องพระโรง หรือ วินิจฉัย เป็นที่ซึ่งพระเจ้าตากสินมหาราชทรงออกว่าราชการ และเป็นส่วนราชมณเฑียรอันเป็นที่ประดับส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ เดิมทีท้องพระโรงเป็นไม้ทั้งหมด แต่ปัจจุบันบูรณะซ่อมแซมด้วยปูนและหินอ่อน

บริเวณ ที่ สร้าง พระราชวัง แต่ เดิม เป็น ของ ผู้ ใด

บริเวณ ที่ สร้าง พระราชวัง แต่ เดิม เป็น ของ ผู้ ใด

บริเวณ ที่ สร้าง พระราชวัง แต่ เดิม เป็น ของ ผู้ ใด

ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ศาลประดิษฐานพระบรมรูปของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

บริเวณ ที่ สร้าง พระราชวัง แต่ เดิม เป็น ของ ผู้ ใด

ศาลศีรษะปลาวาฬบรูด้า ซึ่งสันนิษฐานว่ามีมาแต่เก่าก่อนแล้ว เกยตื้นตายแถวบริเวณนี้จนซากเน่าเปื่อยเหลือแต่กระดูก ผู้คนก็นำมาบูชา โดยเชื่อว่าจะช่วยให้หาปลาได้สำเร็จตามเป้าหมาย ซึ่งขุดเจอบริเวณใต้ศาลพระเจ้าตากสินที่ตั้งอยู่ข้างกัน

บริเวณ ที่ สร้าง พระราชวัง แต่ เดิม เป็น ของ ผู้ ใด

เก๋งจีนคู่หลังเล็ก เก๋งหลังเล็กออกแบบอย่างจีนล้วนๆ ข้างในจัดแสดงอาวุธจากสมัยกรุงธนบุรี เช่น ปืนคาบศิลาที่มีความยาวจากด้ามจับถึงปากกระบอกถึง 145 เซนติเมตร ดาบญี่ปุ่นคร่ำทอง ดาบจตุลังคบาท และดาบหัวช้าง

บริเวณ ที่ สร้าง พระราชวัง แต่ เดิม เป็น ของ ผู้ ใด

ข้างเก๋งจีนคู่หลังเล็ก คือ เก๋งจีนคู่หลังใหญ่ ซึ่งสร้างในภายหลังและได้ผสมศิลปะไทยเข้าไปด้วย บนหน้าจั่วมีรูปค้างคาวกับเหรียญอยู่ ตามคติจีนค้างคาวเป็นสัตว์นำโชคตัวหนึ่ง ภายในอาคารจัดแสดงข้อมูลเรื่องการติดต่อค้าขายในสมัยกรุงธนบุรี พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในด้านต่างๆ ทั้งรูปภาพจิตรกรรม ตู้แสดงสิ่งของ หุ่นจำลองและแผนที่

บริเวณ ที่ สร้าง พระราชวัง แต่ เดิม เป็น ของ ผู้ ใด

นอกกำแพงวัง คือ ป้อมวิไชยประสิทธิ์ สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ป้อมนี้ตั้งชื่อตามผู้ควบคุมการก่อสร้าง คือคอนสแตนติน ฟอลคอน หรือเจ้าพระยาวิชเยนทร์ ป้อมนี้ใช้เป็นด่านเก็บภาษีปากเรือในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ โดยจะมีโซ่ขนาดใหญ่ยักษ์ล่ามจากป้อมนี้ข้ามไปยังป้อมที่อยู่อีกฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงเรียนราชินี เมื่อใครจ่ายภาษีแล้วก็จะปล่อยให้เรือผ่านไปโดยการหย่อนโซ่ลงใต้น้ำ โซ่ที่ว่านี่เก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ป้อมนี้ยังเป็นที่ตั้งปืนใหญ่สมัยใหม่ 4 กระบอกซึ่งหันหน้าเข้าแม่น้ำเจ้าพระยา คือปืนใหญ่สำหรับยิงสลุตในงามเฉลิมฉลองใหญ่ๆ ที่นี่เป็นตัวแทนของกองทัพเรือ ในขณะที่กองทัพบกจะยิงที่สนามหลวง และกองทัพอากาศจะยิงที่ดอนเมือง ทั้งสามกองทัพจะยิงพร้อมกัน โดยใช้ปืน 4 กระบอกยิงวนไปเรื่อยๆ จนครบ 21 นัด

บริเวณ ที่ สร้าง พระราชวัง แต่ เดิม เป็น ของ ผู้ ใด

บริเวณ ที่ สร้าง พระราชวัง แต่ เดิม เป็น ของ ผู้ ใด

บริเวณ ที่ สร้าง พระราชวัง แต่ เดิม เป็น ของ ผู้ ใด

พระราชวังเดิมตั้งอยู่ที่เลขที่ 1 ถนนวังเดิม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ 10600 โดยปกติ พระราชวังเดิม เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้ามาดูได้อย่างอิสระแค่ 1 วันต่อปี คือวันที่ 28 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันปราบดาภิเษกพระเจ้าตากสินมหาราช แต่ปี 2562 นี้ ทางมูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิมขยายระยะเวลาเปิดวังเพิ่มขึ้นเป็น 14 วัน ตั้งแต่วันที่ 14 – 28 ธันวาคม 2562 ในช่วงเวลา 09.00 – 15.30 น.

วิธีการเดินทาง รถโดยสารประจำทางสาย 19 และ 57 หรือ MRT อิสรภาพ เข้าจากประตูใหญ่ริมถนนอรุณอมรินทร์ที่เขียนว่ากองทัพเรือ แล้วเดินอ้อมกำแพงวังมาเข้าประตูสามสมอทางริมน้ำก็ได้ หรือจะนั่งเรือข้ามฟากจากท่าเตียนมาลงท่าวัดอรุณฯ แล้วเดินต่อมาก็ได้